วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ABOUT ALZHEIMER’S DISEASE 2


พันธุกรรม (Heredity)

คนเกิดเป็นโรคอัลไซเมอรตั้งแต่อายุยังน้อย (early-onset)…
พบเห็นได้ในรายที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม (familial Alzheimer’s disease)
ซึ่งพบไม่มากนัก  โดยจะพบได้เพียง 10 % ของกลุ่มคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร

โรคอัลไซเมอรชนิดนี้มักจะเกิดในช่วงอายุที่ต่ำกว่า 65
และสามารถพบได้ในคนที่มีอายุเพียง 35 ปี...
ซึ่งเกิดจากหน่วยพันธุกรรม (gene) ที่มีการเปลี่ยนแปลง (mutation)
ในตำแหน่ง Chromosomes 1, 14 และ  21
ถ้าพันธุกรรมหน่วยหนึ่งใดในตำแหน่งทั้งสามเกิดการเปลี่ยนแปลง (mutated)
มันจะถ่ายทอดจากพ่อ หรือแม่เพียงคนในคนหนึ่ง 
สามารถถ่ายทอดสู่ผู้เป็นบุตรได้  โดยมีโอกาสถึง 50/50

คนเป็นโรค “อัลไซเมอร” ส่วนใหญ่...
มักจะเป็นในคนสูงอายุมากกว่า  65  เป็น Late-onset Alzheimer’s disease
ซึ่งเราไม่ทราบต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคเลย 
และไม่แสดงให้เห็นชัดว่า  มันถ่ายทอดจากรุ่นพ่อ-แม่สู่รุ่นลูกเลย

ในคนที่เป็นโรคขณะที่มีอายุมาก (late-onset)…
แม้ว่าเราไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติในพันธุกรรมก็ตาม
แต่ความผิดปกติในพันธุกรรมหลายตัว เช่น  Apolipoprotein E (ApoE)
มีบทบาทต่อการทำให้เกิดโรค "อัลไซเมอร" ที่พบในคนสูงอายุได้เช่นกัน

พันธุกรรมชนิดนี้ (ApoE) มี 3 ตัว:  ApoE2, ApoE3  และ ApoE4
จากสถิติของสหรัฐฯ  พบว่า 
เขาพบพันธุกรรมชนิด ApoE4 พบได้หนึ่งคนในประชากร 4 คน 
ส่วน ApoE2  พบได้ 1 คนในประชาชน 20 คน
ในขณะที่คนมีพันธุกรรม ApoE4 จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค "อัลไซเมอร์"
ส่วน ApoE2 มีฤทธิ์ในการต่อต้านไม่ให้เกิดโรค "อัลไซเมอร์"
นักวิจัยหลายนายเชื่อว่า  มีพันธุกรรมอย่างอื่นหลายตัวที่อาจมีส่วนเกี่ยวกับ
การทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร  โดยมีพันธุกรรมสองตัว ได้แก่
UBQLN1  และ  SORL1  จะอยู่ที่ Chromosomes 9, 11.

นักวิจัยยังพบอีกว่า  มีพันธุกรรมอีก 3 ตัว อยู่บน chromosome 10:
มีพันธุกรรมตัวหนึ่งทำหน้าที่ผลิตเอ็นไซม์ที่ทำหน้าที่ทำให้ “อินซูลิน”
เสื่อมลง  ซึ่งอาจมีบทบาทต่อการทำให้เกิดโรค “อัลไซเมอร” ได้

มีพันธุกรรมอีกตัว ชื่อ TOMM40 เมื่อรวมเข้ากับพันธุกรรมตัวอื่น จะทำ
ให้คนเรามีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอรได้สูงขึ้น
เช่นเกิดร่วมกับพันธุกรรม ApoE 4

เมื่อไม่นานมานี้  ได้มีการค้นพบว่า...
มีพันธุกรรมหลายตัวมีอิทธิพลต่อการทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
”อัลไซเมอร”  ได้แก่:  CLU (อีกชื่อเรียก APOJ) ใน Chromosome 8
ซึ่งทำหน้าทีผลิตโปรตีนเรียก cluserin 
อีกตัวหนึ่งชื่อ PICALM อยู่ใน chromosome 11  และ  CR1  อยู่ใน
Chromosome

อย่างไรก็ตาม  ปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว 
ไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดโรคอัลไซเมอรชนิด Late-onset ในคนแก่ได้
ดังนั้น  นักวิจัยจึงมุ่งประเด็นเจาะลึกในเรื่องการศึกษา, อาหารการกิน  
ตลอดรวมถึงปัจจัยทางสภาพแวดล้อม  เพื่อพิจารณาดูว่า  
อะไรมีบทบทต่อการทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์

เราจะป้องกันโรค “อัลไซเมอร” ได้อย่างไร ?
โรคอัลไซเมอรเป็นโรคที่มีความสลับซับซ้อน 
ซึ่งในปัจจุบันเราไม่มีทางป้องกัน  และไม่มีทางรักษาให้หายได้
นักวิจัยบางท่านได้ตั้งความหวังว่า  วันหนึ่งเราอาจชะลอโรคดังกล่าวได้
โดยไม่ให้มันพัฒนา หรือคืบหน้าเลวร้ายลง,  ชะลออาการไม่ให้เกิดขึ้น
หรืออาจรักษาให้หายขาดให้ได้

มีข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเบื้องต้น (preliminary data)…
มีว่า  การออกกำลังกาย  และการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
และเส้นเลือด จะทำให้คนไข้ได้รับประโยชน์จากการกระทำดังกล่าว
แต่ไม่พบหลักฐานยืนย้นว่าสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรค “อัลไซเมอร” ได้

ในขณะนี้  American Health Assistance Foundation (AHAF)
ยังไม่แนะนำ หรือยอมรับว่า  มีอาหารเสริมใด (exercise program) ,
โปรแกรมการบริหาร (exercise program), หรือ cognitive training
Exercises สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรค “อัลไซเมอร” ได้



<<  BACK   NEXT  >>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น