วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ABOUT ALZHEIMER’s DISEASE 4

Building Brain Reserves & Social Engagement
Mental reserve…
ชาวอเมริกันที่เกิดในปี 1945 – 1964....
พอมีอายุถึงปัจจุบัน  พวกเขาเริ่มวิตกกังวลกับการเกิดอัลไซเมอร์
ทั้งนี้เพราะคนเราเริ่มจะมีอายุยืนยาวขึ้นเป็นประการแรก 
และประการต่อมา  มันเป็นโรคที่ยังไม่พบวิธีรักษาให้หายได้
มีแต่เลวลงอย่างเดียว

มีคนนับเป็นล้านๆ ต้องดูแลผู้เป็นพ่อแม่  ซึ่งป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์
จนกว่าเขาจะจากโลกนี้ไป  จากนั้นเขาจะเริ่มรู้สึกกังวลว่า 
เขาอาจเป็นโรคอัลไซเมอร์เหมือนพ่อแม่ของเขาก็ได้

แม้ว่าเรายังไม่รู้วิธีรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาดได้ก็ตาม...
แต่เราก็มีความเชื่อว่า  มีหนทางลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวได้
โดยวิธีการให้สมองได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง

มีบางวิจัยชี้แนะว่า... 
การทำให้พลังสำรองของสมองเพิ่มขึ้นอาจป้องกันไม่ให้เกิดโรค AD ได้
โดยกล่าวว่า  การพลังสำรองของสมองเพิ่มขึ้น  สามารถทำให้คนไม่มีอาการ
ของโรค AD  เลย  ทั้งๆ ที่สมองของเขามีรอยโรคอัลไซเมอร์แล้ว
ตามทฤษฎีทางประสาท....
ในระหว่างที่มนุษย์เรามีการเจริญเติบโตตั้งแต่วัยเด็ก  สมองของคนเราจะ
สร้างเซลล์ประสาทสมองเป็นจำนวนมาก  แต่ขณะเดียวกันเซลล์ประสาท
(Neurons) เหล่านี้จะตายไปเป็นจำนวนไม่น้อยเช่นกัน

เซลล์ประสาท (neurons) ที่ยังไม่ตาย  มันจะพัฒนาต่อไปด้วยการสร้าง
การเชื่อมต่อ (connection) ระหว่างเซลล์ประสาทกับเซลล์ประสาทตัวอื่น ๆ
ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก  และวัยหนุ่ม

การอ่านหนังสือที่ท้าทายต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง,  ฝึกเรียนเล่นดนตรีชนิดต่าง ๆ,
สร้างสรรค์งานศิลป์,  เล่นเกมที่จำเป็นต้องใช้ความคิดต่าง ๆ
จะช่วยทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท (connections) เพิ่มมากขึ้น
และคงเป็นเช่นนั้นไปตลอดชีวิต

ตามทฤษฎี “neuroplasticity”...
พลังสำรองของสมองสามารถทำให้ขยายตัวได้แม้ว่าอายุจะแก่ขึ้นก็ตาม
ที่เป็นสาระสำคัญ  คือ  การเรียนรู้เพิ่มทักษะสิ่งใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
ถือเป็นการบริหารสมองที่ดี  ทำให้สมองสร้างส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสาร
(axons& dendrites) เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  เป็นเหตุให้คคนที่สมองเป็นโรค AD
แต่ไม่มีอาการของโรค AD  แต่อย่างใด

ดังตัวอย่างต่อไปนี้

คนสูงอายุวัย 80  เสียชีวิตไป  โดยไม่เคยเป็นโรคอัลไซเมอร์
แต่ผลจากการตรวจศพ  พบว่าสมองของคนของคนสูงอายุคนนั้น 
เป็นโรคอัลไซเมอร์  ซึ่งไม่แสดงอาการให้ปรากฏ

นอกจากนั้น  ยังมีการศึกษาของ Dr. Robert Friedland จาก Cas Western
Reserve University School f Medicine…
ได้ทำการเปรียบเทียบ สมอง, ร่างกาย  และกิจกรรมทางสังคมของคนที่มี
โอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์  โดยกล่าวว่า...
ยิ่งคนเรามีกิจกรรมเพิ่มขึ้น  เช่น  การเล่นเครื่องดนตรี,  ปลูกพืชผล,
เล่เกมฝึกสมองต่างๆ  พบว่าคนเหล่านี้มีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอรได้น้อย
โดยเฉพาะคนที่มีอายุระหว่าง 40 - 60

โดยสรุป...
แม้ว่า  AHAF  จะไม่สนับสนุนการโฆษณาชวนเชื่อใด ๆ ว่า 
สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ก็ตาม 
แต่การศึกษาหาความรู้ใส่ตัวเองเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อคนทุกวัย

การใช้เวลาว่างด้วยการมีกิจกรรมสร้างสรรค์, ศึกษาหาความรู้ที่ท้าทายใหม่ๆ
เช่น เรียนภาษาต่างประเทศ,  อ่านหนังสือ และสื่อพิมพ์, เล่นเกมอักษรไขว้,
แก้ปัญหายาก ๆ, ร้องเพลง, เต้นรำ  และเล่นวีดีโอเกม,  ตอบคำถามทาง E-mail
และเข้าร่วมในวงสนทา  และอื่น ๆ  สามารถทำให้คนเรามีชีวิตชีวา
ที่สำคัญ  ถือว่าเป็นยาอายุวัฒนะที่ดี..
  
NSAIDS
เมื่อไม่กี่ปีมานี้...
มีรายงานออกมาว่ายากลุ่ม NSAIDs เช่น  Ibuprofen, Naproxen
และ COX-2 inhibitor…. อาจป้องกันไม่ให้เกิดโรค Alzheimer’s ก็
อาจเป็นได้

มีการวิจัยมากมายได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้  พบว่า
ยาในกลุ่ม NSIDs ไม่มีประโยชน์ต่อการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้เลย
แต่ถึงแม้ว่า  ผลจากการศึกษาจะเป็นเช่นนั้น 
นักวิจัยทั้งหลายก็ไม่ละความพยายาม  ยังทำการศึกษาต่อไป 
โดยเชื่อว่า  อาจมียาต้านการอักเสบตัวอื่นๆ สามารถต่อต้านการเกิด
โรคสมองเสื่อมดังกล่าว  หรืออาจชะลอโรคไม่ให้มันเลวลง
นั่นเป็นเรื่องที่เราต้องรอดูกันต่อไป

Estrogen
เมื่อหลายปีมาแล้ว...
เราเคยได้รับการบอกกล่าวว่า  estrogen มีบทบาทต่อการปกป้องสมอง
แต่ตามเป็นจริงมีว่า  ผลจากการทดลองกับคนไข้ได้แสดงให้เห็นว่า
Estrogen ไม่ได้ชะลอการพัฒนาโรคอัลไซเมอร์เลย
และไม่มีผลในการรักษา  หรือป้องกันโรค AD ได้
ที่สำคัญการทดลองขนาดใหญ่ชิ้นหนึ่ง...
พบว่า  สตรีที่มีอายุแก่กว่า 65 ผู้เริ่มต้นรับทานสาร estrogen  ในรูป
Premarin หรือ PremPro  ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค AD
(Alzheimer’s disease)

โดยสรปุ  ยังไม่มีการยืนยันว่า  มียารักษาตัวใดสามารถป้องกัน, ชะลอ
หรือรักษาโรค AD ได้เลย

<<BACK

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น