วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Brain Fitness and "Cognitive Reserve"


แพทย์เรามีวิธีการต่างมากมาย...
ที่ถูกนำไปใช้ในการประเมินสมรรถภาพทางกาย 
เช่น  การตรวจการเต้นของหัวใจ (heart rate), ความดันโลหิต (blood pressure),
ระดับไขมั(cholesterol), น้ำหนักตัว &ส่วนสูง ( weight & height), ตรวจเลือด
และตรวจปัสสาวะ  เพื่อคัดกรองโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเราได้

ตามเป็นจริงจะพบว่า  ตลอดทั้งร่างกายของเราสามารถทำการตรวจ
ได้หมด  ยกเว้นเฉพาะ “สมอง” ของเราเท่านั้นทีไม่ได้รับการตรวจ

สมองของคนเราถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุด...
แต่ทำไมจึงถูกละเว้น  หรือมองข้ามไป 
ไม่ทำการตรวจละ?

คำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้  คงเป็นเพราะเรายังไม่มีวิธีการที่จะนำมาใช้
ในการประเมินสุขภาพของสมองได้กระมัง 
ซึ่งไม่แน่ ในวันข้างหน้า...เราอาจมิวิธีการที่ถูกนำมาใช้ตรวจก็ได้

เมื่อไม่นานมานี้  นักวิจัยได้ทำการตรวจปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง
เรียกว่า “cognitive reserve” 
ซึ่งเป็นคำง่ายๆ  ที่บอกให้เราได้ทราบว่า
ในระหว่างเซลล์ของสมอง (neurons) ถ้ามองด้วยกล้องจุล...
จะพบความหนาทึบของส่วนเชื่อมต่อ (connections) ระหว่างเซลล์
ประสาทสมองจำนวนมากมาย 


ในสมองของคนที่พบว่า  มีสว่นเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทสมอง
ซึ่งเป็นส่วนที่เรียกว่า axons & dendrites เป็นจำนวนมาก.... 
ยิ่งมีความแน่นทึบมาก จะพบว่าสมองของคนนั้นมีความทนทานทาน
ต่อภาวะเสื่อมสภาพ (degeneration) ของสมองได้มาก
ยกตัวอย่าง

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น...
สมมุติว่า  ท่านมีทางเชื่อมติดต่อระหว่างเซลล์สมองเพียงหนึ่งเส้น  
และจากการเสื่อมสภาพของของสมอง จนเป็นเหตุให้ทางเชื่อมต่อ
(connection) ระหว่างเซลล์ประสาท ย่อมทำให้การสื่อสัญญาณประ
สาทเสียไป  ซึ่งทำให้การทำงานของสมองที่เกี่ยวกับเซลล์ประสาท
ตัวนั้นเสียไปด้วย

แต่ถ้าหากคนเดียวกันนี้  มีทางเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทมากกว่า
หนึ่งเส้นทาง  และการที่จะทำให้สมองสูญเสียการทำงานไป  โรคที่
เกิดขึ้นจะต้องทำลายส่วนที่เชื่อมต่อเซลล์ประสาทหมดทุกเส้น
จึงจะทำให้เกิดอาการขึ้นได้

ในกรณีของคนมีสุขภาพดี (phsycal fitness)... 
ไม่ได้หมายความว่า  เขาจะปลอดภัยจากการเป็นโรคได้ 
แต่การมีสุขภาพดี จะลดโอกาสไม่ให้เกิดโรค
พร้อมกับลดความรุนแรงของโรคได้

การมี cognitive reserve  สามารถทำให้คนเรามีความทนทาน
ต่อการเป็นโรคทางระบบประสาทสมองได้  ซึ่งหมายความว่า
โรคไม่สามารถทำลายส่วนเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทได้หมดทุกเส้น
จึงทำให้คนไข้ไม่มีอาการแสดงของโรคปรากฏออกมา

และพลังสำรองอันนี้แหละ (cognitive reserve) ถูกนำมาประเมินความ
สมรรถภาพสมอง (brain fitness)

คำถามต่อไปมีว่า...
เราจะทำให้ cognitive reserve ดีขึ้นได้อย่างไร ?

Dr. Joe Verhese จาก Albert Einstein College of Medicine in New York 
ได้ทำการศึกษาถึงผลกระทบระหว่างวิถีชีวิตทางกาย และจิต
โดยกระทำในคนทีมีอายุ  75 ปีขึ้นไป จำนวน 467 คน  ศึกษาเป็นเวลา 5  ปี
ในแต่ละคนไม่มีอาการของโรคสมองเสื่อม  แต่พอ 5 ปีให้หลังพบว่า 
มีมากหนึ่งในสี่ หรือ 25 % เกิดเป็นโรคสมองเสื่อม (dementia)

ผลจากการศึกษา  พบสิ่งที่น่าสนใจ  คือมีความสัมพันธ์ระหว่าง
“กิจกรรมทางจิต (mental activity) “ กับการเป็นโรค (disease)
อย่างมีนัย...

และยังพบอีกว่า ไม่มีกิจกรรมทางจิตอันใดดีกว่ากัน 
แต่การมีกิจกรรมทางจิตหลายอย่างต่างหาก  ที่เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด
ที่ทำให้ cognitive reserve เพิ่มขึ้น


ตามความเข้าใจของแพทย์ในเรื่องที่เกี่ยวกับสมองมีว่า...
ถ้าเราไม่ใช้มัน (สมอง) เราก็จะสูญเสียมันไป (use it or lose it)

ผลจากการศึกษาของ Dr. Verhese ได้สนับทฤษฎีของ cognitive reserve 
ในประเด็นที่ว่า  “การมีกิจกรรมเกี่ยวกับจิต (mental activities) มากอย่าง 
จะทำให้สมองสร้างพลังสำรอง (reserve)   ด้วยการสร้างทางเชื่อมต่อ (connections) ระหว่างเซลล์สมองเพิ่มมากขึ้น 
และในขณะเดียวกันก็มีการส่งเสริมให้เซลล์มีการเจริญดีขึ้น 
(promoting cell growth)

ในขณะที่สมองมีการสร้างพลังสำรอง (cognitive reserve) ขึ้น 
ปรากฏว่ามันไม่ได้ลดการเกิดโรคสมองเสื่อมแต่อย่างใด 
มันเป็นเพียงแต่การชะลอผลกระทบจากโรคเท่านั้น 
โดยไม่ให้คนเกิดมีอาการใด ๆ

เป็นที่น่าสนใจอีกว่า...
ผลของการศึกษา  ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง
“การมีสุขภาพดี”  กับ “cognitive  Reserve”  เลย
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า  การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
สามารถทำให้มีสุขภาพกายดี  และมีความรู้สึกดีขึ้น
แต่ไม่มีส่วนในการสร้างพลังสำรองของสมองแต่ประการใด 

โดยสรุปสมรรถภาพทางจิต (mental fitness) จะดีได้
จำเป็นต้องอาศัยอาหารและการบริหารทางจิตเท่านั้น...


http://www.mybrain.co.uk

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น