วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

NYSTAGMUS 1




การที่ลูกตาของคนเรามีการเคลื่อนไหวแบบกระตุกเป็นจังหวะ...
เราเรียกว่า  nystagmus  เป็นการเคลื่อนไหวของลูกตากลับไปกลับมา (to-and fro Motion)  ซึ่งเกิดขึ้นโดยที่เราไม่สมารถควบคุมได้ (involuntary)
การเคลื่อนไหวของลูกตาในแนวตั้ง (vertical)
จะพบได้น้อยกว่าการเคลื่อนในแนวนอน (horinzontal)  และบ่อยครั้งที่เราพบเห็นการเคลื่อนไหวของลูกตาในแนวตั้ง 
มันเป็นอาการบ่งบอกให้ทราบถึงภาวะสมองถูกทำลาย
(แต่ไม่ทุกรายเสมอไป)
การเคลื่อนไหวลูกตาแบบ nystagmus สามารถเป็นการตอบสนองตามปกติ (physiologic response) หรือ เป็นการบ่งบอกให้ทราบถึงรอยโรคก็ได้ (pathologic problem)

ตาของคนเรามีบทบาทสำคัญต่อการรักษาความสมดุลของร่างกายเอาไว้
ให้เป็นปกติ  ไม่แต่เท่านั้น  ตาทั้งสองยังทำงานสัมพันธ์กับอวัยวะควบคุมการทรงตัว
(equilibrium) ที่อยู่ภายในหูชั้นใน (inner ear)
ซึ่งเป็นหลอดครึ่งวงกลมสามอันภายในหูทั้งสองข้าง (semicircular canals)
โดยฝังลึกลงไปในกะโหลกศีรษะที่อยู่ด้านหลังของหู
อวัยวะดังกล่าว (semicircular canals)  จะรับความรู้สึกเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (motion)  พร้อมกับส่งข้อมูลไปยังศูนย์ควบคุมความสมดุล (balance Center) ที่อยู่ในสมอง 
และข้อมูลที่ได้จากสายตาก็ส่งไปยังศูนย์นี้เช่นกัน

อวัยวะอันที่สามที่ตามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย  คือกลุ่มของ เซนเซอร์ของปลายประสาททั้งมวลของร่างกาย  โดยเฉพาะที่อยู่ในบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ซึ่งทำหน้าที่ตรวจรู้ตำแหน่งของร่างกาย 

เมื่อข้อมูลเหล่านั้นถูกส่งไปยังสมอง   มันจะถูกบูรณาการ พร้อมๆ กับทำให้คนเราล่วงรู้แนววิถีการเคลื่อนไหว
รวมถึงทิศทางแรงโน้มถ่วงของโลก

อย่างที่กล่าว  สมองสามารถควบคุมระบบการทรงตัวของเราให้เป็นปกติได้แต่เราสามารถทำให้สมองเกิดความสับสนได้ด้วยการให้ข้อมูลบางอย่าง

ยกตัวอย่าง  การนั่งม้าหมุนด้วยความเร็วสูง  เป็นการให้ข้อมูลแก่สมองมากไป
ทำให้สมองรับรู้...และปรับตัวเข้าการหมุน  โดยมันคิดว่าจะต้องมีการหมุนต่อไปอีกนาน 
ทำให้ร่างกายของเรามีการหมุนต่ออีกระยะหนึ่งแม้ว่าการนั่งม้าหมุนได้ยุติลงแล้วก็ตาม   
แต่ยังมีการเคลื่อนของลูกตา (nystagmus)

Nystagmus  สามารถแบ่งเป็นชนิดตามการเคลื่อนไหวของลูกตา
เช่น การเคลื่อนแบบลูกตุ้มนาฬิกา (pendular nystagmus)
เป็นการเคลื่อนไหวของลูกตาในแนวเดียวกันทั้งไป และกลับ

การเต้นอีกเบบ Jerk nystagmus เป็นการเต้นแบบกระตุก  มีทั้งเร็ว และช้าสลับกัน
(slow and fast phase)  โดยลูกตาเคลื่อนช้าไปทิศทางหนึ่ง
และเร็วแบบกระตุกในอีกทิศทางหนึ่ง

Nystagmus สามารถพบได้ตั้งแต่แรกเกิด (congenital)
หรืออาจเกิดขึ้นทีหลัง (acquired)
ซึ่งมีบางชนิด (acquired)  เรียก spasmus nutans 
Railway nystagmus…
เป็นการเคลื่อนไหวของลูกตาที่เกิดตอบสนองตามปกติ  ยกตัวอย่าง
การสังเกตสิ่งของที่อยู่นิ่ง  ในขณะที่คนสังเกตเคลื่อนไหว 
เช่น นั่งในขบวนรถไฟ (railway) สังเกตทิวทัศน์ที่อยู่นิ่ง ๆ
ลูกตาของคนบนรถไฟ  จะคลื่อนตามทิวทัศนืที่เคลื่อนจากไป... 

Caloric stimulation: เป็นวิธีการตรวจดูการเชื่อมต่อระหว่างหู กับ
สมอง  และลูกตา  ซึ่งกระทำโดยการฉีดน้ำอุ่นเข้าไปในรูหู (ear canal)
ซึ่งจะก่อให้เกิดสัญญาณการเคลื่อนไหวจากหูชั้นใน (inner ear)
ถูกส่งต่อไปยังสมองส่วนกลาง  พร้อมกับมีการตอบสนองด้วยการเคลื่อน
ไหวของลูกตาในรูปแบบของ nystagmus


นั่นเป็นสิ่งบ่งบอกให้ทราบว่า...ทุกอย่างยังอยู่ในสภาพปกติ
แต่ถ้าถ้า pathways ระหว่างอวัยวะทั้งสาม (หู, ตา และสมอง) ถูกตัด
ขาด  การตรวจด้วยวิธี caloric test จะได้ผลเป็นลบ
ไม่มีการตอบสนองทางลูกตา (ไม่มี nystagmus) 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น