วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปัสสาวะไหลเล็ดโดยไม่รู้ตัว (Overflow Incontinence)

May 17,2013

Overflow incontinence หมายถึงการมีน้ำปัสสาวะไหลจากกระเพาะ
ปัสสาวะโดยไม่รู้ตัว และเป็นการไหลเล็ด ซึ่งไม่มีความรู้สึกอยากขับถ่าย
โดยสามารถพบเห็นได้ในผู้ชายมากกว่าที่จะพบเห็นในผู้หญิง

สาเหตุดังกล่าว จะเกิดจากกระเพาะปัสสาวะไม่สามารถขับน้ำปัสสาวะ
ได้หมด  ส่วนที่เหลือจะสะสมกันจนกระทั้ง  ทำให้น้ำปัสสาวะถูกขัง
ในกระเพาะปัสสาวะจนล้น  จึงเป็นเหตุให้น้ำปัสสาวะเล็ดออกมา  
เหมือนกับน้ำ ล้นถังน้ำ...

อาการ (Symptoms)

คนที่มาด้วยปัญหา overflow incontinence…
เขาจะมีความรู้สึกว่า มีน้ำปัสสาวะเล็ดออกมาในปริมาณไม่มาก
เป็นการไหลเล็ดของน้ำปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะเกือบตลอดเวลา
นอกจากนั้น  ยังทำให้คนไข้มีความรู้สึกอยากปัสสาวะบ่อย
ขนาดเพิ่งถ่ายปัสสาวะเสร็จ...  เดินออกนอกห้องน้ำได้ไม่กี่ก้าว
ก็เกิดความรู้สึกอยากปัสสาวะอีก

ในขณะปล่อยน้ำปัสสาวะออกมา...
ความแรงของกระแสปัสสาวะจะอ่อน และไหลช้า และไม่แทบไม่มีเสียง
เหมือนสมัยหนุ่ม

สาเหตุ (Causes)

ภาวะปัสสาวะไหลเล็ดแบบไม่รู้สึกตัว (overflow bladder)…
สามารถเกิดขึ้นจากกระเพาะปัสสาวะถูกทำลาย (damage) ทำให้มัน
ไม่สามารถขับถ่ายน้ำปัสสาวะออกได้เต็มที่ (หมด)  อันเป็นผลจาก
เส้นประสาทของกระเพาะปัสสาวะถูกทำลาย
ซึ่งจะพบเห็นในคนที่เป็นโรคเบาหวาน

ถ้าท่อปัสสาวะ (urethra) ถูกบล็อกด้วยก้อนเนื้องอก,หรือก้อนนิ่ว 
สามารถทำให้เกิดภาวะได้   ที่พบเห็นบ่อยที่สุด คือ โรคต่อมลูกหมากโต 
ในชายคนสูงวัย  ซึ่งสามารถทำให้ทางเดินปัสสาวะตีบแคบ ขัดขวาง
ทางเดินของน้ำปัสสาวะ เป็นเหตุให้กระเพาะปัสสาวะไม่สามารถขับ
ถ่ายปัสสาวะได้หมด ยังผลให้เกิดภาวะปัสสาวะไหลเล็ด
โดยไม่รู้สึกตัวได้

การรักษา (Treatment)

ตัวปัญหาอยู่ที่ใหน?
คำตอบก็คงอยู่ที่นั้น ! 
ภาวะของปัสสาวะไหลเล็ดโดยไม่รู้สึกตัว ก็เป็นเช่นเดียวกัน
นั้นคือ  จัดการกับตัวปัญหาที่ทำให้เกิดภาวะปัสสาวะไหลเล็ดให้ได้
แล้วปัญหาปัสสาวะเล็ดโดยไม่รู้ตัวก็จะหายไปเอง

ถ้าเป็นเพราะกล้ามเนื้อกระเพาะอ่อนแรง...
ก็ทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะแข็งแรงขึ้นโดยการฝึกกระเพาะปัสสาวะ
(bladder training)  และโดยการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า...

ถ้าเป็นผลมาจากเนื้องอก (tumors) หรือก้อนนิ่ว (stones)...
ก็จัดการได้ด้วยวิธีศัลยกรรม

ถ้าเป็นผลจากต่อมลูกหมากโต (Benign prostatic hypertrophy)
เราสามารถช่วยเหลือได้ด้วยการให้ยารักษา (medications)
แต่หากยา...ไม่สามารถแก้ปัญหาได้...
การรักษาด้วยวิธีทางศัลยกรรมก็เป็นทางออกสุดท้า

สุดท้าย....
ในขณะที่คนประสบกับปัญหาปัสสาวะไหลเล็ดโดยไม่รู้สึกตัว....
เขาสามารถช่วยเหลือตนเอง ด้วยการใช้ แผ่นซับใน” 
ซึ่งสามารถแก้ปัญหาปัสสาวะไหลเล็ดได้บ้าง

นอกจากนั้น  คนไข้อาจเรียนรู้ในการใช้สายสวนปัสสาวะด้วยตนเอง
เพื่อสวนเอาน้ำปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะให้หมด
และจากการกระทำดังกล่าว  สามารถแก้ปัญหาได้

Sources:
  •   Mayo Clinic
  • Johns Hopkins
  • Sharecare

กระเพาะปัสสาวะ (ทำงาน)ไวเกิน (Overactive Bladder) 1


May 17,2013

โรคกระเพาะปัสสาวะ(ทำงาน)ไวเกิน
ในบางคนจะมีอาการปวดปัสสาวะอย่างรุนแรง
ซึ่งเกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยไม่สามารถกลั้นเอาไว้ได้
ภาวะอย่างนี้เราเรียกว่า overactive bladder

มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยได้รับความทรมานจากภาวะดังกล่าว...
ต้องหลบหน้าจากสังคม  เพราะกลัวปัญหาที่ต้องวิ่งเข้าห้องน้ำกันบ่อย ๆ
 อย่างไรก็ตาม  เราสามารถควบคุมภาวะ overactive bladder ได้
ถ้าเราสามารถตรวจพบสาเหตุที่อยู่เบื้องหลังของอาการดังกล่าว

คำนิยาม (definition)
ภาวะกระเพาะปัสสาวะ(ทำงาน)ไวเกิน (overactive bladder)…
เป็นภาวะที่ถูกกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ  ซึ่งยากต่อการ
ควบคุมเป็นอย่างมาก เป็นเหตุให้นำไปสู่การมีปัสสาวะเล็ดลาดออกมาเอง
ยังผลให้เจ้าตัวไม่สามารถพบปะผู้คนในสังคมได้

อาการ (Symptoms)
อาการของกระเพาะปัสสาวะไวเกิน  สามารถทำให้วิถีชีวิตของคนไข้
เปลี่ยนแปลงได้  อาการที่พบได้บ่อยได้แก่:

§  มีความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะอย่างฉับพลัน
§  ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะเอาไว้ได้
§  ปัสสาวะเล็ดลาดออกมา
§  วันหนึ่งจะปัสสาวะบ่อย....มากกว่า 8 ครั้ง
§  ถ่ายปัสสาวะในตอนกลางคืนบ่อยครั้ง

สาเหตุ (Causes)
ตามปกติกระเพาะปัสสาวะมีหน้าที และมีความสามารถบรรจุ(fill), สะสม (store), และขับถ่ายปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะให้หมด (emty) 
โดยกระบวนการอันสลับซับซ้อนของกล้ามเนื้อสมอง และไต  และเมื่อใดก็ตาม ที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นในส่วนใดส่วนหนึ่งของกระบวนการดังกล่าว 
ย่อมทำให้เกิดอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะไวเกินขึ้น

โดยทั่วไปภาวะกระเพาะปัสสาวะทำงานไวเกิน (overactive bladder)
เป็นผลเนื่องมาจากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะทำงานมากผิดปกตินั่นเอง
อย่างไรก็ตาม  ยังมีโรคหลายอย่างสามารถทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้
เป็นต้นว่า:

§  Neurological disorders เช่น โรค  multiple sclerosis,
Parkinson’s Disease and stroke
§  Poor kidney function
§  Diabetes
§  Urinary tract infections
§  Bladder cancer, tumors or stones
§  Enlarged prostate
§  Constipation
§  Excessive alcohol intake
§  Excessive caffeine intake
§  Certain medications

ปัจจัยเสี่ยง (Risk Factors) 
Overactive bladder หรือกระเพาะปัสสาวะ(ทำงาน)ไวเกิน...
ไม่ใช่ปรากฏการณ์ของวัยชราภาพ  แต่ถือเป็นอีกโรคหนึ่ง
ซึ่งพบเห็นได้บ่อยในคนที่มีอายุย่างเข้าสุ่วัยชรา  ที่เป็นเช่นนั้นอาจเป็นเพราะ
เมื่อเราแก่ตัวขึ้น...ร่างกายของคนเรามีแนวโน้มที่จะถูกทำลายโดยโรคต่าง ๆ
ซึ่งทำให้เกิดมีอาการของ overactive bladder ได้

โรคต่าง ๆ ที่สามารถทำให้เกิดอาการดังกล่าว ได้แก่:

§  Diabetes
§  Enlarged prostate
§  Cancer
§  Stroke

การวินิจฉัย Diagnosis)
ในการวินิจฉัยโรค overactive bladder….
แพทย์เขาจะทำการตรวจสอบประวัติ และการตรวจร่างกายของคนไข้  รวมถึง
การตรวจต่างๆ ที่จำเป็นต่อการวินิจฉัยโรค  ซึ่งประกอบด้วย:

§  Urine sample
§  Neurological exam
§  Ultrasound of the bladder
§  Measurement of post void residual urine
§  Measurement of urine flow rate
§  Electromyography to evaluate bladder nerve impulses
§  X-ray of the bladder
§  Search for bladder abnormalities using cystoscopy

>> Next 

วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary Incontinence) 1

May, 2013

๊Urinary incontinence
ภาวะไร้สมรรถภาพในการควบคุมปัสสาวะ หมายถึงการกลั้นปัสสาวะ
ไม่ได้ หรือไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้นานพอที่จะเดินทางถึงห้องน้ำ
เป็นเหตัุให้ปัสสาวะเล็ด ไหลลาดออกมาเสียก่อน
ก่อหใ้เกิดความอับอาย...

The National Association for Continence ได้ให้ข้อมูลเอาไว้ว่า
คนวัยผู้ใหญ่ในสหรัฐฯ  มีโอกาสเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้ถึง 25 ล้านคน 
โดยอาจเป็นชนิดชั่วคราว หรือเป็นชนิดเรื้อรังอย่างใดอย่างหนึ่ง

การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ สามารถเกิดขึ้นกับคนได้ทุกอายุ...
ในสตรีอายุมากกว่า 50 มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
และในกรณีที่เกิดขึ้นอย่างชั่วคราว  มักเกิดจากปัญหาทางสุขภาพทางร่างกาย
โดยอาการที่เกิดขึ้น  อาจเป็นเพียงปัสสาวะเล็ดออกมาเพียงเล็กน้อย
จนกระทั้งมีอาการรุนแรงไหลลาด  จนเกิดภาวะเปียกแฉะเป็นประจำ

สาเหตุของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
(Causes of urinary incontinence)

การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่มักจะเป็นผลมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น เราจึงสามารถพบเห็นในคนสูงวัยเสียเป็นส่วนใหญ่
นอกจากนั้นมันยังสามารถเกิดจากโรคหรือเกิดจากการใช้ยาบางอย่าง
หรือบางทีอาจเป็นอาการแรกของทางเดินปัสสาวะ  
ซึ่งเกิดการอักเสบติดเชื้อ 

ชนิดของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
(Types of urinary incontinence)

การกลันปัสสาวะไม่อยู่ มีได้หลายรูปแบบ 
ที่ควรรู้มี 4 ชนิดด้วยกัน ดังนี้:

§  Urge incontinence-
หมายถึงภาวะที่ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้นานพอที่จะเดินทางถึงห้องน้ำได้ 
ซึ่งเราจะพบเห็นในคนที่เป็นโรคเบาหวาน, สมองขาดเลือด (stroke), 
สมองเสื่อม (dementia), พาร์กินสัน (Parkinson’s) และโรค MS
นอกจากนั้น ยังพบเห็นในโรคอย่างอื่นได้อีก

§  Stress incontinence-
เป็นภาวะ...กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มีปัสสาวะไหลเล็ดออกมา 
จัดเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด  โดยเราจะเห็นในคนที่กำลังออกกำลังกาย, ไอ, 
จาม, หัวเราะ, ยกของหนัก, หรือการเคลื่อนไหวบางอย่าง
ซึ่งเพิ่มแรงที่กระเพาะปัสสาวะ เมื่อเกิดกับผู้ใดแล้ว เขาจะแสดงอาการบางอย่าง
ให้เราได้เห็น เช่น หน้าแดงด้วยความอับอาย, ตกใจ, และเกิดอการชงักงัน...

§  Functional incontinence-
เป็นภาวะปัสสาวะเล็ดเนื่องมาจากมีความลำบากในการเดิน
ทางสู่ห้องน้ำได้ทันเวลา  โดยมีสาเหตุมาจากโรคทางกาย ซึ่งทำให้การเคลื่อน
ไหวลำบาก  เช่น โรคข้ออักเสบ (arthritis)

§  Overflow incontinence-
เป็นภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ทำให้ปัสสาวะเล็ดไหลออกมา
เมื่อปริมาณปัสสาวะที่สร้างขึ้นมีมากกว่ากระเพาะปัสสาวะจะรับไว้ได้  จึงเป็นเหตุให้ปัสสาวะไหลล้นออกมา เหมือนกับน้ำประปาไหลเต็มถัง

อาการ
(symptoms of Urinary incontinence)

อาการของภาวะกลั้นปัสสาวะมีความรุนแรงแตกต่างกันในแต่ละคน
ที่พบได้บ่อยได้แก่ อาการต่อไปนี้:

§  ไร้ความสามารถในการขับถ่ายปัสสาวะ
§  มีความเจ็บปวดในกระเพาะปัสสาวะ ทั้งขณะมีการขับถ่าย และ
ในขณะที่ยังไม่ได้ขับถ่าย (during filling bladder)
§  กระแสของปัสสาวะอ่อนแรง  อาจมี หรือไม่มีความรู้สึกว่า
ปัสสาวะไม่ (หมด)สุด
§  ปัสสาวะบ่อยครั้ง โดยไม่มีอาการของการอักเสบติดเชื้อ
§  เวลาปวดถ่ายปัสสาวะ  ต้องรีบวิ่งเข้าห้องน้ำให้ทัน...
ถ้าวิ่งไม่ถึงห้องห้องได้ทันเวลา ก็จะมีปัสสาวะเล็ด หรือไหลลาดออกมา
§  พฤติกรรมการขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติ หรือมีการเปลี่ยนแปลง
เนื่องมาจากระบบประสาท  เช่น stroke, spinal cord injury
และโรค multiple sclerosis
§  ปัสสาวะ (ฉี่ลาด) ในขณะออกกำลัง
§  ก่อให้เกิดความอับอายจากปัสสาวะไหลลาด...
§  เกิดอักเสบในทางเดินปัสสาวะได้บ่อย

การวินิจฉัย (diagnosis)
เมื่อพบคนมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่...
แพทย์ที่รับผิดชอบจะทำหน้าที่วินิจฉัย โดยอาศัยข้อมูลจากการ
ตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยเฉพาะเป็นการตรวจเกี่ยวกับระบบ
ขับถ่ายปัสสาวะ, ระบบประสาท, อวัยวะสืบพันธ์, และน้ำปัสสาวะ


การรักษา (Treatment)
การรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่...
แพทย์จะตัดสินใจว่า คนไข้แต่ละรายควรให้การรักษาแบบใดนั้น 
จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยดังต่อไปนี้:

§  อายุ, สุขภาพโดยรวม และประวัติการเป็นโรค
§  ความรุนแรงของโรค
§  ความทนทานของคนไข้ต่อยาเฉพาะ, วิธีการรักษา, หรือวีการ
§  รักษาต่าง ๆ
§  ความคาดหมายสำหรับการดำเนินของโรค
§  การเลือกของคนไข้ หรือความพอใจของแพทย์

การรักษาอาจประกอบด้วย:

§  พฤติกรรมบำบัด (behavioral techniques) เช่น บริหารกล้าม
เนื้อของอุ้งเชิงกราน, biofeedback , bladder training)
§  ใช้ยารักษา (medications)
§  ผ่าตัด สำหรับใช้ในกรณีที่มีความผิดปกติตำแหน่งโครงสร้าง
 ของกระเพาะปัสสาวะอยู่ในตำแหน่งที่ผิดปกติไป หรือมีการขวาง
ทางเดินของปัสสาวะ
§  ปรับเปลี่ยนอาหาร และเครื่องดื่ม เช่น เลิกดื่มกาแฟ, โซดา,ชา
และ/ หรือ แอลกอฮอล์

Source:
§  O.S.U. Medicalcenter