วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การลดน้ำหนักด้วยอาหาร...คาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low-Carbohydrate Diet )

May 9, 201

การลดน้ำหนักด้วยการจำกัดปริมาณของคาร์โบไฮเดรต--
มีลักษณะเฉพาะคือ จะมีอาหารประเภทโปรตีน และไขมันสูงขึ้น
ส่วนอาหารชนิดอื่นมีปริมาณอันจำกัด เช่น ขนมปัง (Breads), ธัญพืช(cereal),
เมล็ดข้าว (grains), พืชที่ให้แป้งเช่นมันฝรั่ง (potato), และผลไม้ทุกชนิดต่าง
มีคาร์โบไฮเดรตแทบทั้งนั้น

เมื่ออาหารที่เป็นพวกคาร์โบไฮเดรตถูกลดปริมาณลง
จึงเป็นเหตุให้อัตราส่วนของสารอาหารประเภทโปรตีน และไขมันสูงขึ้น

สุดท้าย คนที่รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ จะตองดูแลเรื่อง
ปริมาณของแคลอรี่ที่ลดลงทั้งหมด มิฉะนั้นจะไม่ทำให้มีการลดน้ำหนัก
มีทางเป็นไปได้ว่า  อาหารที่มีโปรตีนสูงอาจลดแคลอรี่ได้
เพราะโปรตีนจะลดความอยากอาหารลง ซึ่งหมายความว่า เมื่อท่านรับ
ประทานโปรตีนสูงจะทำให้ท่านรับประทานอาหารน้อย

คาร์โบไฮเดรต เป็นอาหารหลักของสมอง, เส้นประสาท และปอด
ในการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ(low-carb diet) ร่างกาย
จะชดเชยพลังงานโดยการสร้างกรด ชื่อ ketones
ซึ่งได้จากไขมันที่สะสมภายในร่างกาย

นอกเหนือไปจากถูกใช้เป็นพลังงาน  ketones จะถูกขับออกทางปัสสาวะ
กลุ่มที่เสนอการใช้ “คาร์โบไฮเดรตต่ำ” เพื่อลดน้ำหนักอ้างว่า
การใช้ ketones เพื่อเป็นพลังงาน และถูกขับออกทางปัสสาวะนั้น
เป็นการช่วยเร่งกระบวนการลดน้ำหนักให้เกิดขึ้น

แต่ตามเป็นจริง  การใช้ ketones จะถูกใช้แต่เพียงส่วนน้อยเท่านั้นเอง
วันหนึ่งสามารถถูกใช้ และขับออกทิ้งเพียง 100 แคลอรี่ เท่านั้นเอง
ไม่มากเลย...

ในตอนเริ่มต้นของการรับประทานอาหาร “คาร์โบไฮเดรตต่ำ”...
น้ำหนักสามารถทำให้ลดลงได้อย่างรวดเร็วภายในสองสมอาทิตย์
โดยลดลงได้ถึง 10 ปอนด์

ผลของการลดน้ำหนักด้วยการรับประทานอาหารดังกล่าว (low-carb)
ทำให้หลายคน กิดความพอใจเป็นอย่างมาก แต่น้ำหนักที่ลดโดย
เป็นผลจากการเผาผลาญไขมันได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ส่วนใหญ่จะเกิดจากสูญเสียโปรตีนที่มาจากกล้ามเนื้อ
เพื่อนำพลังงานไปให้สมอง,เส้นประสาท และปอด
ดังนั้น เราจะเห็นคนลดน้ำหนักด้วยอาหารชนิดนี้ 
จะทำให้มวลกล้ามเนื้อลดลง ส่วนไขมันยังคงเกือบเท่าเดิม

การที่ร่างกายขาดคาร์โบไฮเดรต สามารถให้ร่างกายสูญเสียน้ำ
และเกลือ เป็นเหตุให้ความรู้สึกอยากรับประทานอาหารลดลง
ทำให้น้ำหนักลดลงในระยะสั้น ๆ   จากนั้นน้ำหนักจะกลับมาเหมือนเดิม
เมื่อการรับประทานอาหารเป็นปกติ เมื่อร่างกายมีน้ำและมวลกล้ามเนื้อ
กลับคืนสู่สภาพเดิม

เมื่อมีการเปรียบเทียบระหว่างอาหารไขมันต่ำ (Low-fat diet)
และอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ  เพื่อลดน้ำหนัก พบว่า
ภายในระยะเวลา 3 – 6 เดือน กลุ่มคนที่รับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ
จะลดน้ำหนักได้มากกว่ากว่าคนที่ควบคุมด้วยสูตรอาหารไขมันต่ำ 
แต่พอครบหนึ่งปีทั้งสองกลุ่มจะไม่มีความแตกต่างในการลดน้ำหนักเลย
และยังพบว่า ในระยะยาวการควบคุมด้วยสูตรมีคาร์โบไฮเดรตต่ำ
อาจกระทำได้ลำบากมาก

ผลจากการวิจัยชี้ให้เราได้ทราบว่า การควยคุมด้วยคาร์โบไฮเดรตต่ำ
จะทำให้ระดับtriglycerides และ HDL cholesterol ดีขึ้น
ส่วนอาหารประเภทไขมันต่ำ จะทำให้ระดับของ LDL cholesterol ลดลง

เนื่องจากอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ จะมีระดับโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ใน
ปริมาณสูง และมีไขมันอิ่มตัว และ cholesterol ในปริมาณสูง
และเนื่องจากมีการจำกัดคาร์โบไฮเดรต และใยอาหาร
ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการทำให้ระดับ LDL cholesterol ลดลง

ในโปรแกรมลดอาหารด้วยวิธีรับประทานคาร์โบไฮเดรตต่ำ
ซึ่งจะมีระดับ ketones ในกระแสเลือดในระดับสูงนั้น
ปรากฏว่าไม่ปลอดภัยสำหรับทุกคน

เนื่องจากอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำจะทำให้ขาด vitamins และแร่ธาตุที่จำ
เป็นต่อร่างกาย  ดังนั้นจึงไม่เหมาะสำหรับนำไปใช้กับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์

และในกรณีของคนเป็นโรคเบาหวาน การให้คนไข้รับประทานอาหารที่มี
คาร์โบไฮเดรตต่ำ สามารถทำให้ระดับน้ำตาลลดลงได้อย่างช้า ๆ และทำให้
เกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำ (hypoglycemia)
ซึ่งทำให้เกิดอาหารวิงเวียน, อ่อนเพลีย, หงุดหงิด และเป็นลม
ดังนั้น การลดน้ำหนักด้วยอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำจึงควรกระทำอย่างค่อย
เป็นค่อยไปอย่างช้า เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้อันตรายเกิดขึ้น

<< Prev.  Next >>


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น