วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เบาหวาน : Dawn phenomenon



ปรากฏการณ์ฟ้าสาง...
เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายกรณี มีทั้งนอกกาย และเกิดในกายของคนเรา
ตัวอย่างของปรากฏการณ์นอกตัว มีทั้งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเป็นผลงานของมนุษย์โดยตรง
ถ้าเป็นธรรมชาตินอกตัว ได้แก่ น้ำขึ้นนำ-น้ำลง ซึ่งชาวทะเลได้สัมผัสอยู่ทุกวัน
ในตัวมนุษย์ ก็มีปรากฏการณ์ตอนฟ้าสาง ให้เราได้เรียนรู้เช่นเดียวกัน
ซึ่งสามารถเกิดขึ้น ทั้งในคนปกติ และคนที่เป็นโรค...เช่น เบาหวาน

มันคืออะไร?
มันหมายถึงภาวะ ที่น้ำตาลในกระแสเลือดตอนฟ้าสาง... เพิ่มปริมาณขึ้นสูงอย่างมาก...
ที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะในตอนเที่ยงคืน ร่างกายของมนุษย์เรา ได้ปลดปล่อยฮอร์โมนบางตัวออกมา
ฮอร์ที่ปล่อยมานั้น ถูกเรียกว่า counter-regulatory hormones
ซึงออกฤทธิ์ต่อตานฤทธิ์ของ “อินซูลิน”

ฮอร์โมนพวกนี้ได้แก่ Growth Hormone, Glucagon, Cortisol, epinephrine

ฮอร์โมนเหล่านี้ จะทำหน้าที่เหมือนเจ้าหน้าที่ในกองเสบียง เตรียมอาหารให้ทหารออกรบทัพจับศึก...
โดยการสั่งให้ตับ (liver)ปล่อยน้ำตาลออกสู่กระแสเลือด
และขณะเดียวกัน ก็ออกคำสั่งห้ามทุกส่วนของร่างกายไม่ให้ใช้น้ำตาล

เป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่เราจะต้องรู้ด้วยว่า การที่มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงในตอนเช้า
อาจพบได้ในกรณีอื่น ๆ ได้ เช่น ร่างกายของคนเรามีการตอบสนองต่อภาวะระดับน้ำตาลตก ต่ำลง
(hypoglycemia)

การเกิดปรากฏการณ์ฟ้าสาง (dawn phenomenon)
แม้ว่าจะเกิดในคนเป็นเบาหวานเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม คนไม่เป็นเบาหวานก็เกิดได้เช่นกัน
ซึ่งอาจทำให้เราเกิดความสับสนกับภาวะ Chronic Somuyi Rebound

Chronic Somogyi จะมีสาเหตุจากน้ำตาลลดต่ำในตอนกลางคืน

อย่างที่ได้กล่าวมา ปรากฏการณ์ฟ้าสาง เกิดจากการที่ร่างกายได้ปล่อย
Counter regulatory Hormone ออกมาในตอนกลางคืน
และฮอร์โมนดังกล่าว ได้ทำหน้าที่ต่อต้านการทำงานอินซูลินขึ้น (insulin resistance)
ไม่ให้อินซุลินทำงานได้ตามปกติ

ปรากฏการณ์ดังกล่าว ยังเกิดจากสาเหตุอย่างอื่นได้เช่น

• ระดับอินซูลินน้อยไป
• รับประทานอาหารประเภทแป้ง carbohydrate ก่อนนอน
• รับประทานยาด้วยขนาดที่ไม่ถูกต้อง

แล้วเราจะรักษาภาวะดังกล่าวอย่างไร ?

โดยทั่วไป การรักษาปรากฏการฟ้าสาง สามารถกระทำได้โดย:

• งดเว้นการรับประทานพวก “คาร์โบฮัยเดรต” ก่อนนอน
• ปรับระดับของอินซูลิน หรือยารักษาเบาหวานให้ถูกต้อง หรือ
• อาจปรับเปลี่ยนเป็น insulin pump

กล่าวโดยสรุป ปรากฏการณ์ฟ้าสาง มีสาเหตุหลายอย่าง ได้แก่ เกิดจากระดับอินซูลินไม่พอ
ได้รับยารักษาไม่ถูกขนาด รวมไปถึงถึงการรับประทานอาหารประเภท “คาร์โบฝอัยเดรต” ก่อนนอน...
ซึ่งเมื่อปัญหาดังกล่าวถูกแก้ไข ปรากฏการณ์ฟ้าสางก็จะหายไปเอง...


www. Diatbetes.co.uk/blood-glucose/dawn-phenomenon.htm
www.diabetsselfmanagement.com/articles/Diabetes-Definitions/dawn-phenomenon/1/

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เบาหวาน – แพทย์เขาวินิจฉัยโรคเบาหวานกันอย่างไร ?

เคยมีคนกล่าว่า ผู้ที่สามารถรักษาโรคได้ดีที่สุด คือตัวคนไข้เอง
นั่นย่อมหมายความว่า ตัวคนไข้ คือแพทย์ที่เก่งสุดคนหนึ่ง...ใช่ หรือไม่ใช่ ?

คุณในฐานะคนไข้ย่อมมีสิทธิ์รู้ทุกอย่างที่แพทย์เขาทำการ...
คุณจะทราบได้อย่างไรว่า คุณเป็นเบาหวานชนิดที่สอง ?

ส่วนมาก เนื่องจากคนเป็นโรคเบาหวาน จะไม่มีอาการปรากฏให้เห็น
และการวินิจฉัยจะเกิดขึ้น ภายหลังจากการตรวจประจำปี หรือตรวจเช็คตามปกติเท่านั้นเอง
แพทยเขาจะสั่งตรวจหาระดับน้ำตาลในขณะท้องว่างในตอนเช้า (FBS)
หรือทำการตรวจ oral glucose tolerance test
ซึ่งสามารถช่วยให้แพทย์ตัดสินได้ว่า คุณเป็นเบาหวานหรือไม่ ?

สิ่งที่คุณควรรู้ ในฐานะที่คุณต้องรับผิดชอบต่อการรักษา
คือ การตรวจทั้งสองอย่างที่กล่าวมา มันเป็นอย่างไร ?

Fasting Blood Sugar (FBS)
หมายถึงการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดขณะท้องว่าง ซึ่งหมายความว่า
คุณจะต้องท้องว่างประมาณ 8 – 10 ชั่วโมงในขณะเจาะเลือดไปตรวจ
ค่าของเลือดที่เป็นปกติ คือ 70 – 99 mg/dl
ถ้าหากผลที่ได้เป็น 100 – 125 mg/dl เขาจะพิจารณาว่า คุณกำลังจะเป็นโรคเบาหวาน
(pre-diabetes) หรือ impaired fasting glucose

หากผลการตรวจออกมาเป็นว่า มันมีค่ามากกว่า 125 mg / dl เมื่อใด
เขาก็จะบอกคุณว่า คุณน่าจะเป็นโรคเบาหวานซะแล้ว

แต่แพทย์ส่วนใหญ่..เขาชอบที่ทำการตรวจอย่างน้อยสองครั้ง ในโอกาสที่ต่างกัน
เพื่อให้แน่ใจ หรือเป็นการยืนยันว่า ท่านเป็นเบาหวานจริง
ดังนั้น เมื่อใดก็ตาม ที่ท่านได้รับการตรวจสองครั้ง อาทิตย์ที่ผ่านมาครั้งหนึ่ง และอาทิตย์นี้อีกครั้ง
ผลปรากฏว่า FBS ของท่านสงกว่า 125 mg / dl คุณเป็นเบาหวานแน่
และอย่าไปโกรธหมอเขาละ...
(เคยมีตัวอย่าง คนไข้กล่าวหาแพทย์ว่า ยัดเยียดโรคเบาหวานให้เขา)

Oral Glucose Tolerance Test (OGTT)
โดยทั่วไป แพทย์เขาตรวจหาระดับน้ำตาลในตอนเช้า FBS เป็นการตรวจหาน้ำตาลในเลือดระดับพื้นฐาน
จากนั้น เขาจะทำการตรวจอีกแบบหนึ่ง (OGTT) โดยให้ท่านดื่มน้ำตาล 75 grams
อีกสองชั่วโมงถัดมา เขาจึงจะเจาะเลือดของท่านไปตรวจ
หากผลจากการตรวจเลือดพบว่า ระดับน้ำตาลต่ำกว่า 140 mg /dl ถือว่าเป็นค่าปกติ
ถ้าค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 140 – 200 mg / dl ถือว่า คุณกำลังจะเป็นเบาหวาน (pre-diabetes)
หากมีค่าสูงกว่า 200 mg /dl คุณจะถูกวินิจฉัยว่า เป็นดรคเบาหวานอย่างแน่นอน..

ในกรณีที่คุณกำลังท้อง..
การตรวจหาระดับน้ำตาลแบบ OGTT จะแตกต่างเล็กน้อย
เขาจะให้คุณดื่มน้ำตาลเพียง 50 grams และให้เจาะเลือดตรวจหารระดับน้ำตาลหนึ่งชั่วโมงให้หลัง
ถ้าผลที่ได้...ระดับน้ำตาลต่ำกว่า 140 mg/dl ถือว่าคุณปกติ
แต่หากพบว่า ระดับน้ำตาลสูงกว่า 140 mg /dl ถือว่าผิดปกติ
ซึ่งแพทย์เขาจะทำการตรวจอย่างอื่นต่อไป...
นั่นเป็นความรู้พื้นฐาน ในฐานะที่คุณต้องรับผิดชอบต่อการดูแลตัวท่านเอง


เบาหวาน : เมื่อกายของเราต่อต้าน “อินซูลิน”

เมื่อท่านกำลังจะเป็นเบาหวาน (pre-diabetes) หรือเป็นโรคเบาหวานแล้วก็ตาม
มีภาวะอย่างหนึ่งที่เขาชอบกล่าวกัน คือ ร่างกายไม่ตอบสนองต่อ (ต่อต้าน)
การทำงานของสาร “อินซูลิน”
เมื่อมีการต่อต้านอินซูลินเกิดขึ้น ร่างกายของเรา ย่อมไม่สามารถจัดการกับน้ำตาลในกระแสเลือด

โดยปกติ ภายหลังรับประทานอาหาร อาหารจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล...เข้าสู่กระแสเลือด
ในขณะเดียวกันตับอ่อน จะสร้างและปล่อย “อินซูลิน” ออกสู่กระแสเลือด ทำหน้าที่ช่วยให้น้ำตาลจาก
กระแสเลือด เข้าสู่เซลล์ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ร่างกายเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงานต่อไป
ง่าย ๆ อย่างนั้นเอง

ในกรณีที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ตามที่กล่าวมา เป็นเพราะ ตับอ่อน ไม่สามารถผลิตสาร “อินซูลิน”
ในปริมาณที่เพียงพอ หรือ ร่างกายไม่ตอบสนอง (resistance) ต่อ “อินซูลิน
กรณีที่เราจัดคนไข้อยู่ในประเภทต่อต้านสารอินซูลิน (หรือที่เรียกว่า impair glucose tolerance)
คือ เมื่อพบว่า ระดับน้ำหตาลรายที่ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดในตอนเช้า ช่วงที่ยังไม่รับประทานอาหาร
มีค่า 100- 126 mg/dl.

ภาวะต้านอินซูลิน สามารถพบได้ใน:

เป็นไปตามกระบวนการของธรรมชาติของคนที่อายุมากขึ้น.

เมื่อคนเราแก่ตัวขึ้น ย่อมเป็นธรรมดาของกระบวนการต่างๆ ในร่างกาย จะช้าลง หรือลดน้อยลงตามลำดับ
ตับอ่อนก็อยู่ในกฎเกณท์ดังกล่าว บางครั้ง เมื่อคนเราแก่ตัวขึ้น มันผลิตอินซูลินได้น้อยลงไป

น้ำหนักเกิน หรืออ้วน

ความอ้วน หรือคนที่มีน้ำหนักเกินนั้น พบว่า เซลล์ของเขาไม่ค่อยจะตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลิน
ซึ่งสร้าง และปล่อยออกมาจากตับอ่อน
มีหลักฐานยืนยันว่า เซลล์ของไขมัน (fat cell)
จะต่อต้านการทำงานของอินซูลินได้มากกว่าเซลล์ของกล้ามเนื้อ

ดังนั้น หากท่านปล่อยให้ตัวท่านเองอ้วน ซึ่งหมายความว่า ตัวของท่านมีปริมาณของเซลล์ไขมันสูงขึ้น
เซลล์ไขมัน เป็นต้นเหตุ ไม่ให้อินซูลินทำงานได้ตามปกติ
เป็นเหตุให้น้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้น น้ำตาลไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ ให้ร่างกายใช้เป็นพลังงานได้

เมื่อเราพูดถึงเซลล์ไขมันขึ้นมา เราก็จะมองเห็นคนอ้วนทีลงพุง นอกจากไขมันที่อยู่รอบเอวแล้ว
ยังพบว่า มีไขมันเป็นจำนวนไม่น้อย อยู่ในอวัยวะภายในช่องท้องของเขาด้วย
ไขมันที่อยู่รอบเอว จะมีส่วนสัมพันธ์ กับ ความต้านทาน ที่มีต่ออินซูลิน และระดับน้ำตาลที่สูงในกระแสเลือด
(Hyperglycemia)
ที่ควรรู้อีกอย่างหนึ่ง เซลล์ไขมันที่อยู่ในอวัยวะภายใน จะมีความต้านทานต่ออินซูลินได้สูงมาก
ยิ่งร่างกายของคนเรามีไขมันมากเท่าใด ร่างกายยิ่งต่อต้านอินซูลินมากเท่านั้น

การที่เราแบกร่างที่เต็มไปด้วยไขมัน ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดโรคเบาหวานเท่านั้น
มันยังเพิ่มความเสียงต่อการเป็นโรคความดันสูง
และเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ด้วย

การออกกำลังกายนั้น มันช่วยได้...จริงหรือ ?

มองดูคนบางคน ที่นั่งโต๊ะทำงานอยู่ตลอดเวลา ออกแรงเป็นส่วนน้อย หรือไม่ออกเลย
ใช่หัวคิดเรื่องการงานแต่เพียงอย่างเดียว
คนประเภทนี้ บอกได้ทันทีว่า เขาไม่สามารถใช้ “อินซูลิน” ได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนคนปกติเขาหรอก
ซึ่งทำให้ร่างกายของเขาเกิดภาวะ “ต่อต้านอินซูลิน” ขึ้น โดยที่เขาไม่รู้ตัว
The American Heart Association... เขาแนะนำว่า
คนเราควรออกกำลังกาย ห้าวันต่อหนึ่งอาทิตย์ โดย ออกกำลังกายไม่ต้องแรงนัก (moderated)
วันละ 30 นาที จะทำให้สุขภาพของหัวใจดีขึ้น

หากเราสามารถบริหารร่างกายได้ตามที่กล่าว ไม่เพียงแต่ทำให้ร่างกายของเรามีสุขภาพดีขึ้นเท่านั้น
ยังเป็นการช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินดีขึ้นอีกด้วย
และเป็นการป้องกันไม่ห้ร่างกายมีน้ำหนักเกิน...

การใช้ยาบางอย่าง ทำให้ร่างกายเกิดต่อตานอินซูลินได้

ยาบางชนิดที่แพทย์สั่งจ่ายแก่คนไข้ สามารถทำให้คนไข้ต่อต้านอินซูลินได้
เช่น ยาบางตัวที่ใช้รักษาโรคอารมณ์แปรปรวน (bipolar disorder)
นอกเหนือไปจากนั้น สาร steroids ก็ทำให้คนไข้เกิดการต่อต้านอินซูลินได้เช่นกัน

ประวัติทางพันธุกรรม และครอบครัว

พบว่า เชื้อชาติต่าง ๆ เช่น African American, Native American, Hispanic American,
Asian American และ Pacific Islanders มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดภาวะต้านสารอินซูลิน
นอกจากนี้ คนที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่สอง มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดภาวะต่อต้านสารอินซูลินได้

คำถามสุดท้าย- เราสามารถหลีกเลี่ยงต่อการเกิดภาวะต้านอินซูลินได้หรือไม?

บางครั้ง เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะต่อต้านอินซูลินได้ หรือเปลี่ยนภาวะที่เคยต่อต้านให้หายไป
อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถช่วยทำให้ตับอ่อน ที่เสื่อมสภาพผลิตอินซูลินให้เพิ่มขึ้นจากที่มันทำได้
การลดน้ำหนัก ปรับเปลี่ยนเรื่องอาหารการกิน และการออกกำลังกาย สามารถป้องกันไม่ให้
เกิดภาวะต่อต้านการทำงานของอินซูลินได้...

เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว...ก็ไม่ใช้เรื่องยาก ที่เราจะทำในสิ่งที่เราต้องการมิใช่หรือ... ?

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Look For These Signs and Symptoms of Diabetes


คนเป็นโรคเบาหวาน ไม่ว่าเขาจะเป็นชนิดใด I หรือ II
จะมีอาการ และอาการแสดงเหมือน ๆ กัน

เบาหวานทั้งสองชนิด ต่างมีน้ำตาล ในกระแสเลือดสูงด้วยกัน
น้ำตาล กลูโกสที่กล่าวถึง เป็น monosaccharide หรือ เป็น simple sugar
ซึ่งได้จากพืช และจากเนื้อสัตว์

ในคนที่เป็นเบาหวาน แม้ว่าจะมีระดับน้ำในตาลในเลือดสูงก็ตามที
แต่ปรากฏว่า ในเซลล์กลับไม่มีน้ำตาลเลย

การที่คนเป็นเบาหวานชนิด I การมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง เป็นเพราะร่างกายขาดสาร “อินซูลิน”
ซึ่งเป็นฮอร์โมน ที่ถูกสร้างโดย "เบต้า เซลล์" ของตับอ่อน มีหน้าที่ทำให้น้ำตาลเข้าสู่เซลล์
และช่วยร่างกาย ให้ใช้น้ำตาลเป็นพลังงานต่อไป
ในเบาหวานชนิดที่ I มีสาเหตุจากการขาดสารฮอร์โมนอินซูลินไปนั่นเอง

ส่วนเบาหวานชนิดที่ II ปรากฏว่า ในร่างกายจะมีสารอินซูลิน
แต่เซลล์...ไม่สนองตอบต่อการทำงานของอินซูลิน (resistant)
เป็นเหตุให้มีนำ้ตาลอยู่ในกระแสเลือด และอยู่นอกเซลล์เช่นเดียวกับชนิดแรก

ในเบาหวานทั้งสองชนิด พบว่า เซลล์ไม่สามารถรับ และใช้น้ำตาลเป็นพลังงานได่ตามที่มันต้องการ
เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงก่อให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่าง ๆ ขึ้น
เช่น :

ปัสสาวะบ่อย(Frequent trips to bath room)

คุณเข้าห้องน้ำเพื่อปัสสาวะบ่อยหรือเปล่า ?
การที่คุณมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเลือดสูง จะทำให้คุณเข้าห้องน้ำบ่อยผิดปกติ
ถ้าในกระแสเลือดของคุณไม่มีอินซูลิน หรือร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไตไม่สามารถกรองเอาน้ำตาลกลับสู่กระแสเลือดได้
ร่างกายพยามดึงเอาน้ำออกจากเลือด เพื่อทำให้ระดับน้ำตาลเจือจางลง
นั่นเป็นเหตุที่ทำให้กระเพาะปัสสาวะของคุณเต็ม (full bladder) และทำให้คุณวิ่งเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ


กระหายน้ำบ่อยๆ โดยไม่มีสาเหตุ (unquenchable thirst)

หากคุณรู้สึกว่า ดื่มน้ำไม่รู้สึกอื่มสักที...ดื่มแล้วดื่มอีก
มันอาเป็นอาการแสดงของโรคเบาหวาน
โดยเฉพาะหากคุณเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ ร่วมกับอาการกระหายน้ำดังกล่าว
จากการที่ร่างกายของคุณพยายามดึงเอาน้ำออกจากเลือด
เพื่อทำให้น้ำตาลที่ถูกขับออกทางปัสสาวะเจือจางลงนั้น จะเป็นการทำให้คุณขาดน้ำ (dehydration)
ทำให้คุณกระหายอยากดื่มน้ำเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการชดเชยน้ำที่สูญเสียไป

น้ำหนักลดโดยมีได้ตั้งใจให้มันลด (Losing weight without trying)

อาการชนิดนี้จะพบเห็นในเบาหวานชนิดที่ I
เบาหวานชนิดนี้ จะไม่สร้างอินซูลิน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส
หรือเป็นเพราะระบบภูมคุ้มกันของตัวเอง ทำลายเซลล์ของตับอ่อน
เมื่อเซลล์ไม่สามารถใช้น้ำตาลเป็นพลังงานได้ ดังนั้น ร่างกายจึงหาพลังงานจากที่อื่นแทน
เช่น จากกล้ามเนื้อ และ ไขมัน
จึงเป็นเหตุให้น้ำหนักตัวลดลง

ส่วนคนเป็นเบาหวานชนิดที่สอง ซึ่งเกิดจากการที่เซลล์ต้าน หรือไม่สนองต่อการทำงานของอินซูลิน
จึงทำให้น้ำหนักลดลงโดยไม่เป็นที่สังเกต

รู้สึกกล้ามเนื้ออ่อนแรง และเหนื้อหล้า ( Weakness and Fatigue):

อาหารที่เรารับประทานเข้าไป มันจะถูกเปลี่ยนเป็นกลูโกส เมื่อมันเดินทางถึงกระแสเลือด
จากนั้นมันจะถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานต่อไป
แต่ในกรณีของโรคเบาหวาน ชนิดที่ไม่มีอินซูลิน หรือเซลล์ไม่สนองต่ออินซูลิน
น้ำตาลไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ ต้องค้างเติ่งอยู่ในกระแสเลือดนอกเซลล์
เซลลไม่สามารถใช้กลูโกสเพือ่เป็นพลังงานได้
นั่นแหละคือต้นเหตุที่ทำให้คนเรารู้สึกเหนื่อย และหมดแรงไป

มีอาการชา หรือเสี่ยวส่านตามมือ เท้าและขา
(Tingling or Numbness in Your Hands ,Legs or Feet)

อาการแสดงของประสาทที่ถูกทำลาย จะมรอาการชา (numbness) เสี่ยวตามเส้นประสาท (tingling)
มันจะเกิดอย่างช้า ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากน้ำตาลในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ
เป็นเหตุให้เกิดมีการทำลายเส้นประสาทไป
โดยเฉพาะเส้นประสาของแขนและขา

เบาหวานชนิดที่ II มักจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ซึ่งคนไข้ส่วนมากจะไม่ค่อยรู้ตัว ไม่ระวัง
เป็นเหตุให้เขามีระดับน้ำตาลสูงเป็นเวลานานหลายปี โดยไม่ได้รับการวินิจฉัย
การทำลายของเส้นประสาท เกิดขึ้นโดยที่เจ้าตัวไม่รู้
และอาการที่เกิดขึ้น (neuropathy) จะดีขึ้นเมื่อเขาสามารถควบระดับน้ำตาล

อาการอย่างอื่น ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ เช่น ตามัว (blurred vision) ผิวหนังแห้ง (dry skin)
ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้คนไข้มีอาการคัน
มีการติดเชื่อเกิดขึ้นได้บ่อย หรือเกิดแผลหายยาก
อาการเหล่านี้มักจะปรากฏขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง

หากคุณสังเกตพบอาการตามที่กล่าวมา ท่านน่าจะเป็นโรคเบาหวานแล้วละ
ท่านจำป็นต้องพบแพทย์เพื่อยืนยันว่าเป็นเบาหวานหรือไม่...
หากใช่.. ท่านจะไดรับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป


www.diabetes.about.com/od/symptomsdiagnosis/p/symptoms.htm.

Top Warning Sign of Diabetes : (1)


เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้มีโอกาสพบคนไข้ชายหลังเกษียณอายุราชการรายหนึ่ง
อายุ 60 เศษ ร่างกายแข็งแรง ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพใด ๆ
สิ่งที่ชายคนนี้ต้องการคือ ขอตรวจสุขภาพทุกอย่าง ซึ่งแพทย์ก็ยินดีจัดให้
พอมาเจอผลของการตรวจนี้ซิ....
น้ำตาลในกระแสเลือดสูงถึง 350....

เจ้าตัว พร้อมภรรยา ต่างแสดงสีหน้าไม่พอใจจนออกนอกหน้า
พูดอะไรหลายอย่างเหมือนกับเรา ...เป็นจำเลย...
ฝ่ายแพทย์ก็ใจเย็นไม่ว่าอะไร...ของมันผิดพลาดกันได้ ขอตรวจซ้ำ
ผลการตรวจน้ำตาลในเลือด 360 และผลของ A1C 10
คนไข้ และภรรยาของเขา จึงจำนนด้วยหลักฐานแต่โดยดี....
ยอมรับฟังคำแนะนำ และการรักษา

มีผู้ทำการศึกษาเกี่ยวกับคนเป็นเบาหวาน ซึ่งผู้เขียนเคยเสนอไปแล้วว่า
คนในประเทศอเมริกัน มีเพียง 10 % เท่านั้น ที่ได้รับการตรวจพบ ว่าเป็นโรคเบาหวาน
ซึ่งได้รับการวินิจฉัย และการรักษาที่ถูกต้อง

ส่วนชาว Mexoco มีเพียง 1 % เท่านั้น ที่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคเบาหวาน
และได้รับการักษาที่เหมาะสม

สำหรับคนไข้รายที่เสนอไป แม้ว่าจะเป็นข้าราชการที่มีระดับ ยังไม่รู้เลยว่าตนเองเป็นเบาหวาน
ตาสี ตาสา ซึ่งไม่มีโอกาสดีเหมือนชายคนดังกล่าว...จะเป็นอย่างไร?
....
นั่นเป็นเรื่องนอกประเด็น

สิ่งที่จะนำเสนอต่อไปนี้ คือ อาการแสดงเตือนให้ทราบว่า
เราเป็นโรคเบาหวานซะแล้ว
เป็นเรื่องเบา ๆ สำหรับท่านที่ต้องการรู้เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพเท่านั้น

>> Look For These Signs and Symptoms of Diabetes

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

What is Biofeedback?:


Biofeedback...เป็นกรรมวิธีอย่างหนึ่ง ที่แพทย์เขาใช้ในการฝึกสอนคนไข้ ให้มีสุขภาพให้ดีขึ้น
โดยการควบคุมกระบวนการทำงานของร่างกาย ซึ่งทำงานได้เหนืออำนาจบังคับ (involuntary)
กระบวนการดังกล่าว ได้แก่ การเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต อุณหภูมิของร่างกาย
และ ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ

กรรมวิธีดังกล่าว จะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Biofeedback
ทำการตรวจสอบการทำงาน ของอวัยวะภายในของคนไข้
และข้อมูลที่ได้รับจากเครื่อง biofeedback จะปรากฏบนจอคอมฯ ให้ได้รับรู้ทั้งตัวคนไข้ และผู้ให้การรักษา
จากนั้น แพทย์เขาจะใช้ข้อมูลที่ได้มาทำการรักษาโรคต่อไป
โดยการสอนให้คนไข้ใช้สมาธิ (concentration) และการผ่อนคลาย (relaxation)
ทำการควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในกายต่อไป

ประวัติความเป็นมา:
Biofeedback นั้น ได้เกิดขึ้นมานานนมพอสมควร (1960)
ถูกนำมาใช้ในการฝึกฝนคนเราให้สามารถปรับเปลี่ยนการทำงาน (activity) ของสมอง
และกระบวนต่างๆ ภายในร่างกาย ชนิดที่เราไม่สามารถควบคุมได้


จาก Phycho-therapy.com กล่าวว่า มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนไม่น้อย มีความเชื่อว่า
หากมนุษย์เราสามารถควบคุม Biofeedback ได้เมื่อใด เขาย่อมสามารถทำให้เขาฉลาด
และเป็นคนสร้างสรรค์มากขึ้น

พวกเขายังคิดว่า ต่อไปในอนาคต การใช้ยาเพื่อการรักษาโรคอาจไม่จำเป็น หรือกลายเป็นเรืืองหล้าสมัยไป
โดยเขาสามารถเป็นคนที่มีสุขภาพดีขึ้นได้ด้วยการคิดว่า เขามีสุขภาพดีขึ้นเท่านั้นเอง
ขณะที่ความหวังดังกล่าว ดูเหมือนจะห่างไกลจากความเป็นจริงก็ตาม
แต่ผลทางด้านวิทยาศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า มีข้อมูลจำนวนหนึ่งที่บ่งบอกให้ทราบว่า
มันสามารถควบคุมกระบวนการภายในร่างกายของมนุษย์เราได้จริง

ลองมาดูซิว่า Biofeedback มันทำงานกันอย่างไร ?
เราไม่ทราบหรอกว่า กลไกที่แท้จริงของ biofeedback มันทำงานกันอย่างไร
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า การผ่อนคลาย (relaxation)
ถือว่า เป็นหัวใจของกรรมวิธีดังกล่าว

วิธีการรักษาแบบ biofeedback จเกี่ยวเนื่องกับการเรียนรู้ (แม่ว่าจะไม่สมบูรณ์...) กระบวนการทำงาน
ของร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ ควาดันโลหิน และความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ
จากการนำเอาขั้วไฟฟ้าของเครื่องติดกับตัวคนไข้ จากนั้น จะปรากฏมีผลการทำงานของร่างกาย
แสดงออกทางจอภาพในรูปของเสียง หรือแสง ให้คนไข้ได้เห็น
จากนั้น ผู้ทำการรักษาจะเป็นผู้นำพาคนไข้ผ่่านกระบวนการของจิต ที่เกี่ยวกับกระบวนการคิด
จนถึงขั้นใช้จิตของเขากระตุ้นให้เกิดการสนองตอบตามที่ต้องการ

ยกตัวอย่าง

ในคนไข้ที่กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ตัวคนไข้สามารถเอาชนะปัญหา ด้วยการเรียนรู้ว่า จะเอาชนะปัยหาดงกล่าว
ด้วยการหดเกร็งกล้ามเนื้อมัดใด

อีกกรณีหนึ่ง สำหรับคนที่มีความเจ็บปวด หรือมีความเครียด เขาจะถูกสอนให้เรียนรู้ว่า ความเครียดอยู่ที่ใด
และเขาสามารถเรียนรู้ได้ว่า ความคิด หรือความรู้สึกใด เป็นตัวทำให้เกิดความเครียดขึ้น

สุดท้าย เป้าหมายของการสอนคนไข้ในเรื่อง biofeedback คือ เป็นการช่วยให้คนไข้ได้ตระหนักรู้
ถึงกระบวนการทำงานของร่างกายที่เราไม่รู้ (unconscious)
และสามารถจัดการกับมันด้วยความรู้สึกตัว โดยกระบวนการทางความคิดต่อไป

จาก Psycho-therapy.com กล่าวว่า
ความเครียด จะก่อให้เกิดการตอบสนองจากระบบประสาท sympathetic ทำให้
คนเราเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินทันที โดยการหดเกร็งของเส้นเลือด การเต้นของหัวใจเร็วขึ้น
และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ม่านตาขยาย เหงื่อออก และการทำงานของกระเพาะลำไส้ลดลง

เขาคิดว่า Biofeedback มันทำงานได้โดยการสอนให้คนไข้ เปลี่ยนการตอบสนองของร่างกายต่อ
ความเครียดด้วยวิธีการผ่อนคลาย (relaxation)

การทำ Biofeedback ในชีวิตประจำวัน
เรามีโอกาสสัมผัสกับ Biofeedback ด้วยกันทุกคน...
เช่น เมื่อเราเป็นไข้ ต้องมีการวัดปรอทดูอุณหภูมิของร่างกาย และเครื่องชั่งน้ำหนักตัว
ผลที่ได้รับที่เป็น feedback ก็เป็นเรื่องที่จะต้องนำมาพิจารณาต่อไป
ถ้าอุณหภูมิของร่างกายสูง (เป็นไข้) ก็เป็นหน้าที่ของเราจะต้องทำการรักษากันต่อไป เช่่นลดไข้
ถ้าน้ำหนักตัวสูง ก็เป็นหน้าที่ของคนที่น้ำหนักสูง ต้องลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกาย
และรับประทานอาหารที่ถูกต้องเพื่อลดน้ำหนักต่อไป


อุปกรณ์ biofeedback เป็นอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนพอสมควร ซึ่งสามารถตรวจสอบการ
ทำงานต่าง ๆ ของอวัยวะภายใน
เครื่องมือต่าง ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อทำการตรวจ คลื่น Electromyography
เพื่อตรวจดูการเกร็งของกล้ามเนื้อ
Thermo-feedback เป็นการตรวจดูอุรหภูมิของร่างกาย
Neurofeedback (อาจเรียกว่า neuroencephalography) ใช้สำหรับตรวจคลื่นสมอง

เมื่อเราติดเครื่อง biofeedback แก่คนไข้เมื่อใด
คนไข้จะถูกกระตุ้น ด้วยเสียง หรือแสง ต่อความรู้สึกนึกคิด ความรู้สึก และความเข้าใจของเขา
ซึ่งเขาสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการทำงานภายในได้
เช่น การเต้นของหัวใจเป็นต้น

Biofeedback ที่เรานำมาใช้ในสมัยใหม่
ในวงการแพทย์ของเราได้นำเอา biofeedback เข้ามาใช้ในการรักษาคนไข้กันอย่างกว้างขวาง
ซึ่งได้แก่ โรคทางระบบจิตประสาท โรคทันตกรรม อายุรกรรม การพยาบาล กายภาพบำบัด

Biofeedback ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคต่างมากมาย เช่น โรคปวดศีรษะเรื้อรัง
ระบบกระเพาะลำไส้ ความดันโลหิตสูง ความเครียด ซึมเศร้า เบาหวาน หืดหอบ และอื่น ๆ


www.ehow.com/about_5471250_bio-feedback.html#ixzz1W81aHR5v


Exercise to Strengthen Pelvic Floor


ท่านสุภาพสตรี และสุภาพบุรุษ...
ในชวงหนึ่งของชีวิตคนเรา จะประสบกับปัญหาเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะกัน
เช่นปัสสาวะเล็ดในขณะที่ไอ หรือจาม ของสุภาพสตรี
หรือของสุภาพบุุรุษในขณะถ่ายปัสสาวะ จะมีปัญหาเรื่องกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
นั่นเป็นเพราะกล้ามเนื้อของฐานกระดูกเชิงกรานอ่อนแอลงนั่นเอง

ไม่ว่าท่านจะเป็นบุรุษหรือสตรี ท่านสามารถป้องกันมันได้ ด้วยกรรมวิธีที่เรียกว่า
Exercise to sthrengthen the pelvic floor (PF)
กล้ามเนื้อของฐานกระดูกเชิงกราน จะยึด และโยงระหว่างกระดูกหัวเหน่า (pubic bone)
กับกระดูกก้นกบ (tail bone)
กล้ามเนื้อดังกล่าว ร่วมกับเนื้อเนื้อเกี่ยวพัน จะทำหน้าที่รองรับอวัยวะที่อยู่ช่องเชิงกรานของสุภาพสตรี

ทั้งชายและหญิง..กล้ามเนื้อฐานกระดูกเชิงกราน(PF)มีบทบาทสำคัญ คือ
ทำหน้าที่ไม่ให้ปัสสาวะเล็ด และทำให้อวัยวะของสตรีเพศที่อยู่ในที่ของมัน
ในสุภาพสตรี ทุกครั้งที่ตั้งครรภ์ จะทำให้กล้ามเนื้อฐานกระดูกเชิงกรานอ่อนแอลง
ตามรายงานของ The British Journal of General Practice กล่าวว่า
การที่ชายมีกล้ามเนื้อฐานเชิงกราน (PF)อ่อนแอ โดยเฉพาะคนที่มีอายุสูงขึ้น
เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิด Erectile Dysfunction
นอกเหนือไปจากนั้นแล้ว ยังพบว่า แค่กล้ามเนื้อดังกล่าว (PF)อ่อนแรงลง
ก็ทำให้มีอาการปวดหน่วงที่ช่องเชิงกรานเวลาถ่ายอุจจาระ และในขณะมีเพศสัมพันธ์ได้

การบริหารกล้ามเนื้อดังกล่าว (ซึ่งจะกล่าวต่อไป) สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้

สำหรับสุภาพสตรี...ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า กล้ามเนื้อฐานกระดูกเชิงกราน(pelvic floor)
ของท่านมันอ่อนแอหรือไม่ ?
วิธีตรวจ: ให้ปัสสาวะให้เรียบร้อย
อยู่ท่านั่ง หรือนอนหงายก็ได้ ให้สอดนิ้วชี้เข้าไปในช่อง Vagina แล้วให้ท่านบีบ หรือขมีบปลายนิ้วชี้
ซึ่งท่านามารถบอกได้ว่า กล้ามเนื้อดังกล่าวแข็งแรงเท่าใด
ให้ท่านจำความรู้สึกอันนั้นเอาไว้ เพื่อนำไปใช้ในการบริหาร Kigels

การบริหาร Kingels ถูกตั้งตามชื่อของ Dr. Arnold Kigel
เป็นการบริหารเพื่อทำให้กล้ามเนื้อ PF แข็งแรงขึ้น
ตามคำแนะนำของ Dr. Moldwin Ass. Prof. of Uro.
แห่งมหาวิทยาลัย Albert Ainstein University
แนะนำว่า ควรบริหารในขณะที่นั่ง หรือนอนหงาย
เริ่มต้นด้วยการผ่อนคลายก่อน ( relax) จากนั้นให้บริหารกล้ามเนื้อ PF โดยการบีบกล้ามเนื้อ 5 วินาที
แล้วปล่อย...ผ่อนคลาย 10 วินาที วันหนึ่งทำสัก 20 ครั้ง

สำหรับชาย เวลาที่ถ่ายขับถ่ายปัสสาวะ ขณะน้ำปัสสาวะผ่านลำกล้องให้ท่านหยุดมันทันที
กล้ามเนื้อที่ไปหยุดมันนั้นแหละ คือกล้ามเนื้อที่ท่านจะต้องทำการบริหารมันแข็งแรงขึ้น
เช่นเดียวกับการปฏิบัติของสตรี ให้ทำในท่านนั่ง หรือท่านอน บีบกล้ามเนื้อดังกล่าว
ซึ่งก็คือการขมิบนั่นแหละ ใช้เวลาขมิบนานประมาณ 5 วินาที วันหนึ่งทำหลาย ๆ ครั้ง

การบริหารกล้ามเนื้อ PF ด้วยวิธี Kigel ทั้งชาย และหญิง จะทำเหมือนกัน
ในการบริหาร แต่ละครั้งให้บริหารกล้ามเนื้อด้วยการบีบกล้ามเนื้อ หรือขมิบ 5 วินาที
ปล่อย...ผ่อนคลาย 10 วินาที แล้วค่อยทำใหม่ วันหนึ่งทำประมาณ 20

ผลประโยชน์ที่ได้จากการบริหารกล้ามเนื้อของฐานกระดูกเชิงกราน นอกจากจะช่วยแก้ไข
ปัญหาปัสสาวะเล็ดแล้ว สำหรับท่านชายอาจช่วยแก้ปัญหาด้าน Erectile dyscfunction ได้
และสำหรับสตรี สามารถทำให้ชีวิตครอบครัว (เพศสัมพันธ์)ของท่านมีความสุขเพิ่มขึ้นได้...

Exercises to Strengthen the Pelvic Floor | eHow.com http://www.ehow.com/list_7173199_exercises-strengthen-pelvic-floor.html#ixzz1W84c0hISs


วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Chronic Pain Treatment


เนื่องจากเราไม่สามารถบอกได้ว่า อะไรคือสาเหตุของความเจ็บปวดเรื้อรัง
ดังนั้น มันจึงทำให้การรักษาภาวะดังกล่าว ไม่ประสบผลเท่าที่ควรจะเป็น

ตามที่เราได้ปฏิบัติกันเป็นประจำ คนไข้ที่มีความเจ็บปวดเรื้อรังจะได้รับการรักษาด้วยยา
แต่ การรักษาด้วยยาดังกล่าว ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทุกรายไป

ด้วยเหตุผลดังกล่าว คนเราจึงต้องหาหาวิธีการอื่น เพื่อนำมารักษาตนเอง ซึ่งเป็นการรักษาทางเลือก (alternative RX)
วิธีการรักษาเสริม (complementary RX) ซึ่งบางรายไม่จำเป็นอาศัยยาเหมือนก่อน
ก็สามารถควบคุมอาการเจ็บปวดให้ทุเลาลงได้
ซึ่งปรากฎว่า มีปริมาณของคนที่หันมาใช้วิธีการดังกล่าวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

แนวทางการรักษา ที่ถูกนำมาใช้รักษาความเจ็บปวดเรื้อรัง:

Medications for chronic pain treatment:

• NSAIDs. Nonsteroidal anti-inflammatory drugs
เป็นยาที่มีฤทธิ์ลดอาการปวด และการอักเสบ ซึ่งได้แก่
Aspirins Ibuprofen เป็นยาที่เราสามารถซื้อ หรือหาได้จากร้านขายยาทั่วไป
เป็นยาที่ถูกนำมาใช้ลดอาการบวม และลดความเจ็บปวด

• Opioids. เป็นยาแก้ปวด (analgesics) ซึ่งประกอบด้วย codeine และ morphine
เป็นยาที่ต้องได้รับคำสั่งจากแพทย์ เพราะมันก่อให้เกิดอาการง่วงนอน
และหากใช้ไม่เหมาะสม จะเป็นอันตรายต่อชีวิตของคนได้

• Corticosteroids. ยาในกลุ่ม steroids เช่น cortisols และ prednisolone
ซึ่งมีทั้งยาเม็ดสามารถรับประทาน หรือสำหรับฉีด
มันมีฤทธิ์ลดอาการบวมลง และสามารถลดความเจ็บปวดได้ในบางราย
แต่มันไม่มีสารที่จะไหควบคุมความเจ็บปวดเลย

• Antidepressants. Tricyclic antidepressants เช่น amitriptyline
และ amipramine
เป็นยาที่ทำให้ร่างกายผลิตสารเคมีตัวหึ่ง ชื่อ serotonin
ซึ่งสารตัวนี้ จะทำหน้าที่ลดคลื่นสัญญาณความเจ็บปวดไม่ให้เข้าสู่สมองลง จึงทำให้คนไข้ไม่เจ็บปวด

• Tropical Analgesics. สามารถหาซื้อจากร้านขายยาได้ ซึ่งมีในรูปของครีม (cream)
หรือเป็นแผ่น (patch)
วางแปะตรงบริเวณเจ็บปวด ยาพวกนี้สามารถยับยั้งความรู้สึกเจ็บปวดลงได้
โดยการตัดวงจรของความเจ็บปวดลง

• Anticonvulsants. เป็นยาที่ต้องให้แพทย์เป็นคนสั่งใช้ในการรักษาความเจ็บปวด
ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางระบบประสาท
ยาในกลุ่มนี้ สามารถยับยั้งการถ่ายทอดคลื่นประสาทบางอย่าง และถูกนำมาใช้ในการรักษา
โรค migraine และอาการปวดประสาท (neuropathy)
สาร gabapentin เป็นยาที่นำไปใช้รักษาโรคชัก (anti-convulsant) นั้น
ได้ถูกนำมาใช้รักษาคนไข้ที่ทรมานจากอาการปวดประสาท (neuropathic pain)

Non-pharmacological chronic pain management.
เป็นการรักษา โดยไม่ต้องอาศัยตัวยา ซึ่งประกอบด้วย

• Ice. ถึงแม้ว่าเราจะใช้น้ำแข็งประคบความเจ็บปวดเฉียบพลัน เพื่อลดอาการบวมนั้น
สามารถลดความเจ็บปวดเรื้อรังลงได้เช่นกัน นอกจากนั้น ยังทำให้เกิดอาการชาตรงบริเวณที่ประคบน้ำแข็งนั้นด้วย

• Heat. การใช้ความร้อนประคบ สามารถทำให้การไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
ทำให้ข้อไม่ติดยึด ซึ่งถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคไขข้ออักเสบ

• Massage. ในการนวดก็มีระดับเช่นกัน เช่นนวดบริเวณผิว หรือนวดลึกลงไป
สามารถก่อให้เกิดการผ่านคลายของกล้ามเนื้อ และข้อได้
แต่การนวดแรงเกินไป สามารถก่อให้เกิดความเจ็บปวดขึ้นได้เช่นเดียวกัน

• TENs. Transcutaneous Electrical Stimulations
เป็นการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า ด้วยกระแสคลื่นอ่อนๆ โดยวางแผ่น electrode ไว้ตรงตำแหน่งที่มีความเจ็บปวด
การรักษาด้วยวิธีดังกล่าว จะรู้สึกเหมือนมีเข้มแทง

• Relaxation. กรรมวิธีการผ่อนคลาย จะด้วยวีธีใดก็ตาม สามารถผ่อนคลายกล้ามหดเกร็ง
ช่วยทำให้ดึงความสนใจออกจากความเจ็บปวดลงได้ เป็นการผ่อนคลายความเจ็บปวดได้

• Physical Therapy. นอกเหนือจากวิธีการรักษาด้วยวิธีการต่าง เพื่อลดความเจ็บปวด เช่น
การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า (TENs) และ Ultrasound แล้ว นักกายภาพบำบัด
ยังจะช่วยสอนให้ท่านทำการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ เขาจะให้โปรกแกรมการบริหารกล้ามเนื้อ
ของท่านให้แข็งแรงขึ้น และจะทำให้ความเจ็บปวดลดลงได้

Alternative and Complementary chronic pain management.

มีคนจำนวนไม่น้อย ที่ทรมานจากความเจ็บปวดเรื้อรัง นอกจากจะได้รับการรักษาทางแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว
เขายังได้รับการรักษาทางเลือก และการรักษาเสริมให้คบสมบูรณ์ด้วย
เช่น นอกจากการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแล้ว ท่านยังได้รับการฝังเข็ม และกดจุด รวมไปถึงการใช้ยาสมุนไพร

การรักษาด้วยกรรมวิธีดงกล่าว ได้รับการยอมรับจาก FDA ของสหรัฐ ฯ
ให้เป็นส่วนหนึ่งในแผนของการรักษาคนไข้เจ็บปวดเรื้อรังแล้ว...

นอกเหนือไปจากนั้น ยังปรากฏว่า มีการเสริมด้วยวิธีการอย่างอื่น ๆ อีก เช่น อาหารพิเศษบางอย่าง การเล่นโยคะ

ไคโรแพรกติ และ การสะกดจิต เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป ในการรักษาความเจ็บปวดเรื้อรังนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเอาวิธีการหลายอย่าง
เพื่อทำให้คนไข้หายจากความเจ็บปวด และ สามารถคืนสู่สังคมได้เหมือนปกติ
ที่สำคัญ เป็นหน้าที่ของท่าน พร้อมกับแพทย์ผู้รับผิดชอบ จะช่วยให้ท่านสามารถตัดสินใจว่า
จะใช้วิธีการอะไรบ้าง จึงจะเหมาะสมกับสภาพของคน

www.about.com health disease and conditions

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Chronic Pain: (2)

มีผู้คนจำนวนหนึ่ง ตกอยู่ภายใต้ความเจ็บปวดเรื้อรัง
ต้องแบกรับมลทิน...เพราะความเข้าใจผิดของคนรอบข้าง
เขาถูกมองว่า เป็นคนเสแสร้งแกล้งแสดง...โอดครวญด้วยคำบ่นว่า “ตนเองทรมานจากความเจ็บปวด”

เขาถูกปล่อยปละละเลยจากคนรอบข้าง..ทำให้เขาหลุดออกจากสังคมไป
คนไข้หลายราย หมดความภูมิใจในตนเอง หมดศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ไปก็มี.
จัดเป็นเรื่องที่ที่น่าเศร้าเป็นที่สุด

ที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะเรา (คนไกล้ตัว และคนรอบข้าง)...ไม่เข้าใจในโรคความเจ็บปวดเรื้อรังนั่นเอง
หากเราเข้าใจ...คนที่น่าสงสารดังกล่าว คงได้รับความเห็นใจมากกว่านี้

การที่เราไม่รู้ ไม่ได้หมายความว่า เรากระทำผิด...
แต่หากเรารู้แล้ว ไม่แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดให้ถูกต้องนี่ซิ...เป็นเรื่องที่ควรพิจารณา

คำถาม และคำตอบต่อไปนี้...ได้รับความสนใจกันมากพอสมควร
หากเรารู้ และเข้าใจในบทบาทของความเจ็บปวดเรื้อรัง จะช่วยให้เรา และคนที่เรารัก
สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้สมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ต่อไป...

When Does Pain Become Chronic Pain?

หากท่านถูกทรมานจากความเจ้บปวดชนิดใดชนิดหนึ่งนานพอสมควร เช่นเป็นเดือน ๆ หรือมากเกินไป
โอกาสที่คุณจะได้รับ หรือเป็นโรค “ความเจ็บปวดเรื้อรัง” ย่อมมีได้สูง
มันแตกต่างจากความเจ็บปวดเฉียบพลัน(acute pain) ซึ่งมันทุเลาลง และหายไปได้
ส่วนความเจ็บปวดเรื้อรัง (chronic pain) จะเป็นอุปสรรคต่อวิถีการงานของคุณ
ป้องกันไม่ให้คุณทำงานได้ตามปกติ หรือทำให้คุณเกิดความรู้สึกสิ้นหวัง (hopelessness)
หรือกังวลใจ (anxiety)

แพทย์ส่วนใหญ่ จะไม่พิจารณาว่า คนไข้เป็นความเจ็บปวดเรื้อรัง
จนกว่า ความเจ็บปวดนั้น ๆ ยืดเยื้อนานถึง 3- 6 เดือน
และมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้
เมื่อนั้นแหละจึงจะเรียกว่า เป็นความเจ็บปวดเรื้อรัง (chronic pain)

What If I Think I have Chronic Pain?

หากคุณมีความเจ็บปวดชนิดเดิม ยืดเยื้อเป็นเวลาหลายอาทิตย์ และไม่สามารถทำให้ผ่อนคลายลงได้
สิ่งทีท่านต้องกระทำ คือ ไปพบแพทย์ซะ
หน้าที่ของแพทย์ เขาจะทำการตรวจบางอย่าง เพื่อวินิจฉัยโรคของท่าน หรือให้ยารักษาแก่ท่าน
หรือส่งต่อเพื่อการรักษาทางกายภาพบำบัด (physical therapy)ต่อไป

ในระหว่างที่ท่านได้รับการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว สิ่งทีท่านจะต้องกระทำคือ
บันทึกเรื่องราวทุกอย่าง ที่เกี่ยวกับความเจ็บปวดของท่านไว้
ในบันทึกความเจ็บปวดของท่าน จะประกอบไปด้วย ความรู้สึกเจ็บปวดในเวลาที่แตกต่างกัน
เช่น “ความรู้สึกหลังรับประทานยา” “หลังจากได้รับกายภาพบำบัด” “ระหว่างที่ท่านมีความเครียด”
“หลังการรับประทานอาหาร” และ “อารมณ์” ของท่าน


ข้อมูลเหล่านี้ จะ “ช่วย” ทำให้ท่านเข้าใจความเจ็บปวดของท่านดีขึ้น
ขณะเดียวกัน ก็เป็นการช่วยให้แพทย์ผู้ทำการรักษา สามารถวินิจฉัยโรคของท่านได้ถูกต้อง
นั่นคือหน้าที ที่ท่านต้องทำ

How Is Chronic Pain Diagnosed?

ในการวินิจโรคเจ็บปวดเรื้อรัง เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเวลา
ซึ่ง โดยทั่วไปแล้ว เราจะไม่สามารถพบสาเหตุที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดที่ปรากฏได้
และอาการแสดงของความเจ็บปวดทั่วไป มักจะพบเห็นในโรคต่าง ๆ โรด multiple sclerosis โรค Lupus

ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นหน้าที่ของแพทย์ จะต้องตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ และการทำสแกน (scans)
เพื่อตรวจสอบดูโรคว่า มีโรคอะไรที่อาจเป็นต้นเหตุของโรค โดยพิจารณาไปทีละโรค ( rule out)
เมื่อพิจารณาจากวิธีการดังกล่าว หากเราไม่พบโรคใด ๆ เลย
โอกาสที่ท่านจะเป็น น่าจะเป็น Chronic pain เสียแล้ว
การตรวจเพื่อแยกโรคอื่น ออกไป มักจะรวมถึงการตรวจทางเลือด ทางเอกซเรย์
และการตรวจทางระบบประสาท

How can I Treat My Chronic Pain ?

เมื่อคุณไปพบแพทย์ด้วยเรื่องความเจ็บปวด

แพทย์เขาจะสั่งยารักษา (medications) และให้คุณ พร้อมกับให้คุณได้รับกายภาพบำบัด
นั่นเป็นงานประจำที่แพทย์เขาปฏิบัติกัน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความเจ็บปวดเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยบอกเล่า (subjective)ให้แพทย์ฟัง
ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์ไม่พบเหตุของความเจ็บปวด

เราจะพบว่า มีคนไข้บางคนไม่ตอบสนองต่อการรักษา ซึ่งเขาเหล่านั้น
มักจะตะเวนหาทางรักษาจากแพทย์ท่านอื่น
มีคนไข้จำนวนไม่น้อยซื้อยารับประทานเอง...หากเขาเลือกได้ถูกต้อง อาการก็จะดีขึ้น

Will I Have the Chronic Pain for the Rest of My Life ?

ในการรักษาความเจ็บปวดเรื้อรังนั้น จะหาย หรือจะยืดเยื้อไปตลอดชีวิตหรือไม่ ขึ้นกับหลายปัจจัย:
ที่สำคัญ คือ คุณได้รับการตรวจสอบ (วินิจฉัย)ได้ถูกต้องหรือไม่
ตลอดรวมไปถึงการรักษาที่คุณจะได้รับว่า เหมาะสมไหม ?

จากสถิติของ The American Pain Society เขารายงานว่า
ในการรักษาในสถาบัน ที่ได้รับการยอมรับ จะต้องใช้เวลารักษาความเจ็บปวดเรื้อรังอย่างน้อย 6 เดือน
ฟังแล้ว นับเป็นเรื่องที่น่าตกใจ...แต่หากคำนึงถึงกับการปล่อยให้ยืดเยื้อไปตลอดชีวิตแล้ว
การใช้ระยะเวลา 6 เดือน ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วง หรือน่ากลัวแต่อย่างใด

หัวใจสำคัญของการรักษาโรคเจ็บปวดเรื้อรัง คุณจำเป็นต้องค้นหากลยุทธ (strategy)
ที่เหมาะสมให้ได้ และผู้ที่จะให้ข้อมูลได้ดีที่สุด คือแพทย์ของท่านนั้นเอง
คุณสามารถสอบถามจากคนอื่น ๆ ที่มีอาการคล้ายคุณ
หรือ ศึกษาหาความรู้จาก Online (อินเตอรเนต)จะทำให้คุณเข้าใจในโรคของขึ้นดีขึ้น

สุดท้าย ท่านต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนที่ที่อยู่ในกลุ่ม proactive
ซึ่งหมายความว่า ท่านจะไม่รอให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นเอง แต่จะเป็นคนทำให้สิ่งที่คุณต้องการการเกิดขึ้น
โดยไม่ต้องรอช้า...
หากท่านทำได้เมื่อใด...การควบคุมความเจ็บปวดเรื้อรัง ก็ไม่ไกลเกินเอื้อมอย่างแน่นอน


www.pain.about.com/od/whatischronicpain/a/what-is-cp.htm


วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

The Gate Control Theory of Chronic Pain in Action

ความพิสดารที่เราสามารถพบได้ในการทำงานของสมอง ซึ่งเราพบเห็นเป็นประจำ
เช่น สุภาพบุรุษใสรองเท้าฟิต หรือสุภาพสตรีใส่รองเท้าซ่นสูงปี๊ด สิ่งที่เรารู้สึกในตอนแรกมัน
คือปวดที่บริเวณปลายเท้า

แต่พอเวลาผ่านไป ภายหลังจากสัญญาณประสาทที่ส่งไปยังสมอง บอกให้สมองทราบว่า
หลังจากสมองได้ทำการตรวจสอบดูแล้วพบว่า ความเจ็บปวดนั้น ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายแต่ประการใด
สมองจะจัดการปิดเครื่องไม่รับรู้สัญญาณความเจ็บปวดชนิดที่ไม่เป็นอันตรายอีกต่อไป
ทำให้เรา ผู้ใส่รองท้าซ่นสูง หายจากความเจ็บปวดในเพียงไม่กี่อึดใจ
ประสบการณ์อยางนี้ ลองถามสภาพสตรีที่ใส่ซ่นสูง ๆ ดู

กระบวนการทำงานของสมองในลักษณะนี้ จะเกิดขึ้นกับความเจ็บปวดพอประมาณ (moderqated pain)
ยกตัวอย่าง

นี้คือตัวอย่างของความเจ็บปวด ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไป เมื่อข้อมูลภายในสมอง
ถูกทำให้เปลี่ยนแปลงด้วยสมองเอง

o ลองใช้ปลายโลหะ "กด" ที่ผิวหนังของหน้าแขน เมื่อผิวหนัง และกล้ามเนื้อของแขนถูกกดอย่างแรง
ปลายประสาททีนำคลื่นประสาทได้เร็ว (A delta fibers) จะนำความรู้สึกเจ็บปวดวิ่งไปตามเส้นประสาท
สู่ไขประสาท และส่งถึงสมอง

นั่นเป็นเรื่อง หรือเหตุการณ์ตรงไปตรงมาที่เราพบเห็นตามทฤษฎีจำเพาะ (specificity theory)

o ส่วนใยประสาทที่นำความรู้สึกได้ช้ากว่า (C fibers) ซึ่งนำคลื่นสัญญาณความเจ็บปวดเช่นกัน
จะทำให้รู้ปวดชั่วระยะเวลาอันสั้น แล้วอาการปวดทั้งหมดที่เกิดขึ้นก็จะหายไปหมด

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?

นั่นเป็นการทำงานของสมอง
ภายหลังสมองได้ตรวจสอบแล้วพบว่า
ความเจ็บปวดทีเกิดขึ้นนั้น ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย มันจึงทำหน้าปิดประตู
ที่บริเวณไขประสาทสันหลัง เป็นเหตุให้ไม่มีสัญญาประสาทของความเจ็บปวดประตูแห่งความเจ็บปวดไปได้

o สมองรู้ว่า ปลายเหล็กที่กดลงบนผิวหนังนั้น มันทำให้เจ็บจริง
แต่สมองรู้ว่า มันไม่ทำให้เกิดบาดเจ็บใด ๆ
ดังนั้น มันจึงทำการลดคลื่นของสัญญาณประสาทแห่งความเจ็บปวดลง
ทำให้เราไม่รู้สึกเจ็บปวดอีกต่อไป หรืออาจรู้สึกไม่สบายเล็กน้อยเท่านั้นเอง

นั่นคือผลงานของสมองเขาละ

ตัวอย่างที่สอง เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงปัจจัยอย่างอื่น เข้ามามีบทบาทร่วมทำให้เกิดความเจ็บปวดขึ้น
ซึ่งบางครั้ง สามารถทำให้คนไข้ทุกข์ทรมานด้วยความเจ็บปวด:

o สตรีนางหนึ่ง รายงานว่า เธอปวดหลัวเนื่องมาจากมะเร็งของกระดูกสันหลัง
จากการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ไม่พบอะไรผิดปกติเลย ยกเว้นเพียงอย่างเดียว
คือ เธอเป็นโรคปวดหลังจากความเครียดมาก่อน
ความเครียดที่ทำให้เธอปวดหลัง เกิดจากบิดาผู้ชราภาพ ได้รับการวินิจฉัยว่า
เป็นมะเร็งของกระดูกสันหลัง...

เธอรายงานว่า บิดาของเธอ มีอาการปวดหลังเหมือนเธอทุกประการ
จากการซักประวัติ และการตรวจร่างกายอย่างละเอียด พบว่า ร่างกายเธอเป็นปกติทุกอย่าง
แต่เธอตก อยู่ในความกลัวว่า เธอจะเป้นมะเร็งกระดูกสันหลังเหมือนพ่อของเธอ
ยิ่งมีความเชื่อว่า ตัวเองเป็นมะเร็ง ยิ่งทำให้ตัวเองทรมานมากขึ้น

ผลจากการตรวจคลื่นแม่หล็กไฟฟ้า MRI พบว่ากระดูกสันหลัง และประสาทของเธอปกติทุกประการ
เธอถูกวินิจฉัยว่า เป็นโรคปวดหลังจากความเครียด (stress-related back pain)
ซึ่งเธอได้รับการรักษาด้วยกรรมวิธีหลาย ๆ ร่วมกัน ในไม่ช้า อาการของเธอก็หายสนิท
สามารถกลับสู่การงานได้เหมือนเดิม

จากตัวอย่างทั้งสอง ทำให้เราได้เห็นความสลับซับซ้อนขอบสมอง โดยเฉพาะความเจ็บปวด
มันไม่ตรงไปตรงมาเหมือนกับทฤษฎีความจำเพราะ (specificity theory)
ที่บอกว่า จะต้องมีสาเหตุทางร่างกาย (บาดเจ็บ) เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดก่อน
แล้วส่งคลื่นประสาท ที่เป็นสัญญาณของความเจ็บปวดสู่สมอง
นั่นเป็นเรื่องเกี่ยวกับเจ็บปวดแบบเฉียบพลัน ที่เราพบกันทั่วไป

แต่ความเจ็บปวดเรื้อรัง มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่มีปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งไม่เกี่ยวกับร่างกาย
เป็นตัวทำให้เกิดความเจ็บปวดขึ้น
ซึ่งพอจะสรุปได้ว่า ความเจ็บปวดเรื้อรังนั้น ไม่ใช้อาการของบาด
แต่เป็นโรค หรือเป็นกระบวนการอันซับซ้อน
ที่มีปัจจัยมากมายเป็นตัวก่อให้เกิดความเจ็บปวดขึ้น

กล่าวโดยสรุป ความเจ็บปวดเรื้อรัง ไม่ใช่อาการแสดงของโรคตามที่เราเข้าใจกัน แต่เป็นภาวะหนึ่่ง
ที่มีปัจจัยหลายอย่างเข้ามเกี่ยวข้อง รวมทั้งสมองเอง
ต่างมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้มึความเจ็บปวดเรื้อรังขึ้น
หากเราไม่เข้าใจเรื่องเหล่านี้
เราจะไม่สามารถให้การรักษาคนไข้ทีมีอาการเจ็บปวดเรื้อรังให้หายได้เลย


www.spine-health.com/conditions/chronic-pain/opening-and-closing-pain-gates-chronic-pain

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

The Brain: สมองมีบทบาทเกี่ยวกับความเจ็บปวดเรื้อรังอย่างไร ?

เมื่อสัญญาณประสาทวิ่งถึงสมอง จะมีหลายอย่างปรากฏขึ้น
ภายในก้านสมอง (brain stem) ซึ่งเป็นส่วนที่ติดต่อระหว่างตัวสมอง (Brain)
กับไขประสาทสันหลัง (Spinal Cord) สามารถยับยั้ง
หรือปรับคลื่นสัญญาณประสาทความเจ็บปวด
ให้ลดลง โดยการสร้างสาร endorphins ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ morphine
ซึ่งเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ
นอกจากนั้น เรายังพบอีกว่า ความเครียด (stress) ความตื่นเต้น (excitement)
และการออกกำลงกายอย่างหนัก ต่างสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้าง endorphins ขึ้นได้

ผลกระทบที่เกิดจาก endorphine ซึ่งเราพบได้บ่อย ๆ คือ นักกิฬาที่ประสบอุบัติเหตุ
ขณะทำการแข่งขันในสนาม เขาจะไม่มีความเจ็บปวดจนกกว่าเกมจะยุติลงแล้ว

และจากการออกกำลังกายแบบ aerobic exercise
เช่น ปั่นจักรยาน สามารถลดความเจ็บปวดเรื้อรังได้เช่นเดียวกัน

สัญญาณประสารทที่ปรากฏในสมอง ยังวิ่งไปในหลายทิศทาง ดังนี้

• คลื่นของสัญญาณประสาท ที่วิ่งไปตามเส้นประสาท A-delta fibers
มันจะส่งคลื่นความเจ็บปวดไปประสาทสันหลัง แล้วส่งต่อไปยังสมองสองส่วน
คือ thalamus และ cerebral cortex

สมองส่วน cortex ถือเป็นตำแหน่งสูงสุดที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิดสูงสุด
ซึ่งสมองส่วนนี้เอง เมื่อคลื่นประสาทนำความเจ็บปวดโดย ใยประสาท A-delta
วิ่งถึงสมองส่วนนี้ (cortex) เมื่อใด มันจะออกคำสั่งทันที
ให้มีการลดระดับความเจ็บปวดลง พร้อมกับ เตือนให้รู้ถึงภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้น

• เพื่อเป็นการเปรียบเทียบ ในกรณีของปวดเรื้อรัง
คลื่นของสัญญาณประสาทจะวิ่งไปตามใยประสาทที่นำความเร็วได้ช้า (C-fibers)
ซึ่งลักษณะของความเจ็บปวดจะแตกต่างจากพวก A-deta fibers
นั่นคือ ความเจ็บปวดมีลักษณะไม่ชัด (dull) มีอาการปวดแสบปวดร้อน
และมีอาการปวดกล้ามเนื้อปั้น

เมื่อคลื่นของสัญญาณประสาท ที่วิ่งไปตามใยประสาท C –fibers
เมื่อมันเคลื่อนถึงไขประสาทสันหลัง และส่งไปยังสมองส่วนที่เรียกว่า hypothalamus
และส่วนที่เรียกว่า Lymbic system
ส่วนของสมอง Hpothalamus จะรับผิดชอบกับการปล่อยสารฮอร์โมน
ที่รับผิดชอบต่อความเครียดออกมา (stress hormone)
ส่วน Lymbic system จะรับผิดชอบกับกระบวนการทางด้านอารมณ์ต่างๆ

จากความจริงของกระบวนการดังกล่าวมา ทำให้เราทราบว่า
ทำไมคนที่ทรมานจากความเจ็บปวดเรื้อรัง จึงมีอาการทางด้านจิตประสาทขึ้นได้
(เครียด กังวล และอาการซึมเศร้า)


นอกเหนือไปจากนี้ ตัวสมองเอง ยังสามารถควบคุมสัญญาณประสาทความเจ็บปวดเรื้อรัง
ด้วยกระบวนการทำให้มีคุณลักษณะบางอย่างเกิดขึ้นในตัวบุคคล
รวมถึงการแสดงออกทางสังคมอีกด้วย

นับเป็นความมหัศจรรย์ยิ่ง ที่ทำให้เราเห็น ทหารที่ได้รับบาดเจ็บในสงคราม
แสดงออกถึงความเจ็บปวดได้น้อยมาก ซึ่งต่างจากคนธรรมดาทั่วไป
ที่ได้รับบาดเจ็บเหมือนกัน แล้วแสดงออกถึงความเจ็บปวดเสียมากมาย
ที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะสมองเป็นผู้บงการทั้งนั้น

>>cont:Opening and closing the pain Gates for chronic Pain

Pain Signals to the Brain form Spine




เมื่อคลื่นความเจ็บปวด (pain massage) จากปลายประสาทที่ถูกกระตุ้นด้วยบาดแผล
จะวิ่งไปตามเส้นประสาทสู่ไข้ประสาทสันหลัง (spinal cord)
ที่บริเวณด้านหลังของไขประสาทสันหลังนี้เอง ที่มีใยประสาทรวมกันเป็นมัด
เป็นตำแหน่งที่เราเรียกว่าประตู (gate)
เพื่อให้สัญญาณประสาทของความเจ็บปวดผ่าน

มันจะอยู่ระหว่างสมอง และเส้นประสาทส่วนปลาย
ทำหน้าที่เป็นประตู ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนผ่านของสัญญาณประสาท
ที่จะส่งผ่านไปยังสมอง

เราพบว่า มีปัจจัยหลายอย่าง เข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำให้คลื่นประสาทเคลื่อนผ่านประตูดังกล่าว
ได้แก่ ความเข็มข้นของคลื่นความเจ็บปวดเอง และการแข่งขัน (competition)
ระหว่างคลื่นประสาท ต่าง ๆ ( pain signals vs touch and pressue signals)
ถ้าผลออกมาเป็นว่า คลื่นของความเจ็บปวดแพ้ (pain signals)
คนไข้ก็ไม่รู้สึกเจ็บปวด หรือปวดน้อยลง

ที่เป็นเช่นนั้น เพราะคลื่นสัญญาณความเจ็บปวดไม่สามารถผ่านประตูไปได้

การที่สัญญาณประสาทสามารถผ่านประตูที่ไขประสาทสันหลัง ได้หรือไม่
มันขึ้นกับประตู (gate) จะเป็นตัวจัดการกับคลื่นเหล่านั้นเอง โดย:

• ประตูปล่อยให้คลื่นประสาทผ่านไปสู่สมอง

• เปลี่ยนแปลงคลื่นประสาทก่อนที่มันจะผ่านประตู เช่น ความคาดหวังของคนไข้เอง

• ป้องกันไม่ให้คลื่นความเจ็บปวดเคลื่อนผ่านไป โดยการสะกดจิตให้หลับ

ความสลับซับซ้อนจะปรากฏให้เห็นในคนไข้ที่ถูกตัดขา แล้วเกิดมีความเจ็บปวดเรื้อรัง
ธโดยที่มีสัญญาณประสาทของความเจ็บปวด
จะมาจากขาที่ถูกตัดนั่นเอง

ทฤษฎีประตูแห่งความเจ็บปวด (Gate control theory) จะให้แนวความคิด
ซึ่งสามารถนำมาอธิบายกระบวนการอันสลับซับซ้อนที่ปรากฏภายระบบประสาท
ซึ่งเราเชื่อว่า เป็นศูนย์กลางของความซับซ้อนทั้งหลายของมนุษยชาติ


>> cont. The Brain: บทบาทในความเจ็บปวดเรื้อรัง

Modern Idea: Gate Control Threory


จากบทความที่แล้ว...
ได้กล่าวถึงความเจ็บปวดเรื้อรัง...ที่เกิดขึ้นกับคนไข้ โดยเริ่มต้นที่บาดแผล
ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความเจ็บปวด พอแผลหาย คนหนึ่งหายปวด อีกคนหนึ่งกลับตรงข้าม
เขายังมีความเจ็บปวดยืดเยื้อต่อไป
ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า....ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?

ปรากฏว่า มีทฤษฎีหนึ่ง มีชื่อว่า Gate Control Theory โดยนาย Donald Malzac
และนาย Patrick Wall เป็นคนตั้งขึ้น ในปี 1960
จากทฤษฎีของเขา ได้อธิบายถึงความสำคัญของจิต และสมอง
ซึ่งมีบทบาทต่อการรับรู้ของคนไข้ ที่มีต่อความรู้สึกความเจ็บปวดเรื้อรัง

แม้ว่า มันจะอธิบายถึงพื้นฐานทางจิตใจ (mental)ก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่า
ความเจ็บปวด และ ปัจจัยทางจิต ซึ่งมีอิทธิพลต่อความเจ็บปวดนั้น ต่างมี
พื้นฐานมาจากทางสรีระของระบบประสาท


เมื่อพูดถึงประตูให้สัญญานประสาทของความเจ็บปวดวิ่งผ่าน ( Gate control theory of pain)
ทำให้นึกถึงงานหมั้น และงานแต่งเอาลูกสะใภ้
ในพิธีการตอนหนึ่ง เขาจะมีการผ่านประตูเงิน ประตูทองเสียก่อน..
หากซองแดง (เงิน) ไม่เป็นที่พอใจของผู้รักษาประตู...เขาไม่ยอมเปิดประตูให้ผ่านไปได้
ซอที่บรรจุแบงค์ ต้องมากพอสมควร...

ใน Gate control theory of pain ประตูให้สัญญาณประสาทความเจ็บปวดผ่าน
ก็มีลักษณคล้ายๆ กัน
มันคล้ายอย่างไร ?

การที่คนเราจะรู้สึกเจ็บปวดได้ จำเป็นต้องอาศัย การทำงานร่วมกัน
ระหว่างประสาทส่วนกลาง และประสาทส่วนปลาย
ซึ่ง มีกระบวนการส่งคลื่นความรู้สึกเจ็บปวด (pain signal)
ตามวิธีของมันเอง

เมื่อได้รับบาดเจ็บขึ้น คลื่นของความรู้สึกเจ็บปวด หรือสัญญาณประสาทจากปลายประสาท
จะวิ่งไปยังประสาทไขสันหลัง แล้วส่งต่อไปยังสมอง
ซึ่งกล่าวมาแล้ว ในทฤษฎีความจำเพาะ (specificity theory)

อย่างไรก็ตามกระแสประสาทแห่งความรู้สึกเจ็บปวด (pain signal) ก่อนที่จะส่งถึงสมอง
มันจะต้องผ่านประตู (gate) ที่บริเวณไขประสาทสันหลังเสียก่อน
โดยประตูที่กล่าวถึงนั้น จะ “ปิด” หรือ “เปิด” เพื่อให้คลื่นประสาทผ่านได้หรือไม่ นั้น
ต้องขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง รวมถึงคำสั่ง ที่ส่งลงมาจากสมองโดยตรง

เมื่อประตู (gate) ที่ไขประสาทสันหลังเปิด คลื่นความรู้สึกเจ็บปวดก็สามารถผ่านไปได้
ทำให้คนไข้รับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด
หากประตูปิด คลื่นความเจ็บปวดไม่สามารถผ่านประตูไปได้..
คนไข้ก็ไม่สามารถมีความรู้สึกเจ็บปวด
มันก็เท่านั้นเอง....
ดูไปแล้ว เหมือนวิธีการแต่งของลูกชาย...ตอนผ่านประตูเงิน ประตูทอง

แม้ว่าเราจะไม่เข้าใจรายละเอียดว่า การควบคุมการปิด -เปิดประตู
เพื่อให้ความรู้สึกเจ็บปวดผ่านไปยังสมองได้ก็ตาม
แต่ แนวคิดที่จะเสนอต่อไป สามารถอธิบายได้ว่า
การรักษาบางอย่าง สามารถรักษาคนไข้ที่ทรมานจากความเจ็บปวดได้


The Peripheral nervous system: มันเกี่ยวข้องกับการเจ็บปวดอย่างไร ?

ปลายประสาทรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้สึกต่าง ๆ เช่น ความเจ็บปวด (pain) ความร้อน (heat)
ความเย็น (cold) และความรู้สึกอื่น ๆ จากส่วนต่างๆ ของกาย
ที่ถูกส่งไปยังไขประสาทสันหลังนั้น
อย่างน้อย ๆ มีใยประสาทอยู่สองชนิด ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกเจ็บปวด (pain)
นั้นคือ

• A delta fibers ซึงจะนำคลื่นกระแสไฟฟ้า
ที่เป็นคลื่นประสาทด้วยความเร็ว 40 mph
• C-fibers จะส่งคลื่นกระแสไฟฟ้าด้วยความเร็วแค่ 3 mph

เมื่อมีการกระตุ้นปลายประสาททั้งสองเข้า ใยประสาท A-delta fibers
จะส่งคลื่นความรู้สึกเจ็บปวดได้ความเร็วสูง (40 mph)
และตามด้วยความคลื่นประสาท ที่นำสัญญาณประสาทได้ช้ากว่า
โดยเป็นประสาท (ใยประสาท) C-fibers (3 mph)

หากมีการกระตุ้นปลายประสาทชนิดอื่นเข้า ซึ่งสามารถนำคลื่นประสาทด้วยความเร็วสูงกว่า A –delta fibers
เช่น คลื่นประสาที่เกิดจากการกด (pressure) การสัมผัส (touch)
ผลของการกระตุ้นประสาทดังกล่าว สามารถปรับเปลี่ยนคลื่นประสาท ที่วิ่งไปตามเส้นประสาท
A-delta หรือแม้กระทั้งทำให้คลื่นประสาทหยุดชะงักลงที่ประตู (gate)
ซึ่งหมาความว่า คนจะมีความรู้สึกเจ็บปวดน้อยลง หรือไม่รู้สึกเจ็บปวดเลย

ยกตัวอย่างเช่น เวลาเราถูกกระแทกที่บริเวณของศอกอย่างแรง
เราจะรู้สึกเจ็บปวด ตรงบริเวณถูกกระทแก นั่นเป็นเรื่องปรกติ ซึ่งเราได้ทราบจากทฤษฎีจำเพาะมาแล้ว
พอเรานวดคลึงบริเวณที่ถูกกระแทก จะทำให้อาการเจ็บปวดลดลง...
ที่เป็นเช่นนั้น เพราะปลายประสาทที่ทำหน้าที่รับการนวดคลึง
สามารถส่งคลื่นประสาทด้วยความเร็งที่สูงกว่า A-delta fibers (ส่งสญญาณประสาทของความเจ็บปวด)
จึงทำให้ประตูที่อยู่ในบริวเณด้านหลังของประสาทสันหลังปิดลง ไม่อนุญาตให้คลื่นความเจ็บปวด
ผ่านไปยังสมองได้


จากปรากฏการณ์ดังกล่าว สามารถทำให้เราอธิบายได้ว่า การรักษาคนไข้ด้วยการนวด (massage)
ประคบด้วยความร้อน (heat) ประคบด้วยถุงน้ำแข็ง กระตุ้นด้วยไฟฟ้า (TNS) หรือการฝังเข็ม
ทำไมอาการปวดจึงบรรเทาลงได้

ปลายประสาท ที่บริเวณสันหลัง จะทำหน้าที่ส่งคลื่นความรู้สึกเจ็บปวด
ไปยังไขประสาทสันหลัง และส่งต่อไปยังสมอง
ความรู้สึกที่ส่งไปยังไขประสาทสันหลัง และยังสมอง จะถูกยับยั้งโดยกระบวนการดังที่กล่าวมา
ทำให้คลื่นประสาท ไม่สามารถส่งไปยังสมองได้

ในกรณีของการปวดหลัง ปลายประสาทที่ทำหน้าที่ตรวจรับความรู้สึกเจ็บปวดต่าง ๆ ในบริเวณกระดูกสันหลัง
เช่น กล้ามเนื้อ เอ็น พังผืด หมอนกระดูก ข้อกระดูกสันหลัง (facet joints) และกระดูกสันหลัง

เมื่อส่วนต่างๆ เหล่านี้ เกิดอักเสบ ผิดรูป หรือ...
มันจะกระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวด(nociceptors )
แล้วส่งคลื่นที่เป็นสัญญาณประสาทแห่งความเจ็บปวด ไปยังประสาทสันหลัง
แล้วส่งต่อไปยังสมองต่อไป

คลื่นประสาทที่ทำหน้าที่ส่งคลื่นความเจ็บปวด (a delta fibers) สามารถควบคุม
โดยคลื่นประสาทเส้นอื่น ๆ ที่สามารถนำคลื่นประสาท หริอสัญญาณประสาทได้เร็วกว่า คลื่นความเจ็บปวด
เส้นประสาทเหล่านั้น แก่เส้นประสาทที่นำความรู้สึกเกี่ยวกับการสัมผัส (touch)
และแรงกด (pressure)

จากความรู้ดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นปุ่มประสาท
ที่มีความเร็วสูงกว่า ความเร็วของคลื่นที่วิงไปตามใยประสาทที่ำทหน้าที่ส่งคลื่นความเจ็บปวด


>> continue: Pain sigals from spine to the Brain

วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Modern Theories of Chronic Pain



หนึ่งในวิชาการแพทย์สมัยใหม่ คือวิชาว่าด้วยความเจ็บปวดเรื้อรัง-
“Gate Control Theory”

หากเราทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้ดี จะทำให้เราเข้าใจปรากฏการณ์หลายอย่าง
ที่เกิดขึ้นในตัวของคนเราได้...
โดยแฉพาะประโยคเหล่านี้:
“เอะ..ทำไม...มันจึงเป็นเช่นนั้น...”

สำหรับในวงการแพทย์ เราสามารถนำทฤษฎีดังกล่าว มาช่วยวินิจฉัยโรค “เจ็บปวดเรื้อรัง”
ตลอดรวมไปถึงการวางแนวทางในการรักษาโรคได้อีกด้วย
ก่อนอื่น เราลองพิจารณาทฤษฎี The Specificity Theory of Pain ก่อนเป็นไร ?

The Specificity theory of Pain:
เป็นทฤษฎีแห่งความจำเพาะ....

เป็นทฤษฎีที่เก่าแก่ที่สุด ที่เกี่ยวกับความเจ็บปวด
ในศตวรรษที่ 16 นาย Rene Descartes นักปรัชญา...
เป็นคนแรกที่ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับความเจ็บปวดขึ้น เขากล่าวว่า:
“ความรุนแรงของความเจ็บปวดที่มนุษย์เรารู้สึกนั้น จะมีความสัมพันธุ์กับปริมาณของบาดเจ็บที่เกิด”
บาดแผลเล็ก ก็รู้สึกเจ็บน้อยหน่อย แต่บาดแผลใหญ่ก็ปวดมากขึ้น
ยกตัวอย่าง ถูกเข็มที่มตำที่ปลายนิ้วมือ กับ มือถูกมีดบาด
นั่นเป็นเรื่องตรงไปตรงมา...
จากตัวอย่างนี้...ถ้าเราจะแปลคำว่า “ทฤษฎีแห่งความจำเพาะ” เป็นทฤษฎีแห่งความตรงไปตรงมา
ไม่มีความสลับซับซ้อนอะไร น่าจะทำให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้นนะ ?

ทฤษฎีแห่งความจำเพาะนี้ จะมีความเที่ยงตรงเฉพาะกับบาดเจ็บบางอบ่าง
ซึ่งทำให้เกิดมีความเจ็บปวดเฉียบพลันเท่านั้น

แต่ถ้าเป็นความเจ็บปวดเรื้อรัง มันไม่ตรงไปตรงมาอย่างนั้น
แม้ว่า ความเจ็บปวดเรื้อรังที่ปรากฏนั้น ถึงจะไม่รุนแรงก็ตาม เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อน
จึงจะสามารถรักษาคนไข้ที่ทรมานด้วยความเจ็บปวดเรื้อรังได้
แต่ก็มีเรื่องที่ไม่ค่อยจะยินดีนัก เมื่อมีแพทย์จำนวนหนึ่ง พยายามเอาทฤษฎีแห่งความจำเพาะ
มาอธิบาย “ความเจ็บปวดเรื้อรัง”
ซึ่งมันเป้นความเข้าใจผิด...

ในการแก้ปัญหาให้คนไข้ที่ทรมานด้วยความเจ้บปวดเรื้อรัง ด้วยทฤษฎีดังกล่าว
เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
ยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม เช่น การรักษาด้วยยารักษา (medications) หรือด้วยการผ่าตัด
(surgery) ซึ่งสามารถกำจัดต้นเหตุให้เกิดความเจ็บปวดออกทิ้งไปได้
ความเจ็บปวดที่นั้น จะหายไป...
แต่ตามความเป็นจริงแล้ว พบว่า มีคนไข้จำนวนไม่น้อยที่มีความเจ็บปวดเรื้อรัง
เมื่อได้รับการรักษาตามที่กล่าวมา (medication &surgery) ผลปรากฏว่า
ความเจ็บปวดยังคงมีอยู่ต่อไป

ถ้าแพทย์ยังขืนดันทุรัง ทำการรักษาคนไข้ที่เจ็บปวดเรื้อรัง โดยอาศัยความตรงไปตรงมา
ดังที่กล่าวมา ตามทฤษฎีว่าด้วยความจำเพาะ
อะไรจะเกิดขึ้นได้บ้าง ?
แน่นอน... คนไข้จะได้รับความเสี่ยง (risks) ต่อการได้รับการตรวจ
ที่ไม่จำเป็นต่างๆ ซึ่งไม่สามารถให้คำวินิจฉัยที่ถูกต้องได้
ตลอดรวมไปถึง การหยิบยื่นการรักษาที่ไม่มีประสิทธิภาพแก่คนไข้...
ซึ่งนอกจากจะทำให้คนไข้เสียทรัพย์มากขึ้นแล้ว ยังเพิ่มอันตรายให้แก่คนไข้ได้อีกด้วย

ปัญหาต่าง ๆ ที่พบเห็นในทฤษฎีแห่งความจำเพาะ กับความเจ็บปวดเรื้อรัง :

ผลการศึกษาที่ได้จากคนไข้ ได้พิสูจน์ว่า ทฤษฎีแห่งความจำเพาะ ไม่สามารถอธิบายเรื่อง
ความเจ็บปวดเรื้อรังได้
Dr. Henry Beecher แพทย์สนาม ที่ได้ทำการรักษาทหารบาดเจ็บในสมัยสงคราม
โลกครั้งที่สอง เป็นบุคคลแรกที่มีความสงสัยในทฤษฎีดังกล่าว
โดยเขาได้พบข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ทหารที่ถูกหามส่งตัวเข้าสถานพยาบของทหาร พบว่า
มีทาหารบาดเจ็บ 1 ใน 5 มีความเจ็บปวดมากพอที่ต้องการ morphine แก้ปวด
ที่สำคัญ คนที่ต้องการ morphine นั้น ไม่อยู่ในภาวะช๊อค หรือไม่สามารถ
ที่จะทนต่อความเจ็บปวด
แต่เขาจะมีความเจ็บปวดเมื่อเขาต้องได้รับการต่อเมื่อเขา ถูกแทงเส้นเลือด
เพื่อต่อเส้นเลือด กับถุงน้ำเกลือเท่านั้น
ซึ่งเป็นเรื่งที่น่าแปลก

หลังจากสงครามสิ้นสุดลง เขากลับสหรัฐฯ ทำการรักษาคนไข้ที่ได้รับบาดเจ็บ
เขาสังเกตเห็นคนไข้ ที่ได้รับบาดเจ็บเหมือนกับทหารในสนามรบ
ในคนไข้เหล่านั้น น่าจะได้รับ morphine เพื่อรักษาความเจ็บปวด
แต่ความจริงมีว่า มีเพียง 1/3 เท่านั้น ที่ต้องการ morphine
จากความจริงดังกล่าว ทำให้เขาสรุปได้ว่า
บาดเจ็บที่เกิดขึ้น ไม่สัมพันธุ์กับความรุนแรงของความเจ็บปวดเลย

เขามีความเชื่อว่า การแสดงออกของแต่ละคนต่อบาดเจ็บ คนไข้จะมีคุณลักษณะบงอย่างเกิดขึ้น
(attaching meaning)
ซึ่ง สามารถนำมาอธิบายถึงระดับความรุนแรงของความเจ็บปวดในแต่ละคนได้
เช่น ทหาร ที่ได้รับบาดเจ็บในสงคราม หมายถึง “รอดตาย”
และจะได้กลับบ้านกลายเป็นวีระบุรุษ
ในทางตรงกันข้าม ชาวบ้านที่ได้รับบาดเจ็บเหมือนกัน หมายถึงว่า
เขาจะต้องเผชิญกับการผ่าตัดใหญ่ สูญเสียรายได้ ไม่สามารถออกกำลังกายได้เหมือนเดิม
และสูญเสียอย่างอื่น ๆ อีกหลายอย่าง
และการแสดงออกของคนทั้งสองกลุ่ม จะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

นอกจากนั้น ยังมีอีกกรณีหนึ่ง ที่ทำให้ทฤษฎีจำเพาะ หมดความหมายไป
คือ คนไข้ที่ถูกตัดขาไป แล้วเกิดความเจ็บปวดที่ตรงบริเวณของขาที่หายไป (phantom pain)
ซึ่ง ตามความเป็นจริงแล้ว เขาไม่มีขาเหลืออยู่ ไม่มีบาดแผลเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดได้
ดังนั้น specificity theory จึงไม่สามารถอธิบายเรื่องความเจ็บปวดเรื้อรังได้

นอกจากนี้ ทฤษฎีแห่งความจำเพาะ ไม่สามารถอธิบายได้ว่า
การสะกดจิตทำไมคนไข้จึงหายจากความเจ็บปวด
ทั้ง ๆ ที่ภายใต้การสะกดจิตนั้น ร่างกายได้มีบาดแผลจากการผ่าตัดเกิดขึ้น โดยคนไข้มีรู้สึกเลย
และจากการสังเกตการณ์ดังกล่าว พบว่าภาวะของจิตจะอยู่เหนือความเจ็บปวด
และจากกรณีดังกล่าว พบว่า คนไข้บางรายที่มีบาดเจ็บนิดเดียว แต่รู้สึกมีความเจ็บปวดเสียมากมาย...
ส่วนที่ได้รับบาดเจ็บมาก กลับไม่ค่อยจะมีความเจ็บปวดมาก
นั่นเป็นผลมาจากจิตตัวเดียวนั้นเอง ที่เป็นตัวทำให้เกิดปราฏการณ์ดังกล่าว


>>Cont… Modern Idea :Gate Control Theory of Chronic Pain


วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

When acute pain become chronic pain


 ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง  สำหรับแพทย์ และตัวผู้ป่วยเองว่า 
จะต้องเข้าใจในความแตกต่าง ระหว่างความเจ็บปวดอย่างเฉียบพลัน  และความเจ็บปวดเรื้อรัง

ในความเจ็บปวดชนิดเฉียบพลัน (acute pain)  มันเป็นอาการของบาดแผล  หรือโรคที่เกิดกับเนื้อเยื่อ
เมื่อบาดแผลที่เกิดหายสนิท  อาการเจ็บปวดก็จะหายไปด้วย
นั่นเป็นเรื่องที่เราทุกคนเข้าใจกันดี
ยกตัวอย่าง  เช่น  หมอนกระดูกสันหลังแตกและกดเส้นประสาท  แล้วทำให้เกิดความเจ็บปวดร้าวไปขา
เมื่อเอาหมอนกระดูกที่แตกออกไป   อาการปวดก็จะหายไป

จากเหตุผลดังกล่าว  การรักษาอาการปวดเฉียบพลัน
 จึงมุ่งตรงไปที่  ทำให้ต้นเหตุของโรคหายไป  อาการปวดก็จะหายไปได้เอง

นอกเหนือไปจากนั้น  อาการปวดเฉียบพลันที่เกิดขึ้น  จะสัมพันธุ์โดยตรงกับระดับ
ของบาดเจ็บที่เกิดขึ้น  ซึ่งก่อให้เกิดแรงสะท้อน เพื่อการป้องกันตัวเองขึ้น (protective reflex)
เช่น  หยุดการเคลื่อนไหว 
ตรงข้ามกับความเจ็บปวดเรื้อรัง  จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น 
ไม่มีการกระตุ้นให้เกิดการป้องกันตนเอง
(no protective reflex)

การรักษาความเจ็บปวด  ทั้งสองชนิด  ก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

มีความจริงอย่างหนึ่ง  ซึ่งเราไม่ค่อยจะเข้าใจ
เช่น  คนไข้สองคน  ต่างได้รับบาดเจ็บเหมือนกันทุกอย่าง  คนหนึ่งเมื่อบาดแผลหาย  ความเจ็บปวดก็หาย
ส่วนอีกคนหนึ่ง เมื่อบาดแผลหายไปแล้ว แทนที่อาการเจ็บปวดจะหายไป  แต่กลับยืดเยื้อต่อไป
กลายเป็นความเจ็บปวดเรื้อรังไป

อีกกรณีหนึ่ง  บาดเจ็บที่ได้รับเป็นบาดเจ็บเล็กน้อย  แต่เมื่อแผลหายแล้ว
เขากับมีอาการปวดรุนแรง  และยังยืดเยื้อต่อไป
ส่วนอีกคนได้รับบาดแผลรุนแรงกว่ามาก  เมื่อแผลหายแล้ว  ความเจ็บปวดก็หายไปด้วย
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น  ไมมีใครสามารถอธิบายได้

วิชาการแพทย์ด้านความเจ็บปวด (pain medicine)  และการรักษาความเจ็บปวด
(pain management)  ได้กลายเป็นวิชาการแพทย์อีกสาขาหนึ่งขึ้นมา

นั่นคือ  ความเจ็บปวดเรื้อรัง  ได้กลายเป็นโรคอีกโรคหนึ่งขึ้น
มันไม่ใช้อาการของโรค  ตามทีเราเคยเข้าใจมาก่อนซะแล้ว
ขณะเดียวกัน  เราจะพบว่า  วิชาการรักษาความเจ็บปวด  ก็เริ่มจะเป็นสาขาพิเศษขึ้นมา
นั่นคือ เรื่องราวของชนิดต่าง ๆ ของความเจ็บปวดอย่างย่อที่สุด

http://www.spine-health.com/conditions/chronic-pain/when-acute-pain-becomes-chronic-pain

Types of Back Pain: Acute, Chronic and Neuropathic pain


เป็นที่ยอมรับกันว่า  หากเราสามารถทำความเข้าใจว่า  ความเจ็บปวดเกิดขึ้นได้อย่างถ่องแท้
ว่า  อาการปวดนั้น  มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
การควบคุมรักษาความเจ็บปวดนั้น  ก็ไม่ใช่เรื่องยากแต่ประการใด

เพื่อความใจในความเจ็บปวดดีขึ้น  ขอแบ่งความเจ็บปวดเป็นสามเกลุ่ม ดังนี้

·         Acute pain (ความเจ็บปวดเฉียบพลัน)
·         Chronic pain (ความเจ็บปวดเรื้อรัง)
·         Neuropathic pain (ความเจ็บปวดประสาท)

Acute pain
เป็นความเจ็บปวดที่พบได้บ่อยที่สุด  ซึ่งทุกคนต่างประสบมาด้วยกันทั้งนั้น
มันหมายถึงความเจ็บปวดเกิดขึ้นแล้ว  ไม่ยืดเยื้อ  เป็นความเจ็บปวดที่น้อยกว่า 3 เดือน
หรือเป็นความเจ็บปวดที่ยังคงมีอยู่  แม้ว่าบาดแผลที่ได้รับนั้น (ต้นเหตุ)  หายแล้ว

มันเป็นความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจาก  ถูกของแหลมทิ่มต่ำเอา  จนกระทั้งถึง:
·         สัมผัสถูกเตาร้อน ๆ  เช่นเตารีดผ้า..
.ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น  จะเกิดขึ้นทันทีทันใด 
 พร้อมๆ กับมีการขยับมือที่สัมผัสถูกความร้อนอย่างรวดเร็ว
 ภายหลังจากขยับนิ้วออกแล้ว  ไม่นานอาการปวดก็หายไป
·         ปลายนิ้วมือถูกค้อนทุบเอา 
เป็นความเจ็บปวดเหมือนกับการสัมผัสถูกเตาร้อน ๆ
พร้อมกับมีการขยับนิ้วหนีเช่นกัน  และอาการปวดที่เกิดขึ้นจะช้ากว่าชนิดแรก
·         อาการปวดจากการคลอดบุตร 
 เป็นความเจ็บปวดแบบเฉียบพลันเช่นกัน   และเป็นอาการเจ็บปวด  ที่บ่งบอกต้นเหตุได้

ในกรณีที่อาการเจ็บปวดยังคงยืดเยื้อต่อไป  โอกาสที่จะกลายเป็นความเจ็บปวดเรื้อรัง  พร้อมกับมีโอกาส
ตกอยู่ภายในอิทธิพลของปัจจัยต่าง ๆ ได้มากมาย
โดยปัจจัยเหล่านั้น   เป็นตัวก่อให้เกิดมีคลื่นประสาท (signal) ของความเจ็บปวดส่งไปยังสมอง 
ทั้งๆ ที่ไม่มีบาดเจ็บที่เนื้อเยื้อ

 แต่มีปัจจัยหลายอย่าง  ที่ทำให้เกิดมีคลื่นประสาทแห่งความเจ็บปวดขึ้น (pain signals)
 เช่น การไม่ออกกำลังกาย (lack of exercise)   หรือจากความนึกคิดเกี่ยวกับความเจ็บปวดเอง 
หรือภาวะทางจิต  ซึ่งได้แก่  ความเครียด  ความซึมเศร้า  เป็นต้น

Chronic pain:
ความเจ็บปวดเรื้อรัง  ได้แก่ความเจ็บปวดที่ยืดเยื้อนานเกิน สามเดือน  แบ่งได้เป็นสองชนิด  คือ
ความเจ็บปวดเรื้อรัง  ที่สามารถระบุต้นเหตุได้ เช่น บาดเจ็บของกาย
และความเจ็บปวดเรื้อรัง  ที่เราไม่สามารถระบุสาเหตุได้เลย  เช่น ในกรณีที่บาดเจ็บที่เกิดขึ้น
แผลได้หายแล้ว  แต่อาการปวดยังคงมีอยู่

·         Chronic pain due to an identifiable pain generators
ความเจ็บปวดเรื้อรังชนิดนี้  สามารถทราบสาเหตุได้ว่า  อะไรเป็นต้นเหตุ  เช่น
มีความผิดปกติบางอย่างของกระดูกสันหลัง  ได้แก่  ความเสื่อมของหมอนกระดูกสันหลัง
(degenerative disc disease,  ช่องกระดูกสันหลังตีบแคบ (spinal stenosis)
หรือข้อกระดูกสันหลังเคลื่อน (spondylolisthesis)
ความผิดปกติของกระดูกสันหลังดังกล่าว จะก่อให้เกิดอาการปวดหลังแบบเรื้อรัง  จนกว่า
มันจะถูกรักษาให้หาย

อาการปวดหลังจากความผิดปกติทางโครงสร้างดังกล่าว  หากให้รับการรักษาด้วยวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด
(conservative treatment)  แล้วปรากฏว่า  อาการไม่ดีขึ้น 
จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดต่อไป

·         Chronic pain with no identifiable pain generators
ความเจ็บปวดที่ยังคงยืดเยื้อต่อไป  เกินขอบเขตที่เนื้อเยื้อได้หายสนิทไปแล้ว 
และไม่มีต้นเหตุหลงเหลือ  ที่จะประตุ้นกระตุ้นให้เกิดคลื่นของความเจ็บปวด (pain signals)
ส่วนใหญ่  เราเรียกพวกนี้ว่า  “chronic benign pain”

ในกรณีดังกล่าว  ปรากฏว่า  ความเจ็บปวดมันเกิดขึ้นเอง  โดยมีกระแสคลื่นของความเจ็บปวด 
เกิดบนเส้นทางของระบบประสาท 
โดยมันก่อเกิดความรู้สึกเจ็บปวด  ทั้งๆ ที่ไม่มีสิ่งเร้า ไม่มีรอยโรค  หรือ รอยบาดเจ็บ
เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมี คลื่นความเจ็บปวด (pain signals) เลย

ในกรณีดังกล่าว  ความเจ็บปวดที่เกิด  มันไม่ใช่อาการของโรคซะแล้ว
แต่มันเป็นตัวโรคเสียเอง

เมื่อเราพูดว่า  อาการปวดเรื้อรัง  เราหมายความถึงอาการปวดที่เกิดขึ้น 
แล้วมีความยืดเยื้อนานเกิน สามเดือนขึ้นไป
หรือมีความเจ็บปวดเกินขอบเขตการการหายดี (healing) ของบาดแผล
ความเจ็บปวดชนิดนี้  จะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่สามารถบอกสาเหตุได้
 เช่น  ในกรณีหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลัง (failed low back surgery syndrome) 
ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลัง   บาดแผลหาสนิทแล้ว
 แต่คนไข้ยังมีความเจ็บปวด

ความเจ็บปวดชนิดนี้  จะถูกอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ ครอบคลุม  ทำให้คลื่นความเจ็บปวด (pain signal)
เกิดขึ้นได้เอง  ถูกส่งไปยังระบบประสาทส่วนกลาง  ทำให้คนไข้มีความเจ็บปวดยืดเยื้อต่อไป
โดยที่ไม่พบรอยบาดแผลใดๆ
ซึ่ง เราจะพบเห็นได้  ในหลายกรณี  เช่น ภาวะร่างกายถดถอยจากการไม่ออกกำลังกาย
 จากความคิดของคนเจ็บปวดเอง  ซึ่งรวมถึงความเครียดความกังวลใจ  และความเศร้าหมองที่เกิดขึ้น
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้สามารถทำให้คนไข้มีความเจ็บปวดได้ 
โดยที่เราไม่สามารถบอกได้ว่า  มันทำได้อย่างไรกันแน่
เป็นเรื่องยากต่อการเข้าใจของคนทั่วไป  รวมทั้งตัวแพทย์เอง

Neuropathic Pain:
เป็นความเจ็บปวดที่เราได้เรียนรู้กันมาไม่นานนัก
คนไข้ส่วนใหญ่ที่มีอาการปวดชนิดชนิดนี้  พบว่า  บาดแผลที่เขาได้รับหายสนิทแล้ว
แต่เซลล์ประสาทบางตัว  ยังส่งคลื่นความรู้สึกของความเจ็บปวด (pain signal) ไป
ยังสมอง  ทั้ง ๆ ที่ไม่มีรอยบาดแผล
เป็นเหตุให้เกิดความเจ็บปวดยืดเยื้อต่อไป

เราจะเรียกว่า  เป็นปวดประสาท  (nerve pain)  หรือ Neuropathic pain  ได้ตามอัธยาศัย
มันเป็นความเจ็บปวด  ที่แตกต่างไปจากความเจ็บปวดของระบบกล้ามเนื้อ- กระดุก
เราไม่รู้ชัดแจ้งหรอกว่า  มันเกิดขึ้นได้อย่างไร
แต่เชื่อว่า  มันเกิดจากการบาดเจ็บของแขนงประสาท  ที่รับความรู้สึก (sensory)
 หรือที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (motor)  ของเส้นประสาท (peripheral nerve)
ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการปวดประสาทขึ้นได้

เขาจัดเป็นอาการปวดประสาทชนิดนี้  เป็นอาการปวดประสาทชนิดเรื้อรัง  ที่แยกออกจากความเจ็บปวด
ซึ่งเกิดจากระบบกล้ามเนื้อ-กระดูก

พวกนี้  มีความรุนแรงกว่า  เหมือนมีของคมแทงภายในกาย  มีความรู้สึกเสียวส่านไปตามเส้นประสาท 
เสมือนสายฟ้า   หรือรู้สึกเสียวซ่าไปตามแขน หรือขา    และ/หรือมีอาการชา  หรือมีอาการอ่อนแรง

เราจำเป็นต้องรู้ให้ได้ว่า  อาการปวดที่เกิดนั้น  เป็นอาการของปวดประสาท
เพราะการรักษาที่เราใช้โดยทั่วไป  เช่น  สารลดความเจ็บปวดทั่วไป (acetaminophen)  พวก opiods
(morphine)  และพวก   NSAIDS   ต่าง ๆ จะใช้ไม่ได้ผลเลย
จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีการอื่น  เช่น ฉีดยาบล็อกเส้นประสาท  หรือยาบางชนิดเท่านั้น

Ref. William W Dearoff  PhD,ABPP:  Types of  Backpain

>>continue:  When acute pain become chronic pain