วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

The Brain: สมองมีบทบาทเกี่ยวกับความเจ็บปวดเรื้อรังอย่างไร ?

เมื่อสัญญาณประสาทวิ่งถึงสมอง จะมีหลายอย่างปรากฏขึ้น
ภายในก้านสมอง (brain stem) ซึ่งเป็นส่วนที่ติดต่อระหว่างตัวสมอง (Brain)
กับไขประสาทสันหลัง (Spinal Cord) สามารถยับยั้ง
หรือปรับคลื่นสัญญาณประสาทความเจ็บปวด
ให้ลดลง โดยการสร้างสาร endorphins ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ morphine
ซึ่งเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ
นอกจากนั้น เรายังพบอีกว่า ความเครียด (stress) ความตื่นเต้น (excitement)
และการออกกำลงกายอย่างหนัก ต่างสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้าง endorphins ขึ้นได้

ผลกระทบที่เกิดจาก endorphine ซึ่งเราพบได้บ่อย ๆ คือ นักกิฬาที่ประสบอุบัติเหตุ
ขณะทำการแข่งขันในสนาม เขาจะไม่มีความเจ็บปวดจนกกว่าเกมจะยุติลงแล้ว

และจากการออกกำลังกายแบบ aerobic exercise
เช่น ปั่นจักรยาน สามารถลดความเจ็บปวดเรื้อรังได้เช่นเดียวกัน

สัญญาณประสารทที่ปรากฏในสมอง ยังวิ่งไปในหลายทิศทาง ดังนี้

• คลื่นของสัญญาณประสาท ที่วิ่งไปตามเส้นประสาท A-delta fibers
มันจะส่งคลื่นความเจ็บปวดไปประสาทสันหลัง แล้วส่งต่อไปยังสมองสองส่วน
คือ thalamus และ cerebral cortex

สมองส่วน cortex ถือเป็นตำแหน่งสูงสุดที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิดสูงสุด
ซึ่งสมองส่วนนี้เอง เมื่อคลื่นประสาทนำความเจ็บปวดโดย ใยประสาท A-delta
วิ่งถึงสมองส่วนนี้ (cortex) เมื่อใด มันจะออกคำสั่งทันที
ให้มีการลดระดับความเจ็บปวดลง พร้อมกับ เตือนให้รู้ถึงภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้น

• เพื่อเป็นการเปรียบเทียบ ในกรณีของปวดเรื้อรัง
คลื่นของสัญญาณประสาทจะวิ่งไปตามใยประสาทที่นำความเร็วได้ช้า (C-fibers)
ซึ่งลักษณะของความเจ็บปวดจะแตกต่างจากพวก A-deta fibers
นั่นคือ ความเจ็บปวดมีลักษณะไม่ชัด (dull) มีอาการปวดแสบปวดร้อน
และมีอาการปวดกล้ามเนื้อปั้น

เมื่อคลื่นของสัญญาณประสาท ที่วิ่งไปตามใยประสาท C –fibers
เมื่อมันเคลื่อนถึงไขประสาทสันหลัง และส่งไปยังสมองส่วนที่เรียกว่า hypothalamus
และส่วนที่เรียกว่า Lymbic system
ส่วนของสมอง Hpothalamus จะรับผิดชอบกับการปล่อยสารฮอร์โมน
ที่รับผิดชอบต่อความเครียดออกมา (stress hormone)
ส่วน Lymbic system จะรับผิดชอบกับกระบวนการทางด้านอารมณ์ต่างๆ

จากความจริงของกระบวนการดังกล่าวมา ทำให้เราทราบว่า
ทำไมคนที่ทรมานจากความเจ็บปวดเรื้อรัง จึงมีอาการทางด้านจิตประสาทขึ้นได้
(เครียด กังวล และอาการซึมเศร้า)


นอกเหนือไปจากนี้ ตัวสมองเอง ยังสามารถควบคุมสัญญาณประสาทความเจ็บปวดเรื้อรัง
ด้วยกระบวนการทำให้มีคุณลักษณะบางอย่างเกิดขึ้นในตัวบุคคล
รวมถึงการแสดงออกทางสังคมอีกด้วย

นับเป็นความมหัศจรรย์ยิ่ง ที่ทำให้เราเห็น ทหารที่ได้รับบาดเจ็บในสงคราม
แสดงออกถึงความเจ็บปวดได้น้อยมาก ซึ่งต่างจากคนธรรมดาทั่วไป
ที่ได้รับบาดเจ็บเหมือนกัน แล้วแสดงออกถึงความเจ็บปวดเสียมากมาย
ที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะสมองเป็นผู้บงการทั้งนั้น

>>cont:Opening and closing the pain Gates for chronic Pain

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น