วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554
Modern Theories of Chronic Pain
หนึ่งในวิชาการแพทย์สมัยใหม่ คือวิชาว่าด้วยความเจ็บปวดเรื้อรัง-
“Gate Control Theory”
หากเราทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้ดี จะทำให้เราเข้าใจปรากฏการณ์หลายอย่าง
ที่เกิดขึ้นในตัวของคนเราได้...
โดยแฉพาะประโยคเหล่านี้:
“เอะ..ทำไม...มันจึงเป็นเช่นนั้น...”
สำหรับในวงการแพทย์ เราสามารถนำทฤษฎีดังกล่าว มาช่วยวินิจฉัยโรค “เจ็บปวดเรื้อรัง”
ตลอดรวมไปถึงการวางแนวทางในการรักษาโรคได้อีกด้วย
ก่อนอื่น เราลองพิจารณาทฤษฎี The Specificity Theory of Pain ก่อนเป็นไร ?
The Specificity theory of Pain:
เป็นทฤษฎีแห่งความจำเพาะ....
เป็นทฤษฎีที่เก่าแก่ที่สุด ที่เกี่ยวกับความเจ็บปวด
ในศตวรรษที่ 16 นาย Rene Descartes นักปรัชญา...
เป็นคนแรกที่ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับความเจ็บปวดขึ้น เขากล่าวว่า:
“ความรุนแรงของความเจ็บปวดที่มนุษย์เรารู้สึกนั้น จะมีความสัมพันธุ์กับปริมาณของบาดเจ็บที่เกิด”
บาดแผลเล็ก ก็รู้สึกเจ็บน้อยหน่อย แต่บาดแผลใหญ่ก็ปวดมากขึ้น
ยกตัวอย่าง ถูกเข็มที่มตำที่ปลายนิ้วมือ กับ มือถูกมีดบาด
นั่นเป็นเรื่องตรงไปตรงมา...
จากตัวอย่างนี้...ถ้าเราจะแปลคำว่า “ทฤษฎีแห่งความจำเพาะ” เป็นทฤษฎีแห่งความตรงไปตรงมา
ไม่มีความสลับซับซ้อนอะไร น่าจะทำให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้นนะ ?
ทฤษฎีแห่งความจำเพาะนี้ จะมีความเที่ยงตรงเฉพาะกับบาดเจ็บบางอบ่าง
ซึ่งทำให้เกิดมีความเจ็บปวดเฉียบพลันเท่านั้น
แต่ถ้าเป็นความเจ็บปวดเรื้อรัง มันไม่ตรงไปตรงมาอย่างนั้น
แม้ว่า ความเจ็บปวดเรื้อรังที่ปรากฏนั้น ถึงจะไม่รุนแรงก็ตาม เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อน
จึงจะสามารถรักษาคนไข้ที่ทรมานด้วยความเจ็บปวดเรื้อรังได้
แต่ก็มีเรื่องที่ไม่ค่อยจะยินดีนัก เมื่อมีแพทย์จำนวนหนึ่ง พยายามเอาทฤษฎีแห่งความจำเพาะ
มาอธิบาย “ความเจ็บปวดเรื้อรัง”
ซึ่งมันเป้นความเข้าใจผิด...
ในการแก้ปัญหาให้คนไข้ที่ทรมานด้วยความเจ้บปวดเรื้อรัง ด้วยทฤษฎีดังกล่าว
เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
ยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม เช่น การรักษาด้วยยารักษา (medications) หรือด้วยการผ่าตัด
(surgery) ซึ่งสามารถกำจัดต้นเหตุให้เกิดความเจ็บปวดออกทิ้งไปได้
ความเจ็บปวดที่นั้น จะหายไป...
แต่ตามความเป็นจริงแล้ว พบว่า มีคนไข้จำนวนไม่น้อยที่มีความเจ็บปวดเรื้อรัง
เมื่อได้รับการรักษาตามที่กล่าวมา (medication &surgery) ผลปรากฏว่า
ความเจ็บปวดยังคงมีอยู่ต่อไป
ถ้าแพทย์ยังขืนดันทุรัง ทำการรักษาคนไข้ที่เจ็บปวดเรื้อรัง โดยอาศัยความตรงไปตรงมา
ดังที่กล่าวมา ตามทฤษฎีว่าด้วยความจำเพาะ
อะไรจะเกิดขึ้นได้บ้าง ?
แน่นอน... คนไข้จะได้รับความเสี่ยง (risks) ต่อการได้รับการตรวจ
ที่ไม่จำเป็นต่างๆ ซึ่งไม่สามารถให้คำวินิจฉัยที่ถูกต้องได้
ตลอดรวมไปถึง การหยิบยื่นการรักษาที่ไม่มีประสิทธิภาพแก่คนไข้...
ซึ่งนอกจากจะทำให้คนไข้เสียทรัพย์มากขึ้นแล้ว ยังเพิ่มอันตรายให้แก่คนไข้ได้อีกด้วย
ปัญหาต่าง ๆ ที่พบเห็นในทฤษฎีแห่งความจำเพาะ กับความเจ็บปวดเรื้อรัง :
ผลการศึกษาที่ได้จากคนไข้ ได้พิสูจน์ว่า ทฤษฎีแห่งความจำเพาะ ไม่สามารถอธิบายเรื่อง
ความเจ็บปวดเรื้อรังได้
Dr. Henry Beecher แพทย์สนาม ที่ได้ทำการรักษาทหารบาดเจ็บในสมัยสงคราม
โลกครั้งที่สอง เป็นบุคคลแรกที่มีความสงสัยในทฤษฎีดังกล่าว
โดยเขาได้พบข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ทหารที่ถูกหามส่งตัวเข้าสถานพยาบของทหาร พบว่า
มีทาหารบาดเจ็บ 1 ใน 5 มีความเจ็บปวดมากพอที่ต้องการ morphine แก้ปวด
ที่สำคัญ คนที่ต้องการ morphine นั้น ไม่อยู่ในภาวะช๊อค หรือไม่สามารถ
ที่จะทนต่อความเจ็บปวด
แต่เขาจะมีความเจ็บปวดเมื่อเขาต้องได้รับการต่อเมื่อเขา ถูกแทงเส้นเลือด
เพื่อต่อเส้นเลือด กับถุงน้ำเกลือเท่านั้น
ซึ่งเป็นเรื่งที่น่าแปลก
หลังจากสงครามสิ้นสุดลง เขากลับสหรัฐฯ ทำการรักษาคนไข้ที่ได้รับบาดเจ็บ
เขาสังเกตเห็นคนไข้ ที่ได้รับบาดเจ็บเหมือนกับทหารในสนามรบ
ในคนไข้เหล่านั้น น่าจะได้รับ morphine เพื่อรักษาความเจ็บปวด
แต่ความจริงมีว่า มีเพียง 1/3 เท่านั้น ที่ต้องการ morphine
จากความจริงดังกล่าว ทำให้เขาสรุปได้ว่า
บาดเจ็บที่เกิดขึ้น ไม่สัมพันธุ์กับความรุนแรงของความเจ็บปวดเลย
เขามีความเชื่อว่า การแสดงออกของแต่ละคนต่อบาดเจ็บ คนไข้จะมีคุณลักษณะบงอย่างเกิดขึ้น
(attaching meaning)
ซึ่ง สามารถนำมาอธิบายถึงระดับความรุนแรงของความเจ็บปวดในแต่ละคนได้
เช่น ทหาร ที่ได้รับบาดเจ็บในสงคราม หมายถึง “รอดตาย”
และจะได้กลับบ้านกลายเป็นวีระบุรุษ
ในทางตรงกันข้าม ชาวบ้านที่ได้รับบาดเจ็บเหมือนกัน หมายถึงว่า
เขาจะต้องเผชิญกับการผ่าตัดใหญ่ สูญเสียรายได้ ไม่สามารถออกกำลังกายได้เหมือนเดิม
และสูญเสียอย่างอื่น ๆ อีกหลายอย่าง
และการแสดงออกของคนทั้งสองกลุ่ม จะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
นอกจากนั้น ยังมีอีกกรณีหนึ่ง ที่ทำให้ทฤษฎีจำเพาะ หมดความหมายไป
คือ คนไข้ที่ถูกตัดขาไป แล้วเกิดความเจ็บปวดที่ตรงบริเวณของขาที่หายไป (phantom pain)
ซึ่ง ตามความเป็นจริงแล้ว เขาไม่มีขาเหลืออยู่ ไม่มีบาดแผลเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดได้
ดังนั้น specificity theory จึงไม่สามารถอธิบายเรื่องความเจ็บปวดเรื้อรังได้
นอกจากนี้ ทฤษฎีแห่งความจำเพาะ ไม่สามารถอธิบายได้ว่า
การสะกดจิตทำไมคนไข้จึงหายจากความเจ็บปวด
ทั้ง ๆ ที่ภายใต้การสะกดจิตนั้น ร่างกายได้มีบาดแผลจากการผ่าตัดเกิดขึ้น โดยคนไข้มีรู้สึกเลย
และจากการสังเกตการณ์ดังกล่าว พบว่าภาวะของจิตจะอยู่เหนือความเจ็บปวด
และจากกรณีดังกล่าว พบว่า คนไข้บางรายที่มีบาดเจ็บนิดเดียว แต่รู้สึกมีความเจ็บปวดเสียมากมาย...
ส่วนที่ได้รับบาดเจ็บมาก กลับไม่ค่อยจะมีความเจ็บปวดมาก
นั่นเป็นผลมาจากจิตตัวเดียวนั้นเอง ที่เป็นตัวทำให้เกิดปราฏการณ์ดังกล่าว
>>Cont… Modern Idea :Gate Control Theory of Chronic Pain
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น