วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

When acute pain become chronic pain


 ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง  สำหรับแพทย์ และตัวผู้ป่วยเองว่า 
จะต้องเข้าใจในความแตกต่าง ระหว่างความเจ็บปวดอย่างเฉียบพลัน  และความเจ็บปวดเรื้อรัง

ในความเจ็บปวดชนิดเฉียบพลัน (acute pain)  มันเป็นอาการของบาดแผล  หรือโรคที่เกิดกับเนื้อเยื่อ
เมื่อบาดแผลที่เกิดหายสนิท  อาการเจ็บปวดก็จะหายไปด้วย
นั่นเป็นเรื่องที่เราทุกคนเข้าใจกันดี
ยกตัวอย่าง  เช่น  หมอนกระดูกสันหลังแตกและกดเส้นประสาท  แล้วทำให้เกิดความเจ็บปวดร้าวไปขา
เมื่อเอาหมอนกระดูกที่แตกออกไป   อาการปวดก็จะหายไป

จากเหตุผลดังกล่าว  การรักษาอาการปวดเฉียบพลัน
 จึงมุ่งตรงไปที่  ทำให้ต้นเหตุของโรคหายไป  อาการปวดก็จะหายไปได้เอง

นอกเหนือไปจากนั้น  อาการปวดเฉียบพลันที่เกิดขึ้น  จะสัมพันธุ์โดยตรงกับระดับ
ของบาดเจ็บที่เกิดขึ้น  ซึ่งก่อให้เกิดแรงสะท้อน เพื่อการป้องกันตัวเองขึ้น (protective reflex)
เช่น  หยุดการเคลื่อนไหว 
ตรงข้ามกับความเจ็บปวดเรื้อรัง  จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น 
ไม่มีการกระตุ้นให้เกิดการป้องกันตนเอง
(no protective reflex)

การรักษาความเจ็บปวด  ทั้งสองชนิด  ก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

มีความจริงอย่างหนึ่ง  ซึ่งเราไม่ค่อยจะเข้าใจ
เช่น  คนไข้สองคน  ต่างได้รับบาดเจ็บเหมือนกันทุกอย่าง  คนหนึ่งเมื่อบาดแผลหาย  ความเจ็บปวดก็หาย
ส่วนอีกคนหนึ่ง เมื่อบาดแผลหายไปแล้ว แทนที่อาการเจ็บปวดจะหายไป  แต่กลับยืดเยื้อต่อไป
กลายเป็นความเจ็บปวดเรื้อรังไป

อีกกรณีหนึ่ง  บาดเจ็บที่ได้รับเป็นบาดเจ็บเล็กน้อย  แต่เมื่อแผลหายแล้ว
เขากับมีอาการปวดรุนแรง  และยังยืดเยื้อต่อไป
ส่วนอีกคนได้รับบาดแผลรุนแรงกว่ามาก  เมื่อแผลหายแล้ว  ความเจ็บปวดก็หายไปด้วย
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น  ไมมีใครสามารถอธิบายได้

วิชาการแพทย์ด้านความเจ็บปวด (pain medicine)  และการรักษาความเจ็บปวด
(pain management)  ได้กลายเป็นวิชาการแพทย์อีกสาขาหนึ่งขึ้นมา

นั่นคือ  ความเจ็บปวดเรื้อรัง  ได้กลายเป็นโรคอีกโรคหนึ่งขึ้น
มันไม่ใช้อาการของโรค  ตามทีเราเคยเข้าใจมาก่อนซะแล้ว
ขณะเดียวกัน  เราจะพบว่า  วิชาการรักษาความเจ็บปวด  ก็เริ่มจะเป็นสาขาพิเศษขึ้นมา
นั่นคือ เรื่องราวของชนิดต่าง ๆ ของความเจ็บปวดอย่างย่อที่สุด

http://www.spine-health.com/conditions/chronic-pain/when-acute-pain-becomes-chronic-pain

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น