ความพิสดารที่เราสามารถพบได้ในการทำงานของสมอง ซึ่งเราพบเห็นเป็นประจำ
เช่น สุภาพบุรุษใสรองเท้าฟิต หรือสุภาพสตรีใส่รองเท้าซ่นสูงปี๊ด สิ่งที่เรารู้สึกในตอนแรกมัน
คือปวดที่บริเวณปลายเท้า
แต่พอเวลาผ่านไป ภายหลังจากสัญญาณประสาทที่ส่งไปยังสมอง บอกให้สมองทราบว่า
หลังจากสมองได้ทำการตรวจสอบดูแล้วพบว่า ความเจ็บปวดนั้น ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายแต่ประการใด
สมองจะจัดการปิดเครื่องไม่รับรู้สัญญาณความเจ็บปวดชนิดที่ไม่เป็นอันตรายอีกต่อไป
ทำให้เรา ผู้ใส่รองท้าซ่นสูง หายจากความเจ็บปวดในเพียงไม่กี่อึดใจ
ประสบการณ์อยางนี้ ลองถามสภาพสตรีที่ใส่ซ่นสูง ๆ ดู
กระบวนการทำงานของสมองในลักษณะนี้ จะเกิดขึ้นกับความเจ็บปวดพอประมาณ (moderqated pain)
ยกตัวอย่าง
นี้คือตัวอย่างของความเจ็บปวด ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไป เมื่อข้อมูลภายในสมอง
ถูกทำให้เปลี่ยนแปลงด้วยสมองเอง
o ลองใช้ปลายโลหะ "กด" ที่ผิวหนังของหน้าแขน เมื่อผิวหนัง และกล้ามเนื้อของแขนถูกกดอย่างแรง
ปลายประสาททีนำคลื่นประสาทได้เร็ว (A delta fibers) จะนำความรู้สึกเจ็บปวดวิ่งไปตามเส้นประสาท
สู่ไขประสาท และส่งถึงสมอง
นั่นเป็นเรื่อง หรือเหตุการณ์ตรงไปตรงมาที่เราพบเห็นตามทฤษฎีจำเพาะ (specificity theory)
o ส่วนใยประสาทที่นำความรู้สึกได้ช้ากว่า (C fibers) ซึ่งนำคลื่นสัญญาณความเจ็บปวดเช่นกัน
จะทำให้รู้ปวดชั่วระยะเวลาอันสั้น แล้วอาการปวดทั้งหมดที่เกิดขึ้นก็จะหายไปหมด
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
นั่นเป็นการทำงานของสมอง
ภายหลังสมองได้ตรวจสอบแล้วพบว่า
ความเจ็บปวดทีเกิดขึ้นนั้น ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย มันจึงทำหน้าปิดประตู
ที่บริเวณไขประสาทสันหลัง เป็นเหตุให้ไม่มีสัญญาประสาทของความเจ็บปวดประตูแห่งความเจ็บปวดไปได้
o สมองรู้ว่า ปลายเหล็กที่กดลงบนผิวหนังนั้น มันทำให้เจ็บจริง
แต่สมองรู้ว่า มันไม่ทำให้เกิดบาดเจ็บใด ๆ
ดังนั้น มันจึงทำการลดคลื่นของสัญญาณประสาทแห่งความเจ็บปวดลง
ทำให้เราไม่รู้สึกเจ็บปวดอีกต่อไป หรืออาจรู้สึกไม่สบายเล็กน้อยเท่านั้นเอง
นั่นคือผลงานของสมองเขาละ
ตัวอย่างที่สอง เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงปัจจัยอย่างอื่น เข้ามามีบทบาทร่วมทำให้เกิดความเจ็บปวดขึ้น
ซึ่งบางครั้ง สามารถทำให้คนไข้ทุกข์ทรมานด้วยความเจ็บปวด:
o สตรีนางหนึ่ง รายงานว่า เธอปวดหลัวเนื่องมาจากมะเร็งของกระดูกสันหลัง
จากการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ไม่พบอะไรผิดปกติเลย ยกเว้นเพียงอย่างเดียว
คือ เธอเป็นโรคปวดหลังจากความเครียดมาก่อน
ความเครียดที่ทำให้เธอปวดหลัง เกิดจากบิดาผู้ชราภาพ ได้รับการวินิจฉัยว่า
เป็นมะเร็งของกระดูกสันหลัง...
เธอรายงานว่า บิดาของเธอ มีอาการปวดหลังเหมือนเธอทุกประการ
จากการซักประวัติ และการตรวจร่างกายอย่างละเอียด พบว่า ร่างกายเธอเป็นปกติทุกอย่าง
แต่เธอตก อยู่ในความกลัวว่า เธอจะเป้นมะเร็งกระดูกสันหลังเหมือนพ่อของเธอ
ยิ่งมีความเชื่อว่า ตัวเองเป็นมะเร็ง ยิ่งทำให้ตัวเองทรมานมากขึ้น
ผลจากการตรวจคลื่นแม่หล็กไฟฟ้า MRI พบว่ากระดูกสันหลัง และประสาทของเธอปกติทุกประการ
เธอถูกวินิจฉัยว่า เป็นโรคปวดหลังจากความเครียด (stress-related back pain)
ซึ่งเธอได้รับการรักษาด้วยกรรมวิธีหลาย ๆ ร่วมกัน ในไม่ช้า อาการของเธอก็หายสนิท
สามารถกลับสู่การงานได้เหมือนเดิม
จากตัวอย่างทั้งสอง ทำให้เราได้เห็นความสลับซับซ้อนขอบสมอง โดยเฉพาะความเจ็บปวด
มันไม่ตรงไปตรงมาเหมือนกับทฤษฎีความจำเพราะ (specificity theory)
ที่บอกว่า จะต้องมีสาเหตุทางร่างกาย (บาดเจ็บ) เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดก่อน
แล้วส่งคลื่นประสาท ที่เป็นสัญญาณของความเจ็บปวดสู่สมอง
นั่นเป็นเรื่องเกี่ยวกับเจ็บปวดแบบเฉียบพลัน ที่เราพบกันทั่วไป
แต่ความเจ็บปวดเรื้อรัง มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่มีปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งไม่เกี่ยวกับร่างกาย
เป็นตัวทำให้เกิดความเจ็บปวดขึ้น
ซึ่งพอจะสรุปได้ว่า ความเจ็บปวดเรื้อรังนั้น ไม่ใช้อาการของบาด
แต่เป็นโรค หรือเป็นกระบวนการอันซับซ้อน
ที่มีปัจจัยมากมายเป็นตัวก่อให้เกิดความเจ็บปวดขึ้น
กล่าวโดยสรุป ความเจ็บปวดเรื้อรัง ไม่ใช่อาการแสดงของโรคตามที่เราเข้าใจกัน แต่เป็นภาวะหนึ่่ง
ที่มีปัจจัยหลายอย่างเข้ามเกี่ยวข้อง รวมทั้งสมองเอง
ต่างมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้มึความเจ็บปวดเรื้อรังขึ้น
หากเราไม่เข้าใจเรื่องเหล่านี้
เราจะไม่สามารถให้การรักษาคนไข้ทีมีอาการเจ็บปวดเรื้อรังให้หายได้เลย
www.spine-health.com/conditions/chronic-pain/opening-and-closing-pain-gates-chronic-pain
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น