วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554
เบาหวาน : Dawn phenomenon
ปรากฏการณ์ฟ้าสาง...
เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายกรณี มีทั้งนอกกาย และเกิดในกายของคนเรา
ตัวอย่างของปรากฏการณ์นอกตัว มีทั้งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเป็นผลงานของมนุษย์โดยตรง
ถ้าเป็นธรรมชาตินอกตัว ได้แก่ น้ำขึ้นนำ-น้ำลง ซึ่งชาวทะเลได้สัมผัสอยู่ทุกวัน
ในตัวมนุษย์ ก็มีปรากฏการณ์ตอนฟ้าสาง ให้เราได้เรียนรู้เช่นเดียวกัน
ซึ่งสามารถเกิดขึ้น ทั้งในคนปกติ และคนที่เป็นโรค...เช่น เบาหวาน
มันคืออะไร?
มันหมายถึงภาวะ ที่น้ำตาลในกระแสเลือดตอนฟ้าสาง... เพิ่มปริมาณขึ้นสูงอย่างมาก...
ที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะในตอนเที่ยงคืน ร่างกายของมนุษย์เรา ได้ปลดปล่อยฮอร์โมนบางตัวออกมา
ฮอร์ที่ปล่อยมานั้น ถูกเรียกว่า counter-regulatory hormones
ซึงออกฤทธิ์ต่อตานฤทธิ์ของ “อินซูลิน”
ฮอร์โมนพวกนี้ได้แก่ Growth Hormone, Glucagon, Cortisol, epinephrine
ฮอร์โมนเหล่านี้ จะทำหน้าที่เหมือนเจ้าหน้าที่ในกองเสบียง เตรียมอาหารให้ทหารออกรบทัพจับศึก...
โดยการสั่งให้ตับ (liver)ปล่อยน้ำตาลออกสู่กระแสเลือด
และขณะเดียวกัน ก็ออกคำสั่งห้ามทุกส่วนของร่างกายไม่ให้ใช้น้ำตาล
เป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่เราจะต้องรู้ด้วยว่า การที่มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงในตอนเช้า
อาจพบได้ในกรณีอื่น ๆ ได้ เช่น ร่างกายของคนเรามีการตอบสนองต่อภาวะระดับน้ำตาลตก ต่ำลง
(hypoglycemia)
การเกิดปรากฏการณ์ฟ้าสาง (dawn phenomenon)
แม้ว่าจะเกิดในคนเป็นเบาหวานเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม คนไม่เป็นเบาหวานก็เกิดได้เช่นกัน
ซึ่งอาจทำให้เราเกิดความสับสนกับภาวะ Chronic Somuyi Rebound
Chronic Somogyi จะมีสาเหตุจากน้ำตาลลดต่ำในตอนกลางคืน
อย่างที่ได้กล่าวมา ปรากฏการณ์ฟ้าสาง เกิดจากการที่ร่างกายได้ปล่อย
Counter regulatory Hormone ออกมาในตอนกลางคืน
และฮอร์โมนดังกล่าว ได้ทำหน้าที่ต่อต้านการทำงานอินซูลินขึ้น (insulin resistance)
ไม่ให้อินซุลินทำงานได้ตามปกติ
ปรากฏการณ์ดังกล่าว ยังเกิดจากสาเหตุอย่างอื่นได้เช่น
• ระดับอินซูลินน้อยไป
• รับประทานอาหารประเภทแป้ง carbohydrate ก่อนนอน
• รับประทานยาด้วยขนาดที่ไม่ถูกต้อง
แล้วเราจะรักษาภาวะดังกล่าวอย่างไร ?
โดยทั่วไป การรักษาปรากฏการฟ้าสาง สามารถกระทำได้โดย:
• งดเว้นการรับประทานพวก “คาร์โบฮัยเดรต” ก่อนนอน
• ปรับระดับของอินซูลิน หรือยารักษาเบาหวานให้ถูกต้อง หรือ
• อาจปรับเปลี่ยนเป็น insulin pump
กล่าวโดยสรุป ปรากฏการณ์ฟ้าสาง มีสาเหตุหลายอย่าง ได้แก่ เกิดจากระดับอินซูลินไม่พอ
ได้รับยารักษาไม่ถูกขนาด รวมไปถึงถึงการรับประทานอาหารประเภท “คาร์โบฝอัยเดรต” ก่อนนอน...
ซึ่งเมื่อปัญหาดังกล่าวถูกแก้ไข ปรากฏการณ์ฟ้าสางก็จะหายไปเอง...
www. Diatbetes.co.uk/blood-glucose/dawn-phenomenon.htm
www.diabetsselfmanagement.com/articles/Diabetes-Definitions/dawn-phenomenon/1/
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น