วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Modern Idea: Gate Control Threory


จากบทความที่แล้ว...
ได้กล่าวถึงความเจ็บปวดเรื้อรัง...ที่เกิดขึ้นกับคนไข้ โดยเริ่มต้นที่บาดแผล
ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความเจ็บปวด พอแผลหาย คนหนึ่งหายปวด อีกคนหนึ่งกลับตรงข้าม
เขายังมีความเจ็บปวดยืดเยื้อต่อไป
ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า....ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?

ปรากฏว่า มีทฤษฎีหนึ่ง มีชื่อว่า Gate Control Theory โดยนาย Donald Malzac
และนาย Patrick Wall เป็นคนตั้งขึ้น ในปี 1960
จากทฤษฎีของเขา ได้อธิบายถึงความสำคัญของจิต และสมอง
ซึ่งมีบทบาทต่อการรับรู้ของคนไข้ ที่มีต่อความรู้สึกความเจ็บปวดเรื้อรัง

แม้ว่า มันจะอธิบายถึงพื้นฐานทางจิตใจ (mental)ก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่า
ความเจ็บปวด และ ปัจจัยทางจิต ซึ่งมีอิทธิพลต่อความเจ็บปวดนั้น ต่างมี
พื้นฐานมาจากทางสรีระของระบบประสาท


เมื่อพูดถึงประตูให้สัญญานประสาทของความเจ็บปวดวิ่งผ่าน ( Gate control theory of pain)
ทำให้นึกถึงงานหมั้น และงานแต่งเอาลูกสะใภ้
ในพิธีการตอนหนึ่ง เขาจะมีการผ่านประตูเงิน ประตูทองเสียก่อน..
หากซองแดง (เงิน) ไม่เป็นที่พอใจของผู้รักษาประตู...เขาไม่ยอมเปิดประตูให้ผ่านไปได้
ซอที่บรรจุแบงค์ ต้องมากพอสมควร...

ใน Gate control theory of pain ประตูให้สัญญาณประสาทความเจ็บปวดผ่าน
ก็มีลักษณคล้ายๆ กัน
มันคล้ายอย่างไร ?

การที่คนเราจะรู้สึกเจ็บปวดได้ จำเป็นต้องอาศัย การทำงานร่วมกัน
ระหว่างประสาทส่วนกลาง และประสาทส่วนปลาย
ซึ่ง มีกระบวนการส่งคลื่นความรู้สึกเจ็บปวด (pain signal)
ตามวิธีของมันเอง

เมื่อได้รับบาดเจ็บขึ้น คลื่นของความรู้สึกเจ็บปวด หรือสัญญาณประสาทจากปลายประสาท
จะวิ่งไปยังประสาทไขสันหลัง แล้วส่งต่อไปยังสมอง
ซึ่งกล่าวมาแล้ว ในทฤษฎีความจำเพาะ (specificity theory)

อย่างไรก็ตามกระแสประสาทแห่งความรู้สึกเจ็บปวด (pain signal) ก่อนที่จะส่งถึงสมอง
มันจะต้องผ่านประตู (gate) ที่บริเวณไขประสาทสันหลังเสียก่อน
โดยประตูที่กล่าวถึงนั้น จะ “ปิด” หรือ “เปิด” เพื่อให้คลื่นประสาทผ่านได้หรือไม่ นั้น
ต้องขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง รวมถึงคำสั่ง ที่ส่งลงมาจากสมองโดยตรง

เมื่อประตู (gate) ที่ไขประสาทสันหลังเปิด คลื่นความรู้สึกเจ็บปวดก็สามารถผ่านไปได้
ทำให้คนไข้รับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด
หากประตูปิด คลื่นความเจ็บปวดไม่สามารถผ่านประตูไปได้..
คนไข้ก็ไม่สามารถมีความรู้สึกเจ็บปวด
มันก็เท่านั้นเอง....
ดูไปแล้ว เหมือนวิธีการแต่งของลูกชาย...ตอนผ่านประตูเงิน ประตูทอง

แม้ว่าเราจะไม่เข้าใจรายละเอียดว่า การควบคุมการปิด -เปิดประตู
เพื่อให้ความรู้สึกเจ็บปวดผ่านไปยังสมองได้ก็ตาม
แต่ แนวคิดที่จะเสนอต่อไป สามารถอธิบายได้ว่า
การรักษาบางอย่าง สามารถรักษาคนไข้ที่ทรมานจากความเจ็บปวดได้


The Peripheral nervous system: มันเกี่ยวข้องกับการเจ็บปวดอย่างไร ?

ปลายประสาทรับข้อมูลเกี่ยวกับความรู้สึกต่าง ๆ เช่น ความเจ็บปวด (pain) ความร้อน (heat)
ความเย็น (cold) และความรู้สึกอื่น ๆ จากส่วนต่างๆ ของกาย
ที่ถูกส่งไปยังไขประสาทสันหลังนั้น
อย่างน้อย ๆ มีใยประสาทอยู่สองชนิด ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกเจ็บปวด (pain)
นั้นคือ

• A delta fibers ซึงจะนำคลื่นกระแสไฟฟ้า
ที่เป็นคลื่นประสาทด้วยความเร็ว 40 mph
• C-fibers จะส่งคลื่นกระแสไฟฟ้าด้วยความเร็วแค่ 3 mph

เมื่อมีการกระตุ้นปลายประสาททั้งสองเข้า ใยประสาท A-delta fibers
จะส่งคลื่นความรู้สึกเจ็บปวดได้ความเร็วสูง (40 mph)
และตามด้วยความคลื่นประสาท ที่นำสัญญาณประสาทได้ช้ากว่า
โดยเป็นประสาท (ใยประสาท) C-fibers (3 mph)

หากมีการกระตุ้นปลายประสาทชนิดอื่นเข้า ซึ่งสามารถนำคลื่นประสาทด้วยความเร็วสูงกว่า A –delta fibers
เช่น คลื่นประสาที่เกิดจากการกด (pressure) การสัมผัส (touch)
ผลของการกระตุ้นประสาทดังกล่าว สามารถปรับเปลี่ยนคลื่นประสาท ที่วิ่งไปตามเส้นประสาท
A-delta หรือแม้กระทั้งทำให้คลื่นประสาทหยุดชะงักลงที่ประตู (gate)
ซึ่งหมาความว่า คนจะมีความรู้สึกเจ็บปวดน้อยลง หรือไม่รู้สึกเจ็บปวดเลย

ยกตัวอย่างเช่น เวลาเราถูกกระแทกที่บริเวณของศอกอย่างแรง
เราจะรู้สึกเจ็บปวด ตรงบริเวณถูกกระทแก นั่นเป็นเรื่องปรกติ ซึ่งเราได้ทราบจากทฤษฎีจำเพาะมาแล้ว
พอเรานวดคลึงบริเวณที่ถูกกระแทก จะทำให้อาการเจ็บปวดลดลง...
ที่เป็นเช่นนั้น เพราะปลายประสาทที่ทำหน้าที่รับการนวดคลึง
สามารถส่งคลื่นประสาทด้วยความเร็งที่สูงกว่า A-delta fibers (ส่งสญญาณประสาทของความเจ็บปวด)
จึงทำให้ประตูที่อยู่ในบริวเณด้านหลังของประสาทสันหลังปิดลง ไม่อนุญาตให้คลื่นความเจ็บปวด
ผ่านไปยังสมองได้


จากปรากฏการณ์ดังกล่าว สามารถทำให้เราอธิบายได้ว่า การรักษาคนไข้ด้วยการนวด (massage)
ประคบด้วยความร้อน (heat) ประคบด้วยถุงน้ำแข็ง กระตุ้นด้วยไฟฟ้า (TNS) หรือการฝังเข็ม
ทำไมอาการปวดจึงบรรเทาลงได้

ปลายประสาท ที่บริเวณสันหลัง จะทำหน้าที่ส่งคลื่นความรู้สึกเจ็บปวด
ไปยังไขประสาทสันหลัง และส่งต่อไปยังสมอง
ความรู้สึกที่ส่งไปยังไขประสาทสันหลัง และยังสมอง จะถูกยับยั้งโดยกระบวนการดังที่กล่าวมา
ทำให้คลื่นประสาท ไม่สามารถส่งไปยังสมองได้

ในกรณีของการปวดหลัง ปลายประสาทที่ทำหน้าที่ตรวจรับความรู้สึกเจ็บปวดต่าง ๆ ในบริเวณกระดูกสันหลัง
เช่น กล้ามเนื้อ เอ็น พังผืด หมอนกระดูก ข้อกระดูกสันหลัง (facet joints) และกระดูกสันหลัง

เมื่อส่วนต่างๆ เหล่านี้ เกิดอักเสบ ผิดรูป หรือ...
มันจะกระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวด(nociceptors )
แล้วส่งคลื่นที่เป็นสัญญาณประสาทแห่งความเจ็บปวด ไปยังประสาทสันหลัง
แล้วส่งต่อไปยังสมองต่อไป

คลื่นประสาทที่ทำหน้าที่ส่งคลื่นความเจ็บปวด (a delta fibers) สามารถควบคุม
โดยคลื่นประสาทเส้นอื่น ๆ ที่สามารถนำคลื่นประสาท หริอสัญญาณประสาทได้เร็วกว่า คลื่นความเจ็บปวด
เส้นประสาทเหล่านั้น แก่เส้นประสาทที่นำความรู้สึกเกี่ยวกับการสัมผัส (touch)
และแรงกด (pressure)

จากความรู้ดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นปุ่มประสาท
ที่มีความเร็วสูงกว่า ความเร็วของคลื่นที่วิงไปตามใยประสาทที่ำทหน้าที่ส่งคลื่นความเจ็บปวด


>> continue: Pain sigals from spine to the Brain

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น