วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Types of Back Pain: Acute, Chronic and Neuropathic pain


เป็นที่ยอมรับกันว่า  หากเราสามารถทำความเข้าใจว่า  ความเจ็บปวดเกิดขึ้นได้อย่างถ่องแท้
ว่า  อาการปวดนั้น  มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
การควบคุมรักษาความเจ็บปวดนั้น  ก็ไม่ใช่เรื่องยากแต่ประการใด

เพื่อความใจในความเจ็บปวดดีขึ้น  ขอแบ่งความเจ็บปวดเป็นสามเกลุ่ม ดังนี้

·         Acute pain (ความเจ็บปวดเฉียบพลัน)
·         Chronic pain (ความเจ็บปวดเรื้อรัง)
·         Neuropathic pain (ความเจ็บปวดประสาท)

Acute pain
เป็นความเจ็บปวดที่พบได้บ่อยที่สุด  ซึ่งทุกคนต่างประสบมาด้วยกันทั้งนั้น
มันหมายถึงความเจ็บปวดเกิดขึ้นแล้ว  ไม่ยืดเยื้อ  เป็นความเจ็บปวดที่น้อยกว่า 3 เดือน
หรือเป็นความเจ็บปวดที่ยังคงมีอยู่  แม้ว่าบาดแผลที่ได้รับนั้น (ต้นเหตุ)  หายแล้ว

มันเป็นความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจาก  ถูกของแหลมทิ่มต่ำเอา  จนกระทั้งถึง:
·         สัมผัสถูกเตาร้อน ๆ  เช่นเตารีดผ้า..
.ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น  จะเกิดขึ้นทันทีทันใด 
 พร้อมๆ กับมีการขยับมือที่สัมผัสถูกความร้อนอย่างรวดเร็ว
 ภายหลังจากขยับนิ้วออกแล้ว  ไม่นานอาการปวดก็หายไป
·         ปลายนิ้วมือถูกค้อนทุบเอา 
เป็นความเจ็บปวดเหมือนกับการสัมผัสถูกเตาร้อน ๆ
พร้อมกับมีการขยับนิ้วหนีเช่นกัน  และอาการปวดที่เกิดขึ้นจะช้ากว่าชนิดแรก
·         อาการปวดจากการคลอดบุตร 
 เป็นความเจ็บปวดแบบเฉียบพลันเช่นกัน   และเป็นอาการเจ็บปวด  ที่บ่งบอกต้นเหตุได้

ในกรณีที่อาการเจ็บปวดยังคงยืดเยื้อต่อไป  โอกาสที่จะกลายเป็นความเจ็บปวดเรื้อรัง  พร้อมกับมีโอกาส
ตกอยู่ภายในอิทธิพลของปัจจัยต่าง ๆ ได้มากมาย
โดยปัจจัยเหล่านั้น   เป็นตัวก่อให้เกิดมีคลื่นประสาท (signal) ของความเจ็บปวดส่งไปยังสมอง 
ทั้งๆ ที่ไม่มีบาดเจ็บที่เนื้อเยื้อ

 แต่มีปัจจัยหลายอย่าง  ที่ทำให้เกิดมีคลื่นประสาทแห่งความเจ็บปวดขึ้น (pain signals)
 เช่น การไม่ออกกำลังกาย (lack of exercise)   หรือจากความนึกคิดเกี่ยวกับความเจ็บปวดเอง 
หรือภาวะทางจิต  ซึ่งได้แก่  ความเครียด  ความซึมเศร้า  เป็นต้น

Chronic pain:
ความเจ็บปวดเรื้อรัง  ได้แก่ความเจ็บปวดที่ยืดเยื้อนานเกิน สามเดือน  แบ่งได้เป็นสองชนิด  คือ
ความเจ็บปวดเรื้อรัง  ที่สามารถระบุต้นเหตุได้ เช่น บาดเจ็บของกาย
และความเจ็บปวดเรื้อรัง  ที่เราไม่สามารถระบุสาเหตุได้เลย  เช่น ในกรณีที่บาดเจ็บที่เกิดขึ้น
แผลได้หายแล้ว  แต่อาการปวดยังคงมีอยู่

·         Chronic pain due to an identifiable pain generators
ความเจ็บปวดเรื้อรังชนิดนี้  สามารถทราบสาเหตุได้ว่า  อะไรเป็นต้นเหตุ  เช่น
มีความผิดปกติบางอย่างของกระดูกสันหลัง  ได้แก่  ความเสื่อมของหมอนกระดูกสันหลัง
(degenerative disc disease,  ช่องกระดูกสันหลังตีบแคบ (spinal stenosis)
หรือข้อกระดูกสันหลังเคลื่อน (spondylolisthesis)
ความผิดปกติของกระดูกสันหลังดังกล่าว จะก่อให้เกิดอาการปวดหลังแบบเรื้อรัง  จนกว่า
มันจะถูกรักษาให้หาย

อาการปวดหลังจากความผิดปกติทางโครงสร้างดังกล่าว  หากให้รับการรักษาด้วยวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด
(conservative treatment)  แล้วปรากฏว่า  อาการไม่ดีขึ้น 
จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดต่อไป

·         Chronic pain with no identifiable pain generators
ความเจ็บปวดที่ยังคงยืดเยื้อต่อไป  เกินขอบเขตที่เนื้อเยื้อได้หายสนิทไปแล้ว 
และไม่มีต้นเหตุหลงเหลือ  ที่จะประตุ้นกระตุ้นให้เกิดคลื่นของความเจ็บปวด (pain signals)
ส่วนใหญ่  เราเรียกพวกนี้ว่า  “chronic benign pain”

ในกรณีดังกล่าว  ปรากฏว่า  ความเจ็บปวดมันเกิดขึ้นเอง  โดยมีกระแสคลื่นของความเจ็บปวด 
เกิดบนเส้นทางของระบบประสาท 
โดยมันก่อเกิดความรู้สึกเจ็บปวด  ทั้งๆ ที่ไม่มีสิ่งเร้า ไม่มีรอยโรค  หรือ รอยบาดเจ็บ
เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมี คลื่นความเจ็บปวด (pain signals) เลย

ในกรณีดังกล่าว  ความเจ็บปวดที่เกิด  มันไม่ใช่อาการของโรคซะแล้ว
แต่มันเป็นตัวโรคเสียเอง

เมื่อเราพูดว่า  อาการปวดเรื้อรัง  เราหมายความถึงอาการปวดที่เกิดขึ้น 
แล้วมีความยืดเยื้อนานเกิน สามเดือนขึ้นไป
หรือมีความเจ็บปวดเกินขอบเขตการการหายดี (healing) ของบาดแผล
ความเจ็บปวดชนิดนี้  จะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่สามารถบอกสาเหตุได้
 เช่น  ในกรณีหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลัง (failed low back surgery syndrome) 
ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลัง   บาดแผลหาสนิทแล้ว
 แต่คนไข้ยังมีความเจ็บปวด

ความเจ็บปวดชนิดนี้  จะถูกอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ ครอบคลุม  ทำให้คลื่นความเจ็บปวด (pain signal)
เกิดขึ้นได้เอง  ถูกส่งไปยังระบบประสาทส่วนกลาง  ทำให้คนไข้มีความเจ็บปวดยืดเยื้อต่อไป
โดยที่ไม่พบรอยบาดแผลใดๆ
ซึ่ง เราจะพบเห็นได้  ในหลายกรณี  เช่น ภาวะร่างกายถดถอยจากการไม่ออกกำลังกาย
 จากความคิดของคนเจ็บปวดเอง  ซึ่งรวมถึงความเครียดความกังวลใจ  และความเศร้าหมองที่เกิดขึ้น
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้สามารถทำให้คนไข้มีความเจ็บปวดได้ 
โดยที่เราไม่สามารถบอกได้ว่า  มันทำได้อย่างไรกันแน่
เป็นเรื่องยากต่อการเข้าใจของคนทั่วไป  รวมทั้งตัวแพทย์เอง

Neuropathic Pain:
เป็นความเจ็บปวดที่เราได้เรียนรู้กันมาไม่นานนัก
คนไข้ส่วนใหญ่ที่มีอาการปวดชนิดชนิดนี้  พบว่า  บาดแผลที่เขาได้รับหายสนิทแล้ว
แต่เซลล์ประสาทบางตัว  ยังส่งคลื่นความรู้สึกของความเจ็บปวด (pain signal) ไป
ยังสมอง  ทั้ง ๆ ที่ไม่มีรอยบาดแผล
เป็นเหตุให้เกิดความเจ็บปวดยืดเยื้อต่อไป

เราจะเรียกว่า  เป็นปวดประสาท  (nerve pain)  หรือ Neuropathic pain  ได้ตามอัธยาศัย
มันเป็นความเจ็บปวด  ที่แตกต่างไปจากความเจ็บปวดของระบบกล้ามเนื้อ- กระดุก
เราไม่รู้ชัดแจ้งหรอกว่า  มันเกิดขึ้นได้อย่างไร
แต่เชื่อว่า  มันเกิดจากการบาดเจ็บของแขนงประสาท  ที่รับความรู้สึก (sensory)
 หรือที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (motor)  ของเส้นประสาท (peripheral nerve)
ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการปวดประสาทขึ้นได้

เขาจัดเป็นอาการปวดประสาทชนิดนี้  เป็นอาการปวดประสาทชนิดเรื้อรัง  ที่แยกออกจากความเจ็บปวด
ซึ่งเกิดจากระบบกล้ามเนื้อ-กระดูก

พวกนี้  มีความรุนแรงกว่า  เหมือนมีของคมแทงภายในกาย  มีความรู้สึกเสียวส่านไปตามเส้นประสาท 
เสมือนสายฟ้า   หรือรู้สึกเสียวซ่าไปตามแขน หรือขา    และ/หรือมีอาการชา  หรือมีอาการอ่อนแรง

เราจำเป็นต้องรู้ให้ได้ว่า  อาการปวดที่เกิดนั้น  เป็นอาการของปวดประสาท
เพราะการรักษาที่เราใช้โดยทั่วไป  เช่น  สารลดความเจ็บปวดทั่วไป (acetaminophen)  พวก opiods
(morphine)  และพวก   NSAIDS   ต่าง ๆ จะใช้ไม่ได้ผลเลย
จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีการอื่น  เช่น ฉีดยาบล็อกเส้นประสาท  หรือยาบางชนิดเท่านั้น

Ref. William W Dearoff  PhD,ABPP:  Types of  Backpain

>>continue:  When acute pain become chronic pain


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น