ยาต้านอาการลมชัก( Antiepileptic drugs)
ในการรักษาคนไข้โรคชัก (epilepsy)
ต้องยอมรับว่า ไม่มีสูตรในการเลือกใช้ว่า ว่าจะต้องใช้ยาตัวใดสำหรับคนไข้เป็นการเฉพาะ
ที่สำคัญ ไม่มียาตัวใดมีประสิทธิผลเหนือกว่าตัวอื่น
และ ยาทุกตัวต่างมีผล (ฤทธิ์) ข้างเคียงด้วยกันทั้งนั้น
เป็นหน้าที่ของแพทย์ และตัวคนไข้เองจะร่วมกันตัดสินใจว่า
จะเลือกยาตัวใด (AEDs) โดยคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง
เช่น เรื่องผลข้างเคียงของมัน , สะดวกใช้, ราคาไม่แพง และ
แพทย์ผู้ใช้มีประสบการณ์เกี่ยวการใช้ยาตัวดังกล่าว
การเริ่มต้นใช้ยา ที่สำคัญ คือ
รู้ว่ายาต้านอาการชักตัวใด (AEDs) เหมาะสำหรับโรคชักชนิดใด
ยกตัวอย่าง:
ยาต้านอาการชักที่ออกฤทธิ์กว้าง (broad spectrum) มีประสิทธิผลในการ
รักษาคนไข้โรคชักได้อย่างกว้างกว่ายาที่อกฤทธิืแคบ (narrow spectrum)
เช่น ใช้รักษา พวกโรคลมชักชนิด partial plus absence myoclonic seizures
อาการ
เนื่องจากโรคลมชักเกิดจากความผิดปกติในเซลล์ประสาทของสมอง
อาการชักที่เกดขึ้น สามารถกระทบต่อการประสานงาน
ของสมองได้ ซึ่งจะทำให้เกิด:
o ทำให้เกิดความสับสนขึ้นชั่วขณะ
o สายตาเหม่อลอย
o ไม่สามารถควบคุมอาการชักกระตุกของแขน หรือขา
o หมดสติ ไม่สามารถรับรู้อะไร
อาการที่เกิดมีได้แตกต่างกัน ขึ้นกับชนิดของโรคลมชักว่า เป็นชนิดไหน
ดังนั้น อาการที่เกิดในแต่ละครั้งจะเหมือนกันในแต่ละครั้ง
แพทย์จะจำแนกโรคออกเป็น ประเภทเฉพาะที่ (focal) หรือ
ประเภททั่วไป ( generalized)
ซึ่งขึ้นกับสมองส่วนใดเกิดความผิดปกติขึ้น
Focal seizures:
เมื่ออาการชัก เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมอง
เพียงส่วนเดียว จะก่อให้เกิดอาการชักที่จุดเดียว (focal) หรือเป็นเฉพาะบางส่วนของร่างกาย
อาการชักแบบนี้ จะตกอยู่ในสองกลุ่มต่อไปนี้:
o Simple focal seizures คนไข้ที่จัดในกลุ่มนี้ ไม่สูญเสียความรู้สึกตัว
แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ความรู้สึกต่าง (emotions)
หรือ มีการเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เขาสัมผัส เช่น การมอง การได้กลิ่น การลิ้มรส และเสียง
เขาอาจมีอาการชักกระตุก ที่เกิดขึ้นเอง เช่น ที่บริเวณแขน หรือ ขา
พร้อม ๆ กับมีความรู้สึกต่าง ๆ เช่น มีอาการเสียวซ่า (tingling)
ฟ้าหมุน (vertigo) และ มีแสงวูบวาบเกิดขึ้น(flashing light)
o Complex focal seizures.
โรคชักกระตุกชนิดนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงในความรู้สึกตัว หรือ การตระหนักรู้
ซึ่งมันจะสูญหายไปชั่วขณะ มีสายตาเหม่อลอย และ มีการเคลื่อนไหวโดยไร้จุดหมาย
เช่น มีการถูมือไปมา เคี้ยว กลืน หรือ เดินรอบเป็นวงกลม
เป็นการเคลื่อนไหว (กระทำ)อย่างต่อเนื่อง
Generalized seizures คนที่เป็นโรคลมชักประเภทนี้
ความผิดปกติในสมองจะทำให้เกิดมีการชักกระตุกทั่วไป ซึ่งมี่ 6 ชนิดด้วยก้น ดังนี้:
o Absence seizures บางที่เราเรียก petit mal
มีลักษณะอาการดังนี้ สายตาเหม่อลอย มีการเคลื่อนไหวที่ถ้าไมสังเกตุ จะไม่เห็น
และสามารถทำให้คนไข้สูญสูญเสียความรู้ตัวชั่วระยะสั้น ๆ
o Tonic seizures. คนที่เป็นโรคชักกระตุกแบบนี้ จะพบเห็นกล้ามเนื้อ
แข็งเกร็ง (stiffening) ซึ่งจะเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อของแผ่นหลัง ต้นแขนทั้งสองและ ขาทั้งสอง
ในขณะที่เกิดอาการอาจทำให้คนไข้ล้มฟุบลงกับพื้นได้.
o Clonic seizures. คนเป็นโรคลมชักชนิดนี้ จะพบการการชักกระตุกเป็นจังหวะ
เกิดขึ้นกับแขน คอ และ ใบหน้า
o Myoclonic seizures. การกระตุกของคนไข้กลุ่มนี้
เป็นการกระตุกเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ซึ่งเป็นเกิดในระยะสั้น ๆ ของกล้ามเนื้อแขน และขา.
o Atonic seizures. บางที่เราเรียกการชักแบบนี้ว่า เป็น drop attacks
อาการชักกระตุกที่เกิดขึ้น จะทำให้คนไขสูญเสียความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (muscle tone)
ทำให้คนไข้ล้มลงกับพื้น เหมือนผ้าเช็ดตัวที่หล่นลงพื้นอย่างนั้นแหละ
o Tonic-clonic seizures เราทราบในอีกชื่อว่า grand mal
เป็นโรคลมชักที่มีอาการรุนแรงมากที่สุดของโรคลมชักทั้งหลาย
ลักษณะอาการที่พบเห็น คนไข้จะสูญเสียความรู้สึกตัว
ร่างกายจะแข็งเกร็ง (stiffening) สั่นทั้งต้ว
บางครั้งไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะ หรืออาจกัดลิ้นตัวเองได้
ส่วนยาต้านชักที่มีฤทธิ์แคบ (narrow spectrum) จะหมาะสำหรับโรคเฉพาะเป็นกรณีเฉพาะเท่านั้น
เช่น พวก patial, focal หรือ absence myoclonic clonic seizures.
ยาต้านชัก ทีแพทย์เรานำมาใช้รักษา ซึ่งแบ่งเป็นสองกลุ่ม ดังนี้:
Narrow spectrum:
o phenytoin (Dilantin)
o Carbamazepine (Tegretol)
o Phenobarbital
o oxcarbazepine (Trileptal)
o gabapentin (Neurontin)
o pregabalin (Lyrica)
o lacosamide (Vimpat)
o vigabatrin (Sabril)
Broard spectrum:
o valproic acid valproic acid (Depakote)
o lamotrigine (Lamictal)
o topiramate (Topamax)
o zonisamide (Zonegran)
o levetiracetam (Keppra)
o rufinamide (Banzel)
o clonazepam (Klonopin
o rufinamide (Banzel)
Continue > Antiepileptic drugs
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น