วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

Epilepsy Seizure Types and Symptoms

เมื่อเราจะทำการรักษาคนไข้ที่เป็นโรคลมชัก...
สิ่งสำคัญอันดับแรก คนไข้เป็นโรคชัก (seizure)จริงหรือ ?
เป็นชนิดใด (Type)?

โรคลมชักจะถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม โดยอาศัยพฤติกรรม และการทำงานของสมอง
ซึ่ง แบ่งเป็น การชักแบบทั่วไป (generalized seizures))
และแบบเฉพาะที่ (partial หรือบางทีเรียก local หรือ focal seizures)
การแยกโรคแบบนี้ จะช่วยแพทย์วินิจฉัยว่า
คนไข้เป็นโรคลมชัก จริงหรือไม่ ?

ในรายที่เป็นโรคลมชักแบบทั่วไป (generalized)
จะเกิดขึ้นโดยทั้งสมองทุกส่วน มีส่วนเกี่ยวข้องปล่อยคลื่นที่ผิดปกติ...
ส่วนลมชักที่เกิดเฉพาะที่ จะเกิดจากคลื่นสมองที่เป็นกระแสไฟฟ้า
จากบางส่วนของสมองเท่านั้น ไม่ใช้สมองทั้งหมด
(ส่วนของสมอง ที่ทำหน้าที่ทำให้เกิดการชัก บางครั้งเรียก “focus”)

ประเภทของสมองที่พบบ่อยได้แก่
Generalized Seizure:

1. Grand Mal หรือ Generalized tonic –clonic
จะมีอาการ สูญเสียความรู้สึกตัว (unconsciousness), มีอาการชัก
(convulsion) และ กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง (muscle rigidity)
2. Absence อาการที่สำคัญ คือสูญเสียความรู้ตัวแบบสั้น ๆ
3. Myoclonic อาการสำคัญจะเป็นแบบ sporadic (isolated)
มีการเคลื่นไหวแบบกระตุก (jerking movement)
4. Tonic อาการที่เกิดจะเป็นแบบกล้ามเนื้อแข็ง เกร็ง
5. Clonic อาการที่เกิดจะเป็นแบบการกระตุก (jerking movement)
ที่เกิดซ้ำ ๆ
6. Atonic อาการที่เกิดจะเป็นแบบ กล้ามเนื้อหมดการตึงตัว

ใน Generalized Seizures ชนิดที่พบมากสุด เด่นชัดสุด เป็นที่รู้กันมากที่สุด
คือรายที่มีการชักทั้งตัว บางที่เรารู้สนอีกชื่อว่า Grand-mal seizure
คนไข้ ที่มีอาการชักแบบนี้ คนไข้จะสูญเสียความรู้สึกตัว และ ล้มลง (สลบ)
ตามด้วยการแข็งเกร็งทั้งร่างกาย (body stiffeneing)
ช่วงนี้เรียก tonic phase of seizure ซึ่งจะกินเวลา 30-60 วินาที

ต่อจาก tonic phase คนไข้จะเข้าสู่ระยะของการกระตุกอย่างแรง
เป็นระยะที่เรียกว่า clonic phase ของการชัก กินเวลา 30-60 วินาที

ต่อไปจะเข้าสุ่ระยะนอนหลับลึก (deep sleep) เรียก postictal
หรือ after-seizure phase.

ระหว่างที่มีการชักแบบ grand-mal seizure
คนไข้จะได้รับบาดเจ็บ และประสบอุบัติเหตุ เช่น กัดลิ้นตัวเอง และกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

Absence seizures
อาการชักแบบนี้ คนไข้จะเสียความรู้สึกตัว (consciousness) ไปชั่วระยะ
สั้นประมาณ 2- 3 วินาที
ซึ่งอาจมีอาการ หรือไม่มีอาการใด เลย ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กเล็ก
ซึ่งงมีลักษณะเฉพาะของเขา คือ มันจะทำให้พฤติกรรมที่กำลังทำหยุดลง
สายตาเหม่อแบบไร้จุดหมาย

อาการชักจะเกิดขึ้นและจบลงแบบฉับพลัน ในวันหนึ่ง ๆ อาจเกิดขึ้นได้หลายครั้ง
คนไข้เหล่านั้น อาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่า เขามีอาการชักเกิดขึ้น

Myoclonic seizures
เป็นอาการชัก ทีเกิดขึ้นเป็นบางครั้ง ไม่สม่ำเสมอ (sporadic)
มักเป็นทั้งสองข้างของร่างกาย บางครั้ง คนไข้จะอธิบายว่า
มีความรู้สึกเหมือนถูกกระตุกด้วยไฟฟ้าบ่อย ๆ ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลาอันสั้น ๆ
เมื่ออาการชักเกิดขึ้นอย่างรุนแรง อาจทำให้ของหล่นจากมือ
หรือ ของในมือถูกเหวี่ยงโดยไม่ตั้งใจ

Clonic seizures
เป็นอาการชักแบบเป็นจังหวะ เป็นซ้ำ ๆ กัน โดยเกิดขึ้นทั้งสองข้าง
ของร่างกายพร้อม ๆ กัน

Tonic seizures
เป็นการชัก ที่ทีเอกลักษณะของมัน โดยมีการเข็งเกร็งของกล้ามเนื้อ.

Atonic seizures
เป็นการสูญเสียการตึงตัวของกล้ามเนื้อ (loss muscle tone) โดยเฉพาะของแขน และ ขา
ซึ่งเป็นการเกิดอย่างฉับพลัน เป็นเหตุให้คนไข้ลมพับลง

PARTIAL SEIZUES.
เป็นการชักที่เกิดจากสมองลางส่วน ที่เกี่ยวข้อง
1. Simple คนไข้ยังรู้สึกตัว
o Simple motor
o Simple Sensory
o Simple psychological

อาการที่เกิดขึ้น ได้แก่:

o มีการกระตุก, กล้ามเนื้อแข็ง (stiffened), หดเกร็ง (spasm)
o มีการหันเหศีรษะ (head turning)
o มีความรู้สึกประหลาดเกิดขึ้น อาจเป็นภาพ เสียง รส หรือสัมผัส
o ความจำ และอารมณ์ความรู้สึกถูกกระทบ
2. Complex ความรู้สึกตัวเสียไป (impairment of awareness)

อาการที่สำคัญ ได้แก่:

o มีการเคลื่อนไหวชนิดที่ไม่สามารควบคุมได้ (automatisms)
o เช่น ตี (smacking)เคี้ยว มีการเคลื่อนไหวแบบไม่รู้ตัว เช่น เดินแบบไร้จุดหมาย
3. Partial seizure with secnodary generalization
อาการแสดงของคนไช้ในกลุ่มนี้ ตอนแรก คนไข้มีความรู้สึกตัวดี
เมื่อมันเปลี่ยนเป็นชนิดทั่วไป คนไข้จะหมดสติ และมีอาการชักเกิดขึ้น

Partial Seizures
พวกที่เป็นลมชักชนิดที่เกิดขึ้นบางส่วน ถูกแบ่งเป็น simple และ complex
และรายที่แปรสภาพเป็นการชักทั่วไป (generalized seizures)
ความแตกต่างระหว่าง simple และ complex seizures
จะแตกต่างกันตรงที่ ราย simple ยังรักษาความรู้ตัวเอาไว้ได้
ส่วนพวก complex จะเสียความรู้ตัว และการตระหนักรู้ไป

Simple partial seizures พวกนี้จะแบ่งออกเป็น 4 ชนิด
โดยอาศัยอาการเป็นหลัก: motor, autonomic , sensory และ
Psychological
o Motor (การเคลื่อนไหว): พวกนี้จะมีอาการกระตุก และกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
o Sensory (ความรู้สึก): อาการที่เกิดทางความรู้สึก ที่เกี่ยวกับสัมผัสทั้ง 5
(เห็น, ฟัง, กลิ่น, รส, และสัมผัส)
เมื่อมีอาการทางความรู้สึกเกิดขึ้น และไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (motor)
เราเรียกอาการทางความรู้สึกนี้ว่า “aura”
o Autonomic symptoms (อาการทางประสาทอัตโนมัติ)
อาการทางระบบประสาท ที่ไม่สามารถควบคุมได้
ซึ่งเป็นระบบประสาทของอวัยวะของร่างกาย เช่น หัวใจ กระเพาะ กระเพาะปัสสาวะ และ ลำไส้
เมื่อมันเกิดขึ้น เราจะพบอาการผิดปกติที่เกี่ยวกับระบบประสาท
ที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น หัวใจเต้นเร็วเหมือนม้าแข่ง
ท้องล่วง ไม่สามารถกลั้นปัสสาวได้
o Psychological symptoms (อาการทางจิตประสาท)
อาการของคนไข้พวกนี้ จะมีลักษณะความรู้สึกหลายอย่าง ที่เกี่ยวข้องกับความจำ
อารมณ์ความรู้สึก เช่น ความกลัว หรือ ความยินดี
หรืออาการอย่างอื่นของระบบจิตใจ (psychological phenomenon)

Complex partial seizures ตามคำจำกัดความ รวมถึงการสูญเสียความรู้สึกตัว
เมื่อคนไข้เกิดอาการชักขึ้น ดูเหมือนว่า คนไข้จะเข้าสู่สภาพ “ไม่สามารถสัมผัสได้” ,
“ปราศจากมัน”, หรือ “เหม่อมองท้องฟ้าแบบไร้จุดหมาย”

อาการที่เกิด อาจมีความซับซ้อนปรากฏ เรียกภาวะ automatisms
เป็นภาวะที่ไม่สามารถควบคุมได้
เช่น การเคลื่อนไหวทีไม่มีการประสานกัน เคลื่อนไหวแบบไร้จุดหมาย
และเกิดแล้วเกิดอีก

อาการเคลื่อนไหวที่ไม่สามารถควบคุมได้ (automatisms)
ได้แก่ smacking, chewing, fidgeting and walking

ชนิดที่สาม (partial seizure) คือรายที่เริ่มต้นด้วยการเป็น
Focal seizure แล้วกลายเป็น ชนิดทั่วไป (generalized seizure)
มีการเคลื่อนไหวแบบทั่วไป (gal mal)

คนไข้ส่วนใหญ่ ที่จัดอยูในกลุ่ม Partial seizure
ได้แก่: simple partial, complex partial
และ secondarily generalized seizures.
เราพบว่า คนที่อยุ่ใน partial seizure มีเพียง 2/3 ของคนที่เป็นโรค
ชนิดนี้ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา
ในรายที่ไม่สามารถรักษาด้วยยา...
ส่วนใหญ่ สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด

http://www.webmd.com/epilepsy/guide/types-of-seizures-their-symptoms?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น