สาหตุ:
อาการชักชนิดนี้ สามารถทำให้คนไข้หมดสติ มีการเคลื่อนไหวได้เอง
พร้อมกับมีความรู้สึกแปลกๆ เกิดขึ้น
เมื่อมีคลื่นกระแสไฟฟ้าเริ่มจากสมองส่วน temporal lobe
จะก่อให้เกิดอาการชักแบบ temporal lobe seizure
ซึ่ง สามารถเกิดขึ้นกับคนได้ทุกอายุ หรือเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวแล้วหยุดไป
หรืออาจเกิดซ้ำกัน โดยเป็นส่วนหนึ่งของโรคที่ดำเนินต่อไป
เซลล์สมองจะทำการติดต่อสื่อสารซึ่งกัน และกัน
ทำให้ให้คนเรามีความรู้สึกตัว มีความรู้สึกนึกคิด และปฏิบัติภาระกิจได้
โดยอาศัยกระบวนการทางไฟฟ้าเคมี- electrochemical process
มีเหตุการณ์ทีเกิดจากคลื่นของกระแสไฟฟ้า เข้าไปทำลายการทำงานตามปกติ
ของคลื่นสมอง แล้วทำให้เกิดรูปแบบของคลื่นไฟฟ้าทีผิดปกติเกิดขึ้นภายในสมอง
คลื่นดังกล่าว สามารถเห็นได้จากกาตรวจคลื่นสมอง Electroenephalograph (EEG)
ภายใต้สภาพบางอย่าง เช่น สัมผัสยาบางชนิด ไข้สูง ถูกกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า
สามารถทำให้คนนั้น ๆ เกิดอาการชักได้
Temporal lobe seizures มักจะเป็นผลเนื่องมาจาก บางส่วนเป็นการเฉพาะของสมองถูก
ทำลาย เช่น เกิดจากศีรษะถูกกระแทก อักเสบติดเชื้อ
หรือ ถูกทำลาย จากการขาดออกซิเจน, มะเร็ง หรือความผิดปรกติทางพันธุกรรม
ปัญหาต่างที่กล่าวมา สามารถทำให้เกิดแผลเป็น (scarring)ขึ้นที่เนื้อสมอง
เราเรียกว่า mesial temporal sclerosis
เนื่องจากสมองส่วน ดังกล่าว มีหน้าที่เกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลของความจำ
กระบวนการทางอารมณ์ความรู้สึก
อาการชักชนิดนี้ จะเริ่มต้นด้วยความรู้สึก “กลัว” หรือ ความรู้สึกปิติยินดี (joy)
สามารถระลึกถึงบทเพลง, กลิ่น และความรู้สึกแปลก ๆ ขึ้น
อาการ:
อาการเตือนก่อนมีอาการชัก เราเรียกว่า aura
โดยการเริ่มต้นที่ส่วนเล็ก ๆ ในสมองส่วน temporal lobe ที่เป็นต้นตอให้เกิดอาการชักขึ้น
อาการเตือน (aura) อาจหยุดได้เอง หรือเกิดพัฒนาขึ้นถึงขั้นตื่นตัว
การเกิด aura บางที่เราเรียกว่า simple partial seizure
ซึ่งประกอบด้วย:
o มีความรู้สึกปั่นป่วนในท้อง
o ประสาทหลอน หรือ ภาพหลอน
o Sensation of déjà vu: เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในอดิต
แล้วย้อนกลับมาเกิดซ้ำอีก ( บางครั้งเขาว่าเป็นความจำจากอดิตชาติ ? )
o มีอารมณ์รุนแรง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับอะไรทั้งสิ้น
ถ้าคลื่นกระแสไฟฟ้าในสมองกระจายตัวไป จะทำให้ความจำเสียไป
อาการชักกระตุกที่เกิดขึ้นเรียก complex partial seizure
ซึ่งในระยะนี้ อาจมีหลายอย่างเกิดขึ้น:
o ความรู้สึกผิดปกติหลายอย่างเกิดขึ้น ได้แก่
มีอาการมึนชา อาการเสียว มีอาการเหมือนมดไต่บนผิวหนัง
เกิดขึ้นเพียงส่วนเดียวของร่างกาย หรือกระจายไปหลายส่วน
จะเกิดก่อนอาการทางการเคลื่อนไหว
มีประสาทหลอน
o มีอาการทางประสาทอัตโนมัติ เช่น
อาการแน่นท้อง หรือ ปวดท้อง
ม่านตาขยาย
หน้าแดง
คลื่นไส้
หัวใจเต้นเร็ว
เหงื่ออก
o การเคลื่อนไหวของกายที่เปลี่ยแปลงไป ได้แก่
การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติตรงบริเวณปาก เช่น
• เคี้ยวปาก หรือ กลื้น โดยไม่มีสาเหตุ
• แสดงท่าทางว่า อร่อยมาก
• น้ำลายฟูมปาก
o การเคลื่อนไหวของศีรษะ เช่น
มีการหมุนศีรษะอย่างแรง
มีการกลอกตาอย่างแรง
การเคลื่อน...มันจะเคลื่อนไปยังทิศตรงข้ามรอยโรคในสมอง
o การเคลื่อนไหวซ่ำ ๆ กัน เช่น การหยิบผ้า
o การชักกระกระตุกเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ระหว่างการหดเกร็ง และการผ่านคลาย
ซึ่งจะเกิดขึ้นด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย แขน, ขา , ใบหน้า, หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง
ที่แยกออกไป
o ในขณะมีอาการชัก ความรู้สึกตัวจะลดลง หรือหายไป
o ความรู้สึกอาจยังคงมีอยู่ แต่ความจำหายไป
o อาการอย่างอื่น ได้แก่:
มีการเปลี่ยนทางภาพ คำพูด ความคิด ความระมัดระวังตน และบุกคลิกภาพ
ความจำหายไป (amnesia) โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดใกล้ ๆ กับการชัก
การตรวจร่างกาย และ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เมื่อเกิดความสงสัยว่า คนไข้จะเป็นโรค temporal lobe seizure
การวินิจฉัย ต้องพึ่งพาการตรวจร่างกาย และ การตรวจต่าง ๆ
รวมทั้งการตรวจทางระบบกล้ามเนื้อและประสาท
ซึ่งเมื่อตรวจแล้ว อาจปกติ หรือพบความผิดปกติได้ เช่น
o EEG เป็นการตรวจคลื่นสมอง ซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลง ที่มีลักษณะเฉพาะ
สามารถยืนยันว่าเป็นโรคลมชัก แบบ partial (focal) seizures
และสามารถบอกตำแหน่งที่อาการชักเกิดขึ้น
o CT and MRI อาจบอกให้ทราบตำแหน่ง ขอบเขตของรอยโรค
o เช่น รอยแผลเป็น มะเร็ง หรือความผิดปกติของเส้นเลือด และ อื่น ๆ
o Lumbar uncture อาจจำเป็น
.
การรักษา:
เป้าหมายของการรักษา คือการรักษาแบบฉุกเฉิน (ถ้าจำเป็น)และลดความถี่ของการชักในอนาคตลง
ในการรักษาอย่างในกรณีฉุกเฉิน อาจไม่จำเป็น
ยกเว้นเฉพาะในรายที่มันเป็นอาการชักแบบทั่วไป หรืออาการชักนั้น จะทำให้เขาเป็นอันตราย
การปฐมพยาบาล จะต้องกระทำอย่างเหมาะสม เช่น ป้องกันไม่ให้ได้รับบาดเจ็บ
ป้องกันไม่ให้เศษอาหาร หรือน้ำลายไหลเข้าปอดได้
และช่วยปกป้องการหายใจของเขา หรือช่วยให้เขาหายใจดีขึ้น
การรักษาสาเหตุบางอย่าง อาจยุติอาการชักได้
ซึ่งสามารถทำได้ด้วยยาต้านการชัก
หรือรักษาทางด้านศัลยกรรม ผ่าตัดเอ้าอนเนื้องอก หรือ รอยโคอย่างอื่น ๆ ออก
และการรักษาอย่างอื่น ๆ
การใช้ยาเม็ดต้านอาการชัก (anticonvulsants) ใช้รับประทาน
ถูกใช้เพื่อ “ป้องกัน” หรือ “ลดจำนวนครั้งของการชักลง
การรักษาด้วยวิธีดังกล่าว จะได้ผลดีแค่ใด ขึ้นกับตัวคนไข้แต่ละราย, และยาที่ใช้
และ ขนาดของยา ซึ่งจำเป็นต้องมีการปรับแล้วปรับอีก
เพื่อให้ได้ยาในขนาดที่ถูกต้องเหมาะสม
อาการชักที่เกิดแล้วเกิดอีก เป็นจำนวนหลายครั้ง
มักจะได้รับการรักษาในระยะยาวด้วยยาต้านชัก (antiepileptic drugs)
การติตตามดูแลคนไข้ เป็นเรื่องจำเป็น เพื่อพิจารณาเรื่องยารักษาว่า อาจจำเป็นต้อง
ได้รับการปรับเปลี่ยนขนาดของยา อย่างน้อยปีละครั้ง
คนไข้อาจจำเป็นต้องกินยาไปตลอดชีวิตก็ได้
การตรวจเลือดระดับความเข็มขนของยาที่ใช้รักษา
เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดอาการชักขึ้น และ ลดผลข้างคียงที่อาจเกิดจากการใช้ยา
ภาวะต่อไปนี้ สามารถทำให้คนไข้โรคลมชักเกิดมีอาการชักขึ้นได้
เช่น ตั้งครรภ์, อดนอน, ไม่รับประทานยาตามากำหนด, ดื่มแอลกอฮอล
หรือความไม่สบายต่างๆ
คนไข้ควรสรวมเครื่องประดับ ที่มีข้อมูลเตือนเกี่ยวกับตัวเอง
เช่น บ่งบอกให้ทราบตนเองเป็นโรคลมชัก
จากข้อมูลดังกล่าว อาจช่วยให้คนไข้ได้รับการรักษาได้ทันทีเมื่อคนไข้มีอาการ.
การพยากรณ์โรค
อาการชักอาจเป็นเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นครั้งเดียว หรือเกิดแล้วเกิดอีก
โดยไม่ทราบเหตุที่ชัดแจ้ง
เมื่อมีอาการชักเกิดแล้วเกิดอีก เราเรียกพวกนี้ว่า โรคลมชัก หรือลมบ้าหมู
อาการชักที่เกิดขึ้นครั้งเดียว หรือกลุ่มเดียว
มักมีปัญหาเกิดขึ้นไม่นาน เช่น สมองได้รับบาดเจ็บ ศีรษะถูกกระแทก
บาดเจ็บที่เกิดขึ้นครั้งเดียว และอาการชักที่เกิดขึ้น อาจกลายเป็นโรคลมบ้าหมูขึ้นได้
การที่คนไข้ได้รับบาดเจ็บของสมอง แล้วมีอาการชักเกิดขึ้นภายใน 2 อาทิตย์
ไม่ได้หมายความว่า คนไข้รายนั้นจะกลายเป็นโรคลมชัก (epilepsy)
ในขณะที่มีอการชักเกิดขึ้น สามารถก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต เชน ขับรถ
หรือปฏิบัติการกับเครื่องยนต์กลไก หรืออาบน้ำในอ่าง...อาจจมน้ำตายได้
ต้องระวัง
ภาวะแทรกซ้อนทีอาจเกิด:
o ในขณะที่มีอาการชัก น้ำที่เข้าสู่ปอด เช่น จากอาเจียน น้ำลาย สา
มารถทำให้เกิดปอดอักเสบ pneumonia
o บาดเจ็บจากหกล้ม กัดตัวเอง
o สมองถูกทำลายอย่างถาวร (จากสมองขาดเลือด-stroke)
o เปลี่ยนเป็นโรคลมชักชนิด grand mal seizures
o มีอาการชักนานเป็นเวลามากว่า 30 นาที (status epilepticus)
o เกิดอาการชักซ้ำ ๆ กันบ่อยครั้ง
o ผลข้างเคียงจากรักษา ทั้งที่มองเห็น และมองไม่เห็น
Adapted from :http://health.nytimes.com/health/guides/disease/temporal-lobe-seizure/overview.html#Alternative-Names
ขอบคุรคะ
ตอบลบขอบคุรคะ
ตอบลบ