วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

Epilepsy and Seizure: (cont.)

อะไรคือสาเหตุขอโรคลมชัก ?
คนไข้อาจรับรู้ว่ามีอาการชักกระตุกหนึ่งครั้ง หรือหลายครั้ง
โดยที่ไม่ทราบว่า สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกดอาการชักกระตุก คืออะไร

อาการชักกระทุกที่พบได้บ่อย ๆ เกิดจากสาเหตุต่อไปนี้:
 เกิดในเด็กแรกเกิด และเด็กเล็ก

o ได้รับบาดเจ็บหลังคลอด
o พิการแต่กำเนิด
o ไข้/อักเสบ
o เสียดุลด้านเมทตาบอลิก และเคมีของร่างกาย

• ในเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ :

o แอลกอฮอล และยา
o ได้รับบาดเจ็บของศีรษะ
o อักเสบติดเชื้อ
o ความพิการแต่กำเนิด
o ปัจจัยทางพันธุกรรม
o โรคที่เกิดขึ้นกับสมอง
o โรคอัลไซเมอร์
o โรคสมองขาดเลือด
o ไม่ทราบสาเหตุ

สาเหตุอย่างอื่น ที่ทำให้เกิดอาการชักกระตุกอาจเกิดจาก:
o มีเนื้องอกในสมอง
o มี ปัญหาต่าง ๆ ในระบบประสาท
o เมื่อมีการเลิกยาเสพติด
o จากยารักษาต่าง ๆ

อาการต่าง ๆ ของโรคลมชัก:
คนไข้ชักกระตุก อาจมีอาการในระดับที่แตกต่างกัน โดยขึ้นกับชนิด
ของการชักกระตุก

อาการต่าง ๆ ต่อไปนี้ เป็นอาการของชักกระตุก
หรือเป็นการเตือนล่วงหน้าของอาการชักกระตุก
เช่น:
o ตาเหม่อลอยไร้จุดหมาย
o กล้ามเนื้อกระตุกที่แขน และ ขา
o ตัวแข็ง
o หมดความรู้สึก (loss of consciousness)
o มีปัญหาด้านการหายใจ หรือหยุดหายใจ
o ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ หรือขับถ่ายปัสสาวะ
o ล้มพับลงทันทีโดยไม่ทราบเหตุ
o ไม่ตอนสนองต่อเสียง หรือ พยางค์สั้น ๆ
o มีความสับสน
o ง่วง และ รู้สึกหงุดหงิด หลังตื่นนอนในตอนเช้า
o ผงกศีรษะ
o มีการกระพริบตาอย่างเร็ว และ ตาเหมอลอย

ในระหว่างที่มีการชักกกระตุก ริมฝีปากคนไข้อาจมีสีคล้ำ (bluish)
หายใจไม่ปกติ การเคลื่อนไหวมักจะเกิดตามหลังการนอนพัก
หรือหลังอาการเวียนศีรษะ
อาการต่าง ๆ ของการชักกระตุก อาจมีลักษณะคล้ายปัญหาอย่างอื่น
หรือจากโรคทางร่างกายได้

การวินิจฉัยโรค:
เราอาจไม่ทราบสาเหตุของอาการชักกระตุกได้อย่างชัดเจน
แต่จากการประเมินทางประวัติความเจ็บป่วย และการตรวจทางห้อง
ปฏิบัติการณ์ อาจพบร่องรอยของสาเหตุได้

การชักกระตุก (seizure) อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาของระบบประสาท
ซึ่งอาจจำเป็นต้องทำการติดตามอาการของคนไข้ต่อไป

การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค ประกอบด้วยการตรวจต่อไปนี้:
 Blood tests
 Electroencephalogram (EEG)
 Magnetic resonance imaging (MRI)
 Computed tomography scan (CT san)
 Lumbar puncture (Spinal tap)

การรักษา
การรักษาของแพทย์ย่อมขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ดังนี้:
o อายุ สุขภาพโดยรวม และประวัติการเกิดโรค
o ชนิดของชักกระตุก
o ความถี่ของการเกิดชักกระตุก
o ความทนทานต่อการรักษาชนิดต่าง ๆ เช่น ยา วิธีการ และการบำบัด
o ความคาดหวังที่มีต่อการชักกระตุก
o ความพอใจของผู้ถูกรักษา
เป้าหมายในการรักษาอาการชักกระตุก ได้แก่การควบคุม หยุด หรือลด
การชักกระตุกลงให้เหลือน้อยที่สุด โดยไม่ให้ขัดขวางชีวิตการทำงาน
ตามปกติ (ADLs)

เป้าหมายหลักในการรักษาอาการชักกระตุกได้แก่:
 บ่งบอกชนิดของอาการชักกระตุก
 ใช้ยาเฉพาะสำหรับอาการชักกระตุกชนิดนั้น ๆ
 ใช้ยาขนาดน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อควบคุมอาการชักกระตุก
 คงสภาพของระดับยาอย่างเหมาะสม

การรักษาอาจประกอบด้วย:
 ยารักษา (medications).
มียาจำนวนมากชนิด ถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการชักกระตุก (seizure)
ยาที่ถูกเลือก ขึ้นกับชนิดของชักกระตุก อายุของคนไข้
ผลข้างเคียงของยา ราคายา และความยินยอมของคนไข้ทึ่จะ
ใช้ยารักษา

ยารักษาต่าง ๆ เป็นยารับประทาน (capsule,tablet หรือ syrup)
บางรายอาจให้เหน็บทางทวารหนัก
ในกรณีที่คนไข้ถูกรับไว้ในโรงพยาบาล ยาอาจให้ทางเส้นเลือด

ในการรักษาด้วยยา จำเป็นต้องรับประทานตามเวลาตามแพทย์สั่ง
คนไข้แต่ละรายจะรับ...ยาแตกต่างกัน ตามรูปร่าง ขนาดของยา
ซึ่งกำหนดไว้เพื่อควบคุมอาการชักในแต่ละราย

ยารักษาทุกอย่าง ต่างมีผลข้างเคียงเสมอ
บางคนอาจมาแสดงผลข้างเคียงก็ตาม ท่านควรปรึกษา
แพทย์เกี่ยวกับฤทธิ์ข้างเคียง

ในขณะทีท่านกำลังรับประทานยารักษา อาจมีการตรวจบางอย่าง
เพื่อตรวจดูประสิทธิผลของยารักษา
การตรวจมีดังนี้:

o Blood worK
อาจจำเป็นเพื่อตรวจสอบดูระดับของยาในเลือด
ซึ่งมีประโยชน์ในด้านเพิ่ม ลดขนาดของยา เพื่อผลของการรักษา (Therapeutic level)

o Urine tests:
เป็นการตรวจเพื่อดูว่า รางกายของคนไข้ตอบสนองต่อยาอย่างไร

o Electroencephalogram (EEG):
การตรวจ EEG เป็นการตรวจสอบดูว่า ยาได้ช่วยรักษาอาการชักกระตุกอย่างไร

Vagus nerve stimulation (VNS)
มีบางคน ซึ่งอาการชักกระตุกไม่สามารถควบคุม
ได้ด้วยยารักษาอาการชักกระตุก
เขาอาจได้รับประโยชน์จากการกระตุ้นเส้นประสาท Vagus
VNS ถูกนำมาใช้รักษาคนไข้ที่มีอายุมากกว่า 15 ปี
ผู้เป็น partial seizures ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้
ด้วยวิธีอื่น ๆ

VNS พยายามควบคุมอาการชัก โดยการส่งคลื่นพลังงานส่งไป
ยังสมองจากเส้นประสาท “เวกัส”
ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่ใหญ่ ในบริเวณคอ
วิธีการ คือ ทำการผ่าตัดวางแบตเตอรรี่ที่บริเวณทรงอก
จากแบทเตอรี่ จะมีเส้นลวดเส้นเล็ก ๆ ถูกต่อไปยังรอบ ๆ เส้นประสาท “เวกัส”
จากนั้น จะถูกโปรแกรมให้ส่งคลื่นพลังส่งไปยังสมอง
เมื่อคนไข้มีความรู้สึกว่า จะเกิดอาการชักกระตุก
คนไข้จะทำการกระตุ้นที่แบตเตอรี่ สามารถทำให้อาการชักหยุดลงได้

ผลเสียที่เกิดจาก VNS ได้แก่:
o เสียงแหบ
o เจ็บปวด หรือความไม่สบายเกิดตรงบริเวณคอ
o เสียงเปลี่ยนไป

 Surgery
การรักษาอาการชักกระตุก สามารถทำการรักษาได้ด้วยการผ่าตัด
ซึ่งคนไข้จะถูกพิจารณาใช้วิธีทางศัลยกรรม ดังนี้:
o เกิดอาการชักกระตุกในบริเวณที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยา
o อาการชักกระตุก มักจะเริ่มจากส่วนหนึ่งของสมอง

อาการชักกระตุก เกิดจากส่วนหนึ่งของสมอง
ซึ่งสามารถทำการผาตัดเอาสมองส่วนนั้นออก โดยไม่เป็นอันตรายต่อพฤติกรรมที่สำคัญ
เช่น การพูด ความจำ และภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับคนไข้ที่มีอาการชักกระตุก และเป็นลมบ้าหมู ที่เราควรทราบ:

o จงแน่ใจว่า เด็กของท่านเข้าใจชนิดอาการอาการลมชัก ที่เกิดขึ้น
และรู้ชนิดของยาที่ใช้รบประทาน
o รู้ขนาดของยา เวลาที่ต้องใช้ยา และ ผลข้างเคียงของยาทุกชนิด
o ปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะรับประทานยาชนิดอื่น ๆ เพราะมียาหลายตัว
สามารถทำปฏิกิริยากับยาได้หลายตัว เป็นเหตุให้ยาทำงานได้ไม่ดี
และอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงขึ้นได้
o สำหรับสตรีในช่วงตั้งครรภ์ รับยารักษาอาการชักกระตุก
จะต้องรับทราบว่า ยารักษาอาการชักกระตุก เป็นอันตรายต่อเด็กใน
ครรภ์ได้ และยาดังกล่าว สามารถลดประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิด
o คนไข้ที่ ถูกควบคุมด้วยยากันชักกระตุกได้เป็นอย่างดี

มีข้อจำกัดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และเขาควรได้ทำงานตามปกติ

o คนมีประวัติชักกระตุก ควรหลีกเลี่ยงจากการขับรถยนต์
o ยารักษาชักกระตุก อาจไม่จำเป็นต้องใช้ไปตลอดชีวิต
o บางคนอาจเลิกยาได้ ถ้าพบว่าเขาไมมีอาการเป็นเวลาหนึ่งถึงสองปี
o ในกรณีเชนนี้ แพทย์จะเป็นผู้ติดสินให้ท่านได้


Adapted From: nyp.org/health/neuro-epilepsy.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น