การรักษาโรคลมชัก...
แม้ว่ามันจะมีการพัฒนาไปได้ไกลมากแล้วก็ตาม
แต่ก็ปรากฏว่า มีคนไข้จำนวนไม่น้อยยังตกอยู่ภายใต้อาการชักเช่นเดิม
ซึ่งบ่อยครั้ง ความรุนแรง และความถี่ของอาการชักไม่ลดน้อยลงเท่าใดนัก
แต่ก็ปรากฏว่า คนไข้ส่วนใหญ่ ยังมีความสุขต่อการดำเนินชีวิต
ไม่มีความย่อท้อต่อโรคที่เราเป็นแม้แต่น้อย
มีปัญหาหลัก ๆ สองประการที่คนไข้โรคลมชักมักจะเผชิญอยุ่เสมอ
นั่นคือ ความเดียวดาย (เหงา) และ หางานทำยากเหลือเกิน
ผลที่ตาม จะเห็นว่าการฟื้นฟูด้านสังคม มีบทบาทต่อแผนการรักษาโดยรวม
แต่ที่แย่ก็คือ แพทย์ที่ทำหน้าที่รักษาโรคลมชัก
ไม่ได้ให้ความสนใจด้านฟื้นฟูทางด้านของคนไข้เท่าที่ควร ?
ปํญหาอันท่ีสาม ซึ่งแพทย์ไม่ค่อยจะบอกต่อคนไข้ว่า
คนเป็นโรคลมชัก สามารถตายได้อย่างกระทันหัน โดยไม่มใครคาดหวังมาก่อน..
การตายจากโรคลมชัก แบบเกิดขึ้นแบบกระทันหันนั้น ไม่มีใคาคาดว่า
มันจะเกิดขึ้นเมื่อใด แต่จะเกิดขึ้ในขณะที่มีอาการชักเท่านั้น
ฉนั้น วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ อย่าให้มีโอกาสได้เกิดมีอาการชักเป็นอันขาด
นี่คือตัวอย่าง ทีเกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นอุทาหรณ์ให้เราได้รู้ ได้ศึกษา:
มีชายหนุ่มคนหนึ่ง อายุ 25 ปี
ถูกพบนอนตายขณะที่นอนหลับบนเตียง
พ่อ-แม่ของหนุ่มคนนั้น ได้ช่วยสนับสนุนให้ลูกชายของเขา
ให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถอาศัยอยู่คนเดียวได้
เพื่อทำให้ชีวิตดำเนินไปได้ตามปกติโดยไม่พึงพาใคร
แต่แล้ว เขาถูกพบนอนตายบนเตียง ใบหน้าคว่ำลงกับพื้น
ศพอยู่สภาพแต่งตัวดี ไม่พบบากแผลใด ๆ
ไม่มีใครทราบเลยว่า ชายหนุ่มคนนี้เป็นโรคลมชักมาก่อนเลย
ถ้าแพทย์บอกให้คนไข้ ใหทราบ ว่า โรคที่เขาเป็น (โรคลมชัก)
สามารถทำให้เขาตายแบบกระทันหันได้ เหมือนกับตัอย่างที่กล่าวมา
หรือจมน้ำในอ่าง...ตาย ได้
คำถามที่เกิด คือ อะไรจะเกิดขึ้น ?
คำตอบ คงมีได้ทั้งข้อดี และเสีย
ข้อเสีย: คงทำห้คนไข้เกิดความกลัว กังวลใจ...เผลอ ๆ ไม่สามารถพึ่งพาตนเอง
ต้องให้คนอื่นดูแลตลอด ?
ข้อดีที่ได้: คนไข้จะต้องพยายามทุกวิถีทางไม่ให้เกิดมีอากรชักเกิดขึ้น
นั่นคือ ต้องปฏิบัติกตาคำแนะนำของแพทย์ทุกประการ (ซึ่งอาจช่วยได้)
เพราะการตายแบบดังกล่าว จะเกิดขึ้นเฉพาะในขณะที่มีการชักเท่านั้น
ถ้าไม่ชัก...จะไมีการตาย
แต่ก็อีกนั่นแหละ...ยาต้านอาการชัก ใช้ว่าจะควบคุมโรคได้ 100 % เสียเมือ่ไหร่ละ ?
จากประเด็นที่ยกมา ทำให้แพทย์จำนวนไม่น้อยไม่แน่ใจว่า
การบอกคนไข้ในเรื่องดังกล่าว เป็นประโยชน์ต่อคนไข้จริง
สามารถป้องกันไม่ให้ตายอย่างฉับพลันได้ ?
เป็นเรื่องที่จะต้องถกกันต่อไป
Adapted from : professionals.epilepsy.com/page/ps_1098889433.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น