วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

Epilepsy treatment: Frequently Asked Questions

นับตั้งปี 1930 ได้มีความพยายามเอาชนะโรคลมชัก(ลมบ้าหมู)
ด้วยการใช้ยาต่าง เช่น dialantin ตามด้วยยาที่ผลิตขึ้นใหม่
เช่น Tegretol และ Epilim (sodium valproate)
ซึ่งหมายความว่า เราสามารถจัดการควบคุมโรคลมชักในคน
ที่เป็นโรคส่วนใหญ่ โดยไม่มีผลข้างเคียงที่น่ากลัว
หรือ มีอาการอันไม่พึ่งปรารถนามากเท่าใดนัก

ทีกล่าวเชนนั้น ไม่ได้หมายความว่า
เราสามารถ ควบคุมคนไข้ที่เป็นโรคลมชักได้ทุกรายไป
หรือ เมื่อใช้ช้ยาแล้ว ไม่มีผลข้างเคียง (side effects)จากยาเลย

เนื่องจากการผลิตยาใหม่แต่ละตัว จะต้องใช้เงินเป็นจำนวนไม่น้อย
(150 million dollars for new drug)
จึงเป็นเหตุให้มียาตัวใหม่ ๆ ที่ผลิตออกสู่ตลาด มีไม่มากเท่าใดนัก

จากจุดนี้เป็นต้นไป จะนำคำถามที่พวกเราชอบถามกัน
มาเล่าสู่กันฟัง:

ยาที่กล่าวถึง มันป้องกันไม่ให้เกิดอาการชักได้อย่างไร?

แปลก!
แต่เป็นเรื่องจริง

ยาส่วนใหญ่ที่ใช้ในการรักษาคนไข้ ที่เป็นโรคลมชัก หรือลมบ้าหมูนั้น
ปรากฏความจริงขึ้นว่า มันถูกพบโดยบังเอิญว่า
ยาตัวนั้น ๆ มีฤทธิ์ต้านอาการชักได้ (anti-epileptic properties)
โดยแพทย์ได้ใช้ยาดังกล่าว รักษาคนไข้โรคลมชักเป็นเวลานานหลายปี
โดยไม่ทราบเลยว่า มันทำงานกันอย่างไรกันแน่ ?
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมียาใหม่ ๆ ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคลมชัก
และได้มีการศีกษาวิเคราะห์ผลการทำงานของยามากขึ้น
จึงทำให้เข้าใจว่า มันทำงานกันอย่างไร ?

เราทราบว่า เซลล์ประสาทในสมองของคนเรา จะส่งคลื่นติดต่อซึ่งกันและกัน (ระหว่างเซลล์ประสาท)
สัญญาณประสาทจากเซลล์ประสาทตัวหนึ่ง ส่งไปยังเซลล์ประสาทอีกตัวหนึ่ง
ต้องอาศัยสารเคมี ที่ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท (chemical neurotransmitters)
ซึ่งอาจทำหน้าที่เป็นตัวเร้า (excite) หรือยับยั้ง(inhibit)
คลื่นกระแสประสาทตามแนวทาง ที่คลื่นประสาทถูกส่งไป

จากการที่เราได้ทราบว่า Gamaa-amino butyric acid (GABA)
ซึงเป็นสารสื่อประสาทตัวหนึ่ง เป็นสารเคมีที่มีความสำคัญต่อระบบการส่งสัญญาณประสาท
โดยมันทำหน้าทีเป็นตัวยับยั้งสัญญาณประสาท (inhibitory neurotransmitter)
จากความรู้ดังกล่าว ได้นำไปสู่การวิจัยหายาต่าง ๆ ที่สามารถยับยั้งโรคลมชัก...
โดยที่ยาตัวนั้น ไปเพิ่มประสิทธิภาพของสาร BAGA...
และยาที่ผลิตขึ้นได้ตัวนั้น ยา Vigabatrin

ในทางตรงข้ามกับที่เรากล่าวมา ถ้าสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่
กระตุ้นคลื่นประสาท (excitatory neurotransmitters)
ถูกทำให้มันลดลง อาการชักที่เกิดจากโรคลมชัก ก็ควรลดลงด้วย

สารสื่อประสาท ที่ทำหน้าการกระตุ้นคลื่นประสาทระหว่างเซลล์ประสาทสมอง
(excitatory neurotransmitters)
มีชื่อว่า Glutamine ซึ่งอยู่ตรงบริเวณปลายประสาท
และยา ที่เขาผลิตขึ้น คือยา Lamotrigine
เป็นยาที่มีคุณสมบัติทำหน้าที่ยับยั้งฤทธ์ของสารเคมี gluatamine

ทำไมเราต้องยับยั้งไม่ให้โรคลมชัก เกิดอาการชักขึ้น?

เราต้องยับยั้งไม่ให้เกิดการชักด้วยเหตุผลหลายประการ
ซึ่งนอกจากจะป้องกันไม่ได้รับบาดเจ็บ เช่น หกล้ม กัดตัวเอง
อาการชักประเภทรุนแรงทีเกิดขึ้น ยังทำให้ความจำลดลง รวมไปถึงการทำงานเสียไป
การเกิดอาการชักแต่ละครั้ง อาจมีผลกระทบต่อชีวิตครอบครัวของคนไข้

คนที่โรคลมชัก ไม่ควรอนุญาตให้ขับรถยนต์จนกว่า
โรคลมชักของเขาสามารถที่จะควบคุมได้

ถ้าบังเอิญอาการชักที่เกิดขึ้น เกิดมีคำถามขึ้นว่า มันเป็น
อาการของโรคลมชักหรือไม่ ?

ถ้า ผลจากการตรวจคลื่นสมอง EEGs และการตรวจอย่างอื่น บอกว่าปกติ
ในกรณีเช่นนี้ แพทย์อาจต้องรอ...ไม่ให้ยากันชักก็ได้

เมื่อปรากฏว่า คน ๆ นั้น เกิมีอาการชักขึ้นเป็นครั้งแรก ไม่ได้หมายความว่า เขาเป็นโรคลมชักนะ..
แม้ว่า เขาจะ/ม่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชัก เราควรป้องกันทุกอย่างเอาไว้ก่อน
เช่น หลีกเลี่ยงจากงานที่อาจก่อเกิดอันตราย

ถ้าคนไข้เกิดมีอาการชักเป็นครั้งที่สอง ควรวินิจฉัยได้ว่า
เขาเป็นโรคลมชักขึ้นแล้วละ...
ซึ่งเขาควรได้รับการรักษาด้วยยาต้านชัก (anti-epileptic drugs)
โดยไม่ต้องรั้งรออีกต่อไป

เราจะพบว่า มีหนทางเดียวเท่านั้น ที่เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคลมชัก
คือการรักษาด้วยยา
และมีส่วนน้อยเท่านั้น ที่พบว่า ยาต้านอาการชักไม่มีประโยชน์
ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด
ส่วนการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติเพียงอย่างเดียว
เช่น สมุนไพร จะไม่ได้ผล และอาจเป็นอันตรายได

ท่านเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับ ketogenic diet บ้างไหม ?

Ketogenic diet เป็นอาหาร ซึ่งมีไขมัน (fats) และมีน้ำมัน (oils)ในปริมาณสูง
มีโปรตีน และพวก คาร์โบไฮเดรต ในปริมาณที่ต่ำ

การที่คนเรารับประทานไขมัน (fats) และน้ำมัน (oils) ในปริมาณสูง
จะทำให้เกิดภาวะที่เราเรียกว่า ketosis
การปรับเปลี่ยนทางเมทตาบอลิสึม (metabolic shifts) ดังกล่าว
จะเพิ่มระดับ seizure threshold สูงขึ้น
(seizure threshold หมายถึงความสมดุลระหว่างแรงหรือพลังในการกระตุ้น
และแรงยับยั้งที่มีอยู่ในสมอง...ซึ่งเมื่อใดความสมกุลดังกล่าวเสียไป หรือต่ำลง
ย่อมทำให้เกิดโอกาสที่จะเกิดอาการชักขึ้นได้ )

การใช้ ketogenic diets เป็นการจำกัดพลังงาน (calories) และ
จำกัดพวกน้ำลง อาหารประเภทนี้ จะได้ผลดีในคนไข้เด็กที่เป็นโรคลมชัก
ซึ่ง คนไข้จะต้องกินอาหารดังกล่าว ตามกำหนดโดยไม่ขาด

ในการรักษาด้วย ketogenic diet จำเป็นต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัดที่สุด
และหากปฏิบัตได้ ผลของการรักษาจะดีมากทีเดียว (เขารายงานว่าอย่างนั้น ?)
ดูเหมือนจะดีกว่า การใช้ยาต้านชักเป็นไหน ๆ

เมื่อมีการเริ่มรับประทานยากันชักเมื่อใด
อย่าได้เลิกเป็นอันขาด นอกเสียจากได้รับคำแนะนำจากแพทย์
เพราะการทำเช่นนั้น มีอแต่จะทำให้โรคลมชักเป็นมากขึ้น
ถือว่า เป็นภาวะอันตราย !

continue >

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น