วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

Coronary Artery Disease (Ischemic Heart Disease)

หนุ่มวัยกลางคนถูกนำส่งห้องฉุกเฉินด้วยอาการแน่นหน้าอกอย่างแรง
หายใจลำบาก อาการเกิดในขณะที่ออกแรงมากกว่าปกติ
และ โชคดี ด้วยความช่วยเหลือของคนไกล้เคียง....
หนุ่มผู้โชคร้ายคนดังกล่าว จึงรอดพ้นจาก อันตรายจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด....
และสิ่งที่ชายคนนั้นเป็น คือ Heart attack นั่นเอง

Coronary artery disease (CAD)
เป็นสาเหตุนำชนิดหนึ่ง ที่คร่่าชีวิตของผู้คนลงโดยที่บางคนประมาท ไม่ใส่ใจตัวเองเท่าที่ควร
จากสถิติของชาวสหรัฐฯ มีคนตายจากโรคเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจถึง 5 ล้านคน
CAD เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจ ที่เกิดการตีบแคบขึ้น
โดยมีสาเหตุจากคราบ (plague)ของไขมัน ไปจับตัวตามผนังของเส้นเลือดดังกล่าว
ซึ่งเรียกว่า atherosclerosis

เมื่อเอาส่วนของคราบไขมันที่เกาะตามผนังเส้นเลือดมาตรวจดู
พบว่า มันประกอบด้วยไขมัน (cholesterol-rich fatty deposits),
คอลลาเกน (collagen) , โปรตีน (protein) และมีเซลล์ของกล้ามเนื้อเรียบ
(smooth muscle cells) เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากมาย

เห็นส่วนประกอบของคราบน้ำมัน จึงตอบความสงสัยได้ว่า
ทำไมเส้นเลือดจึงเกิดการหนาตัวตัว และทำให้เส้นเลือดเกิดแคบลง

โรคเส้นเลือดแข็ง (atherosclerosis)
มักจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้อย่างช้า ๆ ดำเนินอย่างต่อเนื่องตลอดอายุขัยของคนไข้เอง
ทำให้ผนังเส้นเลือดแดงหนาตัว เป็นหตุให้เส้นเลือดตีบแคบลง
ยังผลให้การไหลเวียนของเลือดผ่านได้ไม่สะดวก กล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้รับเลือด-ออกซิเจนเพียงพอ
เกิดภาวะที่เราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ischaemia ซึ่งเป็นต้นตอที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก
คนไข้บางรายบอกว่า เหมือนตะคริวกินหน้าอก

เมื่อผนังเส้นเลือดที่หนาตัวจากคราบไขมัน จะทำให้ผิวด้านในของเส้นเลือดไม่เรียบ มีลักษณะขลุขระ
จนเป็นเหตุให้มีการจับตัวของเกล็ดเลือด มีการสร้างก้อนเลือดได้อย่างง่ายดาย
เมื่อเกิดขึ้นกับเส้นเส้นเลือดของหัวใจ (coronary artery) จะเป็นเส้นเดียว หรือหลายเส้นกตาม
สามารถทำให้เกิดการอุดตันได ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด..และเกิดอาการ heart attack

แม้ว่าโรคเส้นเลือดของหัวใจ เป็นโรคที่น่ากลัว สามารถก่อให้เกิดความตายอย่างฉับพลันได้ก็จริง
แต่คนที่เป็นโรคดังกล่าว สามารถทำให้เขาอยู่กับโรคที่เขาเป็นได้อย่างมีความสุข
ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต สามารถชะลอโรคของเส้นเลือดลงได้
เช่น เลิกสูบบุหรี่ ปรับเปลี่ยนอาการหารการกิน และออกกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
พร้อมกับการได้รับยาลดความดันโลหิตสูง และลดระดับไขมันในเลือดลงสู่ระดับปกติ

นอกจากนั้น อาจมีการปรับเปลี่ยน หรือเพิ่มเป้าหมายการรักษาด้วยวิธีการอยางอื่น
เช่น การผ่าตัด เพื่อทำให้การไหลเวียนของเลือดสู่กล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้น
สามารถทำให้ชีวิตของคนไข้ยืนยาว อย่างมีความสุขได้

จะพบแพทย์เมื่อใด ?
ถ้าท่านมีอาการต่อไปนี้...อย่าได้รอช้าเป็นอันขาด:

o เมื่อท่านมีความรู้สึกเจ็บแน่นหน้าอก มีคลื่นไส้-อาเจียนหรือไม่ไม่สำคัญ
o เคยมีประวัติว่า เจ็บหน้าอก (angina) มาก่อน เมื่อพักผ่อนแล้ว 10 – 15 นาที
แล้วอาการยังไม่หาย....ไป พบแพทย์ หรือเรียกแพทย์ทันที
o ปวดหน้าอกอย่างรุนแรง (intense chest pain)เป็นครั้งแรก

อาการ:
ในระยะเริ่มแรกของการเป็นโรคเส้นเลือดของหัวใจ (coronary artery disease)
ส่วนมากจะไม่มีอาการใด ๆ และ...โรคอาจเกิดกับคนไข้ตั้งแต่อายุยังน้อย (pre-teen)

เมื่อเวลาผ่านไป ไขมันที่เกาะตามผนังเส้นเลือด จะรวมตัวกันมากขึ้นเรื่อย ๆ
เมื่อคราบที่เกาะตามผิวหลุดไป จะมีรอยแผลเกิดขึ้น มีการซ่อมแซมบริเวณที่เป็นรอยแผล
ตามด้วยการเกิดพังผืด (scarring) ทำให้รูของเส้นเลือดแคบลง เป็นเหตุให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้พอ
ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าขึ้น (angina pectoris)
ซึ่งมักจะเกิดขึ้น ในขณะออกแรง หรือขณะที่มีความเครียด(เป็นระยะเวลาที่หัวใจต้องการออกซิเจนมากที่สุด)

ภาวะที่เกิดมีอาการเจ็บหน้าอก (angina) เมื่อได้พัก อาการจะหายไปอย่างรวดเร็ว
แต่เวลาผ่านไปนานแล้ว อาการเจ็บหน้าอก อาจเกิดขึ้นได้จากการออกแรงแต่เพียงเล็กน้อย
สุดท้าย จะนำไปสู่การเกิดอาการจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดออกซิเจน
และ มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจขึ้น

อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า คนเป็นโรคเส้นเลือดของหัวใจ (atherosclerosis)
มีประมาณ 1/3 อาจไม่เคยมีอาการเจ็บหน้าอก (angina) หรือ
ไม่เคยมีภาวะหัวใจขาดเลือด (heart attack) มาก่อน
แต่อาจเกิดอาการของโรคหัวใจอย่างฉับพลันขึ้นได้ โดยไม่มีอาการเตือนแต่อย่างใด

เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของท่านเอง
ถ้าท่านมีอาการต่อไปนี้... ต้องเรียกรถฉุกเฉินจากโรงพยาบาลทันที:

 เมื่อท่านเกิดมีอาการเจ็บหน้าอก (angina) หรือ มีอาการแน่น แสบร้อน
หรือ หนักในหน้าอก กินเวลาประมาณ 30 วินาที ถึง 5 นาที

 อาการเจ็บหน้าอก หรือความไม่สบายหน้าอก มักจะอยู่ในตำแหน่งศูนย์กลางใต้กระดุกหน้าอก
อาการปวดอาจมีการร้าวไปที่ต้นแขน ส่วนมากจะเป็นด้านซ้าย หรือปวดร้าวไปที่คอ หรือตามกระดูกกราม
อาการเจ็บหน้าอก มักจะเกิดในขณะที่มีการออกแรง หรือมีความเครียด อาการจะหายไปเมื่อได้รับการพักผ่อน
คนไข้พอที่จะคาดคะเนได้ว่า จะออกแรงมากน้อยแค่ใดจึงจะเกิดอาการ
บ่อยครั้ง คนที่มีอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจ (angina)
อาจสับสนทำใหเข้าใจผิดคิดว่า เป็นโรคกระเพาะอักเสบ (heartburn)ก็ได้

 หายใจลำบาก สั้น-ถี่ (shortness of breath) วิงเวียน (dizziness)
ร่วมกับอาการเจ็บอก

 มีอาการเจ็บหน้าอกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หรือ เกิดมีอาการเจ็บหน้าอกแม้ขณะพัก
ซึ่งเป็นอาการที่ควรพบแพทย์อย่างรีบด่วน เพราะมันบ่งบอกให้ทราบว่า
อาการเจ็บอกที่เกิดในขณะพัก เป็นอาการบ่งชี้ว่า เป็น unstable angina
ซึ่งควรได้รับการเอาใจใส่จากแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะเป็นตัวบ่งชี้ว่า จะเกิดมีกล้ามเนื้อหัวใจตายขึ้นในไม่ช้า

Causes
ในโรคเส้นเลือด coronary arterial disease
จะทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดน้อยลง
ถ้าเส้นเลือดตีบแคบไม่มาก จะเกิดมีอาการเมื่อมีการออกแรงเท่านั้น
เพราะในขณะที่ออกกแรง กล้ามเนื้อหัวใจต้องการออกซิเจนมากกว่าปกติ
อย่างไรก็ตาม เมื่อโรคเลวลง เส้นเลือดที่แคบมากขึ้น สามารถทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ
ขาดออกซิเจนในขณะที่ทำงานตามปกติ หรือขณะที่พักผ่อนได้

• Smoking. การสูบบุหรี่จะส่งเสริมการสร้างคราบไขมันในเส้นเลือดให้เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนั้น การสูบบุหรี่ ยังทำให้ระดับ carbon monoxideในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น
เป้นเหตุให้ผิวด้านในของเส้นเลือดถูกทำลายได้ง่ายขึ้น เป็นเหตุให้เกิดโรคเส้นเลือดแข็งได้มากขึ้น

• High blood cholesterol. ระดับไขมันในกระแสเลือด
จะนำไปสู่การเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจ (coronary artery disease)
ไขมัน LDL จะเข้าสู่เซลล์ที่บุผิวของผนังเส้นเลือด และรวมตัวกลายเป็นคราบไขมันในที่สุด

• High blood pressure โรคความดันโลหหินสูง มีแนวโน้มทำให้เกิดโรคเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจ

• Diabetes mellitus โรคเบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการทำห้เกิดโรคเส้นเลือดแข็ง
(atherosclerosis)

• Obesity ก็สนับสนุนให้เกิดเส้นเลือดแข็งเช่นกัน

• Lack of exercise การทำงานนั่งโต๊ะ ไม่ค่อยออกกำลังกาย
เป็นปัจจัยส่งเสริมได้เกิดโรคเส้นเลือดแข็ง

• เพศชาย มีความเสี่ยวต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจได้มากว่าสตรี

• สำหรับสตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิด ร่วมกับการสูบบุหรี่
จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดแข็งได้สูง

• ประวัติครอบครัวของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด (heart attack)
มีโอกาสเกิดร่วมกับการเป็นโรคเส้นเลือดแข็ง

• การหดเกร็ง (spasm) ของกล้ามเนื้อของผนังเส้นเลือด
อาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก (angina) ซึ่งเกิดจาก การสูบบุหรี่ ภาวะเครียดจัด หรือสัมผัสความเย็นจัด

Continue > CAD : prevention

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น