continue.
การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ มีหลายชนิด ที่เป็นชนิดหลัก (main types)
ที่เราควรู้ ได้แก่:
• Supraventricular tachycardia (SVT)
ความผิดปกติชนิดนี้ เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ไม่ถูกควบคุมด้วย SA node
แต่ ตำแหน่งที่ก่อให้เกิดคลื่นกระแสไฟฟ้า ทำให้เกิด SVT จะอยู่ ณ จุดหนึ่งในกล้ามเนื้อหัวใจ
ที่อยู่เหนือสองห้องล่าง(ventricles)
ตรงจุดนี้แหละ มันจะส่งคลื่นกระแสไฟฟ้าไปยังทุกส่วนของกล้ามเนื้อสองห้องล่างของหัวใจ
ทำให้กล้ามเนื้อดังกล่าวเกิดการหดเกร็ง (contract) ได้เร็วกว่าปกติ 140-240 คร้ง ต่อนาที
และการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ เป็นการหดเกร็ง หรือการเต้นของกล้ามเนื้อหัวใจ ที่มีความสำม่เสมอ
ซึ่ง การเกิดการหดเกร็งดังกล่าว เป็นความผิดปกติ จะเกิดนานประมาณ 2-3 นาที
บางรายนานเป็นชั่วโมง
ระยะเวลาของการเกิด SVT มีได้แตกต่างกันไป บางรายเกิดขึ้นห่างกันในระยะสั้น ๆ
วันหนึ่งเกิดขึ้นหลายครั้ง บางราย นาน ๆ จะเกิดครั้ง เช่น ปีละครั้ง หรือ ปีละสองครั้ง
แต่ส่วนใหญ่ จะอยู่ระหว่างกลาง ซึ่ง เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นอีก
• Atrial fibrillation (AF)
ใน AF คลื่นกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติจำนวนมาก ซึ่ง ยิงจากส่วนต่าง ๆ ของหัวใจส่วนบน (atria)
ให้คลื่นกระแสไฟฟ้า กระจายไปทุกส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจส่วนบน
จากนั้น กล้ามเนื้อหัวใจสองห้องบนเกิดการหดเกร็ง ที่เร็วมาก เป็นแบบสั่นระริก (fibrillate)
ซึ่งหมายความว่า มีบางส่วนของกล้ามเนื้อของสองห้องบนเท่านั้น ที่มีการหดเกร็ง (contract)
อาจมากถึง 400 ครั้ง ต่อหนึ่งนาที
มีบางคลื่นของหัวใจจากกล้ามเนื้อห้องบน (atria) เท่านั้น สามารถผ่านผ่าถึงกล้ามเนื้อหัวใจสองห้องล่างได้
ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจสองห้องบ่าง (ventricles) สามารถเต้นได้ 160 – 180 ครั้ง ต่อนาที
และการเต้นของหัวใจ ก็เป็นการเต้นที่ไม่สมำเสมอ แต่ละครั้ง มีแรงของการบีบตัวไม่เท่ากัน
เมื่อเกิดมี AF ขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นชนิดถาวร แต่ในบางราย
อาจเป็นชนิดที่ "มาแล้วก็ไป"(paroxysmal AF)
ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับคนสูงอายุ แต่ ก็อาจเกิดขึ้นในคนหนุ่มสาวได้เช่นกัน
• Ventricular tachycardia
เป็นการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ ซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก
ในกรณีนี้ หัวใจสองห้องล่างจะเต้นเร็วกว่าปกติ (ประมาณ 120-200 ครั้ง ต่อหนึ่งนาที)
การเต้นของหัวใจสองห้องบน (atria) จะเต้นด้วยอัตราความเร็วปกติ
ดังนั้น ต้นเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติในการเต้นของหัวใจสองห้องล่าง ไม่ตอบสนองต่อ
คลื่นกระแสไฟฟ้าที่มาจากหังใจสองห้องบนเลย
• Ventricular fibrillation (VF):
การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติจากสองห้องล่าง (VF) เกิดจากคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจ
ทียิงออกมาจากกล้ามเนื้อของหัวใจสองห้องล่างนั้นแหละ
จากนั้น กล้ามเนื้อของสองหัวใจด้านล่าง จะหดตัวแบบสั่นระริก (fibrillate)
ซึ่งหมายความว่า การหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจจากสองห้องล่าง ไม่มีแรงมากพอ
ที่จะส่งเลือดให้ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ตามปกติ เป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้หัวใจหยุดเต้นได้
ถ้า คนไข้ไม่ได้รับการแก้ไขทัน อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจ:
ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจ ส่วนใหญ่จะมีต้นเหตุจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
มีการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจ (myocardial infarction)
• Heart block:
ความผิดปกติชนิดนี้ เกิดขึ้นได้เมื่อคลื่นกระแส ไฟฟ้าของหัวใจ
ถูกปิดกันเพียงบางส่วน (partial) หรือถูกปิดกั้นโดยตลอด (complete)
ซึ่งเกิดขึ้นตรงตำแหน่งระหว่างหัวใจสองห้องบน และ หัวใจสองห้องล่าง
SA node ที่อยู่ในกล้ามเนื้อหัวใจด้านบน (atria) จะส่งคลื่นกระแสไฟฟ้าด้วยอัตราปกติ
แต่คลื่นดังกล่าวไม่สามารถ่ผ่านไปได้เหมือนปกติ และการเต้นของกล้ามเนื้อหัวใจสองห้องล่าง
จะขึ้นกับคลื่นของกระแสไฟฟ้า ที่สามารถวิ่ง ผ่านไปยังกล้ามเนื้อหัวใจสองห้องล่างเท่านั้น
การปิดกั้นการเดินทางของคลื่นกระแสไฟฟ้า สามารถแบ่งออกเป็น:
o First degree heart block:
ในกรณีนี้ กระแสไฟฟ้าที่วิ่งจากกล้ามเนื้อหัวใจ (atria)ผ่านไปยังกล้ามเนื้อหัวใจสองห้องล่าง
จะถูกปิดกั้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงทำให้การเต้นของหัวใจ ทำงานได้ตามปกติ
o Second degree heart block:
ในกรณีนี้ คลื่นของหัวใจจากหัวใจสองห้องบน บางคลื่นไม่สามารถวิ่งผ่านไปยังกล้ามเนื้อหัวใจสองห้องล่างได้
เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อของหัวใจสองห้องล่าง (ventricles) เต้นช้าลง
o Third degree heart block or complete:
ในกรณีนี้ จะไม่มีคลื่นกระแสไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อหัวใจสองห้องบน (atria) ผ่านไปยังหัวใจส่วนล่างได้
ดังนั้น การเต้นของหัวใจ จะไม่เต้นเพราะคลื่นจากหัวใจส่วนบน (atria) ซึ่งมีคลื่นจาก SA node
แต่ จะเต้นได้โดยคลื่นกระแสไฟฟ้า ที่ถูกสร้างจากกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างเท่านั้น
โดยมันจะเต้นได้ประมาณ 20 – 40 ครั้ง ต่อนาที
• Sick sinus syndrome:
ในกรณีนี้ ความผิดปกติจะเกิดขึ้นที่ SA node ที่ถูกทำลายไป
ทำให้การปล่อยกระแสไฟฟ้า ไม่เป็นปกติ ท่ำให้การเต้นของหัวใจแปรเปลี่ยนไป
บางครั้งเต้นเร็ว บางคร้งเต้นช้าลง
สาเหตุทำให้เกิดการเต้นหัวใจทีผิดปกติ
(causes of arrhythmias)
การเต้นของหัวใจทีผิดปกติหลายอย่าง เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจ
ยกตัวอย่าง:
Ishcaemic heart disease ซึ่งทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก (angina)
และหัวใจทำทำลายจากการขาดเลือด (heart attack) โดยมีต้นเหตุมาจากหัวใจขาดเลือด
ซึ่งอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิดปกติในระบบของคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจเอง
การที่กล้ามเนื้อของหัวใจถูกทำลาย (heart attack) จะเป็นต้นหตุให้เกิดการเต้นที่ผิดปกติ
หรือกระทั้งทำให้คลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจถูกปิดกั้น (block) ได้
Heart valve diseases:
โรคของลิ้นหัวใจ สามารถทำให้หัวใจขยายตัวโตขึ้น เมื่อมันโตขึ้นสามารถทำให้เกิดมี
คลื่นหัวใจที่ผิดปกติไป ยกตัวอย่าง เช่น โรค AF เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในคนไข้
ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจ “ไมตรอล” (mitral valve disease)
High blood pressure:
คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง สามารถทำให้เกิดการเต้นของหัวใจผิดปกติไปได้เช่นกัน
Age-related degeneration (ageing):
คนเมื่อมีอายุมากขึ้น ย่อมมีการเสื่อมลงเป็นธรรมดา เช่น กล้ามเนื้อ ของหัวใจก็มีการเสื่อม
โดยเฉพาะเนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ ระบบ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับคลื่นกระแสไฟฟ้าของ
เมื่อมันเสื่อม ย่อมมีผลกระทบต่อการส่งคลื่นกระแสไฟฟ้าได้ไม่มากก็น้อย
หัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิด Complete heart block
Cardiomyopathy:
ความผิดปกติในกล้ามเนื้อหัวใจ บางครั้งสามารถทำให้เกิดความผิดปกติในการเต้นของหัวใจ (arrhythmia)
ในบางคน อาจเนื่องมาจากความผิดปกติในทิศทางเดินของคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจ
ซึ่งมีมาตั้งแต่กำเนิด ยกตัวอย่าง มีที่กำเนิดคลื่นไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากเดิม เกิดในตำแหน่ง
ระหว่างหัวใจห้องบน(atria) และห้องล่าง (ventricles)
ซึ่งจะทำให้เกิด การเต้นที่ผิดปกติของหัวใจชนิด SVT (อาการจะปรากฏขึ้น เมื่อโตขึ้นถึงวัยหนุ่ม)
ความพิการของหัวใจแต่กำเนิด (congenital heart defect) สามารถมีการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติได้
การอักเสบของหัวใจ ก็สามารถเกิดการเต้นที่ผิดปกติได้เชนกัน...
อาการของคนที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ
(symptoms of arrhythmia)
คนที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ สามารถมีได้แตกต่างกัน ขึ้นกับความรุนแรงของโรค
ในคนที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ ที่เต้นได้อย่างไม่สม่ำเสมอ
ซึ่งจะมาเมื่อไรก็ไมรู้ แล้วก็ผ่านไป อาการที่เกิดจะเกิดขึ้นอย่างฉัยพลัน
อาการที่เกิดอาจเป็น:
o Palpitation เป็นความรู้สึกของการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจ
เช่น รู้สึกใจสั่น ความรู้สึกดังกล่าว ยังสามารถพบได้ในคนปกติ ซึ่ง หัวใจเต้นปกติ แต่รู้สึกไม่ปกติ
ด้วยเหตุดังกล่าว เราจึงจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญแพทย์ระะบบหัวใจ ทำการ
วินิจฉัยโรคให้ถูกต้อง
o ชีพจรที่เกิดขึ้น อาจเต้นเร็ว เต้นช้า หรือ เต้นไม่สม่ำเสมอ
o มีความรู้สึกวิงเวียน (dizziness) หรือ รู้สึกจะเป็นลม (faint)
หายใจไม่พอ บางคนบอกว่า เป็นการหายใจไม่ทั่วท้อง ซึ่งมีลักษณะหายใจถี่ และ สั้น
(shortness of breath)
o บางคนเกิดความรู้สึกเจ็บหน้าอก
การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติบางราย อาจมีความรุนแรงมากกว่าคนอื่นอัตราการเต้นของหัวใจ ที่เต้นเร็ว หรือ ช้า กว่าปกติ
ซึ่งอาจเป็นผลมาจากเลือด ที่ไปเลี้ยงหัวใจน้อยกว่าปกติ
ในบางรายอาจลงเอยด้วยการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว หรือ หมดความรู้สึกไป (collapse)
จำเป็นต้องได้รับการตรวจด้วยหรือ ?
Do I need any tests?
ในคนไข้บางราย ที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ แพทย์สามารถบอกได้ไม่ยาก
หมอเขา เพียงแต่ตรวจดูชีพจร และตรวจดูร่างกายของท่านเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในบางรายที่มีอาการไม่สม่ำเสมอ นาน ๆ เกิดที
อาการทีเกิดนั้น อาจเป็น หรือไม่ได้เกิดจากการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติก็ได้
ยกตัวอย่าง คนบางคนมีอาการ palpitation อาจเกิดจาก ectopic beats
หรือ อาจเกิดจากการที่เขาตระหนักรู้ถึงภาวการณ์เต้นของหัวใจที่ปกติก็ได้
คนบางราย มีอาการวิงเวียน dizziness spells หรือ เป็นลม (fainting attack)
อาจเกิดจากการมีการเต้นของหัวใจ ที่นาน ๆ เกิดมีอาการที (intermittent)
ดังนั้น การตรวจสามารถสามารถยืนยันได้ว่า การเต้นหัวใจของท่านผิดปกติหรือไม่
ซึ่งแพทย์สามารถบอกได้ว่า การเต้นที่ผิดปกตินั้น เป็นผิดปกติชนิดใด
การตรวจที่ท่านควรรู้มดังนี้:
Electrocardiogram (ECG)
EKG Test เป็นวิธีการตรวจที่ไม่เจ็บปวด และปลอดภัย
มี electrodes แปะไว้ที่บริเวณแขน ขา และบริเวณหน้าอก แล้วต่อเข้ากับเครื่อง EKG
คลื่นของกระแสไฟฟ้าของหัวใจ จะถูกบันทึกบนแผ่นกระดาษ หรือ บันทึกด้วยคอมพิวเตอร์
การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติขณะที่ทำการตรวจ สามารถพบได้ และบันทึกได้ในขณะทำการตรวจ
Ambulatory ECG
ในกรณีที่ท่านมีการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ จะเต้นเมื่อไดก็ไม่รู้ (intermittent) เราไม่สามารถตรวจ
ด้วยการตรวจตามปกติ จำเป็นต้องตรวจด้วยเครื่องที่ติดไว้กับตัวคนไข้ (ambulatory EKG)
เป็นการตรวจคลื่นของหัวใจขณะที่ท่านทำงานในกิจวัตรประจำวัน เป็นการตรวจตลอด 24 ชั่วโมง
พร้อมกันนั้น ท่านจะต้องบันทึกเวลาที่ท่านมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้น (เช่น อาการใจสั่น-palpitation)
เมื่อสิ้นสุดการตรวจ แพทย์จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกจากเครื่องตรวจ EKG
ที่สำคัญ อาการที่เกิดขึ้นในขณะทีท่านบันทึก เมื่อเทียบเคียงกับคลื่นที่บันทึกไว้ สามารถบอกได้ว่า
การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ หรือ ปกตินั้น มันตรงกับอาการความรู้สึกที่ท่านมีหรือไม่
Exercise ECG
บางครั้ง การตรวจคลื่นของหัวใจ EKG จะกระทำในขณะที่ท่านออกกำลังกาย
เช่น เดินบนสายพาน หรือถีบจักรยาน เป็นการกระตุ้นให้เกิดมีอาการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติขึ้น
ซึ่ง อาจพบชนิดการเต้นที่ผิดปกติ ที่นาน ๆ เกิดที (intermittent arrhythmia)
การรักษาภาวการณ์เต้นหัวใจผิดปกติ (arrhythmia)
หัวใจที่เต้นผิดปกติในแต่ละชนิด มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน
นอกจากนั้น การรักษาโรคที่ซ่อนตัวอยู่ เช่น โรคต่อมไทยรอยด์ทำงานเกิน หรือ
หัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease) หรือ โรคความดันสูง
Medication
มียาหลายขนาน ที่สามารถกระทบต่อการเต้นของหัวใจ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการป้องกัน
การเกิดการเต้นของหัวใจแบบที่เราไม่ทราบว่าจะเกิดเมื่อใด (intermittent arrhythmia)
หรือ ถูกนำไปใช้ในการควบคุมภาวะ atrial fibrillation
Catheter ablation (destruction) treatment
เป็นวิธีการรักษาคนไข้ที่มีการเต้นหัวใจผิดปกติแบบ SVT, Ventricular tachycardia
และ AF เป็นการรักษาด้วยการทำลายตำแหน่งที่ก่อให้เกิดคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติ
ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยการสอดใส่ catheter ผ่านเส้นเลือดดำที่บริเวณต้นขา เข้าสู่หัวใจ
ให้ปลาย catheter ไปจ่อตรงบริเวณที่ต้องการทำลาย โดยอาศัย X-rays เป็นเครื่องช่วย
Cardioversion
เป็นวิธีการรักษาคนไข้ที่มีการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติบางชนิด เช่น หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia)
ยกตัวอย่าง ในคนไข้บางรายที่เป็น Atrial fibrillation (AF) ซึ่งเกิดขึ้นไม่นาน
และใช้รักษาคนไขบางรายที่เป็น ventricular tachycardia
ในขณะที่คนไข้ได้รับการดมยาสลบ เขาทำการกระตุกด้วยคลื่นไฟฟ้า (electric shock) ตรงบริเวณ
หน้าอกตรงตำแหน่งของหัวใจ
การกระทำด้วยการกระตุกด้วยไฟฟ้าดังกล่าว สามารถเปลี่ยนคลื่นที่ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ
ให้กลับสู่ปกติได้
Artificial pacemakers
เป็นวิธีการรักษา ที่นำมาใช้รักษาคนไข้ที่คลื่นของหัวใจถูกสกัดกั้น (heart block)
และในบางสถานการณ์ artificial pacemaker เป็นเครื่องมือชิ้นเล็ก ๆ ที่ฝังไว้ใต้ผิวหนัง
บริเวณหน้าอก จากเครื่องมือดังกล่าว มีสายลวดเส้นเล็ก ๆ สอดผ่านไปยังหัวใจ
ซึ่งเครื่องมือดังกล่าว สามารถกระตุ้นให้หัวใจเต้นได้ตามปกติ
Implantable cardioverter defibrillators (ICDs)
เป็นเครื่องมือที่มีลักษณะคล้าย pacemaker ซึ่งถูกฝังไว้ใต้ผิวหนังบริเวณยอดอก
มีลวดเส้นเล็ก ๆ สอดผ่านไปยังหัวใจ เครื่องมือดังกล่าวจะตรวจสอบการเต้นของหัวใจ
ถ้าการเต้นของหัวใจผิดปกติ เครื่องมือจะส่งคลื่น electric shock ไปยังหัวใจ ทำให้
คลื่นที่ผิดปกติหยุดลง
http://www.patient.co.uk/health/Arrhythmias.htm
เป็น SVT ตรวจพบเมื่ออายุ 12 ปี แพทย์ได้จ่ายยาให้ 3 ชนิด ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นชื่อยาอะไร แต่จำได้ว่า เป็นเม็ดสีขาว ๆ ทานเช้าครึ่งเม็ด และเย็นครึ่งเม็ด พร้อมมียาเม็ดเล็ก ๆ สีชมพูเข้ม (บานเย็น) ขนาดใกล้เคียงกับยาเม็์ดสีขาว ๆ ทานวันละ 1 เม็ด และ ให้เม็ดสีเหลือง ในแผง โดยแพทย์ให้ทานเมื่อเกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว ทานต่อเนื่อง และหยุดยา เมื่ออายุ 22 ปี และทานใหม่เมื่ออายุ ประมาณ 27 ปี ทานนาน 1- 2 ปี จึงหยุดยาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันอายุ 52 ปี จะมีอาการใจเต้นผิดปกติเป็นบางครั้ง ครั้งละ ไม่เกิน 5 นาทีก็เป็นปกติ และแพทย์ตราจพบลูกสาวอายุ มีอาการใจเต้นผิดปกติเมื่ออายุ 10 ปี แต่ผลวินิจฉัยไม่ได้เป็นชนิด SVT แต่เป็นกลุ่มหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีอาการใจเต้นเร็วเช่นกัน ได้ยา Prenolol มา ซึ่งดิฉันเคยหยิบใช้บ้างเมื่อเกิดอาการ แต่ใช้ ไปไม่เกิน 2 แผง ไม่ทราบว่า อาการ SVT ของดิฉัน สามารถใช้ Prenolol ได้หรือไม่ และลูกทานยาตัวนี้มานานมาก จะมีผลข้างเคียงในระยะยาวหรือไม่ เพราะทราบมาว่า ยาตัวนี้ ใช้กับคนเป็นความดันโลหิตสูง จึงสงสัยว่า เป็นตัวยารักษาโรคความดันโลหิตด้วยหรือไม่ เพราะเคยได้ยินผลในทางลบของการใช้ยารักษาโรคความดันค่ะ จึงขอรบกวนขอความรู้ด้วยค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ
ตอบลบ