การที่เราสามารถเรียนรู้ได้ว่า หัวใจของเราเต้นได้เร็วแค่ใด
ทั้งในขณะที่เราพักผ่อน , ออกกำลังกาย และ ภายหลังการออกกำลังกาย
อาจเป็นประโยชน์สำรับคนบางคน ตลอดรวมไปถึง คนที่เป็นโรคหัวใจ
และ คนที่นักกีฬาทีมชาติได้...
แต่ก็อีกนั้นแหละ สิ่งที่คนทั่วไปมีความเชื้อในเรื่องเกี่ยวกับ อัตราการเต้นของหัวใจ
และ การออกกำลังกายนั้น อาจไม่จริงเสมอไป
ลองดูคำถาม และความคิดเห็น ต่อไปนี้ดู อาจทำให้เราเข้าใจอะรไรบางอย่างได้
จำเป็นด้วยหรือ...ที่เราจะต้องตรวจวัดดูการเต้นของหัวใจในระหว่างการ
ออกกำลังกาย ?
ไม่จำเป็น:
การที่เราจะตรวจเช็คดูการเต้นของหัวใจของเราหรือไม่ มันขึ้นกับตัวของเราเอง
และ เหตุผลของการออกกำลังกายของท่าน
ถ้าท่านเป็นโรคหัวใจ แพทย์จะสั่งห้ามไม่ให้ท่านออกกำลังที่มีความเข็มข้นสูง
การวัดการเต้นของหัวใจของท่านในขณะออกกำลังกาย จะเป็นวิธีการที่ดี ที่จะช่วยให้ท่าน
สามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้หัวใจของท่าน ทำงานในระดับ หรือ ช่วงที่เป็นอันตราย (danger zone)
การวัดการเต้นของหัวใจ มีประโยชน์สำหรับนักวิ่งเร็ว นักปั่นจัรยาน และการออกกำลังกายชนิดอื่นได้จริง
ซึ่ง เขาเหล่านั้น ต้องการให้ร่างกายของเขาสมบูรณ์ที่สุด
พร้อมที่จะลงสนามแข่งขันได้ทุกเมื่อ
นอกเหนือจากนั้น การวัดการเต้นของหัวใจ จะไม่ประโยชน์ใด ๆ เลย
ถ้าการออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพของท่านดีขึ้น สิ่งที่ท่านต้องทำ คือ ปิดโทศน์ แล้วลุกจากหน้าจอทีวี
แล้วหาความสนุกจากการออกกำลังกายแทน
และ ทำให้การออกกำลังกายนั้น เป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน
จริงหรือที่ว่า เมื่อท่านออกกำลังกายแบบแอโรบิค แล้ว
อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักผ่อน เป็นข้อบ่งบอกว่า ท่านมีสุขภาพอสมบูรณ์ (fitness)
ไม่จริงเสมอไป:
การออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ สามารถทำให้หัวใจ
ของเราแข็งแรงขึ้น และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ซึ่งหมายความว่า หัวใจสามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
เป็นการการบีบตัวที่น้อยครั้ง และแต่ละครั้งมีการบีบตัวแรงขึ้น
คนส่วนใหญ่ ระดับการเต้นของหัวใจในขณะพักผ่อน ระดับการเต้นของหัวใจ 60 – 90 ครั้งต่อนาที
สำหรับนักกีฬา หรือคนทีออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดระดับการ
เต้นของหัวใจขณะพักได้ถึง 10 -20 ครั้ง ต่อนาที
ถ้าระดับการเต้นของหัวใจของท่านต่ำกว่าคนอื่นเขา ท่านอย่าได้โมเมเอา ว่า
ตัวท่านมีสุขภาพดีกว่า หรือเลวกว่าคนอื่นเป็นอันขาด
เพราะมีคนอยู่สองคนต่างมีสุขภาพดีเท่ากัน แต่มีอัตราการเต้นของหัวใจที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
เคยมีคนที่นั่งโต๊ะ ทำงานทั้งวัน ไม่เคยออกกำลังกายเลย กับอีกคนที่ออกกำลังกายอย่างสำม่เสมอ
พบว่า อัตราการเต้นของหัวใจมีค่า ระหว่าง 50- 60 ครั้ง ต่อนาที
Maximal Heart Rate (อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด) จะลดลงตามอายุ
จริงหรือ ?
จริง:
เท่าที่เราทราบ การออกแรงจะทำใหหัวใจเต้นเร็วขึ้น ยิ่งออกแรงมากการเต้นของหัวใจย่อมมีมากขึ้น
แต่ ระดับสูงสุดของการเต้นของหัวใจ ที่สามารถเต้นได้เร็วที่สุด จะจำกัดโดยอายุของคนเป็นสำคัญ
“การเต้นของหัวใจได้เร็วสูงสุด (maximal heart rate) จะไม่สัมพันธ์กับ
การออกกำลังกาย”
นั้นเป็นความเห็นของ Hirofumi Tanaka, PhD. Professor of Kinesiology
And Health education at the University of Texas...
เขายังกล่าวต่อไปอีกว่า ไม่ว่า บุคคลนั้นจะเป็นคนนั่ง-นอนอยู่กับที่ หรือ คนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ
พบว่า ทุก ๆ 10 ปี ที่ผ่านไป จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลง 7 ครั้งต่อนาที”
ซึ่งหมายความว่า ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจลดลง...
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดอัตราการเต้นของหัวใจในขณะพัก (resting heart rate)
และ จะไม่สัมพันธ์กับระดับการเต้นของหัวใจสูงสุด และ อายุที่แก่ขึ้น
Continued >
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น