วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

The Truth About Heart Rate and Exercise (continued)

การออกกำลังการพอประมาณ (moderate exercise) จะทำให้มีการ
ลดน้ำหนักได้ดีกว่าการออกกำลังกายอย่างหนัก (vigorous exercise)


น้ำหนักตัว เป็นเพียงเรื่องของตัวเลข ที่ปรากฏบนตาชั่งวัดน้ำหนัก...
ถ้าท่านต้องการกำจัดหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ให้ลดลดสักหลายกิโลนั้น สิ่งที่ท่านต้องกระทำ คือ
ท่านจำเป็นต้องเผาผลาญอาหารที่อยู่ในร่างกาย ที่อยู่ในสภาพเปลี่ยนเป็นพลังงานได้
ให้ได้มากกว่าอาหาร ที่ท่านจะต้องรับประทานเข้าไป

ซึ่งท่านสามารถกระทำได้ตามธรรมชาติ ไม่ต้องพึ่งพายาแต่อย่างใด
โดยการออกกำลังการให้ได้ประมาณ 60 % ถึง 75 % ของ maximal heart rate ของท่าน
จะทำการเผาผลาญปริมาณของอาหารได้น้อยกว่าการออกแรงให้ได้ 75 % ถึง 85 %
ของ maximal heart rate ซึ่งถูกเรียกว่า aerobic หรือ cardio zone

ในการเผาผลาญอาหารในรูปของพลังงาน จากการออกกำลังกาย จะขึ้นกับระยะเวลาของการออกกำลังกาย
และความหนัก-เบา หรือความเข็มข้น(intensity) ของการออกกำลังกาย

การคำนวณค่า Maximal Heart Rate: สูตรทางคณิตศาสตร์
มันเป็นค่าของอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจของท่าน

บางท่าน อาจไม่คุ้นเคยกับสูตรในการหาค่าของ MHR มันเป็นสูตรเลขง่าย ๆ ดังนี้
Maximal Heart Rate = 220 – age in years
เป็นสูตรที่ปรากฏออกมา เมื่อประมาณ ปี 1960s และใช้ได้ผลดีกับคน
ที่มีอายุน้อยกว่า 40 แต่ปรากฏว่า มันใช้ได้กับคนสูงอายุเช่นกัน

ในปี 2001 Tanaka ได้เสนอสูตรที่มีความแม่นยำสำหรับคนสูงอายุเอาไว้
ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ใน the Journal of the American College of Cardiololgy
สูตร ที่เขาเสนอไว้ คือ:

Maximal Heart Rate = 208 - (Age x 0.7)
ยกตัวอย่าง ท่านมีอายุ 40 ท่านมี maximal Heart rate = (208-40x0.7)

เราสามารถวัดระดับ maximal heart rate ของเราได้ โดยการวิ่ง หรือปั่นจักรยาน
ให้ถึงจุดเหนื่อยหล้า (exhaustion) แล้ววัดการเต้นของหัวใจ
แต่การกระทำดังกล่าว ไม่ควรกระทำ เพราะมันอันตราย โดยเฉพาะคนที่มีอายุมากกว่า 45 (สำหรับหญิง 55 ปี)
หรือ คนที่มีโรคหัวใจ หรือ ในคนที่ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
ยกเว้นเฉพาะในรายที่มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
หรือ ได้ผ่านปรึกษาแพทย์เป็นที่เรียบร้อยมาแล้ว

การใช้ระดับการเต้นของหัวใจ สามารถช่วยทำให้สุขภาพของท่านดีขึ้น...
จริงหรือ ?


การใช้เครื่องตรวจวัดการเต้นของหัวใจด้วย electronic monitors
ซึ่งติดไว้ที่หน้าอกของนักวิ่งมาราธอน, นักกีฬาปั่นจักรยาน ที่ใช้ตรวจวัดในขณะแข่งขัน
สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจได้อย่างแม่นยำ ช่วยนักกีฬาให้วัดชีพจรของตนเอง
ผลที่ได้จะ ถูกต้อง และแม่นยำ

แต่สำหรับท่าน ที่ไม่เป็นนักวิ่งมาราธอน การใช้เครื่องตรวจวัดชีพจร หรือการเต้นของหัวใจ
สามารถกระตุ้นให้ท่านอยากออกกำลังกายได้

แม้ว่า ท่านไม่ได้เตรียมตัวเป็นนักกีฬาเพื่อเตรียมแข่งในสนามแข่งก็ตามที
การตรวจวัดการเต้นของหัวใจ สามารถช่วยกระตุ้นให้ท่านออกำลังกายได้

ตามความเป็นจริง ไม่มีใครจำเป็นต้องใช้เครื่องมือดังกล่าวในการตรวจวัดหรอก
แต่มีบางคน ชอบที่จะเล่นกับเครื่องตรวจวัดการเต้นของหัวใจดังกล่าว
เพราะมันกระตุ้น และจูงใจให้เขาอยากออกกำลังกาย...
มันก็เท่านั้นเอง!

http://www.webmd.com/fitness-exercise/features/the-truth-about-heart-rate-and-exercise?page=3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น