เมื่อเรามาพูดถึง RBBB ...
RBBB เป็นปราฏการณ์ที่พบได้บ่อยที่สุด ที่เห็นได้ในการตรวจ EKG
ในขณะที่เราพบความผิดปกติดังกล่าว พบว่า หัวใจของเขาอยู่ในสภาพปกติอีก
การเกิด RBBB จะไม่มีความสำคัญทางด้านการแพทย์แต่ประการใด
ในกรณีที่มันเกิดในคนไข้ มันมีผลกระทบต่อหัวใจห้องล่างด้านขวา หรือกระทบต่อการทำงานของปอด
ดังนั้น เมื่อใดที่แพทย์เขาตรวจพบ RBBB ในคนไข้ของเขา จะกระตุ้นใหเขามองหาโรคอื่น ๆ
ที่ซ้อนตัวในคนไข้ต่อไป เช่น โรคทางเดินลมหายใจอุดตันเรื้อรัง (COPD),
โรคเกี่ยวกับเส้นเลือดแดงของหัวใจ (coronary artery),
ผนังกั้นห้องหัวใจสองห้องบนบกพร่อง (atrial septal defect),
และ โรคลิ้นหัวใจ (valvular Disease)
เมื่อใดก็ตาม ที่มีคนบอกว่า ท่านมี (โรค) RBBB ...
จงจำไว้ว่า RBBB ที่เราพบเห็นใน EKG สามารถเกิดขึ้นในคนปกติ. ที่มีสุขภาพดีได้
และจากการตรวจร่างกายพบว่า สุขภาพของท่านเป็นปกติดี
แต่กลับพบ RBBB ใน EKG ซึ่งไม่มีปัญหาทางด้านการแพทย์เลย
ในกรณีเช่นนี้ ท่านจะได้รับการบอกกล่าวจากแพทย์ว่า ท่านไม่เป็นอะไร...ไม่ต้องรับการรักษาใด ๆ
โดยสรุป ในขณะที่เป็นมี RBBB นั้น มันหมายความว่า
หัวใจห้องล่างด้านขวา จะเกิดการบีบตัว ซึ่งเกิดขึ้นหลังหัวใจห้องล่างซ้าย บีบตัวก่อนเล็กน้อย
สามาราถพบเห็นในคน ที่มีหัวใจเป็นปกติ และการทีหัวใจห้องล่างด้านซ้ายเต้นช้านั้น
ไม่มีความสำคัญ ไม่มีปัญหาต่อการทำงานของหัวใจ
What Is the Significance of Left Bundle Branch Block?LBBB
แขนงเส้นประสาทด้านซ้าย (LBBB) ถูกบล็อก เกิดขึ้นได้น้อยกว่าแขนงด้านขวา RBBB
เมื่อมันเกิดขึ้น ย่อมบ่งบอกให้ทราบว่า มีอะไรผิดปกติในกล้ามเนื้อหัวใจขึ้นแล้ว
เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขยายตัว (dilated cardiomopathy), กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้น (hypertrophy cardiomyopath), โรคความดันโลหิตสูง (hypertension), โรคลิ้นหัวใจ (valvular disease),
โรคเส้นเลือดแดงของหัวใจ (coronary artery disease), และ โรคอื่น ๆ ของหัวใจ
บางครั้ง คนที่เป็นโรค LBBB แม้ว่าจะไม่มีอาการใด ๆ เลย
คนที่มีความผิดปกติดังกล่าว แม้ว่า เขาจะมีสุขภาพสมบูรณ์ดี ก็ไม่ควรชะล่าใจ
ควรทำการตรวจหาโรคที่ซ้อนเร้นอยู่ให้ได้ โดยเฉพาะที่เกิดในคนอายุน้อย
ถ้าการตรวจประเมินได้ผลเป็นปกติ ความสำคัญของ LBBB จะมีน้อยมาก
ในบางราย โดยเฉพาะคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว และหัวใจห้องล่างด้านซ้ายบีบตัวได้ช้า
มักจะก่อให้เกิดผลการทำงานของหัวใจลดลงไป
ดังนั้น ถ้าคนไข้ที่เป็นหัวใจล้มเหลว (heart failure) ร่วมกับ LBBB เมื่อใด
เขาควรได้รับการรักษาด้วยวิธีที่เรียกว่า Resynchronizatio therapy (CRT)
ซึ่งเป็นกรรมวิธีการรักษา ด้วยการช่วยทำให้การหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายดีขึ้น
What If Both Bundle Brances Are Blocked?
ถ้าทั้งแขนงประสาท (Bundle branches) ทั้งสองถูกบล็อก หรือถูกสะกัด (Bilateral BBB)
ซึ่ง คลื่นกระแสไฟฟ้าไม่สามารถวิ่งเล็ดรอดผ่านแขนงประสาททั้งสอง(bundle branches)
สู่หัวใจสองห้องล่างได้เลย
ในกรณีดังกล่าว คลื่นประสาทที่เกิดขึ้น เป็นคลื่นที่เกิดจากหัวใจห้องล่างเท่านั้น
แต่ไม่สามารถทำหน้าที่บีบเลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญได้ คนไข้ก็เสียชีวิตไปในที่สุด
โชคดีที่ภาวะดังกล่าว เรามักจะไม่ค่อยได้พบเห็น
ที่พบบ่อยคือ แขนงประสาทั้งสอง ซ้าย และขวา ถูกทำลายถึงระดับที่ทำคลื่นกระแสประสาทผ่านได้บ้าง
แต่ไม่ถูกบล็อก หรือสะกัดไว้ได้หมด ยังมีคลื่นไฟฟ้าผ่านไปได้บ้าง
จากการตรวจ EKG จะพบว่า QRS complex จะกว้างกว่าปกติ
แต่รูปแบบ (pattern) ที่เกิดขึ้นจะไม่เหมือนกับที่เกิดใน RBBB และ LBBB
ความผิดปกติชนิดนี้ เขาเรียกว่า Intraventricular conduction delay หรือ IVCD
ซึ่งมีความสำคัญเท่า ๆ กับ LBBB
When Does Bundle Branch Block Need to Be Treated?
การที่หัวใจสามารถทำงานตามปกติได้นั้น จำเป็นต้องขึ้นกับแขนงประสาท Bundle branches ทั้งสอง
ซึ่งสามารถทำงานได้ตามปกติ โดยให้คลื่นกระแสไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านไปได้
ถ้าทั้งสองแขนงไมสามารถใช้งานได้ คลื่นประสาทไม่สามารถผ่านไปได้
กล้ามเนื้อหัวใจสองห้องล่างทั้งสอง ไม่ได้รับคลื่นกระแสไฟฟ้า มันจะหยุดการบีบตัวทันที ...
หัวใจหยุดต้น
โชดยังทีที่ ทั้ง RBBB และ LBBB จะไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นcomplete heart block
ดังนั้น แม้ว่า ภาวะคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจถูกบล็อก เป็นโรคที่พบได้บ่อยก็ตาม
แต่มีน้อยรายมาก ที่จำเป็นต้องไดรับการรักษาด้วยการใช้ pacemaker.
อย่างไรก็ตาม คนไข้ที่เป็น BBB อาจจำเป็นต้องได้รับ pacemakers:
1) เมื่อคนไข้เกิดโรค RBBB และ LBBB โดยเกิดภายหลังหัวใจถูกทำลาย heart attack
เพราะคนไข้พวกนี้ มีโอกาสเกิด complete heartBlock ได้สูงมาก
ซึ่งมักจะเกิดขึ้นภายในไม่กี่อาทิตย์ หรือภายในไม่กี่เดือน หลังการเกิด heart attack
ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงจำเป็นต้องใช้ pacemakers ในคนไข้เหล่านี้
2) เมื่อคนไข้เกิดโรค BBB ร่วมกับอาการหมดสติ (loss of consciousness)
ในคนไข้ ที่เกิดโรค BBB โดยเฉพราะคนที่เป็นโรค LBBB เมื่อเกิดมีอาการจะเป็นลม (syncope)
คนไข้ประเภทนี้มีโอกาสเกิด complete heart block ได้สูงมาก
โดยทั่วไป คนไข้ควรได้รับการศึกษา electrophysiology
เป็นการตรวจสรีระไฟฟ้าของหัวใจ เพื่อวินิจฉัยส่าเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติของหัวใจ
ซึ่งสามารถทราบแนวโน้มทีจะเกิด comlete heart block
ในกรณีดังกล่าว เพื่อป้องกันปัญหา คนไข้ควรได้รับ pacemakers เสีย
เป็นที่น่าสังเกตุ ว่า คนที่เป็น LBBB แล้วเกิดอาการหมดสติ
เป็นผลเนื่องมาจาก ventricular tachycardia
3) เมื่อคนไข้เป็นโรคหัวใจล้มเหลว (Heart failure) และเกิด BBB
จะพบว่าการบีบตัวส่งเลือดออกจากหัวใจจากห้องล่างซ้ายลดลง พร้อมกับ QRS complex กว้างกว่าปกติ
ในกรณีเช่นนี้ คนไข้ควรได้รับการรักษา ด้วย cardiac resynchonization therapy (CRT)
เพราะ CRT จะทำให้การบีบตัวของของหัวใสองห้องล่าง สามารถประสานการทำงานได้ดีขึ้น
Summary
ถ้าท่านได้รับการบอกกล่าวว่า ท่านเป็นโรค RBBB หรือ LBBB...
แพทย์ของท่านควรทำการตรวจร่างกาย ทำการประเมินตัวท่านว่า ท่านมีโรคหัวใจ หรือ โรคปอด หรือไม่
ซึ่งมีคนที่เป็นโรค BBB เกิดร่วมกับโรคทั้งสอง (โรคหัวใจ และโรคปอด)
ถ้าการตรวจร่างกายพบว่า หัวใจ และปอดของ่านปกติ...และท่านมีโรค RBBB
ท่านไม่จำเป็นต้องกังวลใด ๆ เพราะมันไม่มีอันตราย
ถ้าท่านมีโรค LBBB ท่านจะต้องแน่ใจว่า แพทย์ได้ทำการตรวจหัวใจของท่านอย่างละเอียด
ถ้าท่านเคยมีประวัติว่าเป็น heart attack มาไม่ก่อน หรือเคยมีประวัติหมดสติ
หรือ เคยมีหัวใจล้มเหลว ท่านจะต้องได้รับการรักษา
ถ้าท่านไม่เคยมีประวัติว่าเคยเป็น heart attack, syncope หรือ heart failure มาก่อน
การที่ท่านเป็นโรค BBB ท่านไม่จำเป็นต้องรับการรักษาใด ๆ
โดยสรุป ถ้าท่านเป็นโรคหัวใจวาย การเป็นโรค BBB สามารถทำให้การทำงานของหัวใจทำงานแย่ลง มีอาการเลวลง
ดังนั้น ใครก็ตามที่มีโรค BBB ร่วมกับ โรคหัวใจล้มเหลว
ควรได้รับการรักษาด้วยการใส่ CRT (cardiac resynchonization therapy)
เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม ไม่ใหเกิด complete heart block ขึ้นได้
http://heartdisease.about.com/cs/arrhythmias/a/BBB_4.htm
โรค RBBB สามารถออกกำลังกายได้มากน้อยแค่ไหน
ตอบลบ