วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

Bundle Branch Block

Causes and Treatment



ถ้าท่านได้รับการบอกกล่าวว่า ท่านเป็นโรคหัวใจ- bundle branch block
บางท่านคงอยากจะทราบว่า... มันคืออะไรกัน อันตรายแค่ใหน ?

Buncle branch block (BBB) หมายถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น และพบเห็นจากผล
การตรวจคลื่นหัวใจ (electrocardiogram-ECG)
ซึ่ง มีรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะ บ่งบอกให้ทราบอย่างชัดเจนว่า คลื่นกระแสไฟฟ้าถูกสะกัดเอาไว้

ระบบกระแสไฟฟ้าของหัวใจ ประกอบด้วยทางเดินของคลื่นกระแสไฟฟ้าสองเส้น
เรียก Bundle branches- ซ้าย และ ขวา
ในคนไข้ที่เป็นโรค BBB พบว่า ทางเดินของกระแสไฟฟ้าเส้นใดเส้นหึ่ง หรือทั้งสอง
เส้นไม่สามารถทำงาน ให้คลื่นกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านไปได้

คนไข้ที่เป็นโรค BBB นั้น อาจเป็นชนิดใดชนิดหนึ่งระหว่าง แขนงซ้าย หรือแขนงด้านขวา
ที่ถูกสกัดไม่ให้คลื่นผ่าน โดยที่มีความรุนแรงแตกต่างกันในคนไข้แต่ละราย
ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของท่าน และ แพทย์ผู้ทำการรักษา จะเป็นผู้ร่วมถกปัญหาดังกล่าว

จุดมุ่งหมายของบทความนี้ จะช่วยทำให้ท่านสามารถพูดคุย กับแพทย์ผู้ทำการรักษาท่าน
ซีงจะทำไห้ท่านเข้าใจในตัวโรคของท่านมากขึ้นได้

What Are the Bundle Branches, and What Do They Do?
เส้นทางเดินของคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจ (bundle branches)
เป็นส่วนสำคัญสำหรับหัวใจ
ซึ่งเป็นระบบ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมจังหวะการเต้นของกล้ามเนือหัวใจ
โดยการประสานกับการบีบตัว (pumping action) เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
โดยการส่งคลื่นกระแสไฟฟ้าผานไปยังกล้ามเนื้อหัวใจสองห้องล่าง ได้อย่างสม่ำเสมอ
ดังนั้น มันจึงสามารถทำให้การทำงานของหัวใจประสานกันอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพ

The Normal Cardiac Electrical System

เพื่อเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจ...
คลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจ จะเริ่มเกิดขึ้นที่ปุ่มประสาท
ที่อยู่ในส่วนบนของกล้ามเนื้อหัวใจหัองขวา ถูกเรียกชือว่า sinus node
คลื่นกระแสประสาทจากปุ่ม ที่ก่อกำเนิดคลื่นประสาทดังกล่าว
จะกระจายไปไปทั่วกล้ามเนื้อหัวใจสองห้องบน ต่อจากนั้น มันจึงเคลื่อนผ่านปุ่มประสาทอีกปุ่ม
ซึ่งมีชื่อว่า AV node จากนั้น คลื่นกระแสประสาทจะเคลื่อนผ่านไปยังกล้ามเนื้อหัวใจสองห้องล่าง
โดยผ่านลุ่มของทางเดินของกระแสประสาท(bundle) ที่มีชื่อว่า His bundle
จาก His Bundle คลื่นประสาทจะวิ่งผ่านไปตามแขนงซ้าย และขวา
และ กระจายไปยังกล้ามเนื้อหัวใจสองห้องล่าง-ซ้าย และขวาพร้อม ๆ กัน

ภาพที่พบเห็นใน EKG... QRS complex เป็นสิ่งพบเห็นใน ผลการตรวจคลื่นหัวใจ EKG
ซึ่ง บอกให้เราทราบถึงคลื่นกระแสไฟฟ้าที่เคลื่อนผ่านกล้ามเนื้อหัวใจโดยตลอด
โดยที่ QRS complex เป็นส่วนที่แสดงถึง คลื่นกระแสไฟฟ้าที่กระจายผ่านกล้ามเนื้อหัวใจสองห้องล่าง
พร้อม ๆ กัน โดยอาศัยทางเดินของกระแสไฟฟ้า ที่เราเรียกว่า Bundle branch system
ดังนั้น ภาพที่เห็นจึงได้ภาพของ QRS complex ที่มีลักษณะแคบน้อยกว่า 0.1 วืนาที
ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ เกิดการหดตัว หรือ เต้นพร้อม ๆ กัน

Bundle Branch Block
ภาวะ BBB เกิดขึ้นเมื่อหนึ่งในแขนงประสาท (bundle braches) เกิดเป็นโรค
หรือ มันถูกทำลายลง เป็นเหตุให้มันหยุดทำงาน ไม่สามารถให้คลื่นกระแสไฟฟ้า (คลื่นประสาท)วิ่งผ่านได้
นั้น คือภาวะที่เราเรียกว่า bundle branch block ซึ่งผลที่เกิดขึ้น
จะทำให้การเต้นของสองหัวใจสองห้องล่าง ไม่สามารถเต้นได้พร้อมกัน

หัวใจห้องล่างด้านที่คลื่นไฟฟ้าถูกการสกัดกั้น จะบีบตัวช้ากว่ากล้ามเนื้อห้องล่างของอีกด้าน

The Right bundle branch block (RBBB)



ใน RBBB ประสาทแขนงขวา (rt bundle branch) ไม่สามารถทำหน้าทึ่ให้
คลื่นกระแสะประสาทเคลื่อนผ่านไปได้ตามปกติ ดังนั้นกล้ามเนื้อหัวใจสองห้องล่าง
จะรับคลื่นกระแสประสาทจากแขนงประสาท ที่ยังทำงานได้อยู่ คือแขนงด้านซ้าย
ซึ่ง จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจด้านซ้ายมีการบีบตัวก่อน
ต่อจากนั้น คลื่นประสาทจึงส่งจากหัวใจช่องล่างซ้ายไปยังหัวใจห้องล่างขวา
จึงเป็นเหตุให้การบีบตัวของหัวใจห้องล่างเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน

Left Bundle Branch Block (LBBB)



เมื่อแขนงประสาทด้านซ้ายเกิดการสกัด (block)
กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านแขนงด้านขวาเท่านั้น (ไม่สามารถผ่านด้านซ้าย)
เมื่อคลื่นกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านหัวใจด้านขวาเรียบร้อยแล้ว คลื่นประสาทจึง
จะวิ่งผ่านไปทางด้านหัวใจด้านซ้าย ทำให้การบีบตัวของหัวใจสองห้องล่าง
เกิดขึ้นไม่พร้อมกัน- ห้องขวาบีบตัวก่อน แล้วตามด้วยหัวใจห้องล่างซ้าย

ไม่ว่าท่านจะเป็นโรค BBB ชนิดใด ซ้าย (LBBB) หรือขวา (RBBB)
การกระจายของคลื่นประสาทจะเกิดขึ้นได้ไม่พร้อมกัน มันจะผ่านห้องใดห้องหนึ่งก่อนเสมอ
เช่น เส้นประสาท (brundle branch) ถูกสกัดที่แขนงซ้าย คลื่นประสาทจะวิ่งผ่าน
ด้านวาก่อน มีการบีบตัวก่อน แล้วคลื่นประสาทจึงวิ่งไปที่ด้านตรงข้าม
ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวตาม เป็นการบีบตัวของสองหัวใจด้านล่าง ที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกัน

ซึ่งหมายความว่า ไม่ว่าจะเป็น RBBB หรือ LBBB จะทำให้ QRS complex ใน EKG
กว้างกว่าปกติ

Continued - What is the significance of right bundlebranch block

4 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับความรู้ที่อาจารย์นำมาแชร์นะครับ : )

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณสำหรับบทความดีๆค่ะ อ่านเข้าใจง่ายมาก

    ตอบลบ
  3. ถ้าเราตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจากการตรวจสุขภาพประจำปีของบริษัทแล้วหมอแจ้งว่า เป็น CLBBB ... แต่ไม่ได้มีความผิดปกติใดใด ..
    ควรรักษาตัวอย่างไรดีค่ะ หรือ ต้องพบแพทย์ที่ใดดีค่ะ

    ตอบลบ
  4. ตรวจคลื่นEKGพบว่าเปนRBBBเป็นผู้ป่วยความดันเบาหวานต้องรักษาหรือปฏิบัติตัวอย่างไรค่ะ

    ตอบลบ