วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

Valvular Heart Disease: Guideline (continued

GOALS FOR RISK FACTOR MANAGEMENT



เป้าหมายสำหรับการจัดการกับปัจจัยเสี่ยง:

 Hypertension
 Excess body weight
 C holesterol level

Hypertesnion ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่ง ที่ทำให้เกิดโรคลิ้นหัวใจบางชนิด
ดังนั้น การจัดการกับปัจจัยดังล่าวจึงเป็นเรื่องสำคัญต่อการลดปัจจัยเสี่ยงลง
ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลาย ๆ อย่าง
เช่น ลดระดับความดันลงสู่ระดับ 120/80 mm Hg,
ลดน้ำหนักตัว (ถ้าน้ำหนักเกิน),
รับประทานอาหารประเภทผัก ผลไม้ รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ
รวมถึงลดอาหารประเภทไขมันอิ่มตัว และ ไขมันทรานซ์
และ ลดอาหารที่มีรสเค็ม
(วันหนึ่งไม่ควรเกิน 2.4 กรัม)

ความดันโลหิตในขณะพักผ่อน จะต้องมีรดับต่ำกว่า 140/90 mm Hg
สำหรับคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน และเป็นโรคไต
จะต้องให้ระดับความดันลดต่ำกว่า 130/80 mm Hg.
คนไข้ส่วนใหญ่ทีเป็นโรคความดันโลหิตสูง มักจะได้รับยาสองชนิด หรือ มากกว่า
เพื่อควบคุมให้ระดับความดันลดลงได้ตามเป้าหมาย

Excess weight: การปล่อยให้มีน้ำหนักเกิน หรือ ปล่อยให้ตัวเองอ้วน
จะเป็นการเพิ่มงานให้หัวใจทำงานมากเกิน
ยิ่งคนไข้มีโรคลิ้นหัวใจด้วย ยิ่งทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นไปอีก
ดังนั้น จึงเป็นการดีที่เราจะต้องคงสภาพ body mass index
ให้อยู่ระหว่าง 18.5 และ 24.9 kg/sq.meter,
รอบเอวควรต่ำกว่า 35 นิ้ว สำหรับหญิง, และ 40 นิ้ว สำหรับผู้ชาย
ถ้าเมื่อใดที่พบว่า รอบเอวสูงกว่าระดับที่กล่าว
ท่านจะต้องทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทันที

Cholesterol level: ท่านจะต้องรักษาระดับไขมัน cholesterol
และ ระดับนำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
และ จะเนผลดีสำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจแล้ว

DRUG THERAPIES การรักษาด้วยยา มีประเด็นที่เราควรควรรู้ดังนี้:
1. คนที่เป็นโรคลิ้นหัวใจ อาจได้รับยารักษาจากแพทย์ หลายขนาน
เพื่อทำการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว, ลดความดันโลหิตสูง, ลดระดับไข
มัน และยา เพื่อ ใช้รักษาเต้นที่ผิดปกติของหัวใจ (anti-arrhythmic.)

2. มียาหลายตัว ที่ใช้ลดระดับความดัน โลหิตสูง
ซึ่งในอดีตได้รับการแนะนำให้ใช้ ในคนไข้ที่เป็นโรค aortic regurgitation
ที่มีระดับความรุนแรงสูง โดยที่คนไข้รายนั้น มีระดับความดันอยู่ในระดับปกติ...
ในกรณีอย่างนี้ มีคนไม่เห็นด้วย เพราะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่า
การรักษาด้วยยาดังกล่าว ไม่มีประโยชน์ต่อการวิธีดังกล่าว

คนที่เป็นโรคลิ้นหัวใจ หรือ มีความบกพร่องในตัวลิ้นหัวใจหลายชนิด
มีโอกาสเกิดมีก้อนเลือดขึ้น ดังนั้น แพทย์จึงแนะนำให้ใช้ยาที่
ลดการจับตัวของเกล็ดเลือด (blood thinner) แก่คนไข้
นอกจากนั้น ในคนไข้ทุกรายที่ได้รับการผ่าตัดรักษาเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ
เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ หรือเส้นเลือด มักจะได้รับยาประเภทนี้

3. ในสมัยก่อน คนที่เป็นรคลิ้นหัวใจ เมื่อจำต้องผ่านการรักษาทางฟัน
จะได้รับคำแนะนำให้รับยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการเกิดอักเสบของลิ้นหัวใจ (endocarditis)
แต่ในปัจจุบัน คำแนะนำดังกล่าวได้เปลี่ยนไป และมีคนไข้จำนวนน้อย
มากที่จำเป็นต้องได้รับ prophylactic antibiotics

อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีเท่านั้น ที่จำเป็นต้องได้รับยาเพื่อป้องกันการอักเสบ
นั้นคือ คนไข้ที่จำป็นต้องได้รับ ลิ้นหัวใจเทียม, มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจแต่กำเนิด ,
และ ในรายที่เคยเกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจมาก่อน

ในกรณีที่ท่านเป็นโรคลิ้นหัวใจ และท่านไม่แน่ใจว่า ก่อนไปทำฟัน ควรได้รับ
ยาปฏิชีวนะหรือไม่...ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวของท่าน

OTHER CONSIDERATIONS
โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ ส่วนใหญ่เป็นโรคที่ไม่ทำให้คนอายุของคนไข้สั้นลงเลย
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ปัญหาอาจเลวลง และอาจจำเป็นต้องได้รับยารักษาเพิ่มขึ้น
เช่น เมื่อท่านได้รับการซ่อมแซมลิ้นหัวใจ หรือ ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
ท่านอาจได้รับยาต่อไป และ ต้องได้รับการตรวจเช็คเป็นระยะตลอดไปอีกด้วย

Technical considerations
เมื่อท่านเป็นโรคลิ้นหัวใจ และแพทย์บอกว่า ท่านต้องได้รับการรักษา
สิ่งทีทท่านควรรู้:

1. การรักษาโรคลิ้นหัวใจ ด้วยวิธีการซ่อมแซม หรือผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
ซึ่งมักจะทำเมื่อ โรคลิ้นหัวใจมีความรุ้นแรง หรือมีความเสี่ยงต่อการถุกทำงาย
ไม่ว่า ท่านจะได้รับการรักษาด้วยวิธีใด มีปัจจัยหลายอย่างที่จะต้องนำมาพิจารณาร่วมกัน
ว่าจะเลือกวิการรักษาใด เช่น อายุของคนไข้ และ สุขภาพโดยรวม

2. มีคนไข้จำนวนไม่น้อย ที่โรคลิ้นหัวใจที่เกิดขึ้นนั้น ไม่อยู่ในสามารถซ่อมแซมได้
การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ก็เป็นทางเลือกต่อไป
อย่างไรก็ตาม ถ้าเป้นไปได้ แพทย์ชอบที่จะทำการซ่อมแซมมากกว่าใส่ลิ้นหัวใจเทียม
ยกตัวอย่าง คนไข้ที่เป็นโรค mitral regurgitation การรักษาด้วยการซ่อมแซมลิ้นหัวใจ
จะได้รับผลดีกว่า การผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจ (replacement)

3. ในรายที่คนไข้เป็นโรคลิ้นหัวใจ ซึ่งไม่สามารถซ่อมแซมได้ คนไข้จะได้รับ
คำแนะนำให้ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ โดยใช้ลิ้นหัวใจทีทำจากโลหะ
(metal valve –bioprosthetic) หรือ ใช้ลิ้นหัวใจที่เป็นเนื้อเยื่อ
( Tissue valve ที่ได้จากหมู หรือ จากคนตาย)

กล่าวกันว่า ลิ้นหัวใจที่ได้จากหมู หรือจากศพ จะดีกว่าลิ้นหัวใจทำจากโลหะ
เพราะไม่ต้องใช้ยาป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวเป็นก้อน (thinner)
แต่ผลเสียก็มีเช่นกัน พวก tissue valve มันอยู่ได้ไม่นาน
ต้องทำการผ่าตัดซ้ำอีก

ดังนั้น การที่จะตัดสินใจเลือก ระหว่าง tissue valve หรือ mechanical valve
จำเป็นต้องต้องนำเอาปัจจัยบางอย่างเข้ามาร่วมพิจารณา
เช่น อายุของคนไข้ วิถีชีวิตของเขา
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเขาต้องการเป็นนักกีฬา โอกาสมีเลือดออกมีได้สูง
ดังนั้น การผ่านัดที่จำเป็นต้องได้รับยาป้องกันการจับตัวของก้อนเลือด
(mechanical vavle) จึงไม่เหมาะที่จะใช้กับคนชนิดนี้
โดยทั่วไป เขาแนะนำให้ใช้ bioprothesis (ลิ้นหัวใจที่ได้จากหมู หรือจากศพ)
สำหรับคนไข้ที่มีอายุต่ำกว่า 65

4. มีคนไข้ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจบางชนิด ที่ตีบแข็ง (stenosis)
อาจทำการรักษาด้วยวิธีทำให้ลิ้นหัวใจเปิดด้วย balloon
เรียกว่า balloon valvuloplasty ซึ่งมีลักษณะคล้ายการรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
โดยการทำ balloon angioplasty

การทำ valvuloplasty อาจดีกว่าการใส่ลิ้นหัวใจเทียม...เพราะเป็นวิธีที่ง่าย
ซึ่งสามารถเปิดลิ้นหัวใจให้กว้างขึ้น ทำให้เลือดไหลผ่านได้ดีขึ้น
สามารถลดอาการของโรคลิ้นหัวใจได้

โดยสรุป แนวทางที่นำเสนอ เป็นเพียงช่วยให้ท่านในฐานะคนไข้
ได้รับทราบข้อมูลบางอย่าง ที่ท่านอาจใช้เป็นข้อมูลสอบถามแพทย์
ซึ่ง อาจจำเป็นต่อการตัดสินใจในการรับการรักษา ที่จะมีขึ้นต่อไป...

http://www.cardiosmart.org/ManageCondition/Default.aspx?id=822

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น