วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

Valvular Heart Disease: Guideline

คนที่เกิดมาบนโลกมนุษย์นี้
บางคนมีความสมบูรณ์พร้อมทางร่างกาย ไม่มีโรคใด ๆ ติดตัวมา
แต่มีบางคน...เกิดมาพร้อมกับความพิการ
เมื่อ เกิดขึ้นกับใคร หรือ กับคนที่เขารัก ไม่ว่าจะเป็นภารยา ลูก หรือ มิตรสหาย
ย่อมก่อความกังวล ความทุกข์ใจ ไปตลอดชั่วอายุขัยของเขา...

บางคนเกิดมา บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่โรคใดติดตัวมา
แต่พออายุมากเข้า โรคภัยไข้เจ็บต่างรุมล้อม ไม่ทราบว่าจะไปโทษใคร
บางคนปลอบใจตัวเองว่า...เป็นกรรมเก่าของเขา
ซึ่งเขาจำเป็นต้องชดใช้กรรมเก่านั้นไป ก็เป็นวิธีการคลายความทุกข์ และความกังวลลงได้บาง

แต่ก็มีบางคนกระทำกรรมที่ไม่ดีให้แก่ตัวเอง...เช่นหาโรคให้แก่ตัวเองซะนี้
กรณีเช่นนี้ เขาต้องรับในสิ่งที่เขากระทำไป เราคงไทษใครไม่ได้กระมัง
เพราะนั่น เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล จะกล่าวแบบกำปั้นทุบดินว่า "ใคราทำได้ดี ผลดีคงเกิดเป็นของท่านนั้น"
....

ชีวิตต้องดำเนินต่อไป แต่มีประเด็นให้เราฉุกคิดขึ้นมา ว่า:.
เราจะป้องกัน หรือดำเนินชีวิตร่วมกับโรคของเขาได้อย่างไร ?

เพื่อให้เราสามารถอยู่ร่วมกับโรคได้ สิ่งสำคัญที่สุด
คือ เรียนรู้เกี่ยวกับโรค (ธรรมชาติ) นั้น ๆ ให้ได้ในทุกแง่ทุกมุม รู้ให้มากที่สุด
จากนั้น เราจึงดำเนินชีวิต ให้คล้อยตามธรรมชาติของมัน...

โรคเกี่ยวกับ “ลิ้นหัวใจ” (valvular diseases)
เป็นโรคที่เราจะกล่าวถึง




หัวใจของมนุษย์ประกอบด้วยลิ้นหัวใจ (heart valves) จำนวน 4 อัน
ซึ่งได้แก่ aortic, mitral, pulmonary และ tricuspid valves
โรคที่เกิดขึ้นลิ้นหัวใจ สามารถกับลิ้นหัวใจ ลินใด ๆ ก็ได้ และอาจเกิดได้มากกว่าหนึ่งลิ้น
เมื่อมีโรคเกิดขึ้น มันย่อมทำให้การทำงานของมัน เกิดผิดปกติไป

โดยปกติแล้ว ลิ้นหัวใจเหล่านั้น จะเป็นแผ่นเนื้อเยื่อ (tissue flabs)
ซึ่งทำหน้าที่เหมือนประตูปิด-เปิด เพื่อให้เลือดจากหัวใจไหลผ่านออกสู่เป้าหมาย
เมื่เลือดไหลผ่านไปมดแล้ว มันจะปิดตัวลง ไม่ยอมให้เลือดไหลย้อนกลับได้
ซึ่งการทำงานในลักษณะดังกล่าว จะประสานสอดคล้องเป็นอย่างดี กับการทำงาน (บีบตัว)ของหัวใจ

ดังนั้น เราจะเห็นว่า หน้าที่หลักของลิ้นหัวใจ คือ ทำให้เลือดไหลไปในทิศทางเดียวโดยผ่านห้องหัวใจ
ทั้งสี่ห้อง

ปัญหาเกิดมีขึ้น เมื่อลิ้นหัวใจไม่ทำงานตามที่กล่าว
หรือทำงานได้ไม่เหมาะสม อะไรจะเกิดขึ้น ?


 เลือดสามารถไหลย้อนกลับในทิศตรงข้ามกับทิศทางทิศทางเป้าหมาย เรียกว่า regurgitation
หนึ่งในลิ้นหัวใจทั้งสี่ คือ mitral valve ไม่สามารถปิดได้สนิท แพทย์ได้
ตั้งชื่อ “mitral valve prollapse” จัดเป็นโรคลิ้นหัวใจ ที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มโรคลิ้นหัวใจ

 Stenosis (ลิ้นหัวใจตีบแคบ) มันเกิดขึ้น เมื่อแผ่นลิ้นหัวใจมีสารแลเซี่ยมมาเกาะ นอกจากจะทำ
ให้มันแข็งตัวแล้ว ยังเพิ่มความหนาให้เกิดขึ้น เป็นเหตุให้มันทำหน้าที่ในการเปิด เพื่อให้เลือดไหลผ่านได้ไม่เหมือน
ปกติ เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานมากขึ้น ด้วยการออกแรงดันดเลือดให้ไหลผ่านลิ้นหัวใจที่ตีบแคบ

 Congenital valve disease. เป็นความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ที่เกิดมาพร้อมกับตัวคนไข้ตั้งแต่
แรกเกิด ซึ่งหลายรูปแบบ เรียกว่า congenital valve disease
เช่น ลิ้นหัวใจไม่สามารถปิดได้เหมือนปกติ; เนื้อเยื่อของลิ้นหัวใจไม่สมบูรณ์ ซึ่ง อาจมีขนาดผิดปกติไป
หรือ รูปร่างผิดปกติ เป็นเหตุให้การปิด-เปิด ของลิ้นหัวใจ ไม่สามารถทำงานได้ตาปกต

โรคลิ้นหัวใจ เป็นโรคที่พบได้บ่อย สามารถพบได้ประมาณ 5 ล้านคน (ในสหรัฐฯ)
คนบางคน จะมีชีวิตอยู่ร่วมกับความผิดปกติของลิ้นหัวใจ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใด ๆ
ส่วนบางคน พบว่า ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ปัญหาของลิ้นหัว จะใจเลวลง จำเป็นต้องได้รับการรักษา
ซึ่ง อาจเป็นการรักษาด้วยยา (medications) หรือ รักษาทางด้านการแพทย์ชนิดต่าง ๆ
เช่น ทำการผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ หรือ ผ่าตัดเปลี่ยน (ใส่)ลิ้นหัวใจเทียม

ในโรคลิ้นหัวใจดังกล่าว หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่ทำการรักษา
สามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ต่างต่างๆ นานา :
เช่น หัวใจล้มเหลว (heart failure), มีก้อนเลือดเกิดในกระแสเลือด ทำให้เกิดภาวะสมอง
และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่ง สามารถทำลายชีวิตของคนไข้ได้

นอกจากโรคที่ติดตัวมาแต่กำเนิดแล้ว พอแก่ตัวเข้า

เมื่อคนเราแก่ตัวขึ้น โรคที่เกิดจากการเสื่มสลายก็ปรากฏขึ้น และหนึ่งในนั้น คือ โรคลิ้นหัวใจจากการเสื่อมสลาย
(degenerative valve disease) เป็นโรคที่พบเห็นในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม
ซึ่ง ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพอย่างกว้างขวางขึ้น

กล่าวกันว่า ในสหรัฐฯ มีการผ่าตัดเกี่ยวกับลิ้นหัวใจอย่างเดียวถึง 95,000 ราย ต่อปี
และมีคนเสียชีวิต จากโรค aortic valve disease ถึง 25,000 ราย ต่อปี
จากสถิติพบว่า คนยิ่งมีอายุแก่ขึ้น จะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคลิ้นหัวใจเพิ่มขึ้น

ข้อมูลต่อไปนี้ เป็นข้อสรุปเกี่ยวกับคำแนะนำ สำหรับแนวทางการรักษาคนไข้ ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจ
คำแนะนำเหล่านี้ อาจไม่เหมาะสมสำหรับคนไข้ทุกคนได้
แต่ อาจทำให้ท่านได้เข้าใจอะไรบางอย่าง ซึ่งอาจช่วยให้ สามารถตั้งคำถามกับแพทย์ของท่านได้...

LIFESTYLE MODIFICATIONS
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม:
ในปัจจุบัน ไม่มียาใด ๆ สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคลิ้นหัวใจได้เลย
แต่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และยารักษาที่เหมาะสม สามารถบรรเทาอาการ และชะลอภาวะแทรกซ้อนได้หลายปี
ยกตัวอย่าง ในคนไข้ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจ aortic stenosis อาจจำเป็นต้องกินเวลาเป็นหลายทศวรรษ
เพื่อให้โรคเปลี่ยนแปลงจากระดับที่ตรวจพบ ไปจนถึงระดับที่จำเป็นต้องรับการรักษา
ดังนั้น เพียงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถชะลอการดำเนินของโรคลงได้

นอกเหนือจากอายุที่เพิ่มขึ้น (แก่ขึ้น) ยังมีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นอีกหลายอย่างสำหรับทำให้เกิดโรคลิ้นหัวใจ
(acquired disease) เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบแข็ง (coronary artery disease),
ความดันโลหิตสูง, ระดับไขมันcholesrerol สูง, สูบบุหรี่, เบาหวาน, ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน,
น้ำหนักตัวสูง และ อ้วน, ไม่ออกกำลังกาย , และ มีประวัติครอบครัวมีคนเป็นโรคลิ้นหัวใจ

 Aortic stenosis (narrowing of the aortic valve):
เป็นโรคลิ้นหัวใจในคนสูงอายุ ซึ่ง พบได้บ่อย และอาจเป็นข้อชี้บ่งให้ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
ผลจากการศึกษา พบว่า มันมีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ และการเสื่อมสลายของลิ้นหัวใจ

นอกจากนั้น ยังพบว่า การสูบบุหรี่ยังเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ รวมทั้งโรคหลอดเลือดของหัวใจ
(coronary artery disease) ดังนั้น การเลิกสูบบุหรี่ จึงสามารถปัองกันไม่ให้เกิดโรคลิ้นหัวใจ
และ ทำให้ลิ้นหัวใจ มีสุขภาพดีดีขึ้นด้วย

 บรรเทาอาการของโรคหัวใจ ที่เกิดจากโรคลิ้นหัวใจ:
ท่านสามารถลดอาการที่เกิดจากโรคดังกล่าวได้ ด้วยการดำเนินชีวิต ตามแบบ “Cardiosmart manner”

Cardiosmart manner: ได้แก่- การควบคุมน้ำหนักตัว; ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น; ลดการดื่มแอลกอฮอล์;
จำกัดอาหารทานหารประเภทเกลือ (sodium); รับ...อาหารประเภทเมล็ดธัญพืช, ผลไม้, ผัก,
ลดอาหารประเภทไขมัน และอาหารที่ได้จากนมสัตว์ และ ลดอาหารประเภทไขมันอิ่มตัว
และงดไขมัน “ทรานซ์” , ลดอาหารที่มีไขมัน cholesterol และสุดท้าย Cardiosmart manner ยัง
แนะนำให้รับประทาน omega 3 fatty acid

 Physical activity โดยทั่วไป เขาแนะนำให้ทุกคนที่เป็นโรคลิ้นหัวใจ
ให้ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในคนที่มีโรคเส้นเลือดของหัวใจ (coronary artery disease)

ซึ่งโดยทั่วไป ในกรณีที่เป็นโรค aortic stenosis ที่เป็นไม่มาก สามารถออกกำลังกายได้
และสามารถเข้าร่วมกับการแข่งขันได้

ส่วนในกรณีที่เป็นมาก (moderate-severe aortic stenosis)
ควรหลีกเลี่ยงจากการออกกำลังกาย ที่ต้องออกแรงด้วยการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ด้วยความเข็มข้นสูง
ที่สำคัญ ก่อนออกกำลังกาย ท่านควรขอคำแนะจากแพทย์ เป็นดีที่สุด

Continued > Goal for Risk Factor Management

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น