วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

What is a peptic ulcer?

Peptic ulcer เป็นแผลที่เกิดบนผิวของกระเพาะอาหาร
หรือส่วนต้นของลำไส้ (duodenum)
หรือเกิดขึ้นบนท่ออาหารที่อยู่เหนือกระเพาะอาหารขึ้นไป แต่พบได้น้อย

แผลที่เกิดในบริเวณกระเพาะ เรียกว่า gastric ulcer
หากเกิดบนส่วนต้นของลำไส้ ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่ากระเพาะ เรียก duodenum ulcer
ในคน ๆ เดียวกัน สามารถมีแผลในสองตำแหน่งพร้อมกันได้
เป็นโรคที่พบได้บ่อย
ในช่วงที่เรามีชีวิต โรคอาจเกิดขึ้นกับเราได้มากว่ากว่าหนึ่งครั้ง

What causes peptic ulcers?
เป็นที่รู้กันว่า เชื้อแบคทีเรียมที่มีชื่อว่า Helicobacter pylori
เป็นสาเหตุหลักของการเกิด peptic ulcers
ส่วนยาประเภท NSAIDs เช่น aspirin ibuprofen
ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้

นอกเหนือไปจากนั้น ยังพบว่า พวกเนื้องอก หรือมะเร็งของกระเพาะ ลำไส้ส่วนบน (duodenum)
หรือของตับอ่อน (pancreas) สามารถทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้เช่นกัน
แต่เป็นได้น้อยมาก

เป็นที่ยืนยันว่า ความเครียด (stress) หรือการกินอาหารรสจัด (เผ็ด) ไม่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้
แต่ สามารถทำให้แผลในกระเพาะที่เกิดขึ้นแล้ว เลวลงได้
ส่วนการสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล ก็เช่นกัน สามารถทำให้แผลที่เกิดขึ้นแล้วเลวลง
และยังเป็นเหตุไม่ให้แผลที่เกิดแล้วไม่หาย

What is H. pylori?
H. pylori เป็นเชื้อแบกทีเรียชนิดหนึ่ง ที่เป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบของผิวด้านในของกระเพาะ และไส้ได้
ในประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะในเด็ก การอักเสบจากเชื้อ H. pylori จะพบได้บ่อย
การอักเสบดังกล่าว จะไม่อาการใด ๆ จนกว่าเด็กคนนั้นจะเป็นผู้ใหญ่เสียก่อน

คนที่เป็นโรค peptic ulcers พบว่า มากกว่า 50 % มีสาเหตุมาจาก H. pylori
โดยที่เชื้อแบกทีเรียมดังกล่าว จะเป็นตัวทำลาย “เมือกที่เคลือบ” ผิวด้านในของกระเพาะอาหาร
ซึ่งมันทำหน้าที่ปกป้องกระเพาะ และลำไส้ส่วนบน (duodenum)ไม่ให้ถูกละคายด้วยกรดจากกระเพาะเอง
เมื่อเมือก (mucous) ที่เคลือบกระเพาะถูกทำลายลง ทั้งกรดจากกระเพาะอาหาร
และเชื้อ H. pylori จะละคาย และทำให้เกิดอักเสบของผิวด้านในของกระเพาะ และส่วนของลำไส้ “ดูโอดีนัม”
จนทำให้เกิดเป็นแผลในที่สุด

อย่างไรก็ตาม มีคนเป็นจำนวนไม่น้อย ที่มีการอักเสบจากเชื้อ H. pylori
ไม่เกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหารเลย
บางคนมีการอักเสบของเชื้อ H. pylori เกิดมีแผลในกระเพาะอาหาร บางคนไม่เป็นแผล
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ยังไม่ใครสามารถตอบได้

How is H. pylori spread?
ในขณะนี้ เรายังไม่แน่ใจว่า เชื้อ H. pylori มันแพร่กระจายได้อย่างไร ?
นักวิจัยส่วนใหญ่ เชื่อว่า เชื้อโรคอาจแพร่กระจายโดยอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคก็ได้

นักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่ง เชื่อว่า เชื้อโรคมีการแพร่กระจายจากคนที่เป็นโรค (infected) สู่คนปกติ
โดยการสัมผัสก็ได้
ได้มีรายงานว่า H. pylori bacteria ปรากฏในน้ำลายของคนที่เกิดการอักเสบด้วยเชื้อโรคตัวดังกล่าว
ซึ่งหมายความว่า การแพร่เชื้ออาจเกิดจากการสัมผัสน้ำลายโดยตรง

What are the symptoms of a peptic ulcer?
คนที่เป็นแผลกระเพาะ และลำไส้ส่วนบน ส่วนใหญ่จะมีอาการ "ไม่สบายในท้อง"
(abdominal discomfort) ซึ่งอยู่ระหว่าง สะดือ กับยอดอก

ความไม่สบายที่เกิดในบริเวณช่องท้องมักจะ

• ปวดตื้อ ๆ หรือแสบร้อนในบริเวณกระเพาะ
• มักจะเกิดมีอาการในขณะท้องว่าง เชน ระหว่างช่วงการรับประทานอาหาร หรือ เกิดตอนกลางคืน
• อาการอาจดีขึ้น เมื่อได้กินข้าว โดยเฉพาะรายที่เป็นแผลบริเวณส่วนบนของลำไส้ (duodenum)
• หรือภายหลังการกินยาลดกรด ซึ่งจะพบได้ทั้งสองกรณี
• อาการจะทรงอยู่ประมาณหลายนาที เป็นชั่วโมง
• อาการเป็นๆ หาย ๆ เป็นเวลาหลายวัน หรือหลายอาทิตย์

อาการอย่างอื่น ๆ ได้แก่

• น้ำหนักลด
• เบื่ออาหาร
• อืดท้อง
• เรอเปรี้ยว
• คลื่นไส้
• อาเจียนมี

บางคนที่เป็นโรคกระเพาะ และลำไส้เป็นแผล มีอาการไม่มาก (mild) หรือไม่มีอาการใด ๆ

Emergency Symptoms
เมื่อใดก็ตาม ที่ท่านมีอาการต่อไปนี้ ท่านควรไปพบแพทย์ทันที

• sharp, sudden, persistent, and severe stomach pain
• bloody or black stools
• bloody vomit or vomit that looks like coffee grounds

สำหรับอาการเตือนให้ทราบถึงอันตรายร้ายแรง เช่น

• bleeding—จะเกิดขึ้น เมื่อแผลหรือกรดทำลายเส้นเลือดwhen
• perforation—เมื่อแผลที่เกิดมันะลวงผ่านผนังของกระเพาะลำไส้จนทะลุ
• obstruction—เมื่อแผลของกระเพาะเกิดขวางทาง ไม่ให้อาหารผ่านสู่ลำไส้
• ก็จะเกิดการอุดตันของอาหาร

Continue > How is H. pylori –induced ulcer diagnsosed?

What Is Gastritis? เมื่อแพทย์บอกว่า ข้าพเจ้าเป็นโรคกระเพาะอักเสบ

กระเพาะอาการอักเสบ เป็นโรคที่คุณหมอชอบบอกให้คนไข้ได้ทราบ
เป็นการอักเสบของเซลล์บุผิวของกระเพาะอาหาร
เป็นผลจากการละคายเคือง (irritation)หรือ มีการกัดกร่อน (erosion)ของเซลล์บุผิว
ของกระเพาะอาหาร ซึ่งมันอาจเกิดขึ้นทันที (acute) หรือเป็นแบบเรื้อรัง (chronic)ก็ได้

What causes Gastritis?
กระเพาะอักเสบ เกิดจากการละคายเคืองของเซลล์บุผิวของกระเพาะอาหารเอง
ซึ่งมีต้นเหตุจาก การดื่มแอลกอฮอลมากไป จากการอาเจียนเรื้อรัง
จากความเครียด
หรือเกิดจากการใช้ยาบางอย่าง เช่น aspirin anti-inflammatory drugs

นอกเหนือจากนั้น การอักเสบของกระเพาะ อาจเกิดจาก

• Helicobactor pylori (H. pylori): เป็นเชื้อแบกทีเรียม
ซึ่งอาศัยในเซลล์บุผิวของกระเพาะอาหาร หากไม่ได้รับการรักษาการอักเสบที่เกิดขึ้น
มันสามารถนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
และบางราย อาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหารได้

• Pernicious anemia: เป็นโรคโลหิตจางอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้น
เมื่อกระเพาะอาหารขาดสารอาหาร ซึ่งมีตามธรรมชาติ ที่จำเป็นต่อการดูดซับ และย่อย vitamin B12

• Bile reflux: การมีน้ำดี (bile) จากท่อน้ำดี ไหลย้อนกลับสู่กระเพาะอาหาร

• Infections ซึ่งเกิดจากเชื้อแบกทีเรียม และ ไวรัสต่าง ๆ เป็นต้น

ถ้าหากกระเพาะอักเสบที่เกิดขึ้น ไม่ได้รับการรักษา สามารถนำไปสู่การสูญเสียเลือด
และที่น่ากลัว มันเป้นตัวเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหาร (stomach cancer)

What are the symptoms of gastritis ?

อาการต่าง ๆ ของโรคกระเพาะอักเสบ มีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล และคนส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ
อย่างไรก็ตาม อาการแสดงของกระเพาะอักเสบ ได้แก่:

 มีอาการคลื่นไส้

 ท้องอืด (bloating)

 ปวดท้อง (abdominal pain)

 อาเจียน (vomiting)

 อาหารไม่ย่อย (indigestion)

 แสบท้อง (burning) ระหว่างท้องว่าง หรือรในตอนกลางคืน

 สะอึด (Hiccups)

 ไม่อยากกินอาหาร (loss of appetite)

 อาเจียนเป็นเลือด หรือเป็นสีกาแฟ (blood or coffee ground-like material)

 ถ่ายอุจจาระสีดำ (black or tarry stools)

How is Gastritis Diagnsosed?
เรจะวินิจฉัยโรคกระเพาะอักเสบได้อย่างไร ?

ในการวินิจฉัยโรคกระเพาะอักเสบ แพทย์ของท่านจะเป็นผู้ทำการศึกษาตัวท่าน และประวัติครอบครัวของท่าน
มีการตรวจร่างกาย และทำการทำสอบต่าง ๆ เช่น

• Upper endoscopy. เป็นการตรวจสอบกระเพาะอาหาร ด้วยการสอดท่อเล็ก ๆ ซึ่งมีกล้องเล็ก ๆ
โดยสอดท่อผ่านทางปาก เข้าสู่กระเพาะอาหาร ซึ่งทำให้สามารถมองเห็นเยื้อบุผิวของกระเพาะ
อาหาร ซึ่งแพทย์สามารถบอกได้ว่า มีการอักเสบ มีแผล หรือมีเนื้อร้ายหรือไม่
ซึ่งแพทย์สามารถตัดเอาชิ้นเนื้อไปตรวจทางห้องพยาธิได้

• Blood tests . แพทย์อาจทำการตรวจเลือดเพื่อตรวจดูว่า ท่านมีโรคเลือดจางหรือไม่
ซึ่งหมายความว่า จำนวนเม็ดเลือดแดงของท่านจะต้อบมีจำนวนลดลง
ขณะเดียวกัน แพทย์สามารถทำการตรวจคัดกรองหา H. pylori infection และ pernicious anemia

• Fecal occult blood test. เป็นการตรวจดูเลือดที่อยู่ในอุจจาระ
ซึ่งอาจเป็นอาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบได้

What is the treatment for gastritis?
ในการรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ จำเป็นจะต้องได้รับ

1. Antacids. เป็นยาลดกรดที่มีจำนวนมากมาในท้องตลาด ซึ่งมีส่วนประกอบของสารสามตัว
ได้แก่ Magnesium calcium และ aluminium
ร่วมกับ hydroxide หรือ bicarbonate ions สารพวกนี้ใช้ลดกรดในกระเพาะอาหาร
ผลเสีย (side effects) ที่จะเกิดจากยาลดกรดได้
เช่น ทำให้เกิดท้องล่วง (diarrhea) หรือท้องผูกได้ (constipation)

2. Histamine 2 (H2) blockers. ได้แก่ Ranitidine และ famotidine
ยาพวกนี้ จะทำหน้าที่ลดการสร้างกรดในกระเพาะลง ซึ่งสามารถหาซื้อได้จากร้านขายยา
หรือโดยแพทย์เป้นคนสั่งเอง

3. Proton pump inhibitors.ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Omeprazole,
esomeprazole (Nexium), and lansoprazole (Kapidex)
ยาในกลุ่มนี้ สามารถลดการสร้างกรดในกระเพาะได้ดีกว่า H2 blockers


4.ในรายที่เกิดจาก H. pylori แพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะหลายตัว ร่วมกับยาลดกรดด้วยการให้
Proton pump inhibitors และยาปฏิชีวนะอีกสองตัว คือ amoxicillin และ clarithromycin
นอกเหนือจากนั้น อาจให้ Bismuth subsalicylate (Pepto-bismol)ช่วยฆ่าเชื้้อแบคทีเรียมได้

5.ในกรณีที่กระเพาะอักเสบเกิดจากโรค pernicious anemia แพทย์จะสั่งยา vitamin B12 แก่คนไข้

เมื่อปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นเหตุได้รับการรักษาจนหาย กระเพาะอักเสบก็จะหายตาม ท่านจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ
ของแพทย์ อย่าได้หยุดยา หรือให้การรักษาตัวเองเป็นอันขาด

What is the prognosis for gastritis ?

คนไข้กระเพาะอักเสบส่วนใหญ่ เมื่อได้รับการรักษา อาการจะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว


http://www.webmd.com/digestive-disorders/digestive-diseases-gastritis

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Chronic fatigue syndrome: Diagnosis and treatments

Tests and diagnosis
เป็นที่ทราบกันว่า คนที่เป็นโรคที่มีกลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง
ไม่มีวิธีตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อวินิจฉัยโรดังกล่าวเลย
ที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะมีโรคทางกายและใจอีกมากมาย ที่
สามารถทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าเรื้อรังได้

ดังนั้น การวินิจฉัยโรคดังกล่าวจึงต้องกินเวลา ให้แพทย์ได้มีโอกาสพิจารณาแยกโรคต่าง ๆ
ก่อนที่จะวินิจฉัยว่า คนไข้รายรายนั้น เป็นโรค CFS
ซึ่ง จำเป็นต้องพิจารณาแยกโรคต่อไปนี้:

• Sleep disorders.
อาการเมื่อยล้าเรื้อรัง สามารถเกิดจากปัญหาด้านการนอน
เช่น ภาวะของขาอยู่ไม่เป็นสุข (restless leg syndrome)
การหายใจติดขัดเป็นระยะ (sleep apnea)
และโรคนอนไม่หลับ (insomnia)

• Medical problems.
มีโรคทางกายหลายอย่างที่มีอาการเมื่อยล้า เช่น โรคโลหิตจาง
โรคเบาหวาน และ โรคต่อมไทรอยด์ (hypothyroidism)
ซึ่งโรคพวกนี้ สามารถตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการณ์เพื่อ
ยืนยันได้ว่า ใช้หรือไม่ ?

• Mental health issues.
ความผิดปกติจางจอต ก็สามารถทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าได้
เช่น พวกซึมเศร้า ความเครียด พวกโรคจิตสองอย่าง-คุ้มดี คุ้มร้าย (bipolar disorders)
และพวกจิตเภท (schizophrenia) ซึ่งพวกเหล่านี้ จิตแพทย์สามารถยืนยันได้

Diagnostic criteria:
ก่อนที่จะวินิจฉัยคนไข้รายใดว่า เป็นพวก CFS หรือไม่
เขาคนนั้น นอกจากจะต้องมีอาการเมื่อยล้าเรื้อรังเป็นเวลานาน 6 เดือน หรือมากกว่า
ยังต้องมีอาการอย่างอื่นเพิ่มอีกอย่างน้อย 4 อาการ ดังนี้:

• สูญเสียความทรงจำ หรือ ไร้สติ

• เจ็บคอ

• ต่อมน้ำเหลืองโตในบริเวณคอ และใต้ต้นแขน

• ปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งไม่สามารถพบต้นเหตุ

• ปวดข้อ ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายจากข้อหนึ่ง สู่อีกข้อ โดยที่ไม่มีอาการบวม-แดง

• ปวดศีรษะรุนแรง ไม่เหมือนเดิม เป็นชนิดใหม่

• อาการไม่หายเมื่อยล้า แม้ว่าจะได้หลับพักผ่อนอย่างเพียงพอแล้วก็ตาม

• หมดแรงหลังการออกแรงทั้งกายและใจ โดยมีอาการยาวนานเกิน 24 ชั่วโมง

Treatments and drugs:

ในการรักษาคนไข้ที่มีกลุ่มอาการเมื่อยล้าเรื้อรังนั้น เป็นการรักษาอาการเป็นหลัก โดยการทำให้อาการทุเลาเบาลง

Medications

• Antidepressants.
คนไข้ส่วนใหญ่จะมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย ดังนั้นการรักษาอาการซึมเศร้าของคนไข้
จึงทำให้ง่ายแก่การรักษาอาการอื่น ๆ ได้โดยง่าย
antidepressant ที่ให้จะเป็นขนาดน้อย ๆ ซึ่งช่วยให้คนไข้นอนหลับได้ง่าย
และเป็นการช่วยลดอาการเจ็บ-ปวดได้ด้วย

• Sleeping pills.
นอกเหนือจากการงดเว้นการดื่มกาแฟ สามารถช่วยทำให้การนอนหลับดีขึ้นแล้ว
แพทย์อาจสั่งยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ท่านได้มีโอกาสนอนหลับดีขึ้น
การรักษาอย่างอื่น ๆ เป็นการรักษาทางกาย และทางด้านจิตใจ ซึ่งได้แก่

• ลดความตรึงเครียดที่จะเกิดขึ้นกับทั้งกาย และใจ
• ฝึกตนเอง ให้นอนให้เป็นเวลา และตื่นนอนให้เป็นเวลา
• ดำเนินชีวิตให้เป็นไปตามปกติ ไม่มากไป หรือน้อยไป

นอกเหนือไปจากนี้ การรักษาตามวิธีของแพทย์ทางเลือก ก็สามารถช่วยคนไข้ให้หายจากอาการเมื่อยล้าได้เช่นกัน
เช่น :

• ฝังเข็ม (acupuncture)
• การนวด (Massage)
• โยคะ หรือ ไตชิ (Yoga or tai chi)

จะสังเกตเห็นว่า การรักษาคนไข้ที่มีอาการของ FM และ CFS
ต่างมีความเหมือน ไมว่าจะเป็นโรคอะไร (FM หรือ CFS) แพทย์จะสั่งยาให้เหมือนกัน


www.mayoclinic.com/health/chronic-fatigue-syndrome/DS00395

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Bone Density Test : การตรวจมวลกระดูก(2)

Continue (2)

เมื่อท่านได้รับคำแนะนำให้ตรวจดูความหนาแน่นของมวลกระดูก
ท่านควรเตรียมตัวอย่างไร ?
ก่อนอื่นท่านต้องทราบไว้ก่อนว่า การตรวจมวลกระดูก เป็นการตรวจที่เรียบง่าย ไม่เจ็บปวด ไม่เสียเวลา
ไม่ต้องเตรียมตัวแต่อย่างใด เตรียม...สตางค์ค่าตรวจเท่านั้นเป็นพอ
ตามความเป็นจริง สามารถตรวจที่ไหนก็ได้

What you can expect ?
ในการตรวจดูความหนาแน่นของมวลกระดูก เขาเรียกว่า
Dual energy X-rays Absorptionmetry(DXA)
กระดูก ที่ได้รับการตรวจบ่อยที่สุด ได้แก่กระดูกบริเวณมือ-ข้อมือ (hand & wrists)
กระดูกสะโพก (hip) และกระดูกสันหลัง (spine)

ผลของการตรวจ (Result)

เมื่อท่านได้รับการตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก สิ่งที่ท่านต้องรู้
คือ ผลของการตรวจมวลกระดูกกระดูก ว่า มีความหนาแน่นมากน้อยแคใด ?
ซึ่งปรากฏออกเป็นค่า สองตัว
คือ T-score และ Z-score.

T-score:

T-score ผลที่ได้ หมายถึงความหนาแน่นของมวลกระดูก
ซึ่งนำไปเปรียบเทียบกับกระดูกของคนหนุ่ม-สาว ของคนปกติ ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ดี และเป็นเพศเดียวกับตัวท่านเอง
T-score เป็นตัวเลข ซึ่งเรียกว่า ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)
ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกให้ทราบถึง “ความหนาแน่น” ของกระดูกของท่านที่มีค่าเหนือกว่า หรือ ต่ำกว่า “ค่าเฉลี่ย”

ยกตัวอย่าง:

T-score -1 หรือมากกว่า หมายความว่า มวลกระดูกของท่าน มีความหนาแน่นปกติ

T-score -1 ถึง -2.5 หมายความว่า มวลกระดูกของท่าน ต่ำกว่าปกติ เป็นข้อบ่งชี้ว่า
กระดูกของท่านอยู่ในภาวะ Ostopenia มีโอกาสที่แปรสภาพเป็นกระดูกพรุน (osteoporosis) ได้ในภายหลัง

T-score -2.5 ถึง ต่ำกว่า เป็นตัวเลขที่บ่งชี้ว่า มวลกระดูกของท่านอยู่ในสภาพกระดูกพรุนแล้ว
(osteoporosis)

Z-score:

เป็นตัวเลขของความเบี่ยงเบนจากมาตรฐาน ซึ่งอาจมีค่าสูงกว่า หรือต่ำกว่า ค่าที่ท่านคาดหวัง
สำหรับคนที่เป็น เพศ อายุ เชื้อชาติเดียวกันกับตัวท่าน
ถ้าผลของ Z-score ของท่าน มีค่า -2 หรือ ต่ำกว่า
มันอาจบ่งบอกให้ทราบว่า มีความผิดปกติที่เกิดขึ้น
และความผิดปกตินั้น อาจมีอะไรบางอย่างนอกเหนือไปจากอายุของท่านที่แก่ขึี้น
ซึ่งเป็นเหตุทำให้มีการสูญเสียมวลกระดูกไป

หากแพทย์ของท่าน สามารถตรวจพบต้นเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกได้
แพทย์ย่อมสามารถรักษา หรือ ชะลอการสูญเสียมวลกระดูกลงได้นั่นเอง


www.mayoclinic.com/heaalth/bone-density-test/MY00304

Bone Density Test- การตรวจมวลกระดูก

โลกมนุษย์มันก็เป็นเช่นนี้เอง
มีคนอยู่สองประเภท ที่อยุ่รอบตัวเรา
ประเภทแรกมีลักษณะคล้าย “เต่า” สุภาพเรียบร้อย ไม่เอารัดเอาเปรียบใคร
ตรงกันข้ามอีกพวกหนึ่ง มีลักษณะคล้ายแมลงป่อง (scorpian) เป็นพวกหน้าเนื้อใจอำหิต เห็นแก่ได้ เห็นแก่ตัว
ชอบเอารัดเอาเปรียบ เผลอเมื่อใด มันเอามีดเสียบหลังคนที่มันบอกว่า เป็นเพื่อนรักของมันได้ทันที...

เราคงไม่สามารถดลบันดาลให้โลกเรา มีเฉพาะคนที่มีลักษณะสุภาพเรียบร้อย ซื่อสัตย์ เหมือนเต่าแต่เพียงชนิดเดียว
เพราะฝืนธรรมชาติ หากทำได้ คงทำให้โลกเรา “จืดชืด” เป็นแน่
มันจะต้องมีพวกแมงป่องด้วย เพื่อให้เราได้มีโอกาสศึกษา ได้ สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเองบ้าง
ให้สามารถอยู่ในโลกได้ โดยไม่ถูกพวกแมลงป่องมันเอาเปรียบได้

เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา เพื่อนที่เล่นกอล์ฟด้วยกัน เล่าเรื่องให้ฟังว่า
ได้รับการตรวจหาความหนาแน่นของมวลกระดูก จากร้านขายยาแห่งหนึ่ง...
ได้รับการบอกเล่าว่า มวลกระดูกของเพื่อนอยู่ในขั้นอันตรายมาก ๆ
“กระดูกผุอย่างรุนแรง ต้องกินยารักษาทันที” ....

ผู้เขียนเล่นกอลฟ์กับเพื่อนคนนี้บ่อยครั้ง เป้นคนแข็งหวดลูกกอล์ฟแต่ละครั้ง...ลูกพุ่งไกลยังกะคนหนุ่ม
กระดูกจะผุได้อย่างไร ?
ผู้เขียนจึงพูดเล่น ๆ ว่า เพื่อน...เจอคนประเภท “แมลงป่อง” เข้าให้แล้ว
จึงแนะนำให้ทำการตรวจมวลกระดูกใหม่ เพื่อให้หายความข้องใจซะที ?
ผลของการตรวจเป็นไปตามคาด
ปรากฏว่า มวลกระดูกของเพื่อน มีความหนาแน่นมากกว่าคนทั่วไปเสียอีก
.....
มีหลายท่านอยากรู้เรื่องเกี่ยวกับ “การตรวจมวลกระดูก “ เพิ่มขึ้น
ฃจึงถือโอกาสเขียนเกี่ยวกับการตรวจมวลกระดูก ให้เพื่อนอ่าน-ศึกษาดู...

Bone Density Test:
เป็นการตรวจหาความหนาแน่นของมวลกระดูก เพื่อให้ได้คำตอบว่ากระดูกของท่านเป็นเช่นใด ?
เป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่?

กระดูกพรุน (osteoporosis) มันเป็นภาวะอย่างหนึ่งอของมวลกระดูก
ซึ่งมีลักษณะเปราะบาง และแตกหักง่าย

ในสมัยก่อนโน้น เราจะทราบว่า ใครมีกระดูกพรุนก็ต่อเมื่อเขาคนนั้นเกิดกระดูกแตกหักเสียก่อน
มาปัจจุบันนี้ เราสามารถตรวจหาความหนาแน่นของมวลกระดูก
ว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการแตกหักหรือไม่ ?

การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก (bone density test) เป็นการตรวจด้วยการใช้เอกซเรย์
ตรวจ และวัดดูหนาแน่นของกระดูกในส่วนใดส่วนหนึ่งว่า มี calcium และ bone mineral (เนื้อกระดูก) กี่กรัม
ตำแหน่งที่เราทำการตรวจเป็นประจำ คือ ตำแหน่งกระดูกสันหลัง (spine) กระดูกสะโพก (hip)
และกระดูกของแขน (forearm)

ทำไมต้องทำการตรวจ ?
แพทย์จะทำการสั่งให้มีการตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก:

 เพื่อตรวจสอบความหนาแน่นของกระดูก ก่อนที่จะมีการแตกหักเกิดขึ้น

 เป็นการตรวจดูว่า มีปัจจัยเสี่ยงต่อการแตกหักหรือไม่ ?

 เพื่อเป็นการยืนยันว่า กระดูกของท่านอยู่ในสภาพกระดูกพรุนจริง

 เพื่อเป็นการตรวจเช็คดูผลของการรักษา

การตรวจดูความหนาแน่นของมวลกระดูก หากผลพบว่า กระดูกยิ่งมีความหนาแน่นมากเท่าใด
โอกาสที่จะเกิดการแตกหักย่อมมีน้อยลงเท่านั้น

การตรวจความหนาแน่นของกระดูก จะแตกต่างจากการทำ bone Scans
ในการทำ bone Scans จำเป็นต้องมีการฉีดสารเข้าเส้นเลือดเสียก่อน ค่อยทำการตรวจความหนาแน่นกระดูก
เพื่อ ตรวจหารอยแตกหัก มะเร็งกินกระดูก กระดูกอักเสบ หรือความผิดปกติต่าง ๆ ของกระดูก
ซึ่งเอกซเรย์ธรรมดาไม่สามารถตรวจพบได้

แม้ว่ามวลกระดูกจะลดน้อยลง (osteoporosis) จะพบได้ในสตรีสูงอายุก็ตาม
แต่เราก็สามารถพบภาวะดังกล่าวในผู้ชายได้ด้วย
ที่จริงแล้ว ไม่ว่าคน ๆ นั้น จะอยู่ในเพศใด อายุเท่าใด ต่างมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ทั้งนั้น

แพทย์อาจจำเป็นต้องทำการตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก เมื่อ:

 Loss height. เมื่อใครก็ตาม ที่มีความสูงลดลงมากกว่า 1. 6 นิ้ว เมื่อใด
หมายความว่า คน ๆ นั้นมีกระดูกสันหลังยุบตัวลง (compression fracture)

 Fracture a bone. กระดูกเปราะบาง เป็นสาเหตุทำให้กระดูกแตกหัก
แม้เพียงการไอ หรือจาม ก็สามารถทำให้กระดูกแตกหักได้

 Taken certain drugs. จากการใช้สาร steroid รักษาโรค เช่น prednisone จะมีผลกระทบ
ขึ้นต่อการสร้างมวลกระดูกขึ้นใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดกระดูกพรุน

 Received a transplant. คนที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ จะได้รับยาที่มีผลกระทบต่อการสร้างกระดูก
เป็นเหตุให้เกิดกระดูกพรุนได้เช่นกัน

 Menopause. สตรีหลังหมดประจำเดือน ระดับ estrogen จะลดลง หรือชายที่เป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
ได้รับการรักษาทำให้ระดับของ testosterone ลดลง เป็นเหตุให้กระดูกเกิดอ่อนแอลงได้

continue (2)

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Osteoporosis vs Osteomalacia

ทั้งกระดูกพรุน (osteoporosis) และกระดูกอ่อน (osteopmalacia)
ต่างเป็นความผิดปกติของกระดูก ซึ่งเป็นต้นเหตุให้กระดูกไม่แข้งแรง ทำให้แกระดูกแตกหักได้ง่าย
ทั้งสองโรคมีความแตกต่าง โดยที่กระดูกพรุน osteoporosis
หมายถึงการเสื่อมสภาพของกระดูก ที่ถูกสร้างขึ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ซึ่งจะมีลักษณะเปราะบาง (brittle)

ส่วน osteomalacia นั้น เกิดจากความบกพร่องในกระบวนการสร้างเนื้อกระดูก
ซึ่งแทนที่จะทำให้กระดูกแข็งเหมือนคนปกติเขา
แต่กลับได้กระดุกที่อ่อน (soft)

Causes:
ใน osteoporosis นั้น เมื่อคนไราอายุมากขึ้น ตัวเนื้อกระดูกจะถูกทำลายได้มากว่าการสร้างทดแทน
ส่วน osteomalacia เป็นผลเนื่องมาจากร่างกายเราขาด calcium และ phosphate
ซึ่ง ส่วนมากมักจะเกิดจากการที่คน ๆ นั้น ไม่ได้รับ vitamin D
หรือคนนั้น ไม่เคยสัมผัสกับแสงแดดเลย

Symptoms:

ในระยะเริ่มแรกของการเป็นโรค ทั้งสองกรณี จะไม่มีอาการใด ๆ ปรากฏ
เมื่อความผิดปกติ ได้พัฒนาเพิ่มขึ้น อาการปวดเริ่มจะปรากฏให้คนไข้รู้สึกได้ว่า
มีอะไรบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้น ?

ในคนไข้ที่เป็นกระดูกพรุน (osteoporosis) คนไข้มักจะมาพบแพทย์ด้วยเรื่องกระดูกแตกหักบ่อย
และระดับความสูงของร่างกายลดลง ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากกระดูกสันหลังเกิดการยุบตัวลง
(compression fracture )

ส่วนกระดูกอ่อน (0steomalacia) คนไข้มักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการของกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โดยเฉพาะ มักจะเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อของแขน และ ขาทั้งสองข้าง

Treatment:

ในคนไข้ที่เป็น osteoporosis จะได้รับการรักษาด้วยยาต่าง ๆ เช่น raloxefene
และ Calcitonin เป็นส่วนใหญ่
ซึ่งยาทั้งสอง สามารถช่วยลดการทำลายของเนื้อกระดูกลง
ส่วนโรคกระดูกอ่อน osteomalcia อันเป็นผลมาจากการขาดอาหาร (calcium)
และ ไม่เคยสัมผัสแสงแดด
ดังนั้น การรักษา จึงมุ่งไปที่การให้สารที่ขาด และแนะนำให้คนไข้ได้ถูกแสงแดด

Prevention/Solution

อันตรายที่จะเกิดจากโรคทั้งสอง สามารถลดลงได้ด้วยการให้ calcium และ vitamine D
สำหรับโรค osteoporosis สามารถทำให้มันชะลอการทำลายกระดูก
โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
เสริมด้วยอาหารที่ให้สุขภาพ สามารถป้องกันปัญหาดังกล่าวได้
ส่วนโรคกระดูกออน osteopmalacia สามารถป้องกันได้โดยให้ร่างกายของเราได้ถูกแดดทุกวัน
จะเป็นการช่วยให้ร่างกายของท่านสร้าง vitamin D ได้เพียงพอได้
เรื่องก็มีง่าย ๆ เพียงเท่านี้แหละ

www.ehow.com/facts5637898 difference-between-0steoporosis-osteomalacia.htm

Osteopenia

Osteopenia เป็นคำที่มีความหมายบ่งบอกว่า มวลกระดูกของคนเรามีความหนาแน่นน้อยกว่าปกติ
มีหลายคนกล่าวว่า osteopenia เป็นสภาวะขั้นต้น (precursor) ก่อนที่จะเกิดโรคกระดูกพรุน
อย่างไรก็ตาม คนที่เป็น osteopenia แล้ว ไม่ได้หมายความว่า
กระดูกของเขาจะกลายเป็นโรคกระดูกพรุน

ถ้าหากจะพูดตามหลักวิชาการแล้ว โดยการตรวจดูความหนาแน่นของมวลกระดูก
คนเป็นที่กระดูกอยู่ในภาวะ osteopenia จะพบว่า
T-score จะมีค่าอยู่ระหว่าง -1.0 ถึง -2.5

Osteopenia ถูกกำหนดขึ้นโดย WHO เมื่อปี 1992
โดยมีเชี่ยวชาญหลายนาย ตัดสินว่า ใครก็ตามที่มีความหนาแน่นของกระดูกต่ำกว่า
ค่าเฉลี่ยของมวลกระดูกของสตรีผิวขาว ที่มีอายุ 30
ซึ่งก่อนหน้านี้ เขาใช้กับคนสูงอายุ ผู้ได้รับบาดเจ็บกระดูกแตกหักเท่านั้น

Diagnosis:

จากสถิติของบริษัท Merck ผู้ซึ่งจำหน่าง”ยา” ป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก
(anti-bone loss drug)
ได้ให้ตัวเลขที่น่าสนใจเอาไว้ว่า ในปี 2003 มีสตรีจำนวน 8 ล้านคนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น osteopenia
และในสตรีจำนวนดังกล่าวประมาณ 1/3 ได้รับการรักษา ด้วยยาต้านกระดูกพรุน

การตรวจกระดูกด้วย Scans ที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างากาย ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วย X-rays
มีชื่อเรียกว่า DEXA (dual X-ray absorptiometry).
นอกจากนั้น การตรวจมวลกระดูก ยังสามารถตรวจได้ด้วย ultrasoundอีกด้วย

Causes:

มันสามารถเกิดขึ้นในสตรี วัยหลังหมดประจำเดือน ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากร่างกายมีปริมาณ estrogen ลดน้อยลง
สภาวะดังกล่าวอาจมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น เมื่อคน ๆ นั้น มีวิถีชีวิตที่เอื้อต่อการเกิดโรค
เช่น ไม่ค่อยออกกำลังกาย ดื่มสุราเป็นประจำ สูบบุปรี่จัด หรือใช้ยาประเภท glucocorticoid
เพื่อรักษาโรคบางอย่าง เช่น โรคหืด หรือไรครูมาตอยด์

Treatment and Controversy:

ในปัจจุบันนี้ ยังมีความคิดเห็นขัดแย้งกันว่า คนที่เป็น osteopenia ควรรักษาหรือไม่ ?
สำหรับคนที่ควรได้รับการรักษา (candidate) ได้แก่บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกแตกหัก
ซึ่ง จำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐาน ของความหนาแน่นของมวลกระดูกเป็นสำคัญ

ในปี 2008 National Osteoporosis Foundation
ได้ให้คำแนะนำให้ทำการรักษาในสตรีหลังหมดประจำเดือน และในชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
เมื่อคนเหล่านั้น มี:

1. เมื่อมีกระดูกสะโพก หรือกระดูกสันหลังแตก- หัก

2. เมื่อทำการตรวจมวลกระดูก ( Bone Density ) ของกระดูกคอสะโพก (femoral neck)
หรือกระดูกสันหลัง (spine) T-score มีค่า -2.5(ตัดพวก secondary causes ออก)

3. T-score ระหว่าง -1.0 ถึง -2.5 ของกระดูก femoral neck และ spine

4. เป็นการตัดสินใจของแพทย์ และผู้ที่ต้องการรักษา ซึ่งภายในระยะเวลา 10 ปี มีโอกาสกระดุกแตกหัก
(สำหรับข้อ 1 และ 2 เป็นคนที่มีกระดูกเป็น osteoporosis ส่วนของ 3 และ 4 เป็นพวก osteopenia

เมื่อมีการตัดสินใจว่า จะต้องรักษากันแล้ว...
ยาที่ถูกนำมาใช้ ปรากฏว่ามีมากมาย ให้ท่านได้มีโอกาสเลือกใช้ตามความต้องการ และความเหมาะสม
เช่น

 Bisphosphonates ซึ่งประกอบด้วย alendronate, risedronate และ ibandronate

 Selective estrogen receptor modulators(SERMs) ซึ่งประกอบด้วย raloxifene,

 Estrogen

 Calcitonin

 Teriparatide

จากการศึกษา พบว่าประโยชน์ที่ได้จากยาเหล่านี้ มีความแตกต่างกันน้อยมาก
ฉนั้นการที่ท่านจะใช้ยาตัวใด จึงขึ้นกับสภาพของตัวทานเป็นสำคัญ ตลอดรวมถึง
ตัวแพทย์ ผู้ให้คำแนะนำว่า ตัวใหนจึงจะเหมาะสม...

www.en.wikipedia.org/wiki/osteopenia

Digestive Disorders Facts and Fallacies

เราทุกคนอยู่ท่ามกลางของโรคหลายชนิด ที่อาจมีผลกระทบต่อสขภาพของเราเมื่อใดก็ได้
จากการศึกษาและการวิจัย ทำให้เราเข้าใจในธรรมชาติของโรคต่าง ๆ ดีขึ้น
ทำให้ความจริง และความเข้าใจผิดหลายอย่างปรากฏออกมา
ทำให้เราได้มีโอกาส เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับโรคนั้น ๆ เพิ่มขึ้น

ความผิดปกติในระบบการย่อยอาหาร เป็นปัญหาหนึ่ง ที่พบได้บ่อย
ซึ่ง ประชาชนทุกคน ไมว่าจะอยู่ที่ใหนในโลกนี้ มีโอกาสได้พบกับปัญหามีปัญหาดังกล่าวได้
บางปัญหา อาจทำให้ทุเลาลงได้ด้วยการกินยารักษา
และ บางรายอาจมีความรุนแรง ยาที่มี ก็ไม่สามารถทำอะไรกับคามผิดปกตินั้น ๆ ได้
ซึ่งต้องลงเอยด้วยการผ่าตัดในที่สุด

มีผู้คนจำนวนหนึ่ง เข้าใจผิดในอาการที่เกี่ยวกับระบบของการย่อยอาหาร
ซึ่งอาจนำไปสู่การวินิจฉัยผิด รวมไปถึงการรักษาตัวเอง
แล้วลงเอยด้วยการเกิดอันตรายต่อตัวเองขึ้น

ตามความเป็นจริง หากเราเข้าใจในธรรมชาติของโรคดีขึ้น
โรคที่เกิดย่อมจะได้รับการรักษาที่เหมาะสมได้

มีความเข้าใจหลายอย่าง มีทั้ง "ความเป็นจริง" และ "ความเข้าใจผิด" ของผู้คนทั่วไป
ผู้เขียนเห็นว่า อาจมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย
จึงนำเสนอให้พิจารณาดูว่า ท่านเห็นด้วหรือไม่?

Ulcers are caused by spicy foods . It is also triggered
due to stress.

ความคิดเห็นที่ปรากฏ เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง

แผลของกระเพาะอาหารเกิดจากการอักเสบ (infection)ซึ่งเป็นผลมาจากเชื้อแบกที่เรี่ยม
ชนิดหนึ่งชื่อ Helicobacter pylori

นอกจากนั้น แผลในกระเพาะอาหาร ยังเกิดจากการกิน ยา NSAIDs เช่น ibuprofen,
aspirin,และ naproxen
โรคชนิดนี้ สามารถรักษาให้หายได้ แต่จำเป็นต้องใชเวลา

ส่วนอาหารรสจัด และความเครียดสามารถช่วยทำให้แผลในกระเพาะอาหาร
เลวลงได้เท่านั้น โดยตัวของมันเอง ไม่ใช่สาเหตุหลัก ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร

Bowel Regularly refers to bowel movement everyday

ความคิดเห็นนี้ก็ไม่ถูกต้อง

เพราะคนเราสามารถถ่ายอุจจาระวันละ 3 ครั้ง หรือ หรือ 3 ครั้งต่อหนึ่งอาทิตย์
ก็ถือว่าอยู่ในสภาพปกติได้

Enema ca be habitually for treating constipation
and is harmless.
เป็นความเห้นที่ไม่ถูกต้อง ...

ถ้าท่านสวนอุจจาระเป็นประจำ มันอาจก่อให้เกิดอันตรายกับตัวท่านได้
เพราะการสวนอุจจาระบ่อย ๆ จะทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อ
ของลำไส้บกพร่องไป ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือไม่ทำงานเลย
เมื่อนั้นแหละ...ท่านจะต้องสวนอุจจาระไปตลอดชีวิต
ให้พยายามหลีกเลี่ยง หาวิธีอื่นแทน...เช่นติ่มน้ำให้มาก รับประทานผัก ผลไม้
หัดถ่ายเป็นเวลา รวมไปถึงการนวดลำไส้ใหญ่ (colon massage)

Psychological problems are the primary cause of
Inflammatory bowel disease
ไม่ถูกอีกเช่นกัน เพราะไม่มีหลักฐานยืนยันว่า ความผิดปกติทางด้านจิตใจเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคได้

ลำไส้อักเสบ (inflammatory bowel disease) เป็นชื่อของโรคสองชนิดร่วมกัน
ซึ่งได้แก่โรค ulcerative colitis และ Crohn’s disease
โดยเรายังไม่สามารถทราบถึงสาเหตุของการเกิดโรคทั้งสองนี้เลย
แต่นักวิจัยหลายนาย ต่างเชื่อว่า มีเชื้อแบกทีเรียม หรือเชื้อไวรัสบางตัว ทำปฏิกิริยาใน
ระบบภูมิต้านทานของคนเรา เป็นเหตุให้เกิดโรคดังกล่าวขึ้น

Irritable Bowel Syndrome or IBS is a digestive disease.

Irritable bowel syndrome เป็นโรคชนิดหนึ่ง
แม้ว่าเราจะถือว่าเป็น มันเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำงานผิดปกติของลำไส้ก็ตาม
โรคดังกล่าวมีลักษณะเฉพาะ คือ มีอาการปวดท้อง รู้สึกมีลมในช่องท้อง ท้องผูก หรือ ท้องล่วง
แม้ว่ามันจะก่อให้เกิดมีอาการปวดท้องก็ตาม แต่มันไม่ทำให้เกิดความเสียหาย(damage)
ต่อกระเพาะและลำไส้แต่อย่างใด และไม่ก่อให้เกิดปัญาหาอย่างอื่น

www.disordersdigestive.com/digestive-disorders-fallacies/

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Digestive disorders: Leaky Gut Syndrome

มองเข้าไปในลำไส้ของเรา ผิวภายในของมันจะทำหน้าที่คล้ายผนังกั้น
เหมือนรั้วบ้าน ป้องกันไม่ให้คนหรือสัตว์ล่วงล้ำเข้าสู่เขตบ้านได้

ชั้นในของผนังลำไส้ จะจะอนุญาตให้สารบางอย่างผ่านไปได้เท่านั้น
เช่น ไขมัน (lipids) แป้ง (starch) และโปรตีน (protein)
สารเหล่านี้เป็นสารอาหารของร่างกาย สามารถผ่านเข้าสู่กระแสโลหิต
เพื่อไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของกายต่อไป

ส่วนพวก Sodium potassium magnesium และ chloride
เข้าสู่กระกระแสโลหิต ด้วยการซึมผ่าน (diffuse) เซลล์ของลำไส้
เป็นการเคลื่อนที่ของสารโมเลกุล หรืออิออน โดยอาศัยพลัลงงานจลน์ในตัวเอง
ซึ่งมีทิสทางการเคลื่อนที่ของสารจากบริเวณที่มีความเข็มข้นสูง สู่บริเวณที่มีความเจ็มข้นต่ำกว่า
จนกระทั้งมีควรมเข้มข้นเท่ากัน

ส่วนพวก amino acids, glucose fatty acids, vitamins และ minerals
ผ่านเซลล์ด้วยกลไกที่เรียกว่า Active transport
เป็นการลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ โดยการคใช้พลังงานจากเซลล์นั่นเอง

นอกจากนี้ สารเหล่านี้ยังสามารถผ่านเซลล์ต่าง ๆ ได้โดยช่องว่างระหว่างเซลล์
ซึ่งปกติมันจะปิด (sealed) เป็นช่องทางที่ผ่านได้ยากมาก

เมื่อเยื่อบุผิวของลำไส้ถูกระคายเคือง ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น ผลที่ตามมา
คือการทำให้ช่องระหว่างเซลล์ เปิดกว้างขึ้น
เป็นเหตุให้สารบางอย่าง รวมทั้งเชื้อโรค ผ่านเซลล์เข้าสู่กกระแสโลหิตได้ง่ายขึ้น
และสารที่ไม่พึงประสงค์ดังกล่าว ถือเป็นสิ่งแปลกปลอมต่อระบบภูมิคุ้มกันของเรา
นั้นคือ ต้นเหตุที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาของภูมิต้านทาน (antibody reaction)
ที่มีต่อโรคทั้งหลาย ที่มีต่อระบบการย่อยอาหารของคนเรา

ในขณะที่เซลล์บุผิวของลำไส้มีแนวโน้มที่จะถูทำลายเพิ่มขึ้น
ช่องว่างระหว่างเซลล์มีแนวโน้มที่มีความกว้างเพิ่มขึ้น
เป็นเหตุให้เชื้อแบกทีเรียม สามารถผ่านเข้าสู่กระแสโลหิตได้...ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นในที่สุด
นอกจากนั้น ระบบภูมิต้าทานก็มีการเตือนภัย ด้วยการปล่อยสารบางชนิดเรียก cytokines
ออกมาสู่กระแสโลหิต

Cytokine เป็น polypeptide ซึ่งสร้างจากเซลล์ภายในกาย มีบทบาทในภูมิคุ้มกันทั้ง
Specific & non-specific immunity:

Specific immunity cytokine จะสร้างจาก T - lymphocyte
ส่วน Non-specific จะสร้างจาก mononuclear phagocyte
ซึ่งมันจะทำหน้าที่จัดการกับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
และจากการต่อสู้กันขึ้นนั้น จะมีสาร Oxidants เกิดขึ้น
ซึ่งสารตัวนี้จะก่อให้เกิดการอักเสบ และมีการระคายเคืองเกิดขึ้นภายในรางกายของคนเราได้

อาการของ Leaky Gut Syndrome มีดังนี้

 Abdominal pain

 Asthma

 Gas

 Indigestion

 Mood swings

 Poor immunity

 Skin rashes

 Diarrhea and recurrent bladder infection

 Constipation

 Bloating

 Aggressive behavior

 Fatigue

 Toxic feeling

 Aggressiveness

นอกเหนือไปจากนี้แล้ว กลุ่มอาการ Leaky gut syndrome ยังมีส่วนร่วมกับกลุ่มของโรคอีกหลายอย่าง
เช่น

 Celiac disease

 Crohn’s disease

 Autoimmune disease

 Environmental illness

 Hives

 Acnes

 Allergies

 Inflammatory joint disease

 Intestinal infections

 Pancreatic Insufficiency

 Giardia

 Ulcerative colitis

 Chronic fatigue syndrome

 Food allergies

 Liver dysfunction

 Irritable bowel syndrome

Causes สาเหตุของ Leaky gut syndrome สามารถเกิดจากปัจจัย
หลายอย่างต่อไปนี้

 Chronic stress

 Overgrowth of small intestine

 Intestinal infection

 Drinking exessvie alcohol

 Improper diet

 Environmental contamination

 Medications such as NSAIDs

Diagnosis:

โรค Leaky gut syndrome สามารถวินจฉัยได้โดยการตรวจที่เรียกว่า
Lactulose และ mannitol tests.
ซึ่งสารทั้งสองต่างเป็น molecules ที่ละลายในน้ำ
และร่างกายไม่สามารถใช้เป็นประโยชน์ได้

Mannitol มีขนาดของโมเลกูลเล็กหน่อย สามารดูดซึมผ่านเข้าสู่กระแสโลหิตได้หมด
ในคนที่เยื้อบุผิวอยุ่ภาพปกติสมบูรณ์เท่านั้น
ส่วน Lactulose เนื่องจากมีโมเลกุลใหญ่หน่อย การดูดซึมจึงไม่สมบูรณ์ร้อยเปอรเซนต์

ในการตรวจ กระทำได้โดยการกินน้ำที่สารทั้งสองเข้าไป หลังจากนั้นให้เอาปัสสาวะมาตรวจหา
ระดับของการ mannitol และ lactulose ใน ปัสสาวะ

ถ้าผลปรากฏว่า ทีสาร monnitol มากกว่า lactulose แสดงให้ทราบว่าลำไส้อยู่ในภาพปกติ
แต่ถ้าปรากฏว่า ทั้งสองมีระดับสูงมาก แสดงว่าคนไข้รายนั้น เป็นโรค leaky gut syndrome
แต่หากระดับของทั้งสองต่ำกว่าปกติมาก ๆ แสดงว่า คนไข้รายนั้นเป็นโรค Mal-absorption of
nutrients

www.disordersdigestive.com/leaky-gut-syndrome-a -typical-form-of-digestive-disorder/

Digestive Disorder: Gatroesophageal Reflux Disease

GERD หรือโรคกรดไหลย้อนกลับ จะเรียกตามฝรั่งก็ได้ว่า เป็น reflux disease
เป็นความผิดปกติของระบบการย่อยอาหารของคน โดยที่อาหาร หรือน้ำย่อยในกระเพาะไหลย้อนกลับ
อาหารที่เรารับประทานเข้าไปจะเกิดจากปาก เข้าสู่กระเพาะ โดยผ่านทางท่ออาหาร
ลงสู่กระเพาะอาหาร

ซึ่งเราจะได้รับคนสูงอายุบอกลูกหลานว่า หลังกินข้าว อย่าได้นอนเป็นอันขาด
ซึ่งสมัยก่อน เราเข้าใจว่า เป็นนิสัยไม่ดี เป็นคนขี้เกียจสันหลังยาว
ที่ใหนได้...คนสมัยก่อนรู้ว่า จะทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนกลับ (GERD) นี้เอง

เมื่อใดก็ตามที่อาหารมันเดินสวนทางกลับ จากกระเพาะสู่ปาก
จะก่อใหเกิดระคายเคืองต่อท่ออาหารดังกล่าวขึ้น
ทำให้เกิดอาการแสบบริเวณยอดอก ซึ่งเป็นตำแหน่งของท่ออาหารนั่นเอง
โรคนี้ยังมีหลายชื่อด้วยกัน เช่น Peptic esohagitis,GERD และ Reflux esophagitis

โรคกรดไหลย้อนกลับ เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้บ่อย ซึ่งมักจะถูกกระตุ้นด้วยอาหาร
ในบางคน โรคดังกล่าว มีส่วนสัมพันธ์กับความผิดปกติของวาว (valve) ที่่อยู่ส่วนล่างของท่ออาหาร
ซึ่งในคนปกติ จะทำหน้าที่เป็นประตูปิดเปิดระหว่างท่ออาหาร(esophagus)กับกระเพาะ (stomach)
เมื่อประตูปิดเปิดนี้ (วาว) ทำงานผิดปกติไป เช่น ไม่ปิด “วาว” ตามเวลาที่ควรจะปิด
จะพูดว่า "วาว" มันเสียไปซะแล้วก็คงได้

อาหาร และน้ำย่อยในกระเพาะก็จะไหลย้อนกลับสู่ท่ออาหารอีกครั้ง
ก่อให้เกิดอาการปวด และแสบหน้าอกขึ้น
นั่นคือ สิ่งที่เกิดขึ้นในโรคกรดไหลย้อนกลับ (GERD
หรือ Gastroesophageal reflux disease)

เป็นที่รู้กันว่า มีปัจจัยอยู่หลายอย่าง เป็นเหตุให้เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคกรดไหลย้อนกลับได้
เช่น โรค scleroderma ตั้งท้อง (pregnancy)
และการมีโรคไส้เลือนของกระบังลม (hiaus hernia)

อาการของโรค กรดไหลย้อนกลับ (GERD) ทีพบเสมอ ๆ :

1. Heart burn. มีอาการปวดแสบ ที่บริเวณทีบริเวณยอดอก (pain and burning )
ตำแหน่งต่ำกว่ากระดูกอกไก่ (breastbone) อาการจะมากขึ้นเมื่ออยู่ในท่าก้มตัว หรือท่านอนราบ
อาการจะเลวลงในตอนกลางคืน
เมื่อได้รับยาลดกรด อาการจะลดลงทันที

2. เวลากินข้าว จะมีอาหารย้อนกลับ (regurgitation)

3. Benching รุ้สึกเหมือนมีลมอยู่ในท้อง แน่นท้อง

4. คลื่นไส้

5. อาเจียน

6. เสียงแหบแห้ง เสียงเปลี่ยนไป

7. เจ็บคอ

8. ไอ และ จาม

การวินิจฉัย (Diagnosis)

1. Stool quaiac found positive

2. ตรวจสอบระดับ pH ของของกรดที่ไหลย้อนกลับสู่ท่ออาหาร

3. การส่องกล้องดูความผิดปกติภายในท่ออาหาร จะพบร่องรอยของการอักเสบ หรือรอยแผลให้เห็น

4. การตรวจสอบความผิดปกติของวาว (valve) ที่อยู่ส่วนล่างของท่ออาหาร

5. การกลืนแป้ง Barium สามารถดูการไหลย้อนกลับของกรด

6. Bernstein tests

Treatment:
การรักษาทั่วไป เช่น

1. การลดนำหนักตัว (เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับคนมีน้ำหนักเกิน)

2. หลีกเลี่ยงการนอนราบหลังรับประทานอาหาร

3. เวลาหลับนอน ควรให้ศีรษะสูง

4. ดื่มน้ำจำนวนมาก ๆ หลังกินยา

5. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีมันสูง งดเว้น กาแฟ ชอคโคแลท เปบเปอรมินท์
เพราะอาหารพวกนี้จะทำให้ความดัน ที่บริเวณส่วนล่างของท่ออาหารลดลง
เป็นเหตุให้อาหารหรือกรดในกระเพาะไหลย้อนกลับได้ง่าย

6. งดเว้นการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล

Medications:

ยาที่นำมาใช้ในการรักษาโรคกรดย้อนกลับ เช่น

1. ยาลดกรด (antacids) กินหลังอาหาร และก่อนนอน

2. Promotility agents

3. Histaine H2 receptor blockers

4. Proton pump inhibitors

โรคเกี่ยวกับการย่อยอาหาร ส่วนใหญ่เป็นภาวะแห่งการแทรกซ้อน
ในกรณีที่คนไข้ไม่ได้รับผลของการรักษาได้ดีเท่าที่ควร
อาจเป็นเพราะเราไม่ทาบสาเหตุที่แท้จริงของโรคก็อาจเป็นได้

อย่างไรก็ตาม มียาใหม่ๆ ถูกผลิตออกมา รวมถึงวิทยาการได้พัฒนาขึ้น
ทำให้เราได้ทราบสาเหตุ ตลอดรวมถึงการมียาที่จำเป็นต่อการรักษาโรคดังกล่าว
คนไข้บางคน สามารถรักษาได้ผลดีด้วยการให้ยาลดกรด
ส่วนอีกคนกลับใช้ยาประเภทเดียวกันไม่ได้ผลเลย

โดยสรุป เราสามารถวินิจฉัยภาวะ “การย่อยอาหาร” ที่ผิดปกติได้ ด้วยการตรวจร่างกาย
และการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ได้ แต่ก็เป็นการยากที่จะตรวจพบสาเหตุที่แท้จริงได้
ซึ่งในกรณีดังกล่าว แพทย์จะสั่งยาทั่วๆ ไป
สำหรับรักษาอาการที่เกิดจากความผิดปกติในระบบการย่อยอาหารให้แก่คนไข้ไป

www.disordersdigestive.com/

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Hypothalamus-pituitary-Adrenal Axis

ได้มีโอกาสรับฟังคำสอนของท่านพระอาจารย์ชื่อดังท่านหนึ่ง... ให้นั่งปฏิบัติธรรมกรรมฐาน
ฝึกดูกาย-จิต ตามที่มันเป็น โดยไม่ต้องไปบังคับให้มันเป็นตามที่เราต้องการอยากให้มันเป็น
ดูเฉย ๆ...
หนุ่มน้อยคนหนึ่งถามว่า ”...เราจะเห็นอะไร ... หรือได้อะไรหรือครับ ?”
พระอาจารย์ท่านกล่าวว่า “..ทำทุกวัน ทำให้สม่ำเสมอ วันหนึ่งสิ่งดี ๆ จะบังเกิด “

สิ่งดี ๆ ที่กล่าวถึง คืออะไร พระอาจารย์ท่านไม่บอก
พระอาจารย์เพียงบอก ให้ไปฝึกหาเอาเอง พบ...แล้วให้บอกอาจารย์ ?

ในทางโลกของเรา ที่กำลังต่อสู้กับโรคในขณะนี้ มีอะไรหลายอย่างที่เราไม่รู้...
ว่า ธรรมชาติของโรคหลายอย่าง แพทย์ไม่สามารถบอกได้ว่า มันเป็นอย่างไร ?
จึงเป็นเหตุให้การพยาบาลรักษาที่แพทย์มอบแก่คนไข้
จึงไม่ค่อยจะได้ผลเท่าที่ควรจะเป็น

แต่แพทย์เขาก็พยายามต่อไป โดยไม่มีการย่อท้อ เพราะหัวใจในการทำอะไรให้สำเร็จคือ
คือการเข้าใจในธรรมชาติของปัญหานั้น ๆ ให้ได้
นั่นคือหลักการที่เรา-ท่าน ทั้งหลายต่างทราบกันดี

ในเมื่อเราต้องอยู่ในท่ามกลางของโรคภัยไข้เจ็บ ไม่รู้ว่าโรคอะไรจะเกิดขึ้นกับตัวเราเมื่อใด
การเรียนรู้เกี่ยวกับตัวของเราเอง เป็นทางหนึ่งของการอยู่อย่างไม่ประมาท
ผู้เขียนจึงเสนอให้ปฏิบัติธรรมอีกแบบหนึ่ง ด้วยการมองดูส่วนหนึ่งของกาย ดูมันเฉย ๆ ดูว่า มันทำอะไร?
สักวันหนึ่ง อาจมีประโยชน์ต่อการเข้าใจโรคบางโรคได้ ซึ่งนั่นหมายความว่า
เราสามารถควบคุมโรคด้วยตัวของเราเองได้

ประเด็นที่ว่านั้น คือ เรื่องราวเกี่ยวกับ The Hypothalamus – Pituitary- Adrenal Axis
มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับทำงานอวัยวะที่สำคัญของกายโดยตรง
เป็นการทำงานของสมองส่วนที่เป็น Hypothalamus ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์การปฏิบัติงาน
ของระบบต่อมไร้ทอ (endrocrine)ทั้งหลาย

โดยการรวบรวมสัญญาณ (ข้อมูล)ต่าง ๆ ที่ได้จากสมองส่วนบน- cerebral cortex,
จากะบบประสาทอัตโนมัติ(atuonomic function) และจากสภาพแวดล้อมรอบตัว (environmental cues)
เช่น แสง (light) อุณหภูมิ (temperature) และข้อเสนอแนะจากต่อไร้ท่อ (endrocrine feedback)

จากนั้น hypothalamus จะส่งสัญญาณเฉพาะไปยังต่อมใต้สมอง- pituitary gland
ให้ปล่อยสารที่เป็นฮอร์โมนออกมาจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการทำงาน
ของระบบไร้ท่อเกือบทั้งหมดที่ เช่น thyroid gland , adrenal gland , gonad
และเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต ผลิตน้ำนม รวมถึงการสร้างความสมดุล
ของระดับน้ำที่มีอยู่ในร่างกายของมนุษย์

Hypothalamus ยังมีบทบาทสำคัญนอกเหนือไปจากต่อมไร้ท่อด้วย เช่น
การควบคุมระดับอุณหภูมิของร่างกาย ควบคุมการทำงานระบบประสาทอัตโนมัติ และ
ควบคุมความรู้สึกเกี่ยวกับ “ความอยากกินอาหาร”

เพื่อให้ง่ายแก่การจำ สมองส่วน hypothalamus จะอยู่ในตำแหน่งที่เป็นชุมทางระหว่าง
Cortex, cerebellum และ brainstem
กายภาพของเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยง Hypothalus-pituitary-adrenal ปรากฏว่า
มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบดังกล่าว โดยกล่าวว่า ฮอร์โมนที่ผลิตจากสมอง hypothalamus
นั้น เป็น small peptide จะออกฤทธิ์ได้ก็ต่อเมื่อมันไปอยู่ในเส้นเลือดเข้าสู่ต่อมใต้สมองเท่านั้น
ถ้าบังเอิญไปอยู่ในที่อื่น มันจะไมทำงาน....

นั่นคือเรื่องราว อย่างสั้น ๆ ของ Hypothalamus-pituitary-adrenal-axis
ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหลายอย่าง
เมื่อมีโอกาสจะได้นำเสนอ เป็นเรื่อง ๆ ไป


www. update.com/contents/hypothalamic-pituitary-axis

วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554

How to Diagonose Fibromyalgia & Treatment?

How to Diagnose Fibromyalgia :

ในปี 1990 ACR หรือ American College o Rheumatology
ได้สร้างหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรค fibromalgia:

1. คนไข้จะมีอาการเจ็บปวดกระจายทั่วไปอย่างน้อย เป็นเวลานานอย่างน้อย 3 เดือน

2. มีจุดกดเจ็บ อย่างน้อย 11 จุด จากทั้งหมด 18 จุด

แพทย์หลายคนไม่แน่ใจว่า จะต้องกดแรงขนาดใดในการตรวจหาจุดกดเจ็บ
เป็นโรคที่เกิดแล้ว จะเป็น ๆ หาย ๆ
ต่อมาได้การสร้างเงื่อนไขในการวินิจฉัยขึ้นใหม่ ดังนี้

1. อาการเจ็บปวด กระจายไปทั่วร่างกายอย่างน้อย 3 เดือน

2. ไม่มีโรคใด ๆ ซ่อนตัวในร่างกาย ทำให้เกิดอาการ

Blood Tests:
โรค fibomylagia เป็นโรคที่ไม่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อการวินิจฉัย
แต่แพทย์อาจจำเป็นต้องทำการตรวจ เพื่อพิจารณาตรวจสอบดูว่า มีโรคอะไรซ่อนตัวในร่างกาย
ซึ่งอาจเป็นตัวเหตุ ทำให้เกิดอาการตาง ๆ ที่เหมือนกับโรค fibromyalgia บ้าง
การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่

1. Complete blood bount

2. Erythrocyte sedimentation rate

3. Thyroid function test

Treatment and drugs:

ในการรักษาคนไข้ที่เป็นโรค fibromyalgia นั้น โดยทั่วไปประกอบไปด้วยการรักษาด้วยยา
และการรักษาตัวเอง ซึ่ง เป็นการรักษาที่มุ่งตรงไปที่
การลดอาการของโรคลง และ ทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น

ยาที่นำมาใช้รักษา (medications)
ยาที่แพทย์เรานำมาใช้ สามารถลดความเจ็บปวด และช่วยทำให้คนไข้นอนหลับได้ดีขึ้น
ยาที่นำมาใช้ได้แก่:

1. Analgesics. ยาที่ใช้ได้แก่ยาที่เรารู้จักกันดี เช่น Acetaminophen (Tylenol หรือตัวอื่น ๆ)
อาจช่วยลดความเจ็บปวดลงได้บ้าง แพทย์บางทานอาจใช้ nonsteroidal antiinflammatroy drugs
(NSAIDS) เช่น ibuprofen หรือ naproxen sodium
ซึ่งอาจใช้ร่วมกับยาตัวอื่น ๆ

2. Antidepressants. Duloxetine (Cymbalta) และ milnacipran (Savella) อาจช่วย
ลดอาการเจ็บปวด และอาการเหนื่อยเพลียได้
แพทย์อาจใช้ยา Amitryptylline หรือ Fluoxetine (Prozac) เพื่อช่วยให้คนไข้นอนหลับดีขึ้น

3. Antiseizure drugs.ยาที่แพทยใช้รักษาโรคชัก (epilepsy) ถูกนำมาใช้ในการลดอาการเจ้บ
ปวดบางชนิดได้ เช่น Gabapentin (Neurontin) สามารถลดอาการของโรค fibromyalgia ได้
ซึ่งองค์องค์การอาหารและยา- FDA ได้รับรองในการนำเอา gabapentin ไปใช้ในการรักษาคนไข้ดังกล่าวได้

นอกเหนือจากยารักษาด้งกล่าว การดูแลตนเองก็มีบทบาทำคัญต่อการรักษโรค fibromyalgia ได้เช่นกัน
สิ่งทานต้องกระทำ ก็วนเวียนอยู่ในวิถีชีวิตของคนเรา เช่น

1. Reduce stress. ถ้าเป็นกาย ก็อย่าทำงานหักโหมนัก ทำให้พอเหมาะพอดี สำหรับอารมณ์ก็หาโอกาส
ลดความเครียดลง เอาตั้งแต่หัดปฏิเสธโดยไม่เสียความรู้สึก
หาทางลดความเครียดด้วยวิธีการง่าย ๆ เช่น หัดหายใจลึก ๆ (Deep-breathing Exercise) หรือ
ฝึกสมาธิ...ของไทยเรา ที่เป็นชาวพุทธ ก็ใช้วิธี "ปฏิบัติธรรม กรรมฐาน" ตามที่พระเคยบสอนเอาไว้ ก็สามารถ
ความเครียดได้เป็นอย่างดี

2. Get enough sleep. อาการเมื่อยล้า เป็นอาการสำคัญของคนเป็นโรค fibromyalgia
ดังนั้น การนอนหลับให้เพียงพอจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งสามารถกระทำได้ โดยฝึกตนเองให้นอนเป็นเวลา
ตื่นเปนเวลาทุกวัน...

3. Eercise regularly. การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีแน่ ในระยะแรก ๆ อาจทำให้ท่านมีอาการเจ็บปวดได้
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความเจ็บปวดจะหายไปเอง
ซึ่งท่านสามารถเลือกได้ตามชอบใจ เช่น เดิน ถีบจักรยาน ว่ายน้ำ หรือเล่นกอลฟ์ ได้ทั้งนั้น

4. Pace yourself. ให้ดำเนินชีวิตตามปกติ ให้ทำงานไม่หนักไป ไม่น้อยไป ทำให้พอดี

5. Maintain a healthy lifestyle. ซึ่งท่านสามรรถกระทำได้ ด้วยการกินอาหารสุขภาพ
เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชต่าง ๆ หลีกเลี่ยงที่ไม่มีประโยชน์ เช่น ไขมัน กาแฟ และ แอลกอฮอล
ทำอะไบางอย่าง...ซึ่งเป็นการทำให้ชีวิตของท่าน มีชีวา

นอกเหนือจากที่กล่าวมา ท่านอาจได้รับประโยชน์จาก alternative medicine
ได้ เช่น การฝังเข็ม (Acupuncture) การนวด (Massage therapy) และการเล่นโยคะ และไตชิ
(Yoga และ Tai chai) ซึ่งวิธีการเหล่านี้ สามารถลดอาการต่าง ๆ ของโรคลงได้


www.mayoclinic.com/health/fibromyalgia/DS0079?DSECTION

FIBROMYALGIA vs CHRONIC FATIGUE SYNDROME

นับเป็นเรื่องธรรมดา ที่เราไม่สามารถแยกคู่แฝดว่า คนไหนเป็นใคร
โดยเฉพาะ สำหรับคนที่ไม่เคยรู้จักแฝดคู่นั้นมาก่อน
ในการแยกโรคบางอย่างก็เป็นเช่นเดียวกัน มันไม่ใช่โรคเดียวกันซะด้วย
แต่ก็เป็นการยาก ที่จะแยกโรคออกจากกันได้ เช่น
โรค Fibromaylagia (FM) และ Chronic fatigue syndrome (CFS)
ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

มีนักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญมากหน้า พยายามหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
หลายท่านกล่าวว่า ทั้งสอง (FM และ CFS) เป็นโรคที่แยกจากกันอย่างชัดเจน
บางท่านกล่าวว่า ทั้งสองโรคมีอะไรหลายอย่างเหมือนกัน เหมือนคู่แฝด
และคนอื่นมีความเห็นว่า มันเป็นโรคเดียวกัน
แต่มันแสดงแง่มุมที่แตกต่างกันเท่านั้นเอง

จะถือว่าเป็นการทำเรื่องให้ซับซ้อนมากขึ้นก็คงไม่ผิด
เมื่อปรากฏว่า มีคนจำนวนไม่น้อยที่เป็นโรค FM มีภาวะของ CFS เกิดร่วม
และในทำนองเดียงกัน คนที่บอกว่าเป็นโรค CFS ก็มีอาการของโรค FM เกิดร่วมด้วยเช่นกัน
คนดื่มเหล้าแล้วเมา เป็นเรื่องปกติ
พมาอ่านเรื่องนี้เข้า...ก็ทำให้คนอ่านเมาได้เช่นกัน
ลองพิจารณาต่อไป...เพราะมันเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่คนเราจะต้องเรียนรู้ให้ได้

ในปี 2002 Charles W Lapp ผู้เชี่ยวในเรื่อง CFS/FM กล่าวว่า
คนไข้ที่เป็น CFS มีอาการแสดงที่มีเงื่อนไข (criteria)ว่าเป็นโรค FM ถึง 50 %
และคนที่เป็น FM มีเงื่อนไข (criteria)บ่งบอกว่าเป็น CFS ถึง 70 %

Central Sensitivity Syndromes:

คุณหมอ Mohammus Yannus นักวิจัยชั้นนำในเรื่อง Fibromyalgia (FM)
มีความเชื่อว่า มีกลุ่มของโรคจำนวนมากมาย ซึ่งมีอาการหลายอย่างเหมือนกัน
(overlapping features) เขาเรียกว่าภาวะการณNดังกล่าววา
“Central sensitivity syndrome”

สิ่งที่โรคทั้งหลายต่างมีเหมือนกัน คือ การตอบสนองของระบบประสาทสมองส่วนกลาง
ซึ่งทำให้โรคหลายโรคที่มีอาการหลายอย่างคล้าย ๆ กัน
เช่น:

o FM

o CFS

o Irritable bowel syndrome

o Restless Leg syndrome

o Myofascial syndrome

Similarities of FM & CFS:
ความเหมือนของโรค Fibromyalgia และ chronic fatigue syndrome)

ทั้ง FM และ CFS มีอาการที่เหมือนกัน เช่น ปวดตามข้อต่าง ๆ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
นอกจากนั้น ยังมีอาการอย่าอื่นอีก เช่น

• การไหลเวียนของกระแสเลือดไปยังสมอง cerebral cortex และ midbrain ลดลง

• มีการยับยั้งการทำงานของ Hypothalamic-pituitary axis

• มีการนอนหลับผิดปกติในระดับที่ 4

• ระดับของ growth hormone ลดลง

• ระดับของ serotonin ลดลง

• มีหลักฐานชี้บ่งให้ทราบว่า มีพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

Fibromyalgia and Chronic fatigue syndrome differences:
(ความแตกต่างของโรค FM & CFS)

ความแตกต่างระหว่าง FM และ CFS ซึงสามารถบอกให้เราทราบว่า อาการนั้นืๆ เป็นอาการของโรคใด
นั้นคือ คนที่เป็นโรค Fibromyalgia จะมีอาการเจ็บปวด (pain)เป็นอาการสำคัญ
ส่วนคนที่เป็นโรค CFS จะมีอาการเมื่อยล้า (fatigue) เป็นอาการหลักของคนไข้
ความแตกต่างอ่ย่างอื่น ซึ่งเราสามารถพบได้ เช่น:

-Substance P ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitters) จะพบเห็นในคนไข้ที่เป็น FM
-RNasel เป็นสาร antiviral enzyme ในกระแสเลือด จะมีปริมาณสูงขึ้นในคนที่เป็นโรค CFS
_คนที่เป็นโรค CFS มักจะถูกระตุ้นโดยโรคหวัด หรือการอักเสบ
ส่วนคนที่เป็น FM จะถูกกระตุ้นโดยอุบัติเหตุ บาดเจ็บ หรือการผ่าตัด และอื่น ๆ

How is a diagnosis determined :

เนื่องจากโรคทั้งสองมีอาการคล้าย ๆ กันเป็นอย่างมาก เหมือนคู่แฝด แต่ไม่ใช่แฝด
ดังนั้น การวินิจฉัยโรคจึงขึ้นกับแพทย์ผู้ทำการรักษาท่านเป็นหลัก

ยกตัวอย่าง ถ้าแพทย์คนที่ท่านได้รับการดูแลรักษา เป็นผู้เชี่ยวชาญทางโรคข้ออักเสบ (Rheumatologist)
คำวินิจฉัยที่ได้รับ...น่าจะเป็น โรค Fibromyalgia

แต่หากแพทย์ท่านนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการอักเสบ (infectious specialists)
คำวินิจฉัยที่น่าจะเป็น... คือ chronic fatigue syndrome

ถ้าแพทย์ผู้นั้นเป็นแพทย์ทั่วไป การวินิจฉัยจะขึ้นกับประสบการณ์ของแพทย์ท่านนั้นเอง
ผู้เขียนได้อ่านเรื่องนี้เข้า ทำให้รู้สึกว่า หากจิตไม่นิ่งพอ รับรองได้ว่า...ต้องเลิกอ่านอย่างแน่นอน
แต่หากเรานำมาเป็นตัว "อารมณ์" ให้จิตเป็นผู้ดู
สามารถทำให้จิตของเรานิ่งได้ ไม่แพ้การดูลมหายใจเลย (การปฏิบัติธรรม)

Conitinue (2)

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Fatigue:

Fatigue หมายถึงอาการอ่อนล้า หรืออาการอิดโรยของกายและใจ
มนุษย์เราทุกคนต่างมีโอกาสทำงานหนักด้วยกันทุกคน
และภายใต้สภาวะดังกล่าว มักจะเกิดขึ้นในช่วงระยะสั้น ๆ เท่านั้น
ซึ่งเป็นเรื่องที่เราสามารถแก้ไขได้

สำหรับอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังนี้ซิ ย่อมทำให้เกิดการเสื่อมถอยทั้งกาย และใจ
ซึ่ง จะมีผลกระทบต่ออารมณ์ และจิตใจด้วยเสมอ

อาการเหนื่อยล้า ไม่เหมือนกับอาการง่วงนอน ถึงแม้ว่าอยากจะนอนก็ตามที
เป็นอาการที่ขาดแรงกระตุ้น ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไรทั้งสิ้น

ในบางราย อาการเหนื่อยล้า เป็นอาการของปัญหาทางสุขภาพ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษา
ส่วนใหญ่ เมื่อตรวจสอบย้อนหลังพบว่า อาจมีต้นเหตุจากอุปนิสัย หรือจากงานประจำ
ซึ่งบางทีท่านสามารถบอกได้ว่า อะไรก็คือต้นเหตุที่ทำให้ท่านเกิดมีอาการเช่นนั้น
ท่านเพียงแต่ทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง
ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการเมื่อยล้าของท่าน อาการก็จะหายไปเอง


Causes:

โดยทั่วไป อาการเมื่อยหล้า อาจเนื่องมาจากปัจจัยสามกลุ่ม ซึ่งได้แก่ การดำเนินชีวิต (Lifestyle)
อารมณ์ (Psychological problems) และ ปัจจัยด้านสุขภาพ (Medical problems)

ปัจจัยทางวิถีการดำเนินชีวิต (Lifestyle factors)

 ดื่มแอลกอฮอล (Alcohol use or abuse)

 ดื่มกาแฟ (caffeine)

 ออกแรงมากเกินไป (Excessive physical activity)

 ไม่ค่อยออกแรง (Inactive)

 อดหลับอดนอน (Lack of sleep)

 ยา (medications) เช่น ยาแก้แพ้ อาแก้ไอ ยารักษาโรคหัวใจ ยาแก้ปวด
ยาลดความดัน และยารักษาโรคจิตประสาทบางตัว

 กินอาหารไม่ได้สุขภาพ (unhealthy eating habits)

ปัญหาด้านจิตใจ (Psychological problems):

 ความกังวล (Anxiety)

 ซึมเศร้า (Depression)

 เศร้าโศกเสียใจ (Grief)

 เครียด (stress)

ปัญหาด้านสุขภาพ (Medical conditions):

การที่คนเรามีอาการเหนื่อยเพลียอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นอาการแสดงของโรคอะไรบางอย่าง
ซึ่งซ่อนตัวอยู่ภายในร่างกายได้ เช่น

 โรคตับล้มเหลว (Liver failure)

 โรคโลหิตจาง (Anemia)

 โรคมะเร็ง (Cancer)

 กลุ่มอาการ Chronic fatigue syndrome

 โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney failure)

 โรคอุดตันทาวระบบหายใจ (COPD)

 โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)

 โรคหัวใจ (Heart diseases)

 โรคต่อมไทรอยด์ (Hyperthyroidism & Hypothyroidism)

 โรคอ้วน (Obesity)

 Pregnancy

 หลังการผ่าตัดใหญ่

 โรคขาไม่อยู่สุข (Restless leg syndrome)

 โรค เบาหวาน

 ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep apnea)

การปฏิบัติตน (Home care)
ท่านสามารถช่วยเหลือตนเองได้ด้วยการ

 นอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง

 รับประทานอาหารสุขภาพ (healthy diet)

 ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ

 เรียนรู้เรื่องการผ่อนคลาย เช่น โยคะ หรือการปฏิบัติธรรม ฝึกสมาธิ

 รักษาสภาพการทำงานให้เกิดความสมดุล ไม่ออกแรงมากเกินไป

 เปลี่ยนงานที่กดดัน เช่นหยุดพักผ่อน หรือเปลี่ยนงาน

 รับประทานไวตามิน

 งดเว้น หรือหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮล กาแฟ และใช้ยา (เสบติด)

ถ้าหากท่านตกอยู่ภายใต้ความเจ็บปวดเรื้อรัง หรือซึมเศร้า ท่านจำเป็นต้องได้รับการรักษา
แต่ให้ทราบด้วยว่า ยารักษา เช่น anti-depressants บางตัวอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการเมื่อยล้า
หรือทำให้อาการทีมีอยู่แล้วเลวลงกว่าเดิมได้

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการปรับขนาดของยาให้เหมาะกับตัวท่านเอง
อย่าหยุดหรือเปลี่ยนยา โดยไม่ได้บอกแพทย์เป็นอันขาด

สารกระตุ้นทั้งหลาย รวมถึงกาแฟ ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการรักษาอาการเมื่อล้าของท่าน
เพราะมันอาจทำให้อาการเลวลงเมื่อท่านหยุดมัน
ยานอนหลับจะทำให้อาการเลวลงในระยะยาว

เราควรพบแพทย์เมื่อใด ?
ท่านควรพบแพทย์ทันทีเมื่อท่านมีอาการต่อไปนี้

 เมื่อท่านเกิดมีอาการสับสน หรือวิงเวียน

 สายตามพร่ามัว

 ปัสสาวะออกน้อย หรือไม่มีเลย หรือมีอาการบวม หรือน้ำหนักเพิ่มขึ้น
ท่านอาจปรึกษาแพทย์เมื่อท่านมีอาการต่อไปนี้ (ไม่รีบด่วน)

 เมื่อท่านไม่สามารถอธิบายถึงอาการเมื่อยล้าที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิดร่วมกับน้ำหนักตัวลด

 เมื่อท่านมีอาการท้องผูก ผิวหนังแง น้ำหนักเพิ่ม และไม่สามารถทนต่อความเย็นได้

 เมื่อท่านหลับ ๆ ตื่น ๆ ตลอดคืน

 เมื่อท่านมีอาการปวดศีรษะ

 เมื่อท่านกินยาจากแพทย์ หรือซื้อกินเอง แล้วเกิดมีอาการเมื่อยล้า

 เมื่อท่านมีอาการซึมเศร้าหรือเสียใจ

 เมื่อท่านนอนไม่หลับ (insomnia)

www.nlm.gov/medlineplus/ency/article/003088.htm
www.mayoclinic.com/health/fatigue/MYoo120?DSECTION

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Chronic Fatigue Syndrome(2): Diagnosis & Treatments

เท่าที่ได้รับทราบ เราไม่มีการตรวจเฉพาะสำหรับภาวะ CFS นี้เลย
และเนื่องจากอาการของ CFS มีลักษณะเหมือนกับโรคทางกายหลายอย่าง
ดังนั้น การวินิจฉัยภาวะ CFS จึงจำเป็นต้องอดทนรอ...
ซึ่งแพทย์ผู้รับผิดชอบ จะทำการวินิจฉัย ด้วยวิธีการพิจารณาความเป็นไปได้ทีละโรค
ซึ่งมีความเป็นไปได้น้อยออกไป จนกระทั้งเหลือโรคสุดท้าย

โรค หรือสภาวะบางอย่าง ซึ่งอาจมีอาการคล้ายกับ CFS ได้แก่:

o Sleep disorders.
การมีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับ สามารถทำให้เกิดอาการของ CFS ได้
ผลจากการศึกษาเรื่องการนอนไม่หลับ (sleep) จะถูกกระทบด้วยภาวะ
ต่าง ๆ เช่น obstructive sleep abnea,
restless leg syndrome และ insomnia

o Medical problems.
เหนื่อยหล้า หรือเหนื่อยเพลีย มักเป็นอาการของโรคหลายอย่าง เช่น โลหิตจาง
เบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ เป็นต้น
การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ สามารถแยกโรคดังกล่าวออกได้

o Mental health problems
อาการเมื่อยหล้า ยังเป็นอาการแสดงของคนไข้ที่เป็นโรคจิตประสาท
หลายอย่าง เช่น ผลจากการซึมเศร้า (depression) เครียด (anxiety)
พวกบ้าประสาทหลอน (schizophrenia)
และโรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder) ซึ่งมีลักษณะสองแบบสลับกัน
คือ มีอาการซึมเศร้า สลับกับพลุ่งพล่า

Diagnostic criteria:

หากท่านจะทำการวินิจฉัยคนไข้รายใดว่า เป็น CFS ท่านจะต้องพบเงื่อนไข
ของการเป็น CFS ให้ได้เสียก่อน
นั้นคือ ท่านจะต้องพบอาการเหนื่อยหล้า(ไม่ทราบเหตุ) เป็นมานานกว่า 6 เดือน
ร่วมกับอาการอย่างอื่นต่อไปนี้

 เหนื่อยหล้า (fatigue)
 เสียความทรงจำ หรือไม่มีสมาธิ (loss of memory ro concentration)
 เจ็บคอ (Sore throat)
 ต่อมน้ำเหลืองโต ในบริเวณคอ และ บริเวณใต้รักแร้( Enlareged Lymph nodes)
 ปวดกล้ามเนื้อโดยไม่ทราบสาเหตุ(unexplained muscle pain)
 มีอาการปวดข้อ ซึ่งเคลื่อนไปมาตามข้อต่าง ๆ
 ปวดศีรษะแบบใหม่ ทั้งรูปแบบ และความรุนแรง
 ไม่มีความสดชื้นหลังการพักผ่อน
 หลังกิจกรรมทางกาย และจิต มีอาการหมดแรงนานเกิน 24 ชั่วโมง

Treatments:

ในการรักษาโรคใดก็ตาม การทราบต้นเหตุของโรค ย่อมทำให้แพทย์สามารถรักษาให้หายขาดได้
สำหรับกรณีที่ไม่ทราบเหตุเลย การรักษาส่วนใหญ่จะมุ่งตรงไปที่การรักษาอาการเป็นหลัก
ในคนไข้ที่เป็น CFS ก็เช่นกัน การรักษาจะมุ่งตรงไปที่ลดอาการของคนไข้ ดังนี้

ดูเหมือนจะป็นเรื่องแปลกอยู่สักหน่อย ที่จะกล่าวว่า การรักษาที่ได้ผลดีที่สุด
คือการหลีกเลี่ยงจากภาวะเครียด และพักผ่อนให้มากที่สุดที่จะมากได้
เพราะหากคนไข้ไม่สามารถลดภาวะเครียดได้เมื่อใด จะทำให้ผลการรักษาแย่ลงไป

อย่างที่กล่าว เนื่องจากเราไม่สามารถทราบสาเหตุของโรคได้
ดังนั้น การรักษาจึงมีแนวโน้มที่จะมุ่งตรงไปที่อาการเป็นสำคัญ

Medications.

คนไข้พวกนี้ มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคนไข้ทั่วไป คือ มีความไวต่อยาได้สูงมาก
ดังนั้น ขนาดยาที่ให้ควรให้ขนาดน้อย ๆ เช่น ให้ 1/4 หรือ น้อยกว่าขนาดตามปกติ

ในคนไข้บางราย การรักษาด้วยยาอาจได้ผลได้ระยะหนึ่ง
แต่ต่อมาภายหลัง ยาอาจไม่ได้ผลเลยก็ได้

ยาที่นำมาใช้ในการรักษา ได้แก่

-Selective serotonin re-uptake inhibitors(SSRIs) ยาที่ใช้ได้แก่
Zoloft, Paxil และ Prozac เป็นยาที่ใช้รักษาอาการเหนื่อยเพลีย (fatigue)
ความซึมเศร้า (depression)

-Tricyclic anti-depressants(TCAs) เช่น amitryptyline ใช้รักาษา
อาการนอนไม่หลับ ปวดกล้ามเนื้อ และปวดตามข้อ

-Non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) เช่น ibuprofen
ใช้รักษาอาการปวดศีราษะ ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ

-Nutritional supplements เช่น vitamin B โดยเฉพาะ B12

-Herbs และ acupuncture

Therapy.

 Graded exercise
นักกายภาพบำบัด อาจช่วยให้ท่านเลือกชนิดของการออกกำลังกายให้แก่ท่านได้
สำหรับรายที่ไม่เคยออกกำลังกายเลย อาจเริ่มต้นด้วยบริหารร่างกาย
ด้วยการยืด และหดข้อ (stretching)
เป็นเวลาหลายนาที แล้วค่อย ๆ เพิ่มเวลาในการออกกำลังกา
ต่อจากนั้น ค่อยเพิมการออกแรงขึ้น เช่นการเดิน รวมไปถึงกานออกแรงเพิ่มแรงต้าน
จากการออกกำลังกายด้วยวิธีการดังกล่าว
จะทำให้กำลังวังชา และความทนทานของท่านดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

 Psychological counseling
การพูดคุยกับนักจิตแพทย์ผู้ทำการรักษา เขาสามารถให้คำแนะนำ ให้ท่านเลือกวิธีการปฏิบัติตน
ภายใต้สภาพของโรค CFS ได้ดีขึ้น


www.cdc.gov/cfs/general/index.html
www. mayoclinic.com/health/chronic-fatigue-syndrome/DS0039/DSECTION=treatment-and-drug

Chronic Fatigue Syndrome (CFS)(1)

Chronic fatigue syndrome หมายถึงกลุ่มอาการเหนื่อยหล้าอย่างเรื้อรัง
ซึ่งจะทำให้คนที่มีอาการดังกล่าว เกิดมีอาการอ่อนแรง กระเสาะกระแสะ
ไม่กระฉับกระเฉงเท่าที่ควรจะเป็น
แม้ว่าจะได้รับการพักผ่อนด้วยการนอนหลับแล้ว อาการไม่หาย
ยิ่งมีกิจกรรมทางกาย และจิตเมื่อใด ยิ่งทำให้อาการเลวลง
ผลงานของคนที่ตกอยู่ในสภาพ CFS จะต่ำกว่าระดับปกติที่เคยมีมาก่อนหน้านั้น

General Information:

อย่างที่ได้กล่าวมา CFS เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกาย และจิต ซึ่งมีเอกลักษณที่มีลักษณะเฉพาะ
คือ เป็นอาการเมื่อยหล้า แม้ว่าจะได้นอนหลับพักผ่อนแล้ว อาการก็ยังไม่หาย
บางครั้งภายใต้กิจกรรรมของกายกาย และจิตตามปกติ จะทำให้อาการที่มีเลวลงได้
แน่นอน ผลงานของคนตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ จะแย่กว่าเดิม

นอกจากอาการดังกล่าว คนไข้อาจบอกว่า มีอาการอย่างอื่น ๆ ด้วย เช่น รู้สึกอ่อนแรง
ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ นอนไม่หลับ ความจำเสื่อม และหลังการออกกำลังกายตามปกติ
แม้เวลาได้ผ่านพ้นไปนานเป็นวัน (24 ชั่วโมง) ยังไม่หายเหนื่อยเลย
มีคนไข้บางราย มีอาการนานเป็นปีก็ยังมี

สาเหตุของกลุ่มอาการดังกล่าว ไม่เป็นที่ทราบชัดว่าเกิดจากอะไร
ไม่มีการตรวจเฉพาะ สำหรับวินิจฉัยกลุ่มอาการดังกล่าวได้
ที่สำคัญ มีโรคมากมาย ที่ทำให้ให้คนไข้มีอาการเมื่อยหล้าเหมือนกับที่กล่าวมา
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องทำการตรวจแยกโรค ที่ทราบต้นเหตุออกไปให้ได้
ก่อนที่จะทำการวินิจฉัยว่า คนไข้เป็น CFS หรือไม่


SYMPSTOMS:

Chronic fatigue syndrome มีอาการแปดอย่าง รวมกับอาการที่เกิดจากสวนกลาง
รวมกันเป็นกลุ่มอาการดังกล่าว:

 เหนื่อยหล้า (fatigue)

 เสียความทรงจำ หรือไม่มีสมาธิ (loss of memory ro concentration)
 เจ็บคอ (Sore throat)

 ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณคอ และ บริเวณใต้รักแร้( Enlareged Lymph nodes)

 ปวดกล้ามเนื้อโดยไม่ทราบสาเหตุ(unexplained muscle pain)

 มีอาการปวดข้อ ซึ่งเคลื่อนไปมาตามข้อต่าง ๆ

 ปวดศีรษะแบบใหม่ ทั้งรูปแบบ และความรุนแรง

 ไม่มีความสดชื้นหลังการพักผ่อน

 หลังกิจกรรมทางกาย และจิต มีอาการหมดแรงนานเกิน 24 ชั่วโมง

CAUSES:

ในปัจจุบันนี้ เราไม่ทราบว่า อะไรคือสาเหตุทีแท้จริงที่ทำให้เกิดมีอาการ CFS
มันอาจเป็นผลรวมของปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งเกิดขึ้นกับคน ที่พร้อมจะเกิดภาวะดังกล่าวก็ได้
มีปัจจัยหลายอย่าง ทีได้รับการศึกษา ว่า อาจมีส่วเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค ดังนี้:

 Viral infections
มีคนไข้บางราย ภายหลังเกิดมีการติดเชื้อไวรัสขึ้นแล้ว ปรากฏว่าเดมีกลุ่มอาการเหมือนกับ
ภาวะ CFS จึงทำให้เกิดความสงสัยขึ้นว่า ไวรัสบางชนิด อาจมีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการ
ดังกล่าวได้ เช่น Epstein-Barr, Human herpesvirus 6 และ mouse
Leukemia viruss
อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นเพียงความสงสัยเท่านั้น ขณะนี้เรายังไม่สามารถหาบทสรุปได้

 Immune system problems:
ในคนที่ตกอยู่ในภาวะ CFS พบว่า ระบบภูมิต้านทานเสื่อมสภาพลงเล็กน้อย
แต่ก็อีกนั่นแหละว่า ความบกพร่องเพียงเล็กน้อยนั้น จะเป็นเหตุทกให้เกิดอาการ
หรือไม่ ยังไม่ใครตอบได้

 Hormonal Imbalances.
มีการตรวจพบว่า คนเป็น CFS นั้น ระดับฮอร์ฝดมนหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไป
เช่น ฮอร์โมนที่ได้จาก hypothalamus, pituitary glands และ
Adrenal glands.
แต่ความเปลี่ยนแปลงในระดับฮอร์โมนดังกล่าว ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า มีส่วนสัมพันธ์
กับการทำให้เกิด CFS


Continue (2)

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

OSTEOPOROSIS: Boniva vs. Fosamax vs. Actonel

เจอเพื่อนสูงวัย ตั้งประเด็นขึ้นมาว่า...
ยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุน...ตัวไหนดีที่สุด ?
เมื่อถามมา ก็ตอบไปเท่าที่สามารถตอบได้

ในปัจจุบันนี้ มียาอยู่หลายชนิด ที่ให้คนที่เป็นโรคกระดูกพรุนเลือกใช้ตามความเหมาะสม
ยาที่แพทย์เรานำมาใช้รักษาโรคกระดุกพรุน (osteoporosis)ในขณะนี้
มีสามตัวให้เราเลือก มีสามตัว นั่นคือ Boniva, Fosamax และ Actonel
ยาทั้งสามตัวออกฤทธิ์เหมือนกัน แต่มีความแตกเพียงแล็กน้อย...
นั่นคือ ลดการสลายตัวของกระดูก คงสภาพของหนาแน่นของมวลกระดูก ทำให้กระดูกแข็งแรง

เราลองมาศึกษาดูซิว่า ยาตัวใดเหมาะสำหรับตัวของท่าน

ยาตัวแรกที่ผลิตออกสู่ตลาด ที่เรารู้กันในชื่อว่า Fosamax
อีกประมาณสอง สามปีให้หลัง ก็มียาอีกตัวผลิตออกมา นั้นคือ Actonel
แล้วตามด้วย Boniva เป็นตัวที่สาม

ทั้ง Fosamax และ Actonel เป็นยาเม็ดใช้รับประทานอาทิตย์ละครั้ง
ส่วน Boniva ถูกผลิตออกมา 2 อย่าง เป็นเม็ดสำหรับรับประทาน 1 เดือนครั้ง
หรือให้ทางเส้นเลือดดำ ทุกสามเดือน
สำหรับท่าน มีปัญหา เช่ไม่สามารถอยู่ในท่านนั่ง หรือยืนตรงได้ หรือ...ขี้เกียจจำ
ยา Boniva น่าจะเหมาะสำหรับท่าน

ในการรับประทานยาพวกนี้ (bisphosphonate)
สิ่งที่ท่านจะต้องทำ คือ คุณจะต้องอยู่ในท่ายืนสักระยะหนึ่ง โดยเฉพาะยา Fosamax
และ Actonel ท่านต้องอยู่ในท่ายืนนาน 30 นาที
ส่วน Boniva ต้องนานถึง 1 ชั่วโมง
ถ้าคุณไม่สามารถยืนได้นานถึงขนาดนั้นได้
ให้เลือกใช้ Fosamax และ Octonel.

ยาทั้งสามที่กล่าวมา ต่างได้รับการยอบรับจากองค์การอาหารและยา-FDA เป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า
ให้ใช้รักษาในสตรีหลังหมดประจำเดือน ซึ่งมีโรคกระดูกพรุน
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้

Actonel ได้รับการยอมรับว่า มันลดการแตกหักของกระดูกสันหลัง และไม่ใช้กระดูกสันหลัง
(สะโพก ขอมือ เชิงกราน และกระขา และต้นแขน)

Fosamax เหมาะสำหรับป้องกันกระดูกสันหลัง และกระดูกสะโพก

ส่วน Boniva ได้รับการยอมรับว่า เหมาะสำหรับกระดูกสันหลัง

เนื่องจากยังไม่มีการทดลองทำการเปรียบเทียบการใช้ยาทั้งสามตัวในคนไข้
จึงเป็นการยากที่จะบอกว่า ยาตัวไหนดีที่สุด
ที่สำคัญ ทั้งสามตัวต่างได้รับการพิสูจน์ว่า เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคกระดูกพรุน
ดังนั้น ท่านควรปรึกษาผลดีผลเสียร่วมกับแพทย์ผู้ทำการรักษา
ก่อนตัดสินใจว่า จะเลือกใช้ตัวไหนดี ?

นั่น คือคำตอบสำหรับคำถามของท่าน...

www.edrugsearch.com/edsblog/boniva-vs-fosamax-vsactonel-which-is-better

OSTEOPOROSIS: Treatments and drugs

Medications

ในการรักษาโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) ด้วยยา
เท่าที่ปรากฏ มีจำนวนยาอยู่หลายตัวทีเราสามารถนำมาใช้ ทำให้มวลกระดูกไม่ให้สูญเสียไป
ที่ควรรู้ได้แก่:

 Bisphosphonate. เป็นสารที่คล้ายฮอร์โมน estrogen
สารตัวนี้ออกฤทธิ์ยับยั้งไม่ให้กระดูดมีการสลายตัว แถมยังช่วยเพิ่มความหนาแน่น
ของเนื้อกระดูกที่บริเวณกระดูกสันหลัง และบริวณสะโพก เป็นการลดการแตกหักของกระดูกลง
ตัวอย่างของยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ alendronate (Fosamax),
Riseedronate (Actonel), ibandronate (Bonivqa)
และ zoledronic acid (Reclast)

เป็นสารที่อาจมีประโยชน์ต่อ หญิง - ชาย หรือคนไข้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนจากการได้รับยารักษา
หรือใช้ "ป้องกัน" กระดูกพรุนจากการใช้สาร steroids ในระยะยาว
เช่น คนไข้เป็นโรคหืด หรือโรคไขข้ออักเสบ (RA)

ผลเสีย (side effects) จากการใช้ยา อาจมีความรุนแรงได้
เช่น คลื่นไส้ ปวดท้อง และ อาจเพิ่มอันตรายจากการอักเสบของหลอดอาหาร
ทำให้กลืนอาหารลำบาก

สำหรับที่ใช้อาทิตย์ละครั้ง หรือเดือนละครั้ง อาจมีปัญหาทางด้านกระเพาะได้น้อยมาก
ในกรณีที่ไม่สามารถรับประทานได้ เขาแนะนำให้เปลียนเป็นฉีดแทน

นอกเหนือจากนั้น bisphosphonate ยังทำให้กระดูกกรามเกิดเน่าตาย(osteonecrosis)
การเต้นของหัวใจผิดปกติ สายตาผิดปกติ
ดังนั้น ก่อนให้ยาในกลุ่มดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์ถึงผลดี และผลเสียของการใช้ยาดังกล่าวด้วย

 Raloxifene (Evista). ยาชนิดนี้ จัดอยู่ในกลุ่มของยาที่เรียกว่า
Selective estrogen Receptor modulators (SERMS)
Raloxefene จะทำหน้าที่เลียนแบบผลที่ได้จากสาร estrogen ที่มีต่อความหนาแน่นของตัวกระดูกเอง
โดยเฉพาะคนที่หมดประจำเดือน โดยที่ไม่มีผลเสียจากสารดังกล่าว
เช่น ไม่เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง หรือมะเร็งของเต้านม

ผลเสีย (side effect) ของ Raloxefene คือการทำให้มีอาdารร้อนวูบวาบ (hot flashes)
และไม่ควรใช้ในรายที่มีประวัติว่า มีเลือดจับตัวเป็นก้อน
ยาตัวนี้ ไม่ควรใช้ในชาย แม้ว่าจากการศึกษา (จำนวนน้อย)

 Calcitonin. เป็นสารที่สร้างจากต่อมไทรอยด์ มีฤทธิ์ลดการสลายตัวของมวลกระดูก
และ ช่วยชะลอไม่ให้มีการสูญเสียกระดูกไป มันอาจป้องกันไม่ให้มีกระดูกสันหลังแตกหักได้
และอาจช่วยลดความเจ็บปวดจากกระดูกสันหลังยุบลงได้

เป็นยาที่ถูกใช้ด้วยการพ่นเข้าทางจมูก ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการละคายเคืองแก่ผู้ใช้ได้
นอกจากนั้น ยังมียาที่ใช้ฉีดอีกด้วย

เนื่องจาก calcitonin มีประสิทธิภาพไม่เทียบเท่า bisphosphonate
ดังนั้นเราจtสงวนยาตัวนี้เอาไว้ ใช้ในยามที่เราไม่สามารถใช้ยาตัวอื่นได้

 Terepartide (Forteo). เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูง ถูกนำไปใช้แทนสาร
พาราไทรอยด์ ฮอร์โมน ใช้รักษากระดูกพรุนในสตรีหลังหมดประจำเดือน
และ ใช้ในชายที่มีความเสี่ยงต่อกระดูกสะโพกแตกหัก
เป็นสารที่ใช้กระตุ้นให้มีการสร้างเนื้อกระดูกขึ้นใหม่ ส่วนสารตัวอื่นใช้
เพื่อป้องกันไม่ให้มีการสูญเสียมวลกระดูก

Teriparatide (Forteo) ใช้ฉีดใต้ผิวหนังวันละครั้ง โดยฉีดที่หน้าท้อง
และบริเวณสะโพก

Hormone therapy:

จากประวัติ สารที่เรียกกว่า Estrogen จะถูกใช้ทันทีหลังจากคนไข้หมดประจำเดือน
เป็นยาที่สามารถคงสภาพมวลกระดูกเอาไว้ ไม่ให้มันถูกสลายไป
แต่ผลเสียของ estrogen จะเป็นการเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดการจับตัวของเม็ดเลือด(blood clot)
มะเร็งของมดลูก (endotherial cancer) มะเร็งเต้านม (breat cancer)
และอาจทำให้เดโรคของหัวใจได้

และเนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้ยาดังกล่าว
แพทย์จึงไม่นิยมใช้ หันไปใช้ยาอื่นแทน

Pysical therapy:

นอกเหนือจากยาต่าง ๆ ที่กล่าวมา การออกกำลังกาย อาจช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น
ช่วยทำให้รูปทรงของเราดีขึ้น สามารถสร้างดุลให้เกิดขึ้นในระบบกล้ามเนื้อ
และอัตราเสี่่ยงต่อการเกิดการหกล้มลง

www.mayoclinic.com/health/osteoporosis/DS00128?DSECTION=treatments-and-drugs

Calcium Supplement: Which calcium supplement are the best?

กระดูกของมนุษย์เรา มีสารแคลเซียมประมาณ 99.5 % ของแคลเซียมที่มีในร่างกาย
สารแคลเซียม ที่อยู่ในกระดูกจะมีบทบาทสำคัญต่อร่างกายส่วนอื่น ๆ
ในกระดูกจะมีเซลล์ชนิดหนึ่ง เรียก osteoclasts ทำหน้าที่สลายสารแคลเซียม
และปล่อยธาตุแคลเซียมสู่กระแสเลือดต่อไป

แคลเซียมมีบทบาทสำคัญ ทำให้หัวใจ ประสาท กล้ามเนื้อ อวัยวะอย่างอื่นๆ ให้ทำงานได้ตามปกติ
และเป็นที่รู้โดยทั่วกันคือ เป็นสารที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้กระดูกพรุนนั้นเอง

ความต้องการของมนุษย์เรา มีความต้องการสารแคลเซียมในจำนวนที่ต่างกัน ทั้งนี้มันขึ้นกับ
อายุ เพศ และสภาพหลังหมดประจำเดือน

จากสถิติของสหรัฐฯ กล่าวว่า สตรีในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่จะขาดธาติแคลเซียมกันทั้งนั้น
ดังนั้น เขาจึงแนะนำให้รับประทานอาหารเสริมที่มีสารแคลเซียมทุกวัน
เพื่อเป็นการเสริมสารที่ขาดไป

มีสารแคลเซียมที่วางขายในร้านขายยา เช่น citracal ซึ่งสามารถช่วยทำให้กระดูก
อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้

คนเราสามารถได้รับสารแคลเซียมทางการกิน (อาหาร)
ซึ่งมีอาหารหลายอย่าง ที่มีแคลเซียม
ถึงกระนั้นก็ตาม คนเรายังต้องได้รับแคลเซียมเสริม โดยเฉพาะเด็กที่กำลังเจริญเติบ
หรือคนสูงอายุ ซึ่งกระดูกเร่ิมจะสูญเสียความแข็งแรงไป

ในสตรีหลังประจำเดือน ในคนที่ดื่มกาแฟเป็นจำนวนมาก ชอบดื่มน้ำโซดา กินยา steroids
ซึ่งคนเหล่านี้ จำต้องได้รับอาหารเสริมอาหารที่มีสารแคลเซียมด้วย

มีสารแคลเซียมให้เลือกใช้อยู่หลายชนิด เพื่อทำให้กระดูกของท่านแข็งแรงขึ้น
ปัญหา ท่านจะเลือกสารตัวไหนดี ?

คำแนะนะนำ:

เพื่อให้กระดูกของเราแข็งแรง และสามารถขจัดโรคกระดูกพรุนออกไปจากร่างกายของท่าน
โดยเฉพาะเมื่อเรามีอายุมากขึ้น จำต้องรับประทานสารแคลเซียมในปริมาณที่มากพอ
นั่นหมายความว่า:

ถ้าท่านอายุน้อยกว่า 50 ให้รับประทานแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
หากท่านมีอายุมากกว่านั้น ให้รับประทานวันละ 1,200 มิลลิกรัม

ท่านสามารถหาสารแคลเซียมได้จากอาหาร เช่นผักสีเขียวทั้งหลาย ดื่มนมที่มีไขมันต่ำ
นอกเหนือไปจากนี้ ท่านอาจจำเป็นต้องทราบอะไรบางอย่าง เกี่ยวกับสารแคลเซียม
เพื่อให้แน่ใจว่า ร่างกายท่านได้รับสารดังกล่าวตามที่ท่านต้องการ

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสารแคลเซียมจากอาหารเสริม:

o ท่านต้องตรวจให้แน่ว่า ปริมาณของสารแคลเซียมที่มีในสารอาหารเสริม จะต้องเพียงพอ
ซึ่งร่างกายของท่านสามารถดูดซับจากกระเพราะลำไส้

o ให้รับประทานขนาดน้อย ๆ ต่อวันเอาไว้ เพราะร่างกายของท่านสามารถดูดซับได้
ครั้งละ 500 มิลลิกรัม

o ท่านจำเป็นต้องได้รับไวตามิน D ด้วย เพื่อร่างกายของท่านสามารถใช้แคลเซียมได้
อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมันช่วยให้มีการดูดซึมสารแคลเซียมได้ดีขึ้น(up to 65 %)
ดังนั้น ท่านจะต้องหาสารอาหารที่มีทั้งแคลเซียม ไวตามินดี จะเป็นการดี

ก่อนที่ท่านจะใช้สารแคลเซียม เพื่อเสริมกระดูกให้แข็งแรง ท่านต้องตรวจให้แน่ใจว่า เป็นตัวไหน
ที่ท่านต้องการ ซึ่งมีสามตัวที่ใช้กันบ่อยที่สุด
ส่วนอีกสองตัวไม่ควรไช้ เพราะปริมาณของแคลเซียมมีนต่ำเกินไป เช่น
Calcium gluconate และ calcium lactate

สำหรับ แคลเซียมจากประกางรัง และ และจากเปลือกหอย ก็ควรหลีกเลิ่ยงเสีย
เพราะมันอาจมีสารตะกั่วได้

o Calcium citrate 20 % calcium:

ข้อดี : ถูกดูดซึมได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องอาศัยน้ำย่อยจากระเพาะอาหารช่วยในการดูดซึม
จะรับประทานเวลาไหนของวันก็ได้

ข้อเสีย : ราคาแพง ปริมาณที่มีในเม็ดมีสารแคลเซียมน้อย จำเป็นต้องรับหลายเม็ดต่อวัน
สำหรับคนไข้ที่เป็นโรค acid reflux ไม่สามารถทนต่อการใช้ยาตัวนี้ได้

o Calcium carbonate 40 % calcium:
มีขายมากที่สุดในท้องตลาด

ข้อดี : ราคาถูกที่สุด มีปริมาณแคลเซียมมากที่สุด
ข้อเสีย : จะต้องรับประทานหลังอาหาร หรือน้ำสัม (acidic) พื่อช่วยในการดูดซึม
อาจทำให้มีลมในหระเพาะลำไส้ หรือท้องผูก

o Calcium phosphate 39 % calcium:

ข้อดี : เพราะไม่ทำให้เกิดลมในท้อง หรือเกิดท้องผูก แถมยังถูกดูดซึมได้ง่าย
ข้อเสีย : ราคาแพงกว่าพวก carbonate

สำหรับ calcium Gluconate และ Calcium Lactate เนื่องจากในแต่ละเม็ดมี
ปริมาณของสารแคลเซียมน้อยมาก ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับคนไข้
เพราะต้องรับประทานละครั้งละหลายเม็ดจึงจะได้ในปริมาณที่พอเพียงต่อความต้องการ

สำหรับ coral calcium เคยมีการโฆษณาว่า สามารถรักษาโรคได้ร้อยแปด
ต้องระวัง อย่าตกเป็นเหยื่อโดยเด็ดขาด

จากรายงานมีว่า Dr. Robert Barefoot เคยกล่าวว่า ชาวญี่ปุ่นที่มีอายุยืนนั้น
เป็นเพราะดื่มน้ำที่มีสารที่ได้จากปะการัง (coral reef substances)
นั่นเป็นเรื่องหลอกลวงทั้งสิ้น เพราะไม่เคยปรากฏว่ามีสารแคลเซียมใดรักษาโรคได้ร้อยแปด

นายหมอตีนเปล่าคนนี้ ได้พยายามโฆษณาขายสินค้าของเขาเท่านั้นเอง
และคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ถูกลงโทษจำคุกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

คำแนะนำ: ในการรับประทานสารแคลเซียม เราไม่ควรรับประทานมากเกิน 1,200 มิลลิกรัม ต่อวัน
เพราะการรับประทานมากกว่า 2,500 มิลลิกรัม จะมีอันตรายต่อไต (สามารถทำให้เกิดนิ่วในไตได้)
และลดการดูดซึมเกลือแร่อย่างอื่น เช่น ธาตุเหล็ก สังกะสี และแมกนีเซียม

นอกจากนั้น ท่านไม่ควรรับประทานสารแคลเซียมร่วมกับสาร หรือยาอื่น ๆ
เช่นสาร Bisphosphonate(Fosamax และ Boniva) และยาปฏิชีวนะบางชนิด
เพราะสารแคลเซียม สามารถสกัดกั้นไม่ให้มีการดูดซึม สารดังกล่าวได้
ดังนั้น ก่อนใช้ต้องระวังด้วย


www.arthritistoday.org/nutrition-and-weight-loss/healthy-eating/goog-food/calcium-supplements-php
www.healthcastle.com/coralcalcium-scamshtm/
www.healthcastle.com/caliumpill.shtmI

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

HIV Management (1): โรค "เอชไอวี"...ป้องกันได้จริงหรือ ?

ยารักษาโรคเอดส์ เอชไอวี ป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ ได้หรือไม่?
นั่นคือคำถามของหนุ่มน้อย-ใหญ่ทั้งหลาย ที่ชอบถามกัน

ยาที่นำไปใช้ในการรักษาโรค HIV infection
บางทีเราเรียกว่า antiretroviral drugs เรียกให้สั้นลงไปอีกได้ว่า เป็นยา "ART"
ถูกใช้รักษาคนไข้ที่เกิดการอักเสบจากเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV infection)
สามารถทำให้ระดับของไวรัส ในกระแสเลือดลดลงถึงระดับที่เราไม่สามารถตรวจพบเชื้อได้
(undetectable levels)

จากผลของการรักษาโรคดังกล่าว อาจลดโอกาสไม่ให้คนที่เป็นโรค แพร่เชื้อเอชวีไปสู่คนอื่นได้
อย่างไรก็ตาม ท่านก็อย่าได้ชะล่าใจ เพราะเชื่อไวรัสยังมีอยู่ในตัคนที่เป็นโรค
มันยังสามารถแพร่เชื่อไปสู่คนอื่นได้

ลองพิจารณาดูคำถาม-คำตอบ ต่อไปนี้ดู:

 What does ART do? How do we know when it working?
ยาที่ถูกนำมาใช้ในการต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี (ART) มันทำงานอย่างไร?
เรารู้ได้อย่างไรว่ายาที่ใช้...ได้ผล ?

ART (ยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี)= Antiretroviral Therapy
เป็นที่รู้กันว่า เป็นยาที่แพทย์เรานำมาใช้ในการรักษาคนไข้ที่เิดการอักเสบจากเชื้อเอชไอวี ( HIV infection)
มันสามารถป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเพิ่มปริมาณ ด้วยการป้องกันไม่ให้เชื้อ "กอปปี้" ตัวของมันเอง
เป้นผให้ปริมาณของเชื้อไวรัส (viral load) ลดปริมาณลง

ยาที่นำมาใช้ในการรักษาคนไข้โรคเอชไอวี ส่วนใหญ่จะใช้จำนวน 3 ตัว หรือ มากกว่า
เมื่อได้รับการรักษาด้วยยาดังกล่าว คนไข้ต้องได้รับการตรวจเลือดซ้ำทุก 2 - 3 เดือน
เพื่อตรวจดูปริมาณของเชื้อไวรัส ที่มีอยู่ในกระแสเลือด(viral load)
ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกให้ทราบว่า การรักษาด้วยยาบรรลุเป้าหมาย (effectiveness)

 What does it mean when the viral load is undetectable?
เมื่อเจอนักวิชาการ ที่ทำการรักษาโรคเอชไอวีเข้า เขาชอบพูดทับศัพท์เสมอ ๆ ว่า
ในการรักษาด้วยยาน้ั้น ต้องทำให้ได้ viral load ลดลงสู่ระดับ undetectable ...
หากเราอยู่นอกวงการของเขา คงต้องสงสัยว่า undetectable viral load นั้น
มันหมายถึงอะไรกันแน่ ?

การตรวจเลือดแล้วไม่สามารถตรวจพบเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ ไม่ได้หมายความว่าในเลือดไม่มีเชื้อไวรัส
มันเป็นแต่เพียงว่า เชื้อไวรัสในน้ำเลือด (plasma) มีปริมาณน้อยมาก จนไม่สามารถตรวจพบ
อีกประการ เราเจาะเลือดมาตรวจเพียงจำนวนน้อยเท่านั้น
จึงเป็นต้นเหตุให้เราไม่สามารถตรวจพบได้

ในช่วงระหว่างของการตรวจตามปกติ เชื้ออาจมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นได้
การตรวจดูเชื้อไวรัสนั้น เป็นแต่เพียงตรวจเชื้อที่อยู่ในน้ำเลือด (plasma) เท่านั้น
แต่ตามเป็นจริง เชื้ออาจตรวจพบในตัวเม็ดเลือด หรือในเนื้อเยื้อส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
ตลอดรวมถึงน้ำของอวัยวะเพศของทั้งชายและหญิง
(semen vaginal secretion breast milk)
ซึ่งเมื่อมันสัมผัสกับคนเข้า...อาจทำให้ติดเชื้อได้


Cont. > (2)

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

HIV: Prophylaxis for HIV prevention

มีหนุ่มน้อยใหญ่หลายตั้งคำถามขึ้นว่า
เมื่อเราไปเที่ยว...มีเพศสัมพันธ์กับสตรีอย่างว่า เกิดสงสัยว่า condom จะมีรอยรั่วขึ้น
เรามียารับประทานป้องกันหรือไม่ ?

จากสถิติจาก Centers for Disease Control and Prevention ในอมริกา รายงานว่า
มีคน (ทั่วโลก) มากกว่า 7,000 รายติดเชื้อ HIV (infection) ทุกวัน
หรือประมาณ 2.7 ล้านคนต่อปี รวมถึง 56,000 ราย ในสหรัฐฯ

แม้ว่าจะได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนที่เกี่ยวข้อง จะทำให้อัตราการติดเชือดลดลงอย่างมากก็ตาม
แต่ก็ปรากฏว่า ยังมีจำนวนคนที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ได้สูงอยู่ดี

ในขณะที่เรายังไม่มี Vaccine ปัองกันเชื้อโรคดดังกล่าวได้
ได้หลักฐานมากมายจากการใช้ยาต้านโรคไวรัส (antiretroviral therapy)
อาจมีบทบาทสำคัญต่อการ ป้องกันไม่ให้มีแพร่กระจายเชื้อ HIV ได้

ผลจากการวิจัย มีความเชื้อว่า ยารักษาที่ได้รับการรับรองจากองค์การอหาร และยาของสหรัฐฯ (FDA)
เช่น tenofovir disoproxil fumerate ( Viread)
หรือให้ร่วมกับยาอีกตัวชื่อ emtricitabine (Truvada) โดยให้รับประทานวันละหนึ่งครั้ง
เพื่อป้งกันไม่ให้เกิดโรค ซึ่งในขระนี้กำลังอยู่ในขั้นทดลอง
วิธีการเช่นนี้ เขาเรียกว่า Pre-exposure prophylaxis (PrEP)

จากวิธีดังกล่าว ถ้าผลที่ได้ปลอดภัย และป้องกันได้จริงเมื่อใด วิธีดังกล่าว (PreEP) สามารถนำไปใช้
แก้ปัญหาของสตรีทั่วโลก ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติตามแนวทางป้องกันโรค เนื่องจากวัฒธรรม ซึ่งกิดขวางไม่
ให้ใช้ condom ปองกันโรคได้

นอกเหนือไปจากนี้ หาก PreEP พิสูจน์ว่าได้ผลดี ย่อมมีประโยชน์ด้านลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV
ในคนที่มีเพศสัมพันธ์ และมีพฤติกรรมทางการใช้ยา
เมื่อนำไปใช้ในร่วมกับวิธีป้องกันอย่างอื่น ๆ เช่น การลดจำนวนคนทีทท่านร่วมเพศลง มีการตรวจเลือด
เลิกการใช้เข็มร่วมคนอื่น ใช้ condom ป้องกัน และกรรมวิธีป้องกันอย่างอื่น
สามารถป้องกันโรค และสร้างความปลอดภัยในแก่ทั้งชาย และหญิงได้

ปัญหาที่เรามักจะถูกถาม คือ
How would HIV drugs work to protect against HIV infection?
เรืองการใช้ยาป้องกันก่อนที่จะเผชิญกับโรคนั้น ไม่ใช้เรื่องใหม่ เป็นเรื่องที่เรารู้กัน
เช่น ก่อนที่เราจะเข้าสู่บริเวณที่มีเชื้อ malaria ได้มีการแนะนำให้มีการใช้ (กิน) เอาวไว้ก่อน
ซึ่งการทำดังกล่าว ทำให้ร่างกายของเรามียาไหลเวียนในกระแสเลือด พร้อมที่จะจัดการกับเชื้อโรค
หรือเชื้อพยาธิ ที่อยู่ในกระแสเลือด

จากรูปแบบป้องกันโรคดังกล่าว นักวิจัยเชื้อว่า การให้ยาก่อนที่จะมีเชื้อเข้าสู่กาย (pro;hylaxis)
อาจป้องกัน ไม่ให้คนเราเกิดโรค (HIV infection)ได้
โดยตามทฤษฎี เมื่อเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกาย มันจะถูกยับยั้งไม่ให้เกิดการกอปปี้เกิดขึ้น
ซึ่งอาจป้งอกันไม่ให้เกิดการอักเสบชนิดถาวรได้ (permanent HIV infection)

What data suggest that this approach may be safe and effective?
มีข้อมูลจำนวนมากมาย ที่บ่งบอกให้เห็นว่า ยาต้านไวรัส- antiretroviral drugs เมื่อรบประทานอย่างสม่ำเสมอ
อาจพิสูจน์ได้ว่า มันลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิด HIV infection ได้ เช่น:
• การให้ยา antiretroviral drug เพียงตัวเดียว คือ navirapine ให้แก่สตรีที่กำลังคลอดบุตร
สามารถลดอัตราเสี่ยงต่อการทำให้เด็กติดเชื้อ ได้ถึง 50 %
• จากการศึกษาด้วยการสังเกตการณ์ ในคนที่ถูกเข็มทิ่ม และเผชิญ(exposure) กับสถานการณ์ที่เป็นโรค
หลังจากได้รับยา zidovudine ทันที และติดต่อไปอีกหลายอาทิตย์
• ปรากฏว่า ลดอัตราเสี่ยงต่อการเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ถึง 80 %

• จากการศึกษาในสัตย์ทดลอง ด้วยยา tenofovir โดยให้ยาแก่สัตว์ทันที หรือ
ให้ภายหลังจากสัตว์ได้เผชิญ (expose) ต่อเชื้อโรค สามารถลดการแพร่เชื้อโรค
ได้เหมอนกับการลดไม่ให้เชื้อโรคกระจายไปยังลิงได้
• สุดท้าย จากการทดลองในสัตว์ พบว่า การให้ยา tenofovir และ emtricitabine
สามารถป้องกันไมให้ลิงที่เผชิญกับเชื้อโรค HIV-like ซ้ำแล้วซ้ำอีก
สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้

เนื่องจากสถิติรายงานตัวเลขที่น่าตกไจ คนติดเชื้อ HIV (infection) 7000 ราย ต่อวัน
การเสริมวีการป้องกันไมให้ติดเชื้อดังกล่าว ถือว่าเป็นเรื่องรีบด่วน
ผลจากการศึกษาในสัตว์ทดลอง ด้วยการให้ยา enofovir อย่างเดียว
หรือให้สองตัว tenofovir plus emtricitabine นั้น ได้ผลเป็นที่ดี มีประสิทธิภาพ

ผลจากการศึกษาในสัตว์ทดลองดังกล่าว แม้ว่า ยารักษา HIV จะได้ผลเป็นที่ประทับใจ
ในการป้องกัน แต่ หากใช้ในคนแล้ว จะได้ผลดีในด้านการป้องกัน เหมือนกับที่ทดลองในสัตว์หรือไม่
เป็นเรื่อง ที่ต้องรอดูต่อไป

http://www.cdc.gov/hiv/prep/resources/qa/index.htm

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Practical guideline-HIV AIDS Update

มนุษย์เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ การที่เราจะมีชีวิตได้อย่างมีความสุขได้
เราจะต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติให้ดี
แล้วปฏิบัติตนให้คล้อยตามธรรมชาติให้ได้
นี่คือกฏ ทีประยุกต์ใช้กับทุกเรื่องราวได้

ตามเป็นจริง ที่เรารู้มา แล้วเข้าใจว่าเรารู้มากแล้ว...
นั่นเป็นความเข้าใจผิด...ไม่ใชเลย ยังมีอะไรอีกมากมาย ซึ่งเราไม่รู้
เอาให้แคบลง แค่เรื่องโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลาย ที่ทำให้คนเราต้องทนทุกข์ทรมานกัน
มีอะไรหลายอย่าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการรักษา ได้มีการลองผิดลองถูกกัน
แล้วมีการปรับเปลี่ยนวิธีการอย่างต่อเนื่อง ให้เราได้พบเห็นอยู่เสมอ
มันบ่งบอกให้ทราบว่า เรายังไม่เข้าใจธรรมชาติ (ของโรค) ได้ดีพอนั่นเอง
ดังนั้น เราจึงต้องศึกษากันต่อไป

....
คนเป็นโรคเอ็ดส์ (AIDS) มันเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง
ซึ่งเป็น Retrovirus
และการรักษาโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสดังกล่าว (anti-retroviral therapy)
นอกจากจะเป็นเรื่องซับซ้อนแล้ว จากการรักษาโรคที่มีในปัจจุบัน
ได้ก็มีการปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องอยุูตลอดเวลา
ทั้งนี้เพราะ ยังมีความเข้าใจในธรรมชาติของมันได้ไม่มากพอนั่นเอง

การลองผิดลองถูก (clinical trial) จำนวนมากมาย
จากหลายสำนัก ได้พบเห็นหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น ผลของการใช้ยาร่วมกัน (combinations of drugs)
การมีเครื่องไม้เครื่องมือ ที่นำมาใช้ตรวจเชื้อโรคไวรัส
รวมไปถึงผลของการรักษา ที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องนั้น
ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรหลาย ๆ อย่างเพิ่มขึ้นบ้าง

นี้คือส่วนหนึ่ง ที่ได้จากการรักษา HIV AIDS

ANTIRETROVIRAL DRUGS:

ภายในช่วงเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา เราได้พบเห็นยาใหม่ ๆ ถูกผลิตขึ้นมา
เพื่อนำไปใช้ในการรักษาโรค retrovirus
เป็นยา ที่แพทย์เรานำไปเสริมยาเก่า ที่ใช้เป้นประจำอยู่แล้ว (เช่น zidovudine-AZT)
ทำให้แพทย์ผู้ใช้ รู้สึกมีความมั่นใจในการต่อสู้กับโรคขึ้นบ้าง

ยาที่ใช้ในปัจจุบันนี้ ถุกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้:

 Nucleoside analogue reverse transcriptase inhibitors (NARTI)

1. Zidovudine (AZT, Retrovir)
2. Didanosine (DDI, Videx)
3. Zalcitbine (DDC,HIVID)
4. Lamivudine (3TC, Epivir)

 Non- nucleoside analogue reverse transcriptase inhibitors

1. Nivirapine (Viramune- ยังไม่ได้รับรองให้ใช้ใน South African

 Protease inhibitors

1. Saquinavir (Invirase, Hoffman-La)
2. Ritonavir (Norvir)
3. Indinavir (Crixivan)

WHEN TO INITIATE THERAPY:

คำถามที่เราอยากจะรู้- จะเริ่มรักษาโรคเมื่อใด ?
ในการรักษาโรค retrovius (HIV) มีเป้าหมายโดยรวม คือ
“ลดปริมาณของเชื้อ retrovirus ซึ่งเราเรียกว่า “viral load” ลงให้มากที่สุดที่จะมากได้
นั่นหมายความว่า ให้จำนวนเชื่อลดลงถึงระดับที่เราไม่สามารถตรวจพบเชื้อในกระแสเลือดได้
ซึ่งมันจะต้องต่ำกว่า 200 – 400 copies/ml

ในการวัดดู viral load นั้น เป็นการศึกษาให้ทราบถึงความร้ายกาจของเชื้อดังกล่าว
ซึ่งมันหมุนเวียนในร่างกายของคนที่เป็นโรค
โดยมันสามารถสร้างเชื้อไวรัสตัวใหม่ (HIV virons)
จำนวนถึง 10 ล้านตัว หรือมากกว่า ต่อวัน ทุก ๆ วัน
ในขณะเดียวกัน CD 4 Lymphocyte จะถูกทำลายลงในจำนวน ถึง 2 ล้านเซลล์ ต่อวัน

The International AIDS society ของสหรัฐฯ ยึดหลักการรักษาโรคอย่างเข็มข้นเข็มข้น
(aggressive) ด้วยการให้ยาที่มีประสิทธิภาพสูง จำนวนสามตัวรวมกัน
ซึ่งการรักษาแบบดังกล่าว จะแตกต่างจากทางอังกฤษเขา ที่รักษาแบบอนุรักษ์ (conservative)
ไม่ดุดันเหมือนอเมริกา โดยเขาจะให้ยาในกลุ่ม nucleoside analogue เพียงสองตัวเท่านั้น
และเขาจะให้ก็ต่อเมื่อคนไข้รายนั้น ๆ มีอาการแสดงเสียก่อน
หรือมีผลจากห้องปฏิบัติการ บ่งชี้ว่า โรคมีความรุนแรง (aggression fo disease) เท่านั้น

RECOMMENDED THERAPY:
มีคำแนะนำ ให้ปฏิบัติในการรักษาคนไข้ดังต่อไปทันทีนี้


1. ในคนไข้ที่ ทีตรวจพบว่ามีเชื้อ HIV-RNA มากกว่า 5,000 – 10,000 copies/ml
โดย ไม่ต้องคำนึงถึงผลของ CD 4 count ในกระแสเลือดจะเป็นเช่นใด

2. ในคนไข้ทุกรายทีมีอาการแสดง หรือ CD 4 cells มีค่าต่ำกว่า 500

CONSIDER THERAPY:

ในคนไข้ทุกราย ที่ตรวจพบเชื้อไวรัส HIV-RNA ในกระแสเลือด
และถ้าคนไข้คนนั้น สามารถปฏิบัติตามได้ตลอดชีวิตของการรักษา
ก็จะได้รับการพิจารณาให้การรักษา

แน่นอน จะต้องมีการถกถึงปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดกับการรักษาระยะยาวตลอดชั่วชีวิตของเขา
เพราะมันหมายถึงความสำเร็จ หรือความล้มเหลว ของการรักาษา
ถ้าหากไม่สามารถปฏิบัติได้ตามที่ว่าไว้
มันจะทำให้เชื้อไวรัสมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วกว่าเดิมมาก บางคนใช้คำว่า "เหมือนปล่อยผี"
ซึ่ง จะทำให้เชื้อโรคสามารถต่อต้านยาที่เรามีใช้ในการรักษา
คราวนี้แหละ...คุณเอ๋ย จะมีเชื้อ retrovirus ที่สามารถต้านยาที่ใช้ในการรักษา
แพร่กระจายไปหมด ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องพยายามหายาตัวใหม่อีกต่อไปไม่สิ้นสุด

DEFERRAL OF THERAPY:

ในการรักษาคนไข้เป็นโรคดังกล่าว เราอาจยุติการรักษาเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ในกรณี
ที่ตรวจพบว่า คนไข้ไม่สามารถปฏิบัติตามคำแนะของแพทย์ได้
และผลจากการตวจทางห้องปฏิบัติการณ์
พบว่า ระดับของ HIV_RNA มีค่าต่ำ และมี CD 4 cell สูง
ซึ่งคนไข้พวกนี้ จะต้องมีการตรวจดูระดับ viral load เป้นระยะทุก 3 – 6 เดือน

INITIAL DRUGS THERAPY:

ในการรักษาคนไข้เป็นโรค HIV infection
เขาแนะนำให้ทำการรักษา ด้วยการให้ยาในกลุ่ม NARTI จำนวน 2 ตัว
ร่วมกันยาในกลุ่ม Protease inhibitors อีก 1ตัง
ที่นินยมใช้มากที่สุด คือ:

1. Zudovudine 500 mg daily ( 100 mg 5 times/day)
หรือ ให้ 600 mg /day (200 mg 3 times/day)
2. Plus Laminvudine 150 mg bid
3. Plus Indinvir 800 mg t.d.s

การให้ยารักษาตามรูปแบบดังกล่าว ส่วนใหญ่ จะได้รับผลของการรักษาเป็นไปตามเป้าหมาย
(undetectable plasma RNA level)

นอกจากวิธีที่เสนอไปแล้วนั้น มีทางเลือก (alternative RX) อีกทางหนึ่ง
คือให้ให้ยา ในกลุ่ม NARTIจำนวนสองตัรวมกันรักษา
ยกตัวอย่างเช่น Zidovudine plus didamosine
รวมกับยาในกลุ่ม non-nucleoside analogue reverse transcriptase inhibitors
(nevirapine)

ในการใช้ยารวม 2 ตัว ในกลุ่ม NARTI เคยถูกแนะนำใชในการรักษาโรค HIV
โดย International AIDS society มาก่อน และเลิกไปเล้ว
แต่ยังคงมีการใช้ประเทศอังกฤษ (British HIV Association)
ซึ่งวิธีการรักษาดังกล่าว นอกจากจะไม่สามารถทำให้ระดับ viral load ลดลงแล้ว
ยังมีแนวโน้มทำให้เชื้อดื้อยาได้อีกด้วย

ส่วน Monotherapy ซึ่งเป็นการรักษาด้วยยาเพียงตัวเดียว
เขาไม่แนะนำให้กระทำ...
เพราะมันจะทำให้เชื้อโรคเกิดด้านยาได้ภายในไม่นาน
(within weeks to months)

WHEN TO CHANGE THERAPY:

ในการรักษาคนไข้ บางครั้งจำเป็นต้องได้รับการปรับเปลี่ยนวิธีการรักษากันอยู่เสมอ
ในการรักษาโรค HIV AIDS ก็เช่นกัน
ซึ่งเราจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนการรักษาคนไข้โรค HIV AIDS เมื่อ

1. การรักษาประสบความล้มเหลว (treatment failure)

2. เกิดพิษ (toxicity)

3. คนไข้ไม่สามารถปฏิบัติตาม (difficulty in adhering to the regimens)

TREATMENT FAILURE:
เราสามารถล่วงรู้ได้ว่า ผลการรักษานั้นล้มเหลว โดย

a. การตรวจดู viral load เป็นตัวชี้บอกถึงความล้มเหลวของการรักษา
อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรวินิจฉัยว่า “ล้มเหลว” จากการไม่สนองตอบในระยะแรก
ปกติการลดของ viral load จะเกิดขึ้นเป็นสองระยะ ในระยะแรกจะลดลงอย่างฉับพลัน (sharp drop)
ใน 2 – 4 อาทิตย์ ต่อจากนั้น จะค่อย ๆ ลดลงถึงระดับสูงสุด (maximal) ในเวลา 12-24 อาทิตย์

b. ระดับของ viral load สวิงกลับสู่ระดับก่อนการรักษา (ปริมาณมากเหมือนเดิม)

c. ระดับของ CD4 count ลดลงอย่างรวดเร็ว (progressive drop)

d. เกิดมีอาการของโรค หรือ อาการเลวลง

WHAT TO CHANGE TO
แล้วเราจะทำอย่างไรละ ?

สิ่งที่เราจะต้องกระทำ คือ

a. เปลี่ยนยาทุกตัวที่ให้แก่คนไข้ หรืออย่างน้อย ทำการเปลี่ยนสองในสาม ของยาที่เคยให้
ทำการสับเปลี่ยน (alternate) ยาในกลุ่ม NARTI หรือในกลุ่ม protease inhibitors

b. ไมสมควรใช้ยาเพียงตัวเดียวในการรักษาโรคเป็นอันขาด

TOXICITY:

สิ่งที่เราจำเป็นต้องกระทำร่วมกัน (คนไข้ และแพทย์) คือ หาให้พบว่า ยาตัวใดที่ก่อให้เกิดพิษขึ้น
แล้วทำการปรับเปลี่ยนยาต้วใหม่ด้วยยาตัวใหม่

NON-ADHERENCE:

ถือเป้นความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องสืบให้รู้ว่า อะไรที่ทำให้คนไข้ไม่สามารถปฏิบัติตามวีธีการรักษา
หากเป็นไปได้ ให้ปรับเปลี่ยนเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดสำหรับคนไข้

TREATMENT OF PRIMARY INFECTION (acute retroviral syndrome)

เป้าหมายของการรักษาโรค (acute primary infection) ตามทฤษฎี เราจะต้องให้การ
รักษาอย่างเรียบด่วน (immediate) และเข้มข้น (aggressive)
เพื่อขจัดเชื้อโรคให้สิ้นทราก ? ให้เร็วที่สุด
ยาที่ให้ จำเป็นจะต้องให้สามตัว (triple drug therapy)
เช่น zidovudine plus Lamivudine plus indinavir
การให้ยาดังกล่าว จะต้องให้ติดต่อไปจนกระทั้งระดับ viral load
ไม่สามารถตรวจพบได้ (undetectable)
นั่นคือแนวทางที่ได้เรียนรู้ในเรื่องการรักษาโรค HIV/AIDS


www. aids-update.org.za/hiv8.HTM

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

HIV/AIDS (2)

HIV/AIDS
Cont.

How is HIV transmitted ?

คงไม่ต้องสงสัยแล้วละว่า เมื่อใดเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกายของท่านเมื่อใด
โรค (viral infection) ก้จะเกิดขึ้นกับท่านเมื่อนั้น
ซึ่งมันสามารถเข้าสุ่ท่านทาง เลือด หรือจากน้ำเชื้อของเพสชาย ( Semen)
หรือน้ำจากช่องคลอด (vaginal discharge)

หลายท่านกังวล และกลัวที่จะติดเชื้อโรคจากการไกล้ชิดกับคนไข้ที่เป็นโรค HIV
นั่นเป็นเรื่องของคนปกติธรรมดา
ส่วนอีกประเภท (บางคน) ยังไม่กลัว เที่ยวสัมผัสคนที่เป็นโรค...ทั้งๆ ที่มีคำเตือน
คงต้องปล่อยเขาไป

จาการศึกษาพบว่า ท่านไม่สามารถติดเชื้อ HIV จากการสัมผัสคนที่เป็นโรค ได้ง่ายนัก
เช่น จากการกอดรัด (hugging) การสัมมือ-ถือแขน (shaking hand)
ไม่สามารถติดต่อเข้าสุ่ร่ากายท่าได้หรอก
มีคนตั้งคำถามว่า
ยุงเป็นพาหะนำโรคไปสู่คนอื่นได้ใหม ?
คำตอบของผู้เชี่ยวชาญ บอกว่า ไม่สามารถผ่านไปได้
ก็ต้องเชื่อเขาไปก่อน จนกว่าจะพิสูจนืได้ว่า เขาตอบผิด

แต่ที่แน่ ๆ เชื้อ HIV สามารถติดต่อเข้าสู่ตัวท่านได้ ดังนี้:

o ทางเพสสัมพันธ์ (During Sex) เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายของท่านได้
ไม่ว่าจะเป็นทางไหน (Vaginal, anal or oral) มันจะแพร่กระจายผ่านแผลเล็ก ๆ
ซึ่งเกิดขึ้นในขณะมีเพศสัมพันธ์ ...

o ทางเส้นเลือด (Blood transfusions)
ในบางราย เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายทางการให้เลือดแก่คนไข้ ซึ่งป็นเลือดที่มีเชื้อ HIV
โชคดี ที่ในขณะนี้ ทุกลังเลือดของไทยเรา ได้มีการตรวจ (screen)เลือดทุกยูนิตว่า
ปลอดเชื้อไวรัสทุกชนิด ก่อนมีการให้เลือดแก่ให้แก่คนไข้

การใช้เข็มร่วมกับคนอื่น (Sharing needles) ก็เช่นกัน โดยเฉพาะพวกขี้ยาทั้งหลาย
ซึงเราพบเห็นในภาพยนต์ มีการฉีดยาเข้าสเส้นกันในกลุ่มพวขี้ยา...
นั่นก็เป็นอีกทางหนึ่ง ที่แพร่กระจายเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี

o จากแม่ สู่ลูก (From mother to child)
แม่ที่ติดเชื้อ HIV สามารถแพร่กระจายเชื้อสู่ลูกได้
ทั้งในขณะตั้งครรภ์ หรือขณะคลอด และในขณะให้น้ำนมแก่บุตร ก็สามารถแพร่กระจายได้เช่นกัน
สำหรับสตรีที่เป็นโรค HIV ขณะตั้งครรภ์ ภายใต้การรักษาด้วยยานั้น
โอกาสที่จะแพร่เชื้อไปยังลูกที่อยู่ในครรภ์ มีได้น้อยมาก ๆ

Tests and tailor treatments:

การวินิจฉัยคนเป็นโรค AIDS นั้นกระทำได้ไม่ยาก
สามารถกระทำได้ด้วยการตรวจเลือด ตรวจน้ำลายของผู้ที่สงสัย
เพื่อตรวจหา “ภูมิต้านทาน (antibody) ที่เป็นของเชื้อไวรัส HIV

หลังการเกิด HIV infection จะไม่สามารถตรวจพบ antibody ได้ทันที
ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 12 อาทิตย์ หรือ 3 เดือนขึ้นไป จึงจะสามารถตรวจพบได้
บางราย ต้องกินเวลานานถึง 6 เดือน (เป้นส่วนน้อย)

ได้มีวิธีการใหม่ ๆ สำหรับตรวจ HIV antigen ซึ่งเป็นสารโปรตีน
ที่ถูกสร้างโดยเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ แล้วทำให้เกิดการอักเสบจากเชื้อดังกล่าวขึ้น
การตรวจดังกล่าวพบ antigen ดังกล่าว เป็นการยืนยันว่า คน ๆ นั้น มีเชื้อ HIV
ซึ่งสามารถตรวจพบได้ หลังจากเชื้อเข้าสู่ร่างกายในไม่กี่วัน

การตรวจพบ HIV antigen ถือว่าเป็นวิธีการตรวจที่มีประดยชนืในแง่ ป้องกัน
เตือนให้มีการระมัดระวัง ไม่ให้การแพร่กระจายเชื้อสู่คนอื่น

เมื่อท่านได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค HIV/AIDS แล้ว
ยังมีการตรวจอีกหลายอย่าง เป็นการตรวจดูระยะ (Stage) ของโรค ซึ่งมีการตรวจดังต่อไปนี้:

o CD 4 . CD 4 Cells เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งมัันสามารถทำลายเชื้อ HIV
เป็นการเฉพาะ ในคนปกติค่าของ CD4 จะมีค่าระหว่าง 500 ถึง 1,000
สำหรับคน ที่เป็น HIV /AIDS แม้ว่าจะไม่มีอาการแสดงของโรคเลย
แต่ค่าของ CD4 จะลดลง ต่ำกว่า 200

o Viral load. เป็นการวัดปริมาณของเชื้อไวรัสในร่างกาย
ในรายที่มี viral load สูงย่อมแย่กว่าคนที่มี viral load เป็นเรื่องแน่อยู่แล้ว

o Drug resistance. เป็นการตรวจดูชนิดของเชื้อไวรัส (strain of vius)
ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา (resistance to any anti-HIV medications)

Tests for Complications:

แพทย์อาจทำการตรวจบางอย่าง เพื่อยืนยันว่า คนไข้ที่ติดโรค HIV ไม่มีภาวะแทรกซ้อนขึ้น
ซึ่งได้แก่การตรวจต่อไปนี้:

o Tuberculosis

o Hepatitis

o Toxoplasmosis

o Sexually transmitted diseases

o Liver or kidney damage

o Urinary tract infections

Treatments and Medications.

โรค HIV/AIDS เป็นโรคที่ไม่ทางรักษาให้หายขาดได้ แต่มียาหลายขนาน ซึ่งสามารถ
นำมาใช้ในการรักษาโรค เมื่อใช้ร่วมกันแล้ว สามารถควบคุมเชื้อไวรัสได้

ยาต้าน virus ในแต่ละกลุ่ม (Anti-HIV) สามารถยับยั้งเชื้อ virus ได้แตกต่างกันไป
วิธีการใช้ยาที่ดีที่สุด คือ ใช้ยา 3 ตัวร่วมกัน โดยเลือกจากยาสองกลุ่ม
เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เชื้อไวรัส เกิดการต่อต้านต่อการใช้ยาเพียงตัวเดียว (Single drugs)

ยาที่ใช้ในการรักษา (Anti-HIV) มีหลายกลุ่มดังนี้:

o Non-nucleoside Reverse transcriptase (NNRTIs)
เป็นยาที่ทำลาย (disable)โปรตีน ซึ่งเชื้อ HIV จำเป็นต้องใช้ในการเพิ่มปริมาณของเชื้อให้มากขึ้น
ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ efavirenz (Sustiva), etravirine(Intelence)
และ nevirapine (Viramune)

o Protease Inhibitors.(PIs) เป็นยาที่ทำให้ Protease ไร้ประโยชน์
เชื้อไวรัสนำ ไม่สามารถนำไปใช้ในการกอปปี้ตัวเองได้
ยาในกลุ่มนี้ได้แก่: atazanavir(Reyataz), darunavir(Prezista),
fosamprenavir(Lexiva) และ ritonavir (Norvir)

o Nucleoside reverse transcriptase (NRTIs)
ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ Abacavir(Ziagen) และยาผสม emtricitabine + tenofovir
(Truvada) และ lamivudine + zidovudine (Combivir)

o Entry or Fusion Inhibitors. เป็นสารที่ใช้ปิดกั้น
ไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ CD 4 cells
ยามในกลุ่มนี้ได้แก่ enfuvirtide(Fuzeon) และ maraviroc (Selzentry)

o Integrase Inhibitors. เป็นสารที่สามารถทำลาย protease
ซึ่งเป็นโปรตีน ที่เชื้อไวรัส จะเป็นต้องใช้เพื่อจัดการกับ CD4 cells

When to start treatment:

ข้อแนะนำในว่า ควรเริ่มการรักษาเมื่อ:

• เมื่อท่านมีอาการรุนแรง

• เมื่อ CD4 ต่ำกว่า 500

• เมื่อท่านท้อง(ตั้งครรภ์)

• เมื่ท่านมีโรคไต ซึ่งสัมพันธ์กับ HIV

• คุณกำลังได้รับการรักษา Hepatitis B
การรักษาอาจประสบความยุ่งยาก

Treatment can be difficult

ในการรักษาโรค HIV นั้น อาจจำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดรักษา ในระยะเวลาที่เฉพาะเจาะจง
โดยให้ทุกวัน ตลอดชั่วอายุไขัยของท่าน
ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ดังต่อไปนี

o Nausea, vomiting or diarrhea

o Abnormal heart beat

o Shortness of breath

o Skin rash

o Weakened bones เช่น มีการเน่าตยของกระดุูก เช่น บริเวณข้อสะโพก

Treatment Response:

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า โรคของท่านตอบสนองต่อยารักษา ?
เมื่อท่านมาพบแพทย์ สิ่งที่ท่านจะได้รับการตรวจ คือ ตรวจหา viral load และ CD4 count
ปกติจะมีการตรวจหา viral load เมื่อท่านได้เริ่มรับการรักษาด้วยยา
จากนั้น จะมีการตรวจวัดทุก 3- 4 เดือน
สำหรับ CD 4 count ตรวจเป็นระยะ ทุก 3 – 6 เดือน

เมื่อท่านได้รับการรักษา
เป้าหมายของการรักษา จะต้องทำให้ viral load ลดลงถุงจุดที่ไม่สามารถตรวจพบเชื้อไวรัสได้
ซึ่งไม่ได้หมายความว่า โรค HIV ถุกทำลายหมด หรือโรคหายไปจากท่าน
มันเป็นแต่เพียงว่า ความไวของการตรวจมีไม่พอ ที่จะตรวจพบเชื้อเท่านั้นเอง
เชื้อโรคยังคงมีอยู่ และพร้อมที่จะแพร่กระจายไปสู่คนอื่นได้


www.mayoclinic.com/health/hiv-aids/DS00005?DSECTION=treatments-and-drugs

HIV/AIDs

AIDs ใครได้ยินแล้วจะรู้สึกไม่สบายใจเท่าใดนัก...
เป็นโรคเรื้อรัง มีอันตรายของชีวิตมนุษยชาติ โดยมันจะคุกคาม ระบบภุมิคุ้มกัน
โดยเชื้อ Human immunodeficiency virus
หรือที่เรารู้ในชื่อย่อว่า HIV นันแหละ
มันจะทำลายระบบคุ้มกัน ด้วยการขัดขวางร่างกาย ไม่ให้สามารถต่อสู่กับเชื้อโรคต่างๆ
เป็นเหตุให้คนเราเกิดเป็นโรคขึ้นมาในที่สุด

โรค HIV ตัวนี้ สามารถผ่านเข้าสู่คนทางเพศสัมพันธ์
นอกนั้น ยังสามารถแพร่เชื้อไปสู่คนอื่น เช่น ทางเลือด ด้วยการรับเลือดของคนเป็นโรค HIV
หรือจากแม่ไปสู่ลูกในระหว่างตั้งครรภ์ หรือระหว่างคลอด หรือระหว่างให้นมลูก
ซึ่งมันจะต้องใช้เวลานานเป็นปี ๆ
จึงจะทำภูมิต้านทานอ่อนแอลง ถึงระดับที่จะเป็นโรค AIDS ได้

มันเป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาหายขาดเลย
แต่เราก็มียาหลายตัว ที่สามารถชะลอการพัฒนาโรคดังกล่าวได้
เป็นยาที่ลดความตายของคนที่เป็นโรค AIDS
ส่วนในโลกที่กำลังพัฒนา เช่น Africa, Haiti และบางส่วนของอาเชีย
ยังเป็นโรคที่น่าเป็นห่วง

อาการแสดง(Symptoms)
คนที่เป็นโรค AIDS จะมีอาการแตกต่างกันไป ขึ้นกับระยะของโรคอยู่ในระยะไหน


First few weeks of infection:

สมมติว่า ท่านเกิดโรคขึ้น ภายในระยะแรกท่านจะไม่มีอาการ
แต่ว่า ท่านก็สามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปยังคนอื่นได้
มีคนเป็นโรคจะมีอาการเหมือนกับเป็นไข้หวัด (Flu-like) ประมาณ 2 – 4 อาทิตย์
หลังจากที่เกิดมีการอักเสบจากเชื้อดังกล่าว

อาการของคนไข้ที่เป็นโรค AIDS อาจมีอาการต่อไปนี้:

o มีไข้ (Fever)

o ปวดศีรษะ ( Headache)

o เจ็บคอ (Sore throat)

o ต่อมน้ำเหลืองโต (Swollen of Lymph node)

o ผื่นตามผิวหนัง (Skin rash)



Years latter:

เมื่อหลายปีผ่านไป
ตัวท่านอาจไม่แสดงอาการใด ๆ ให้ปรากฏ แต่เชื้อไวรัสก็ยังแบ่งตัวต่อไป
และทำลายเซลล์ของระบบภูมิต้านทานอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งท่านอาจแสดงอาการของการอักเสบจากโรคไวรัส HIV ได้เล็กน้อย
หรือท่านอาจมีอาการอย่างเรื้อรัง ดังนี้:

o ต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งเป็นอาการแสดงอันแรกของโรค HIV

o ท้องล่วง (Diarrhea)

o น้ำหนักตัวลด (Weight loss)

o มีไข้ (Fever)

o ไอ และหายใจติดขัด (Cough and shortness of breath)

การพัฒนาดำเนินของโรค AIDS
(Progression of AIDS)

ถ้าท่านมีเชื้อโรคในร่างกาย และไม่ได้รับการรักษาแต่อย่างใด
ภายในระยะเวลาประมาณ 10 ปี โรคก็จะพัฒนาต่อไปกลายเป็นโรค AIDS
เมื่อท่านเป็นโรค AIDS เกิดขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันจะถูกทำลายลงสิ้นเชิง
ทำให้ท่านมีแนวโน้มที่จะเกิดการอักเสบ opportunistic
จากเชื้อ pneumocystis pneumonia

อาการ และอาการแสดงของโรค AIDS ประกอบด้วย

o กลางคืนเหงื่อโชกตัว

o มีอาการหนาวสั่น ไข้สูงกว่า 100 F เป็นเวลาหลายอาทิตย์

o ไอ หายใจถี่

o ท้องล่วงเรื้อรัง

o มีรอบแผลเป็นจุดสีขาว หรือมีรอยแผลที่ประลาดในบริเวณของลิ้น เป็นเวลายาวนาน

o ปวดศีรษะ

o ปวดเมื่อยเป็นเวลายาวนาน อย่างไม่ทราบสาเหตุ

o สายตามัว เห็นภาพบิดเบี้ยว

o น้ำหนักลด

o มีผื่นบนผิวหนัง

สาเหตุ (Causes)

มีรายงานว่า มีเชื้อไวรัส มีลักษณะคล้ายกับเชื้อ HIV ซึ่งเกิดขึ้นในลิง
(chimps and Monkey in African)
ในระหว่างที่มีการชำแหละเนื้อลิงดงกล่าว เชื้อไวรัสอาจแพร่กระจายมาสู่คน
และอาจทำให้เขาคนนั้นเกิดเป็นโรค HIV ขึ้นได้

เมื่อเชื้อไวรัส HIV เข้าสูคนแล้ว มันเกิดเป็นโรค AIDS ได้อย่างไร ?

เชื้อ HIV เมื่อมันเข้าสู่คนแล้ว เชื้อโรคมันจะทำลายเซลล์ที่มีชื่อว่า CD 4 cells
ซึ่งเป็นเซลล์เฉพาะของเม็ดเลือดขาว มีบทบาทสำคัญในการช่วยร่างกายให้ต่อสู้กับโรค

ระบบภูมิต้านทานของร่างกาย จะอ่อนแอลง เมื่อ CD4 Cells ถูกทำลายมากพอ
ท่านอาจมีเชื่อโรค และเป็น HIV infection นานเป็นปี ๆ ก่อนที่จะเป็นโรค AIDS

และเราจะวินิจฉัยว่าท่านเป็นโรค AIDS ได้ก็ต่อเมื่อใด?
ท่านจะเป็นโรค AIDS เมื่อเขาตรวจเลือดของท่าน พบว่า CD4 มีค่าต่ำกว่า 200
เมื่อนั้นแหละเขาจะบอกว่า ท่านเป็นโรค AIDS แล้ว
หรือ ท่านเป็นโรค AIDS เมื่อท่านอาจมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนี้:

o Pneumocystis jiroveci pneumonia

o Cytomegalovirus

o Tuberculosis

o Toxoplasmosis

o Cryptosporidiosis


Cont. > (2)

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

New Type 2 Diabetes Treatment Options

เมื่อทศวรรษที่ผ่านมา นายแพทย์ Cypess จาก Harvard Medical school
ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการรักษาโรคเบาหวาน
พร้อมกับชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ ในการเข้าใจในบทบาทของยากลุ่มใหม่ที่ผลิตขึ้น
ซึ่งเขากล่าวว่า เมื่อใช้ร่วมกันกับการออกกำลังก่าย และ การควบคุมอาหารแล้ว
จะทำผลของการรุักษาดีขึ้น

ในเมื่อแพทย์ได้ให้ความใสใจ ต่อการรักษาโรคเบาหวานอย่งจริงจัง
ด้วยการวินิจฉัยโรคไวขึ้น พร้อมกับได้รับการรักษาได้อย่างฉับไว
ผู้ป่วยย่อมได้รับผลจากการรักษาอย่างแน่นอน

Type 2 Diabetes Treatment:
New Medications

มียารักษาเบาหวานหลายกลุ่ม ที่ถูกสร้างขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมา
เป็นยาใหม่ รวมถึง Insulin ที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน
ซึ่งไม่เพียงแต่ ทำให้ผลที่ได้รับเป็นที่ประทับใจแล้ว ยังใช้ได้ง่ายอีกด้วย
เช่น :

 DPP-4 inhibitors ซึ่งรวมถึงยาต่อไปนี้ Januvia, Ongyza และ Tradjenta
ซึ่งมันจะทำหน้าที่ปกป้องสารธรรมชาติที่มีในร่างกาย ซึ่งมีชื่อว่า GLP-1 ไม่ให้เสื่อมสลายลง
และสาร GLP-1 ตัวนี้แหละ จะทำหน้าที่ช่วยลดน้ำตาลในกระแสเลือดลง

 Incretin mimetics or GLP analogs ได้แก่ยาที่ใช้ฉีด
เช่น Byetta และ Victoza มันช่วยทำให้ร่างกายปล่อย insulin หลังรับประทานอาหาร

 Other drugs ยาตัวอื่น ๆ ได้แก่ Symlin เป็น synthetic Hormone
ใช้ฉีด เพื่อ ช่วยลดระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร ในคนไข้ที่เป็นเบาหวาน ซึ่งกำลังได้รับ insulin

 Combination drugs ได้มีการผลิตยาผสมให้ง่ายต่อการใช้
ส่วนใหญ่เป็น Metformin และ Sulfonylurea และยาตัวอื่น ๆ ที่ใช้ผสมกันภายในเม็ดเดียว
ซึ่งจะไม่ขอยกมากล่าวในที่นี้ เพราะเราไม่นิยมใช้กัน
ทั้งนี้ เพราะ นอกจากจะทำให้เกิดผลข้างเคียงแล้ว ยังเป็นยาที่มีราคาแพงขึ้นด้วย
และที่สำคัญ นอกจากจะทำให้การปรับขนาดของยายากแล้ว
ยังสูญเสียความถูกต้อง และแม่นยำลงไปด้วย

 New type of insulin ทำให้คนไข้บางราย ได้รับยาฉีดเพียงวันละครั้ง
ซึ่งง่ายกว่าการฉีดยาบ่อยครั้งแน่นอน

 Future medications มียากลุ่มอื่น ๆ ที่ถูกผลิตขึ้นมา
มียาตัวหนึ่ง ไม่กระทบต่อ insulin (ไม่เหมือนยาตัวอื่น ๆ) ทำหน้าที่ปิดกั้นร่างกาย
ไม่ให้ดูดซับเอาน้ำตาลจากปัสสาวะกลับสู่กระแสเลือด แม้ว่ายังไม่ได้รับการยอมรับจาก
FDA แต่คงไม่นานเกินรอที่เราจะได้พบเห็น

แม้ว่า ความก้าวหน้าในด้านการรักษาพยาบาลโรคเบาหวาน จะมีมานานเป็นทศวรรษแล้วก็ตาม
ยังปรากฏว่า มีคนไข้จำนวนไม่น้อย ยังได้รับการรักษาด้วยยาเดิม ๆ อยู่ดี
ยกตัวอย่าง Metformin และ sulfonylureas

ในขณะที่มียารักษาเบาหวานตัวใหม่ถูกผลิตขึ้น ไม่ได้หมายความว่า เราไม่ใช้ยาตัวเก่า
แต่เป็นการเพิ่มรายการยาที่เคยมี ให้แพทย์ได้มีโอกาสเลือกเลือกใช้ในกรณีที่คนไข้
ไม่สนองตอบต่อยาที่ใช้เป็นประจำเท่านั้นเอง

ในขณะที่ยาเก่าเริ่มเกิดมีปัญหา เช่น Avandia
โดยมี FDA เข้ามามีบทบาทควบคุม (2010)ยาดังกล่าวแล้ว
ปรากฏว่า FDA ยังได้เพิ่มคำเตือนใหม่ออกมาว่า ยา Actos
ซึ่งเป็นยาในกลุ่มเดียวกับยา Avandia ตัวที่มีปัญหานั่นแหละว่า ...
สาร หรือยา Actos อาจเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการทำให้เกิดมะเร็งของกระเพาะปัสสาวะได้

ในขณะนี้ ได้มีการพัฒนาวิธีการตรวจระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของคนไข้เบาหวาน
และ การรักษาด้วยวิธี insulin pump ไว้อย่างน่าสนใจ

โดยในขณะนี้ เขาสามารถทำการตรวจดูระดับน้ำตาลอย่างต่อเนื่องได้แล้ว
ด้วยการติด "เครื่องมือ" ตรวจวัดชิ้นเล็ก ๆ (tiny sensors) ฝังไว้ใต้ผิวหนัง

เครื่องมือดังกล่าว นอกจากจะส่งข้อมูลเกี่ยวกับระดับน้ำตาล (wireless)
ไปยังเครื่องมือ เหมือนวิทยุที่ติดตัว (pager) เมื่อมันได้รับข้อมูลเกี่ยวกับระดับน้ำตาลแล้ว
มันจะทำการปรับขนาดของยา (insulin) ที่เหมาะสมกับระดับน้ำตาลในเลือด
แล้วทำการปล่อยสาร insulin ปล่อยยาเข้าสู่คนไข้ได้เอง
โดยที่คนไข้ไม่ต้องทำอะไรเลย
แต่ข้อเสียของ เครื่องมือดังกล่าว ต้องมีการเปลี่ยนทุก 3 ถึง 7 วัน

เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยก่อน เขาตรวจน้ำตาลจากปัสสาวะด้วยแผ่น strip
ซึ่งสามารถบอกระดับน้ำตาลได้อย่างคร่าว ๆ ได้
แต่มาปัจจุบันนี้ เขาสามารถรู้ผลทุกสองสามนาที
เป็นการตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างต่อเนื่อง

ในคนไข้ที่รักษาด้วยการฉีด insulin pump นั้น
ปรากกว่า ในปัจจุบันได้รับการพัฒนาไปมากแล้ว
ซึ่งมีหลายบริษัทได้ผลิตเครื่องมือล้ำยุคขึ้นมา
ให้ทำหน้าที่โดยอัตโนมัติระหว่างผลของการตรวจเลือด กับ insulin pump
โดยที่เราไม่ต้องกดปุ่มเพื่อยาฉีดเลย มันจัดการของมันเอง
ซึ่งเครื่องมือดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายเรียกเครื่องมือชิ้นใหม่นี้ว่า
“artificial pancreas”

Type 2 Diabetes Treatment : Lifestyle Changes

แม้ว่าโลกจะพัฒนาถึงขั้นสร้าง Artificial pancreas แล้วก็ตาม
แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้องนี่ซิ ใคร ๆ ก็ทำได้
แต่จะทำหรือไม่นั้น ป็นอีกเรื่องหนึ่ง

เราทุกคนต่างรู้กันเป็นเวลานานแล้วว่า วิถีชีวิตที่เหมาะสม
เช่น เรื่องอาการการกิน และการออกกำลังกาย
เป็นกุญแจสำคัญต่อการรักษาเบาหวานชนิดที่ 2

ผลจากการศึกษาพบว่า การควบคุมระดับน้ำตาลด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ถูกต้อง
ซึ่งหากเราสามารถกระทำอย่างจริงจัง สามารถลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจในคนเบาหวานได้
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ให้ออกกำลังกาย 150 นาที ต่อหนึ่งอาทิตย์ ชนิด aerobic
Exercise(เช่น เดิน ถีบจักรยาน วายน้ำ...) ร่วมกับ weight training (ออกแรงต้านน้ำหนัก)

สำหรับด้านอาหาร ไม่ปรากฏว่ามีสูตรตายตัวใหปฏิบัติ
แต่ละคนจะต้องปรับให้เหมาะสมกับตัวเอง
แพทย์ผู้เชี่ยวชาในเรื่องนี้ กล่าวว่า การรับประทานอาหารประเภท low carbs
และ Mediternean diet
ปรากฎว่า มีคนจำนวนไม่น้อยที่สามารถปฏิบัติได้ และเป็นผลดีสำหรับคนไข้เบาหวาน ที่ปฏิบัติได้

เกิดมีคำถามว่า Mediteranean diet ที่กล่าวถึงนั้นนะ...มันอะไรกัน ?
คำว่า Mediteranean Diet หมายถึงอาหารที่แพทย์แนะนำให้คนไขhรับประทาน
โดยเน้นไปที่อาหารประเภท ผัก ผลไม้ ข้าวที่ไม่ได้ขัดสี ธัญพืช ไขมันที่ได้จากพืช
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีมัน ให้ใช้น้ำมันพืช เช่นมะกอกแทน.....และดื่มไวน์เล็กน้อย

อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการง่ายต่อการปฏิบัติ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของนักโพชนาการ
น่าจะเป็นการง่ายดีที่สุด เพราะเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล
จะต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลไป

ดังนั้น เราจะพบว่า แพทย์ส่วนใหญ่ที่ทำการรักษาคนไข้ที่เป็นเบาหวาน
จะไม่รอให้ได้ผลจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามทีกล่าว เพราะผลที่ได้ไม่แน่นอน
แพทย์เขาจะมุ่งตรงไปที่ “ยารักษา” เพื่อจัดการควบคุมระดับน้ำตาล
ซึ่งได้ผลตามเป้าเร็วกว่าสมัยก่อนมาก

Type 2 Diabetes Treatment: Getting control

ได้การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของการรักษาโรคเบาหวาน
ไม่ใช้มาจากยารักษาโรค หรือเครื่องมือที่ใช้ในการรักษาเลย
แต่เป็นกลยุทธในรูปแบบที่แตกต่างออกไป คือการเอาใจใส่ต่อคนไข้มากขึ้น
โดยเน้นไปที่ไปการวินิจฉัยโรคให้ได้เร็ว พร้อมกับการรักษาได้ทันที
เพราะมีหลักฐานยืนยันว่า ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้นั้น หรือถูกปล่อยทิ้งไว้...
มันมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูงในภายหลัง


www.diabetes.webmd.com/feature/new-treatmen