วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Chronic Fatigue Syndrome(2): Diagnosis & Treatments

เท่าที่ได้รับทราบ เราไม่มีการตรวจเฉพาะสำหรับภาวะ CFS นี้เลย
และเนื่องจากอาการของ CFS มีลักษณะเหมือนกับโรคทางกายหลายอย่าง
ดังนั้น การวินิจฉัยภาวะ CFS จึงจำเป็นต้องอดทนรอ...
ซึ่งแพทย์ผู้รับผิดชอบ จะทำการวินิจฉัย ด้วยวิธีการพิจารณาความเป็นไปได้ทีละโรค
ซึ่งมีความเป็นไปได้น้อยออกไป จนกระทั้งเหลือโรคสุดท้าย

โรค หรือสภาวะบางอย่าง ซึ่งอาจมีอาการคล้ายกับ CFS ได้แก่:

o Sleep disorders.
การมีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับ สามารถทำให้เกิดอาการของ CFS ได้
ผลจากการศึกษาเรื่องการนอนไม่หลับ (sleep) จะถูกกระทบด้วยภาวะ
ต่าง ๆ เช่น obstructive sleep abnea,
restless leg syndrome และ insomnia

o Medical problems.
เหนื่อยหล้า หรือเหนื่อยเพลีย มักเป็นอาการของโรคหลายอย่าง เช่น โลหิตจาง
เบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ เป็นต้น
การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ สามารถแยกโรคดังกล่าวออกได้

o Mental health problems
อาการเมื่อยหล้า ยังเป็นอาการแสดงของคนไข้ที่เป็นโรคจิตประสาท
หลายอย่าง เช่น ผลจากการซึมเศร้า (depression) เครียด (anxiety)
พวกบ้าประสาทหลอน (schizophrenia)
และโรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder) ซึ่งมีลักษณะสองแบบสลับกัน
คือ มีอาการซึมเศร้า สลับกับพลุ่งพล่า

Diagnostic criteria:

หากท่านจะทำการวินิจฉัยคนไข้รายใดว่า เป็น CFS ท่านจะต้องพบเงื่อนไข
ของการเป็น CFS ให้ได้เสียก่อน
นั้นคือ ท่านจะต้องพบอาการเหนื่อยหล้า(ไม่ทราบเหตุ) เป็นมานานกว่า 6 เดือน
ร่วมกับอาการอย่างอื่นต่อไปนี้

 เหนื่อยหล้า (fatigue)
 เสียความทรงจำ หรือไม่มีสมาธิ (loss of memory ro concentration)
 เจ็บคอ (Sore throat)
 ต่อมน้ำเหลืองโต ในบริเวณคอ และ บริเวณใต้รักแร้( Enlareged Lymph nodes)
 ปวดกล้ามเนื้อโดยไม่ทราบสาเหตุ(unexplained muscle pain)
 มีอาการปวดข้อ ซึ่งเคลื่อนไปมาตามข้อต่าง ๆ
 ปวดศีรษะแบบใหม่ ทั้งรูปแบบ และความรุนแรง
 ไม่มีความสดชื้นหลังการพักผ่อน
 หลังกิจกรรมทางกาย และจิต มีอาการหมดแรงนานเกิน 24 ชั่วโมง

Treatments:

ในการรักษาโรคใดก็ตาม การทราบต้นเหตุของโรค ย่อมทำให้แพทย์สามารถรักษาให้หายขาดได้
สำหรับกรณีที่ไม่ทราบเหตุเลย การรักษาส่วนใหญ่จะมุ่งตรงไปที่การรักษาอาการเป็นหลัก
ในคนไข้ที่เป็น CFS ก็เช่นกัน การรักษาจะมุ่งตรงไปที่ลดอาการของคนไข้ ดังนี้

ดูเหมือนจะป็นเรื่องแปลกอยู่สักหน่อย ที่จะกล่าวว่า การรักษาที่ได้ผลดีที่สุด
คือการหลีกเลี่ยงจากภาวะเครียด และพักผ่อนให้มากที่สุดที่จะมากได้
เพราะหากคนไข้ไม่สามารถลดภาวะเครียดได้เมื่อใด จะทำให้ผลการรักษาแย่ลงไป

อย่างที่กล่าว เนื่องจากเราไม่สามารถทราบสาเหตุของโรคได้
ดังนั้น การรักษาจึงมีแนวโน้มที่จะมุ่งตรงไปที่อาการเป็นสำคัญ

Medications.

คนไข้พวกนี้ มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคนไข้ทั่วไป คือ มีความไวต่อยาได้สูงมาก
ดังนั้น ขนาดยาที่ให้ควรให้ขนาดน้อย ๆ เช่น ให้ 1/4 หรือ น้อยกว่าขนาดตามปกติ

ในคนไข้บางราย การรักษาด้วยยาอาจได้ผลได้ระยะหนึ่ง
แต่ต่อมาภายหลัง ยาอาจไม่ได้ผลเลยก็ได้

ยาที่นำมาใช้ในการรักษา ได้แก่

-Selective serotonin re-uptake inhibitors(SSRIs) ยาที่ใช้ได้แก่
Zoloft, Paxil และ Prozac เป็นยาที่ใช้รักษาอาการเหนื่อยเพลีย (fatigue)
ความซึมเศร้า (depression)

-Tricyclic anti-depressants(TCAs) เช่น amitryptyline ใช้รักาษา
อาการนอนไม่หลับ ปวดกล้ามเนื้อ และปวดตามข้อ

-Non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) เช่น ibuprofen
ใช้รักษาอาการปวดศีราษะ ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ

-Nutritional supplements เช่น vitamin B โดยเฉพาะ B12

-Herbs และ acupuncture

Therapy.

 Graded exercise
นักกายภาพบำบัด อาจช่วยให้ท่านเลือกชนิดของการออกกำลังกายให้แก่ท่านได้
สำหรับรายที่ไม่เคยออกกำลังกายเลย อาจเริ่มต้นด้วยบริหารร่างกาย
ด้วยการยืด และหดข้อ (stretching)
เป็นเวลาหลายนาที แล้วค่อย ๆ เพิ่มเวลาในการออกกำลังกา
ต่อจากนั้น ค่อยเพิมการออกแรงขึ้น เช่นการเดิน รวมไปถึงกานออกแรงเพิ่มแรงต้าน
จากการออกกำลังกายด้วยวิธีการดังกล่าว
จะทำให้กำลังวังชา และความทนทานของท่านดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

 Psychological counseling
การพูดคุยกับนักจิตแพทย์ผู้ทำการรักษา เขาสามารถให้คำแนะนำ ให้ท่านเลือกวิธีการปฏิบัติตน
ภายใต้สภาพของโรค CFS ได้ดีขึ้น


www.cdc.gov/cfs/general/index.html
www. mayoclinic.com/health/chronic-fatigue-syndrome/DS0039/DSECTION=treatment-and-drug

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น