วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Digestive Disorder: Gatroesophageal Reflux Disease

GERD หรือโรคกรดไหลย้อนกลับ จะเรียกตามฝรั่งก็ได้ว่า เป็น reflux disease
เป็นความผิดปกติของระบบการย่อยอาหารของคน โดยที่อาหาร หรือน้ำย่อยในกระเพาะไหลย้อนกลับ
อาหารที่เรารับประทานเข้าไปจะเกิดจากปาก เข้าสู่กระเพาะ โดยผ่านทางท่ออาหาร
ลงสู่กระเพาะอาหาร

ซึ่งเราจะได้รับคนสูงอายุบอกลูกหลานว่า หลังกินข้าว อย่าได้นอนเป็นอันขาด
ซึ่งสมัยก่อน เราเข้าใจว่า เป็นนิสัยไม่ดี เป็นคนขี้เกียจสันหลังยาว
ที่ใหนได้...คนสมัยก่อนรู้ว่า จะทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนกลับ (GERD) นี้เอง

เมื่อใดก็ตามที่อาหารมันเดินสวนทางกลับ จากกระเพาะสู่ปาก
จะก่อใหเกิดระคายเคืองต่อท่ออาหารดังกล่าวขึ้น
ทำให้เกิดอาการแสบบริเวณยอดอก ซึ่งเป็นตำแหน่งของท่ออาหารนั่นเอง
โรคนี้ยังมีหลายชื่อด้วยกัน เช่น Peptic esohagitis,GERD และ Reflux esophagitis

โรคกรดไหลย้อนกลับ เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้บ่อย ซึ่งมักจะถูกกระตุ้นด้วยอาหาร
ในบางคน โรคดังกล่าว มีส่วนสัมพันธ์กับความผิดปกติของวาว (valve) ที่่อยู่ส่วนล่างของท่ออาหาร
ซึ่งในคนปกติ จะทำหน้าที่เป็นประตูปิดเปิดระหว่างท่ออาหาร(esophagus)กับกระเพาะ (stomach)
เมื่อประตูปิดเปิดนี้ (วาว) ทำงานผิดปกติไป เช่น ไม่ปิด “วาว” ตามเวลาที่ควรจะปิด
จะพูดว่า "วาว" มันเสียไปซะแล้วก็คงได้

อาหาร และน้ำย่อยในกระเพาะก็จะไหลย้อนกลับสู่ท่ออาหารอีกครั้ง
ก่อให้เกิดอาการปวด และแสบหน้าอกขึ้น
นั่นคือ สิ่งที่เกิดขึ้นในโรคกรดไหลย้อนกลับ (GERD
หรือ Gastroesophageal reflux disease)

เป็นที่รู้กันว่า มีปัจจัยอยู่หลายอย่าง เป็นเหตุให้เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคกรดไหลย้อนกลับได้
เช่น โรค scleroderma ตั้งท้อง (pregnancy)
และการมีโรคไส้เลือนของกระบังลม (hiaus hernia)

อาการของโรค กรดไหลย้อนกลับ (GERD) ทีพบเสมอ ๆ :

1. Heart burn. มีอาการปวดแสบ ที่บริเวณทีบริเวณยอดอก (pain and burning )
ตำแหน่งต่ำกว่ากระดูกอกไก่ (breastbone) อาการจะมากขึ้นเมื่ออยู่ในท่าก้มตัว หรือท่านอนราบ
อาการจะเลวลงในตอนกลางคืน
เมื่อได้รับยาลดกรด อาการจะลดลงทันที

2. เวลากินข้าว จะมีอาหารย้อนกลับ (regurgitation)

3. Benching รุ้สึกเหมือนมีลมอยู่ในท้อง แน่นท้อง

4. คลื่นไส้

5. อาเจียน

6. เสียงแหบแห้ง เสียงเปลี่ยนไป

7. เจ็บคอ

8. ไอ และ จาม

การวินิจฉัย (Diagnosis)

1. Stool quaiac found positive

2. ตรวจสอบระดับ pH ของของกรดที่ไหลย้อนกลับสู่ท่ออาหาร

3. การส่องกล้องดูความผิดปกติภายในท่ออาหาร จะพบร่องรอยของการอักเสบ หรือรอยแผลให้เห็น

4. การตรวจสอบความผิดปกติของวาว (valve) ที่อยู่ส่วนล่างของท่ออาหาร

5. การกลืนแป้ง Barium สามารถดูการไหลย้อนกลับของกรด

6. Bernstein tests

Treatment:
การรักษาทั่วไป เช่น

1. การลดนำหนักตัว (เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับคนมีน้ำหนักเกิน)

2. หลีกเลี่ยงการนอนราบหลังรับประทานอาหาร

3. เวลาหลับนอน ควรให้ศีรษะสูง

4. ดื่มน้ำจำนวนมาก ๆ หลังกินยา

5. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีมันสูง งดเว้น กาแฟ ชอคโคแลท เปบเปอรมินท์
เพราะอาหารพวกนี้จะทำให้ความดัน ที่บริเวณส่วนล่างของท่ออาหารลดลง
เป็นเหตุให้อาหารหรือกรดในกระเพาะไหลย้อนกลับได้ง่าย

6. งดเว้นการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล

Medications:

ยาที่นำมาใช้ในการรักษาโรคกรดย้อนกลับ เช่น

1. ยาลดกรด (antacids) กินหลังอาหาร และก่อนนอน

2. Promotility agents

3. Histaine H2 receptor blockers

4. Proton pump inhibitors

โรคเกี่ยวกับการย่อยอาหาร ส่วนใหญ่เป็นภาวะแห่งการแทรกซ้อน
ในกรณีที่คนไข้ไม่ได้รับผลของการรักษาได้ดีเท่าที่ควร
อาจเป็นเพราะเราไม่ทาบสาเหตุที่แท้จริงของโรคก็อาจเป็นได้

อย่างไรก็ตาม มียาใหม่ๆ ถูกผลิตออกมา รวมถึงวิทยาการได้พัฒนาขึ้น
ทำให้เราได้ทราบสาเหตุ ตลอดรวมถึงการมียาที่จำเป็นต่อการรักษาโรคดังกล่าว
คนไข้บางคน สามารถรักษาได้ผลดีด้วยการให้ยาลดกรด
ส่วนอีกคนกลับใช้ยาประเภทเดียวกันไม่ได้ผลเลย

โดยสรุป เราสามารถวินิจฉัยภาวะ “การย่อยอาหาร” ที่ผิดปกติได้ ด้วยการตรวจร่างกาย
และการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ได้ แต่ก็เป็นการยากที่จะตรวจพบสาเหตุที่แท้จริงได้
ซึ่งในกรณีดังกล่าว แพทย์จะสั่งยาทั่วๆ ไป
สำหรับรักษาอาการที่เกิดจากความผิดปกติในระบบการย่อยอาหารให้แก่คนไข้ไป

www.disordersdigestive.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น