วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Bone Density Test- การตรวจมวลกระดูก

โลกมนุษย์มันก็เป็นเช่นนี้เอง
มีคนอยู่สองประเภท ที่อยุ่รอบตัวเรา
ประเภทแรกมีลักษณะคล้าย “เต่า” สุภาพเรียบร้อย ไม่เอารัดเอาเปรียบใคร
ตรงกันข้ามอีกพวกหนึ่ง มีลักษณะคล้ายแมลงป่อง (scorpian) เป็นพวกหน้าเนื้อใจอำหิต เห็นแก่ได้ เห็นแก่ตัว
ชอบเอารัดเอาเปรียบ เผลอเมื่อใด มันเอามีดเสียบหลังคนที่มันบอกว่า เป็นเพื่อนรักของมันได้ทันที...

เราคงไม่สามารถดลบันดาลให้โลกเรา มีเฉพาะคนที่มีลักษณะสุภาพเรียบร้อย ซื่อสัตย์ เหมือนเต่าแต่เพียงชนิดเดียว
เพราะฝืนธรรมชาติ หากทำได้ คงทำให้โลกเรา “จืดชืด” เป็นแน่
มันจะต้องมีพวกแมงป่องด้วย เพื่อให้เราได้มีโอกาสศึกษา ได้ สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเองบ้าง
ให้สามารถอยู่ในโลกได้ โดยไม่ถูกพวกแมลงป่องมันเอาเปรียบได้

เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา เพื่อนที่เล่นกอล์ฟด้วยกัน เล่าเรื่องให้ฟังว่า
ได้รับการตรวจหาความหนาแน่นของมวลกระดูก จากร้านขายยาแห่งหนึ่ง...
ได้รับการบอกเล่าว่า มวลกระดูกของเพื่อนอยู่ในขั้นอันตรายมาก ๆ
“กระดูกผุอย่างรุนแรง ต้องกินยารักษาทันที” ....

ผู้เขียนเล่นกอลฟ์กับเพื่อนคนนี้บ่อยครั้ง เป้นคนแข็งหวดลูกกอล์ฟแต่ละครั้ง...ลูกพุ่งไกลยังกะคนหนุ่ม
กระดูกจะผุได้อย่างไร ?
ผู้เขียนจึงพูดเล่น ๆ ว่า เพื่อน...เจอคนประเภท “แมลงป่อง” เข้าให้แล้ว
จึงแนะนำให้ทำการตรวจมวลกระดูกใหม่ เพื่อให้หายความข้องใจซะที ?
ผลของการตรวจเป็นไปตามคาด
ปรากฏว่า มวลกระดูกของเพื่อน มีความหนาแน่นมากกว่าคนทั่วไปเสียอีก
.....
มีหลายท่านอยากรู้เรื่องเกี่ยวกับ “การตรวจมวลกระดูก “ เพิ่มขึ้น
ฃจึงถือโอกาสเขียนเกี่ยวกับการตรวจมวลกระดูก ให้เพื่อนอ่าน-ศึกษาดู...

Bone Density Test:
เป็นการตรวจหาความหนาแน่นของมวลกระดูก เพื่อให้ได้คำตอบว่ากระดูกของท่านเป็นเช่นใด ?
เป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่?

กระดูกพรุน (osteoporosis) มันเป็นภาวะอย่างหนึ่งอของมวลกระดูก
ซึ่งมีลักษณะเปราะบาง และแตกหักง่าย

ในสมัยก่อนโน้น เราจะทราบว่า ใครมีกระดูกพรุนก็ต่อเมื่อเขาคนนั้นเกิดกระดูกแตกหักเสียก่อน
มาปัจจุบันนี้ เราสามารถตรวจหาความหนาแน่นของมวลกระดูก
ว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการแตกหักหรือไม่ ?

การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก (bone density test) เป็นการตรวจด้วยการใช้เอกซเรย์
ตรวจ และวัดดูหนาแน่นของกระดูกในส่วนใดส่วนหนึ่งว่า มี calcium และ bone mineral (เนื้อกระดูก) กี่กรัม
ตำแหน่งที่เราทำการตรวจเป็นประจำ คือ ตำแหน่งกระดูกสันหลัง (spine) กระดูกสะโพก (hip)
และกระดูกของแขน (forearm)

ทำไมต้องทำการตรวจ ?
แพทย์จะทำการสั่งให้มีการตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก:

 เพื่อตรวจสอบความหนาแน่นของกระดูก ก่อนที่จะมีการแตกหักเกิดขึ้น

 เป็นการตรวจดูว่า มีปัจจัยเสี่ยงต่อการแตกหักหรือไม่ ?

 เพื่อเป็นการยืนยันว่า กระดูกของท่านอยู่ในสภาพกระดูกพรุนจริง

 เพื่อเป็นการตรวจเช็คดูผลของการรักษา

การตรวจดูความหนาแน่นของมวลกระดูก หากผลพบว่า กระดูกยิ่งมีความหนาแน่นมากเท่าใด
โอกาสที่จะเกิดการแตกหักย่อมมีน้อยลงเท่านั้น

การตรวจความหนาแน่นของกระดูก จะแตกต่างจากการทำ bone Scans
ในการทำ bone Scans จำเป็นต้องมีการฉีดสารเข้าเส้นเลือดเสียก่อน ค่อยทำการตรวจความหนาแน่นกระดูก
เพื่อ ตรวจหารอยแตกหัก มะเร็งกินกระดูก กระดูกอักเสบ หรือความผิดปกติต่าง ๆ ของกระดูก
ซึ่งเอกซเรย์ธรรมดาไม่สามารถตรวจพบได้

แม้ว่ามวลกระดูกจะลดน้อยลง (osteoporosis) จะพบได้ในสตรีสูงอายุก็ตาม
แต่เราก็สามารถพบภาวะดังกล่าวในผู้ชายได้ด้วย
ที่จริงแล้ว ไม่ว่าคน ๆ นั้น จะอยู่ในเพศใด อายุเท่าใด ต่างมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ทั้งนั้น

แพทย์อาจจำเป็นต้องทำการตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก เมื่อ:

 Loss height. เมื่อใครก็ตาม ที่มีความสูงลดลงมากกว่า 1. 6 นิ้ว เมื่อใด
หมายความว่า คน ๆ นั้นมีกระดูกสันหลังยุบตัวลง (compression fracture)

 Fracture a bone. กระดูกเปราะบาง เป็นสาเหตุทำให้กระดูกแตกหัก
แม้เพียงการไอ หรือจาม ก็สามารถทำให้กระดูกแตกหักได้

 Taken certain drugs. จากการใช้สาร steroid รักษาโรค เช่น prednisone จะมีผลกระทบ
ขึ้นต่อการสร้างมวลกระดูกขึ้นใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดกระดูกพรุน

 Received a transplant. คนที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ จะได้รับยาที่มีผลกระทบต่อการสร้างกระดูก
เป็นเหตุให้เกิดกระดูกพรุนได้เช่นกัน

 Menopause. สตรีหลังหมดประจำเดือน ระดับ estrogen จะลดลง หรือชายที่เป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
ได้รับการรักษาทำให้ระดับของ testosterone ลดลง เป็นเหตุให้กระดูกเกิดอ่อนแอลงได้

continue (2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น