วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

HIV/AIDS (2)

HIV/AIDS
Cont.

How is HIV transmitted ?

คงไม่ต้องสงสัยแล้วละว่า เมื่อใดเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกายของท่านเมื่อใด
โรค (viral infection) ก้จะเกิดขึ้นกับท่านเมื่อนั้น
ซึ่งมันสามารถเข้าสุ่ท่านทาง เลือด หรือจากน้ำเชื้อของเพสชาย ( Semen)
หรือน้ำจากช่องคลอด (vaginal discharge)

หลายท่านกังวล และกลัวที่จะติดเชื้อโรคจากการไกล้ชิดกับคนไข้ที่เป็นโรค HIV
นั่นเป็นเรื่องของคนปกติธรรมดา
ส่วนอีกประเภท (บางคน) ยังไม่กลัว เที่ยวสัมผัสคนที่เป็นโรค...ทั้งๆ ที่มีคำเตือน
คงต้องปล่อยเขาไป

จาการศึกษาพบว่า ท่านไม่สามารถติดเชื้อ HIV จากการสัมผัสคนที่เป็นโรค ได้ง่ายนัก
เช่น จากการกอดรัด (hugging) การสัมมือ-ถือแขน (shaking hand)
ไม่สามารถติดต่อเข้าสุ่ร่ากายท่าได้หรอก
มีคนตั้งคำถามว่า
ยุงเป็นพาหะนำโรคไปสู่คนอื่นได้ใหม ?
คำตอบของผู้เชี่ยวชาญ บอกว่า ไม่สามารถผ่านไปได้
ก็ต้องเชื่อเขาไปก่อน จนกว่าจะพิสูจนืได้ว่า เขาตอบผิด

แต่ที่แน่ ๆ เชื้อ HIV สามารถติดต่อเข้าสู่ตัวท่านได้ ดังนี้:

o ทางเพสสัมพันธ์ (During Sex) เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายของท่านได้
ไม่ว่าจะเป็นทางไหน (Vaginal, anal or oral) มันจะแพร่กระจายผ่านแผลเล็ก ๆ
ซึ่งเกิดขึ้นในขณะมีเพศสัมพันธ์ ...

o ทางเส้นเลือด (Blood transfusions)
ในบางราย เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายทางการให้เลือดแก่คนไข้ ซึ่งป็นเลือดที่มีเชื้อ HIV
โชคดี ที่ในขณะนี้ ทุกลังเลือดของไทยเรา ได้มีการตรวจ (screen)เลือดทุกยูนิตว่า
ปลอดเชื้อไวรัสทุกชนิด ก่อนมีการให้เลือดแก่ให้แก่คนไข้

การใช้เข็มร่วมกับคนอื่น (Sharing needles) ก็เช่นกัน โดยเฉพาะพวกขี้ยาทั้งหลาย
ซึงเราพบเห็นในภาพยนต์ มีการฉีดยาเข้าสเส้นกันในกลุ่มพวขี้ยา...
นั่นก็เป็นอีกทางหนึ่ง ที่แพร่กระจายเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี

o จากแม่ สู่ลูก (From mother to child)
แม่ที่ติดเชื้อ HIV สามารถแพร่กระจายเชื้อสู่ลูกได้
ทั้งในขณะตั้งครรภ์ หรือขณะคลอด และในขณะให้น้ำนมแก่บุตร ก็สามารถแพร่กระจายได้เช่นกัน
สำหรับสตรีที่เป็นโรค HIV ขณะตั้งครรภ์ ภายใต้การรักษาด้วยยานั้น
โอกาสที่จะแพร่เชื้อไปยังลูกที่อยู่ในครรภ์ มีได้น้อยมาก ๆ

Tests and tailor treatments:

การวินิจฉัยคนเป็นโรค AIDS นั้นกระทำได้ไม่ยาก
สามารถกระทำได้ด้วยการตรวจเลือด ตรวจน้ำลายของผู้ที่สงสัย
เพื่อตรวจหา “ภูมิต้านทาน (antibody) ที่เป็นของเชื้อไวรัส HIV

หลังการเกิด HIV infection จะไม่สามารถตรวจพบ antibody ได้ทันที
ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 12 อาทิตย์ หรือ 3 เดือนขึ้นไป จึงจะสามารถตรวจพบได้
บางราย ต้องกินเวลานานถึง 6 เดือน (เป้นส่วนน้อย)

ได้มีวิธีการใหม่ ๆ สำหรับตรวจ HIV antigen ซึ่งเป็นสารโปรตีน
ที่ถูกสร้างโดยเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ แล้วทำให้เกิดการอักเสบจากเชื้อดังกล่าวขึ้น
การตรวจดังกล่าวพบ antigen ดังกล่าว เป็นการยืนยันว่า คน ๆ นั้น มีเชื้อ HIV
ซึ่งสามารถตรวจพบได้ หลังจากเชื้อเข้าสู่ร่างกายในไม่กี่วัน

การตรวจพบ HIV antigen ถือว่าเป็นวิธีการตรวจที่มีประดยชนืในแง่ ป้องกัน
เตือนให้มีการระมัดระวัง ไม่ให้การแพร่กระจายเชื้อสู่คนอื่น

เมื่อท่านได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค HIV/AIDS แล้ว
ยังมีการตรวจอีกหลายอย่าง เป็นการตรวจดูระยะ (Stage) ของโรค ซึ่งมีการตรวจดังต่อไปนี้:

o CD 4 . CD 4 Cells เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งมัันสามารถทำลายเชื้อ HIV
เป็นการเฉพาะ ในคนปกติค่าของ CD4 จะมีค่าระหว่าง 500 ถึง 1,000
สำหรับคน ที่เป็น HIV /AIDS แม้ว่าจะไม่มีอาการแสดงของโรคเลย
แต่ค่าของ CD4 จะลดลง ต่ำกว่า 200

o Viral load. เป็นการวัดปริมาณของเชื้อไวรัสในร่างกาย
ในรายที่มี viral load สูงย่อมแย่กว่าคนที่มี viral load เป็นเรื่องแน่อยู่แล้ว

o Drug resistance. เป็นการตรวจดูชนิดของเชื้อไวรัส (strain of vius)
ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา (resistance to any anti-HIV medications)

Tests for Complications:

แพทย์อาจทำการตรวจบางอย่าง เพื่อยืนยันว่า คนไข้ที่ติดโรค HIV ไม่มีภาวะแทรกซ้อนขึ้น
ซึ่งได้แก่การตรวจต่อไปนี้:

o Tuberculosis

o Hepatitis

o Toxoplasmosis

o Sexually transmitted diseases

o Liver or kidney damage

o Urinary tract infections

Treatments and Medications.

โรค HIV/AIDS เป็นโรคที่ไม่ทางรักษาให้หายขาดได้ แต่มียาหลายขนาน ซึ่งสามารถ
นำมาใช้ในการรักษาโรค เมื่อใช้ร่วมกันแล้ว สามารถควบคุมเชื้อไวรัสได้

ยาต้าน virus ในแต่ละกลุ่ม (Anti-HIV) สามารถยับยั้งเชื้อ virus ได้แตกต่างกันไป
วิธีการใช้ยาที่ดีที่สุด คือ ใช้ยา 3 ตัวร่วมกัน โดยเลือกจากยาสองกลุ่ม
เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เชื้อไวรัส เกิดการต่อต้านต่อการใช้ยาเพียงตัวเดียว (Single drugs)

ยาที่ใช้ในการรักษา (Anti-HIV) มีหลายกลุ่มดังนี้:

o Non-nucleoside Reverse transcriptase (NNRTIs)
เป็นยาที่ทำลาย (disable)โปรตีน ซึ่งเชื้อ HIV จำเป็นต้องใช้ในการเพิ่มปริมาณของเชื้อให้มากขึ้น
ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ efavirenz (Sustiva), etravirine(Intelence)
และ nevirapine (Viramune)

o Protease Inhibitors.(PIs) เป็นยาที่ทำให้ Protease ไร้ประโยชน์
เชื้อไวรัสนำ ไม่สามารถนำไปใช้ในการกอปปี้ตัวเองได้
ยาในกลุ่มนี้ได้แก่: atazanavir(Reyataz), darunavir(Prezista),
fosamprenavir(Lexiva) และ ritonavir (Norvir)

o Nucleoside reverse transcriptase (NRTIs)
ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ Abacavir(Ziagen) และยาผสม emtricitabine + tenofovir
(Truvada) และ lamivudine + zidovudine (Combivir)

o Entry or Fusion Inhibitors. เป็นสารที่ใช้ปิดกั้น
ไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ CD 4 cells
ยามในกลุ่มนี้ได้แก่ enfuvirtide(Fuzeon) และ maraviroc (Selzentry)

o Integrase Inhibitors. เป็นสารที่สามารถทำลาย protease
ซึ่งเป็นโปรตีน ที่เชื้อไวรัส จะเป็นต้องใช้เพื่อจัดการกับ CD4 cells

When to start treatment:

ข้อแนะนำในว่า ควรเริ่มการรักษาเมื่อ:

• เมื่อท่านมีอาการรุนแรง

• เมื่อ CD4 ต่ำกว่า 500

• เมื่อท่านท้อง(ตั้งครรภ์)

• เมื่ท่านมีโรคไต ซึ่งสัมพันธ์กับ HIV

• คุณกำลังได้รับการรักษา Hepatitis B
การรักษาอาจประสบความยุ่งยาก

Treatment can be difficult

ในการรักษาโรค HIV นั้น อาจจำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดรักษา ในระยะเวลาที่เฉพาะเจาะจง
โดยให้ทุกวัน ตลอดชั่วอายุไขัยของท่าน
ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ดังต่อไปนี

o Nausea, vomiting or diarrhea

o Abnormal heart beat

o Shortness of breath

o Skin rash

o Weakened bones เช่น มีการเน่าตยของกระดุูก เช่น บริเวณข้อสะโพก

Treatment Response:

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า โรคของท่านตอบสนองต่อยารักษา ?
เมื่อท่านมาพบแพทย์ สิ่งที่ท่านจะได้รับการตรวจ คือ ตรวจหา viral load และ CD4 count
ปกติจะมีการตรวจหา viral load เมื่อท่านได้เริ่มรับการรักษาด้วยยา
จากนั้น จะมีการตรวจวัดทุก 3- 4 เดือน
สำหรับ CD 4 count ตรวจเป็นระยะ ทุก 3 – 6 เดือน

เมื่อท่านได้รับการรักษา
เป้าหมายของการรักษา จะต้องทำให้ viral load ลดลงถุงจุดที่ไม่สามารถตรวจพบเชื้อไวรัสได้
ซึ่งไม่ได้หมายความว่า โรค HIV ถุกทำลายหมด หรือโรคหายไปจากท่าน
มันเป็นแต่เพียงว่า ความไวของการตรวจมีไม่พอ ที่จะตรวจพบเชื้อเท่านั้นเอง
เชื้อโรคยังคงมีอยู่ และพร้อมที่จะแพร่กระจายไปสู่คนอื่นได้


www.mayoclinic.com/health/hiv-aids/DS00005?DSECTION=treatments-and-drugs

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น