Tests and diagnosis
เป็นที่ทราบกันว่า คนที่เป็นโรคที่มีกลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง
ไม่มีวิธีตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อวินิจฉัยโรดังกล่าวเลย
ที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะมีโรคทางกายและใจอีกมากมาย ที่
สามารถทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าเรื้อรังได้
ดังนั้น การวินิจฉัยโรคดังกล่าวจึงต้องกินเวลา ให้แพทย์ได้มีโอกาสพิจารณาแยกโรคต่าง ๆ
ก่อนที่จะวินิจฉัยว่า คนไข้รายรายนั้น เป็นโรค CFS
ซึ่ง จำเป็นต้องพิจารณาแยกโรคต่อไปนี้:
• Sleep disorders.
อาการเมื่อยล้าเรื้อรัง สามารถเกิดจากปัญหาด้านการนอน
เช่น ภาวะของขาอยู่ไม่เป็นสุข (restless leg syndrome)
การหายใจติดขัดเป็นระยะ (sleep apnea)
และโรคนอนไม่หลับ (insomnia)
• Medical problems.
มีโรคทางกายหลายอย่างที่มีอาการเมื่อยล้า เช่น โรคโลหิตจาง
โรคเบาหวาน และ โรคต่อมไทรอยด์ (hypothyroidism)
ซึ่งโรคพวกนี้ สามารถตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการณ์เพื่อ
ยืนยันได้ว่า ใช้หรือไม่ ?
• Mental health issues.
ความผิดปกติจางจอต ก็สามารถทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าได้
เช่น พวกซึมเศร้า ความเครียด พวกโรคจิตสองอย่าง-คุ้มดี คุ้มร้าย (bipolar disorders)
และพวกจิตเภท (schizophrenia) ซึ่งพวกเหล่านี้ จิตแพทย์สามารถยืนยันได้
Diagnostic criteria:
ก่อนที่จะวินิจฉัยคนไข้รายใดว่า เป็นพวก CFS หรือไม่
เขาคนนั้น นอกจากจะต้องมีอาการเมื่อยล้าเรื้อรังเป็นเวลานาน 6 เดือน หรือมากกว่า
ยังต้องมีอาการอย่างอื่นเพิ่มอีกอย่างน้อย 4 อาการ ดังนี้:
• สูญเสียความทรงจำ หรือ ไร้สติ
• เจ็บคอ
• ต่อมน้ำเหลืองโตในบริเวณคอ และใต้ต้นแขน
• ปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งไม่สามารถพบต้นเหตุ
• ปวดข้อ ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายจากข้อหนึ่ง สู่อีกข้อ โดยที่ไม่มีอาการบวม-แดง
• ปวดศีรษะรุนแรง ไม่เหมือนเดิม เป็นชนิดใหม่
• อาการไม่หายเมื่อยล้า แม้ว่าจะได้หลับพักผ่อนอย่างเพียงพอแล้วก็ตาม
• หมดแรงหลังการออกแรงทั้งกายและใจ โดยมีอาการยาวนานเกิน 24 ชั่วโมง
Treatments and drugs:
ในการรักษาคนไข้ที่มีกลุ่มอาการเมื่อยล้าเรื้อรังนั้น เป็นการรักษาอาการเป็นหลัก โดยการทำให้อาการทุเลาเบาลง
Medications
• Antidepressants.
คนไข้ส่วนใหญ่จะมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย ดังนั้นการรักษาอาการซึมเศร้าของคนไข้
จึงทำให้ง่ายแก่การรักษาอาการอื่น ๆ ได้โดยง่าย
antidepressant ที่ให้จะเป็นขนาดน้อย ๆ ซึ่งช่วยให้คนไข้นอนหลับได้ง่าย
และเป็นการช่วยลดอาการเจ็บ-ปวดได้ด้วย
• Sleeping pills.
นอกเหนือจากการงดเว้นการดื่มกาแฟ สามารถช่วยทำให้การนอนหลับดีขึ้นแล้ว
แพทย์อาจสั่งยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ท่านได้มีโอกาสนอนหลับดีขึ้น
การรักษาอย่างอื่น ๆ เป็นการรักษาทางกาย และทางด้านจิตใจ ซึ่งได้แก่
• ลดความตรึงเครียดที่จะเกิดขึ้นกับทั้งกาย และใจ
• ฝึกตนเอง ให้นอนให้เป็นเวลา และตื่นนอนให้เป็นเวลา
• ดำเนินชีวิตให้เป็นไปตามปกติ ไม่มากไป หรือน้อยไป
นอกเหนือไปจากนี้ การรักษาตามวิธีของแพทย์ทางเลือก ก็สามารถช่วยคนไข้ให้หายจากอาการเมื่อยล้าได้เช่นกัน
เช่น :
• ฝังเข็ม (acupuncture)
• การนวด (Massage)
• โยคะ หรือ ไตชิ (Yoga or tai chi)
จะสังเกตเห็นว่า การรักษาคนไข้ที่มีอาการของ FM และ CFS
ต่างมีความเหมือน ไมว่าจะเป็นโรคอะไร (FM หรือ CFS) แพทย์จะสั่งยาให้เหมือนกัน
www.mayoclinic.com/health/chronic-fatigue-syndrome/DS00395
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น