HIV: Prophylaxis for HIV prevention
มีหนุ่มน้อยใหญ่หลายตั้งคำถามขึ้นว่า
เมื่อเราไปเที่ยว...มีเพศสัมพันธ์กับสตรีอย่างว่า เกิดสงสัยว่า condom จะมีรอยรั่วขึ้น
เรามียารับประทานป้องกันหรือไม่ ?
จากสถิติจาก Centers for Disease Control and Prevention ในอมริกา รายงานว่า
มีคน (ทั่วโลก) มากกว่า 7,000 รายติดเชื้อ HIV (infection) ทุกวัน
หรือประมาณ 2.7 ล้านคนต่อปี รวมถึง 56,000 ราย ในสหรัฐฯ
แม้ว่าจะได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนที่เกี่ยวข้อง จะทำให้อัตราการติดเชือดลดลงอย่างมากก็ตาม
แต่ก็ปรากฏว่า ยังมีจำนวนคนที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ได้สูงอยู่ดี
ในขณะที่เรายังไม่มี Vaccine ปัองกันเชื้อโรคดดังกล่าวได้
ได้หลักฐานมากมายจากการใช้ยาต้านโรคไวรัส (antiretroviral therapy)
อาจมีบทบาทสำคัญต่อการ ป้องกันไม่ให้มีแพร่กระจายเชื้อ HIV ได้
ผลจากการวิจัย มีความเชื้อว่า ยารักษาที่ได้รับการรับรองจากองค์การอหาร และยาของสหรัฐฯ (FDA)
เช่น tenofovir disoproxil fumerate ( Viread)
หรือให้ร่วมกับยาอีกตัวชื่อ emtricitabine (Truvada) โดยให้รับประทานวันละหนึ่งครั้ง
เพื่อป้งกันไม่ให้เกิดโรค ซึ่งในขระนี้กำลังอยู่ในขั้นทดลอง
วิธีการเช่นนี้ เขาเรียกว่า Pre-exposure prophylaxis (PrEP)
จากวิธีดังกล่าว ถ้าผลที่ได้ปลอดภัย และป้องกันได้จริงเมื่อใด วิธีดังกล่าว (PreEP) สามารถนำไปใช้
แก้ปัญหาของสตรีทั่วโลก ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติตามแนวทางป้องกันโรค เนื่องจากวัฒธรรม ซึ่งกิดขวางไม่
ให้ใช้ condom ปองกันโรคได้
นอกเหนือไปจากนี้ หาก PreEP พิสูจน์ว่าได้ผลดี ย่อมมีประโยชน์ด้านลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV
ในคนที่มีเพศสัมพันธ์ และมีพฤติกรรมทางการใช้ยา
เมื่อนำไปใช้ในร่วมกับวิธีป้องกันอย่างอื่น ๆ เช่น การลดจำนวนคนทีทท่านร่วมเพศลง มีการตรวจเลือด
เลิกการใช้เข็มร่วมคนอื่น ใช้ condom ป้องกัน และกรรมวิธีป้องกันอย่างอื่น
สามารถป้องกันโรค และสร้างความปลอดภัยในแก่ทั้งชาย และหญิงได้
ปัญหาที่เรามักจะถูกถาม คือ
How would HIV drugs work to protect against HIV infection?
เรืองการใช้ยาป้องกันก่อนที่จะเผชิญกับโรคนั้น ไม่ใช้เรื่องใหม่ เป็นเรื่องที่เรารู้กัน
เช่น ก่อนที่เราจะเข้าสู่บริเวณที่มีเชื้อ malaria ได้มีการแนะนำให้มีการใช้ (กิน) เอาวไว้ก่อน
ซึ่งการทำดังกล่าว ทำให้ร่างกายของเรามียาไหลเวียนในกระแสเลือด พร้อมที่จะจัดการกับเชื้อโรค
หรือเชื้อพยาธิ ที่อยู่ในกระแสเลือด
จากรูปแบบป้องกันโรคดังกล่าว นักวิจัยเชื้อว่า การให้ยาก่อนที่จะมีเชื้อเข้าสู่กาย (pro;hylaxis)
อาจป้องกัน ไม่ให้คนเราเกิดโรค (HIV infection)ได้
โดยตามทฤษฎี เมื่อเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกาย มันจะถูกยับยั้งไม่ให้เกิดการกอปปี้เกิดขึ้น
ซึ่งอาจป้งอกันไม่ให้เกิดการอักเสบชนิดถาวรได้ (permanent HIV infection)
What data suggest that this approach may be safe and effective?
มีข้อมูลจำนวนมากมาย ที่บ่งบอกให้เห็นว่า ยาต้านไวรัส- antiretroviral drugs เมื่อรบประทานอย่างสม่ำเสมอ
อาจพิสูจน์ได้ว่า มันลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิด HIV infection ได้ เช่น:
• การให้ยา antiretroviral drug เพียงตัวเดียว คือ navirapine ให้แก่สตรีที่กำลังคลอดบุตร
สามารถลดอัตราเสี่ยงต่อการทำให้เด็กติดเชื้อ ได้ถึง 50 %
• จากการศึกษาด้วยการสังเกตการณ์ ในคนที่ถูกเข็มทิ่ม และเผชิญ(exposure) กับสถานการณ์ที่เป็นโรค
หลังจากได้รับยา zidovudine ทันที และติดต่อไปอีกหลายอาทิตย์
• ปรากฏว่า ลดอัตราเสี่ยงต่อการเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ถึง 80 %
• จากการศึกษาในสัตย์ทดลอง ด้วยยา tenofovir โดยให้ยาแก่สัตว์ทันที หรือ
ให้ภายหลังจากสัตว์ได้เผชิญ (expose) ต่อเชื้อโรค สามารถลดการแพร่เชื้อโรค
ได้เหมอนกับการลดไม่ให้เชื้อโรคกระจายไปยังลิงได้
• สุดท้าย จากการทดลองในสัตว์ พบว่า การให้ยา tenofovir และ emtricitabine
สามารถป้องกันไมให้ลิงที่เผชิญกับเชื้อโรค HIV-like ซ้ำแล้วซ้ำอีก
สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้
เนื่องจากสถิติรายงานตัวเลขที่น่าตกไจ คนติดเชื้อ HIV (infection) 7000 ราย ต่อวัน
การเสริมวีการป้องกันไมให้ติดเชื้อดังกล่าว ถือว่าเป็นเรื่องรีบด่วน
ผลจากการศึกษาในสัตว์ทดลอง ด้วยการให้ยา enofovir อย่างเดียว
หรือให้สองตัว tenofovir plus emtricitabine นั้น ได้ผลเป็นที่ดี มีประสิทธิภาพ
ผลจากการศึกษาในสัตว์ทดลองดังกล่าว แม้ว่า ยารักษา HIV จะได้ผลเป็นที่ประทับใจ
ในการป้องกัน แต่ หากใช้ในคนแล้ว จะได้ผลดีในด้านการป้องกัน เหมือนกับที่ทดลองในสัตว์หรือไม่
เป็นเรื่อง ที่ต้องรอดูต่อไป
http://www.cdc.gov/hiv/prep/resources/qa/index.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น