วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Osteopenia

Osteopenia เป็นคำที่มีความหมายบ่งบอกว่า มวลกระดูกของคนเรามีความหนาแน่นน้อยกว่าปกติ
มีหลายคนกล่าวว่า osteopenia เป็นสภาวะขั้นต้น (precursor) ก่อนที่จะเกิดโรคกระดูกพรุน
อย่างไรก็ตาม คนที่เป็น osteopenia แล้ว ไม่ได้หมายความว่า
กระดูกของเขาจะกลายเป็นโรคกระดูกพรุน

ถ้าหากจะพูดตามหลักวิชาการแล้ว โดยการตรวจดูความหนาแน่นของมวลกระดูก
คนเป็นที่กระดูกอยู่ในภาวะ osteopenia จะพบว่า
T-score จะมีค่าอยู่ระหว่าง -1.0 ถึง -2.5

Osteopenia ถูกกำหนดขึ้นโดย WHO เมื่อปี 1992
โดยมีเชี่ยวชาญหลายนาย ตัดสินว่า ใครก็ตามที่มีความหนาแน่นของกระดูกต่ำกว่า
ค่าเฉลี่ยของมวลกระดูกของสตรีผิวขาว ที่มีอายุ 30
ซึ่งก่อนหน้านี้ เขาใช้กับคนสูงอายุ ผู้ได้รับบาดเจ็บกระดูกแตกหักเท่านั้น

Diagnosis:

จากสถิติของบริษัท Merck ผู้ซึ่งจำหน่าง”ยา” ป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก
(anti-bone loss drug)
ได้ให้ตัวเลขที่น่าสนใจเอาไว้ว่า ในปี 2003 มีสตรีจำนวน 8 ล้านคนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น osteopenia
และในสตรีจำนวนดังกล่าวประมาณ 1/3 ได้รับการรักษา ด้วยยาต้านกระดูกพรุน

การตรวจกระดูกด้วย Scans ที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างากาย ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วย X-rays
มีชื่อเรียกว่า DEXA (dual X-ray absorptiometry).
นอกจากนั้น การตรวจมวลกระดูก ยังสามารถตรวจได้ด้วย ultrasoundอีกด้วย

Causes:

มันสามารถเกิดขึ้นในสตรี วัยหลังหมดประจำเดือน ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากร่างกายมีปริมาณ estrogen ลดน้อยลง
สภาวะดังกล่าวอาจมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น เมื่อคน ๆ นั้น มีวิถีชีวิตที่เอื้อต่อการเกิดโรค
เช่น ไม่ค่อยออกกำลังกาย ดื่มสุราเป็นประจำ สูบบุปรี่จัด หรือใช้ยาประเภท glucocorticoid
เพื่อรักษาโรคบางอย่าง เช่น โรคหืด หรือไรครูมาตอยด์

Treatment and Controversy:

ในปัจจุบันนี้ ยังมีความคิดเห็นขัดแย้งกันว่า คนที่เป็น osteopenia ควรรักษาหรือไม่ ?
สำหรับคนที่ควรได้รับการรักษา (candidate) ได้แก่บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกแตกหัก
ซึ่ง จำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐาน ของความหนาแน่นของมวลกระดูกเป็นสำคัญ

ในปี 2008 National Osteoporosis Foundation
ได้ให้คำแนะนำให้ทำการรักษาในสตรีหลังหมดประจำเดือน และในชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
เมื่อคนเหล่านั้น มี:

1. เมื่อมีกระดูกสะโพก หรือกระดูกสันหลังแตก- หัก

2. เมื่อทำการตรวจมวลกระดูก ( Bone Density ) ของกระดูกคอสะโพก (femoral neck)
หรือกระดูกสันหลัง (spine) T-score มีค่า -2.5(ตัดพวก secondary causes ออก)

3. T-score ระหว่าง -1.0 ถึง -2.5 ของกระดูก femoral neck และ spine

4. เป็นการตัดสินใจของแพทย์ และผู้ที่ต้องการรักษา ซึ่งภายในระยะเวลา 10 ปี มีโอกาสกระดุกแตกหัก
(สำหรับข้อ 1 และ 2 เป็นคนที่มีกระดูกเป็น osteoporosis ส่วนของ 3 และ 4 เป็นพวก osteopenia

เมื่อมีการตัดสินใจว่า จะต้องรักษากันแล้ว...
ยาที่ถูกนำมาใช้ ปรากฏว่ามีมากมาย ให้ท่านได้มีโอกาสเลือกใช้ตามความต้องการ และความเหมาะสม
เช่น

 Bisphosphonates ซึ่งประกอบด้วย alendronate, risedronate และ ibandronate

 Selective estrogen receptor modulators(SERMs) ซึ่งประกอบด้วย raloxifene,

 Estrogen

 Calcitonin

 Teriparatide

จากการศึกษา พบว่าประโยชน์ที่ได้จากยาเหล่านี้ มีความแตกต่างกันน้อยมาก
ฉนั้นการที่ท่านจะใช้ยาตัวใด จึงขึ้นกับสภาพของตัวทานเป็นสำคัญ ตลอดรวมถึง
ตัวแพทย์ ผู้ให้คำแนะนำว่า ตัวใหนจึงจะเหมาะสม...

www.en.wikipedia.org/wiki/osteopenia

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น