Fatigue หมายถึงอาการอ่อนล้า หรืออาการอิดโรยของกายและใจ
มนุษย์เราทุกคนต่างมีโอกาสทำงานหนักด้วยกันทุกคน
และภายใต้สภาวะดังกล่าว มักจะเกิดขึ้นในช่วงระยะสั้น ๆ เท่านั้น
ซึ่งเป็นเรื่องที่เราสามารถแก้ไขได้
สำหรับอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังนี้ซิ ย่อมทำให้เกิดการเสื่อมถอยทั้งกาย และใจ
ซึ่ง จะมีผลกระทบต่ออารมณ์ และจิตใจด้วยเสมอ
อาการเหนื่อยล้า ไม่เหมือนกับอาการง่วงนอน ถึงแม้ว่าอยากจะนอนก็ตามที
เป็นอาการที่ขาดแรงกระตุ้น ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไรทั้งสิ้น
ในบางราย อาการเหนื่อยล้า เป็นอาการของปัญหาทางสุขภาพ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษา
ส่วนใหญ่ เมื่อตรวจสอบย้อนหลังพบว่า อาจมีต้นเหตุจากอุปนิสัย หรือจากงานประจำ
ซึ่งบางทีท่านสามารถบอกได้ว่า อะไรก็คือต้นเหตุที่ทำให้ท่านเกิดมีอาการเช่นนั้น
ท่านเพียงแต่ทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง
ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการเมื่อยล้าของท่าน อาการก็จะหายไปเอง
Causes:
โดยทั่วไป อาการเมื่อยหล้า อาจเนื่องมาจากปัจจัยสามกลุ่ม ซึ่งได้แก่ การดำเนินชีวิต (Lifestyle)
อารมณ์ (Psychological problems) และ ปัจจัยด้านสุขภาพ (Medical problems)
ปัจจัยทางวิถีการดำเนินชีวิต (Lifestyle factors)
ดื่มแอลกอฮอล (Alcohol use or abuse)
ดื่มกาแฟ (caffeine)
ออกแรงมากเกินไป (Excessive physical activity)
ไม่ค่อยออกแรง (Inactive)
อดหลับอดนอน (Lack of sleep)
ยา (medications) เช่น ยาแก้แพ้ อาแก้ไอ ยารักษาโรคหัวใจ ยาแก้ปวด
ยาลดความดัน และยารักษาโรคจิตประสาทบางตัว
กินอาหารไม่ได้สุขภาพ (unhealthy eating habits)
ปัญหาด้านจิตใจ (Psychological problems):
ความกังวล (Anxiety)
ซึมเศร้า (Depression)
เศร้าโศกเสียใจ (Grief)
เครียด (stress)
ปัญหาด้านสุขภาพ (Medical conditions):
การที่คนเรามีอาการเหนื่อยเพลียอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นอาการแสดงของโรคอะไรบางอย่าง
ซึ่งซ่อนตัวอยู่ภายในร่างกายได้ เช่น
โรคตับล้มเหลว (Liver failure)
โรคโลหิตจาง (Anemia)
โรคมะเร็ง (Cancer)
กลุ่มอาการ Chronic fatigue syndrome
โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney failure)
โรคอุดตันทาวระบบหายใจ (COPD)
โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)
โรคหัวใจ (Heart diseases)
โรคต่อมไทรอยด์ (Hyperthyroidism & Hypothyroidism)
โรคอ้วน (Obesity)
Pregnancy
หลังการผ่าตัดใหญ่
โรคขาไม่อยู่สุข (Restless leg syndrome)
โรค เบาหวาน
ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep apnea)
การปฏิบัติตน (Home care)
ท่านสามารถช่วยเหลือตนเองได้ด้วยการ
นอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง
รับประทานอาหารสุขภาพ (healthy diet)
ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
เรียนรู้เรื่องการผ่อนคลาย เช่น โยคะ หรือการปฏิบัติธรรม ฝึกสมาธิ
รักษาสภาพการทำงานให้เกิดความสมดุล ไม่ออกแรงมากเกินไป
เปลี่ยนงานที่กดดัน เช่นหยุดพักผ่อน หรือเปลี่ยนงาน
รับประทานไวตามิน
งดเว้น หรือหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮล กาแฟ และใช้ยา (เสบติด)
ถ้าหากท่านตกอยู่ภายใต้ความเจ็บปวดเรื้อรัง หรือซึมเศร้า ท่านจำเป็นต้องได้รับการรักษา
แต่ให้ทราบด้วยว่า ยารักษา เช่น anti-depressants บางตัวอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการเมื่อยล้า
หรือทำให้อาการทีมีอยู่แล้วเลวลงกว่าเดิมได้
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการปรับขนาดของยาให้เหมาะกับตัวท่านเอง
อย่าหยุดหรือเปลี่ยนยา โดยไม่ได้บอกแพทย์เป็นอันขาด
สารกระตุ้นทั้งหลาย รวมถึงกาแฟ ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการรักษาอาการเมื่อล้าของท่าน
เพราะมันอาจทำให้อาการเลวลงเมื่อท่านหยุดมัน
ยานอนหลับจะทำให้อาการเลวลงในระยะยาว
เราควรพบแพทย์เมื่อใด ?
ท่านควรพบแพทย์ทันทีเมื่อท่านมีอาการต่อไปนี้
เมื่อท่านเกิดมีอาการสับสน หรือวิงเวียน
สายตามพร่ามัว
ปัสสาวะออกน้อย หรือไม่มีเลย หรือมีอาการบวม หรือน้ำหนักเพิ่มขึ้น
ท่านอาจปรึกษาแพทย์เมื่อท่านมีอาการต่อไปนี้ (ไม่รีบด่วน)
เมื่อท่านไม่สามารถอธิบายถึงอาการเมื่อยล้าที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิดร่วมกับน้ำหนักตัวลด
เมื่อท่านมีอาการท้องผูก ผิวหนังแง น้ำหนักเพิ่ม และไม่สามารถทนต่อความเย็นได้
เมื่อท่านหลับ ๆ ตื่น ๆ ตลอดคืน
เมื่อท่านมีอาการปวดศีรษะ
เมื่อท่านกินยาจากแพทย์ หรือซื้อกินเอง แล้วเกิดมีอาการเมื่อยล้า
เมื่อท่านมีอาการซึมเศร้าหรือเสียใจ
เมื่อท่านนอนไม่หลับ (insomnia)
www.nlm.gov/medlineplus/ency/article/003088.htm
www.mayoclinic.com/health/fatigue/MYoo120?DSECTION
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น