ทั้งกระดูกพรุน (osteoporosis) และกระดูกอ่อน (osteopmalacia)
ต่างเป็นความผิดปกติของกระดูก ซึ่งเป็นต้นเหตุให้กระดูกไม่แข้งแรง ทำให้แกระดูกแตกหักได้ง่าย
ทั้งสองโรคมีความแตกต่าง โดยที่กระดูกพรุน osteoporosis
หมายถึงการเสื่อมสภาพของกระดูก ที่ถูกสร้างขึ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ซึ่งจะมีลักษณะเปราะบาง (brittle)
ส่วน osteomalacia นั้น เกิดจากความบกพร่องในกระบวนการสร้างเนื้อกระดูก
ซึ่งแทนที่จะทำให้กระดูกแข็งเหมือนคนปกติเขา
แต่กลับได้กระดุกที่อ่อน (soft)
Causes:
ใน osteoporosis นั้น เมื่อคนไราอายุมากขึ้น ตัวเนื้อกระดูกจะถูกทำลายได้มากว่าการสร้างทดแทน
ส่วน osteomalacia เป็นผลเนื่องมาจากร่างกายเราขาด calcium และ phosphate
ซึ่ง ส่วนมากมักจะเกิดจากการที่คน ๆ นั้น ไม่ได้รับ vitamin D
หรือคนนั้น ไม่เคยสัมผัสกับแสงแดดเลย
Symptoms:
ในระยะเริ่มแรกของการเป็นโรค ทั้งสองกรณี จะไม่มีอาการใด ๆ ปรากฏ
เมื่อความผิดปกติ ได้พัฒนาเพิ่มขึ้น อาการปวดเริ่มจะปรากฏให้คนไข้รู้สึกได้ว่า
มีอะไรบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้น ?
ในคนไข้ที่เป็นกระดูกพรุน (osteoporosis) คนไข้มักจะมาพบแพทย์ด้วยเรื่องกระดูกแตกหักบ่อย
และระดับความสูงของร่างกายลดลง ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากกระดูกสันหลังเกิดการยุบตัวลง
(compression fracture )
ส่วนกระดูกอ่อน (0steomalacia) คนไข้มักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการของกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โดยเฉพาะ มักจะเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อของแขน และ ขาทั้งสองข้าง
Treatment:
ในคนไข้ที่เป็น osteoporosis จะได้รับการรักษาด้วยยาต่าง ๆ เช่น raloxefene
และ Calcitonin เป็นส่วนใหญ่
ซึ่งยาทั้งสอง สามารถช่วยลดการทำลายของเนื้อกระดูกลง
ส่วนโรคกระดูกอ่อน osteomalcia อันเป็นผลมาจากการขาดอาหาร (calcium)
และ ไม่เคยสัมผัสแสงแดด
ดังนั้น การรักษา จึงมุ่งไปที่การให้สารที่ขาด และแนะนำให้คนไข้ได้ถูกแสงแดด
Prevention/Solution
อันตรายที่จะเกิดจากโรคทั้งสอง สามารถลดลงได้ด้วยการให้ calcium และ vitamine D
สำหรับโรค osteoporosis สามารถทำให้มันชะลอการทำลายกระดูก
โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
เสริมด้วยอาหารที่ให้สุขภาพ สามารถป้องกันปัญหาดังกล่าวได้
ส่วนโรคกระดูกออน osteopmalacia สามารถป้องกันได้โดยให้ร่างกายของเราได้ถูกแดดทุกวัน
จะเป็นการช่วยให้ร่างกายของท่านสร้าง vitamin D ได้เพียงพอได้
เรื่องก็มีง่าย ๆ เพียงเท่านี้แหละ
www.ehow.com/facts5637898 difference-between-0steoporosis-osteomalacia.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น