วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

What Is Gastritis? เมื่อแพทย์บอกว่า ข้าพเจ้าเป็นโรคกระเพาะอักเสบ

กระเพาะอาการอักเสบ เป็นโรคที่คุณหมอชอบบอกให้คนไข้ได้ทราบ
เป็นการอักเสบของเซลล์บุผิวของกระเพาะอาหาร
เป็นผลจากการละคายเคือง (irritation)หรือ มีการกัดกร่อน (erosion)ของเซลล์บุผิว
ของกระเพาะอาหาร ซึ่งมันอาจเกิดขึ้นทันที (acute) หรือเป็นแบบเรื้อรัง (chronic)ก็ได้

What causes Gastritis?
กระเพาะอักเสบ เกิดจากการละคายเคืองของเซลล์บุผิวของกระเพาะอาหารเอง
ซึ่งมีต้นเหตุจาก การดื่มแอลกอฮอลมากไป จากการอาเจียนเรื้อรัง
จากความเครียด
หรือเกิดจากการใช้ยาบางอย่าง เช่น aspirin anti-inflammatory drugs

นอกเหนือจากนั้น การอักเสบของกระเพาะ อาจเกิดจาก

• Helicobactor pylori (H. pylori): เป็นเชื้อแบกทีเรียม
ซึ่งอาศัยในเซลล์บุผิวของกระเพาะอาหาร หากไม่ได้รับการรักษาการอักเสบที่เกิดขึ้น
มันสามารถนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
และบางราย อาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหารได้

• Pernicious anemia: เป็นโรคโลหิตจางอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้น
เมื่อกระเพาะอาหารขาดสารอาหาร ซึ่งมีตามธรรมชาติ ที่จำเป็นต่อการดูดซับ และย่อย vitamin B12

• Bile reflux: การมีน้ำดี (bile) จากท่อน้ำดี ไหลย้อนกลับสู่กระเพาะอาหาร

• Infections ซึ่งเกิดจากเชื้อแบกทีเรียม และ ไวรัสต่าง ๆ เป็นต้น

ถ้าหากกระเพาะอักเสบที่เกิดขึ้น ไม่ได้รับการรักษา สามารถนำไปสู่การสูญเสียเลือด
และที่น่ากลัว มันเป้นตัวเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหาร (stomach cancer)

What are the symptoms of gastritis ?

อาการต่าง ๆ ของโรคกระเพาะอักเสบ มีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล และคนส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ
อย่างไรก็ตาม อาการแสดงของกระเพาะอักเสบ ได้แก่:

 มีอาการคลื่นไส้

 ท้องอืด (bloating)

 ปวดท้อง (abdominal pain)

 อาเจียน (vomiting)

 อาหารไม่ย่อย (indigestion)

 แสบท้อง (burning) ระหว่างท้องว่าง หรือรในตอนกลางคืน

 สะอึด (Hiccups)

 ไม่อยากกินอาหาร (loss of appetite)

 อาเจียนเป็นเลือด หรือเป็นสีกาแฟ (blood or coffee ground-like material)

 ถ่ายอุจจาระสีดำ (black or tarry stools)

How is Gastritis Diagnsosed?
เรจะวินิจฉัยโรคกระเพาะอักเสบได้อย่างไร ?

ในการวินิจฉัยโรคกระเพาะอักเสบ แพทย์ของท่านจะเป็นผู้ทำการศึกษาตัวท่าน และประวัติครอบครัวของท่าน
มีการตรวจร่างกาย และทำการทำสอบต่าง ๆ เช่น

• Upper endoscopy. เป็นการตรวจสอบกระเพาะอาหาร ด้วยการสอดท่อเล็ก ๆ ซึ่งมีกล้องเล็ก ๆ
โดยสอดท่อผ่านทางปาก เข้าสู่กระเพาะอาหาร ซึ่งทำให้สามารถมองเห็นเยื้อบุผิวของกระเพาะ
อาหาร ซึ่งแพทย์สามารถบอกได้ว่า มีการอักเสบ มีแผล หรือมีเนื้อร้ายหรือไม่
ซึ่งแพทย์สามารถตัดเอาชิ้นเนื้อไปตรวจทางห้องพยาธิได้

• Blood tests . แพทย์อาจทำการตรวจเลือดเพื่อตรวจดูว่า ท่านมีโรคเลือดจางหรือไม่
ซึ่งหมายความว่า จำนวนเม็ดเลือดแดงของท่านจะต้อบมีจำนวนลดลง
ขณะเดียวกัน แพทย์สามารถทำการตรวจคัดกรองหา H. pylori infection และ pernicious anemia

• Fecal occult blood test. เป็นการตรวจดูเลือดที่อยู่ในอุจจาระ
ซึ่งอาจเป็นอาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบได้

What is the treatment for gastritis?
ในการรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ จำเป็นจะต้องได้รับ

1. Antacids. เป็นยาลดกรดที่มีจำนวนมากมาในท้องตลาด ซึ่งมีส่วนประกอบของสารสามตัว
ได้แก่ Magnesium calcium และ aluminium
ร่วมกับ hydroxide หรือ bicarbonate ions สารพวกนี้ใช้ลดกรดในกระเพาะอาหาร
ผลเสีย (side effects) ที่จะเกิดจากยาลดกรดได้
เช่น ทำให้เกิดท้องล่วง (diarrhea) หรือท้องผูกได้ (constipation)

2. Histamine 2 (H2) blockers. ได้แก่ Ranitidine และ famotidine
ยาพวกนี้ จะทำหน้าที่ลดการสร้างกรดในกระเพาะลง ซึ่งสามารถหาซื้อได้จากร้านขายยา
หรือโดยแพทย์เป้นคนสั่งเอง

3. Proton pump inhibitors.ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Omeprazole,
esomeprazole (Nexium), and lansoprazole (Kapidex)
ยาในกลุ่มนี้ สามารถลดการสร้างกรดในกระเพาะได้ดีกว่า H2 blockers


4.ในรายที่เกิดจาก H. pylori แพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะหลายตัว ร่วมกับยาลดกรดด้วยการให้
Proton pump inhibitors และยาปฏิชีวนะอีกสองตัว คือ amoxicillin และ clarithromycin
นอกเหนือจากนั้น อาจให้ Bismuth subsalicylate (Pepto-bismol)ช่วยฆ่าเชื้้อแบคทีเรียมได้

5.ในกรณีที่กระเพาะอักเสบเกิดจากโรค pernicious anemia แพทย์จะสั่งยา vitamin B12 แก่คนไข้

เมื่อปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นเหตุได้รับการรักษาจนหาย กระเพาะอักเสบก็จะหายตาม ท่านจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ
ของแพทย์ อย่าได้หยุดยา หรือให้การรักษาตัวเองเป็นอันขาด

What is the prognosis for gastritis ?

คนไข้กระเพาะอักเสบส่วนใหญ่ เมื่อได้รับการรักษา อาการจะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว


http://www.webmd.com/digestive-disorders/digestive-diseases-gastritis

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น