ได้มีโอกาสรับฟังคำสอนของท่านพระอาจารย์ชื่อดังท่านหนึ่ง... ให้นั่งปฏิบัติธรรมกรรมฐาน
ฝึกดูกาย-จิต ตามที่มันเป็น โดยไม่ต้องไปบังคับให้มันเป็นตามที่เราต้องการอยากให้มันเป็น
ดูเฉย ๆ...
หนุ่มน้อยคนหนึ่งถามว่า ”...เราจะเห็นอะไร ... หรือได้อะไรหรือครับ ?”
พระอาจารย์ท่านกล่าวว่า “..ทำทุกวัน ทำให้สม่ำเสมอ วันหนึ่งสิ่งดี ๆ จะบังเกิด “
สิ่งดี ๆ ที่กล่าวถึง คืออะไร พระอาจารย์ท่านไม่บอก
พระอาจารย์เพียงบอก ให้ไปฝึกหาเอาเอง พบ...แล้วให้บอกอาจารย์ ?
ในทางโลกของเรา ที่กำลังต่อสู้กับโรคในขณะนี้ มีอะไรหลายอย่างที่เราไม่รู้...
ว่า ธรรมชาติของโรคหลายอย่าง แพทย์ไม่สามารถบอกได้ว่า มันเป็นอย่างไร ?
จึงเป็นเหตุให้การพยาบาลรักษาที่แพทย์มอบแก่คนไข้
จึงไม่ค่อยจะได้ผลเท่าที่ควรจะเป็น
แต่แพทย์เขาก็พยายามต่อไป โดยไม่มีการย่อท้อ เพราะหัวใจในการทำอะไรให้สำเร็จคือ
คือการเข้าใจในธรรมชาติของปัญหานั้น ๆ ให้ได้
นั่นคือหลักการที่เรา-ท่าน ทั้งหลายต่างทราบกันดี
ในเมื่อเราต้องอยู่ในท่ามกลางของโรคภัยไข้เจ็บ ไม่รู้ว่าโรคอะไรจะเกิดขึ้นกับตัวเราเมื่อใด
การเรียนรู้เกี่ยวกับตัวของเราเอง เป็นทางหนึ่งของการอยู่อย่างไม่ประมาท
ผู้เขียนจึงเสนอให้ปฏิบัติธรรมอีกแบบหนึ่ง ด้วยการมองดูส่วนหนึ่งของกาย ดูมันเฉย ๆ ดูว่า มันทำอะไร?
สักวันหนึ่ง อาจมีประโยชน์ต่อการเข้าใจโรคบางโรคได้ ซึ่งนั่นหมายความว่า
เราสามารถควบคุมโรคด้วยตัวของเราเองได้
ประเด็นที่ว่านั้น คือ เรื่องราวเกี่ยวกับ The Hypothalamus – Pituitary- Adrenal Axis
มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับทำงานอวัยวะที่สำคัญของกายโดยตรง
เป็นการทำงานของสมองส่วนที่เป็น Hypothalamus ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์การปฏิบัติงาน
ของระบบต่อมไร้ทอ (endrocrine)ทั้งหลาย
โดยการรวบรวมสัญญาณ (ข้อมูล)ต่าง ๆ ที่ได้จากสมองส่วนบน- cerebral cortex,
จากะบบประสาทอัตโนมัติ(atuonomic function) และจากสภาพแวดล้อมรอบตัว (environmental cues)
เช่น แสง (light) อุณหภูมิ (temperature) และข้อเสนอแนะจากต่อไร้ท่อ (endrocrine feedback)
จากนั้น hypothalamus จะส่งสัญญาณเฉพาะไปยังต่อมใต้สมอง- pituitary gland
ให้ปล่อยสารที่เป็นฮอร์โมนออกมาจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการทำงาน
ของระบบไร้ท่อเกือบทั้งหมดที่ เช่น thyroid gland , adrenal gland , gonad
และเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต ผลิตน้ำนม รวมถึงการสร้างความสมดุล
ของระดับน้ำที่มีอยู่ในร่างกายของมนุษย์
Hypothalamus ยังมีบทบาทสำคัญนอกเหนือไปจากต่อมไร้ท่อด้วย เช่น
การควบคุมระดับอุณหภูมิของร่างกาย ควบคุมการทำงานระบบประสาทอัตโนมัติ และ
ควบคุมความรู้สึกเกี่ยวกับ “ความอยากกินอาหาร”
เพื่อให้ง่ายแก่การจำ สมองส่วน hypothalamus จะอยู่ในตำแหน่งที่เป็นชุมทางระหว่าง
Cortex, cerebellum และ brainstem
กายภาพของเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยง Hypothalus-pituitary-adrenal ปรากฏว่า
มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบดังกล่าว โดยกล่าวว่า ฮอร์โมนที่ผลิตจากสมอง hypothalamus
นั้น เป็น small peptide จะออกฤทธิ์ได้ก็ต่อเมื่อมันไปอยู่ในเส้นเลือดเข้าสู่ต่อมใต้สมองเท่านั้น
ถ้าบังเอิญไปอยู่ในที่อื่น มันจะไมทำงาน....
นั่นคือเรื่องราว อย่างสั้น ๆ ของ Hypothalamus-pituitary-adrenal-axis
ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหลายอย่าง
เมื่อมีโอกาสจะได้นำเสนอ เป็นเรื่อง ๆ ไป
www. update.com/contents/hypothalamic-pituitary-axis
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น