วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Treament:

คนไข้ที่เป็นโรคงูสวัดมาพบแพทย์
เขาจะมาด้วยอาการปวดของเส้นประสาท และมีรอย
โรคบนผิวหนัง...(ผื่น...มีอาการปวดแสบปวดร้อย)

เป้าหมายของการรักษา มี 3 เป้าหลัก ดังนี้

1. รักษาการอักเสบจากเชื้อไวรัส (Antiviral agents)
2. รักษาอาการปวด (Analgesics....)
3. ป้องกันภาวะแทรกซ้อน (Prevention)

การใช้ยาทำลายเชื้อไวรัส (antiviral agents), ให้สาร corticosteroids และ
ใช้ยาลดความ เจ็บปวด ถือเป็นกลยุทธในการรักษาคนไข้ที่เป็นโรคงูสวัด

Antiviral agents:

สารต้านไวรัส (antiviral agents) สามารถลดระยะเวลาของการเกิดผืนบนผิวหนัง
และ ลดระยะเวลาของอาการปวดลง
อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ที่จะได้จากสารต้านไวรัสดังกล่าว จะได้ประโยชน์สูงสุด
เมื่อคนไข้ ได้รับยาภายใน 72 ชั่วโมง ภายหลังจากคนไข้เกิดมีผื่นขึ้นเท่านั้น

สารต้านไวรัส (antiviral agent) จะได้ประโยชน์ในขณะที่ผื่นบนผิวหนังยังอยู่ไม่หายเท่านั้น
ถ้าใช้ยาดังกล่าว  เมื่อแผล(ผื่น) บนผิวหนังหายไปแล้ว 
ยาดังกล่าว (antiviral agent) จะไม่ได้ผลเลย

Treatment option for Herpes Zoster

Acyclovir: 800 มิลลิกรัม ทุก 5 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 – 10 วัน
(Zovilax)  หรือ 10 mg/kg IV ทุก 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 – 10 วัน

Famciclovir: 500 มิลลิกรัม รับประทาน วันละ 3 เวลา เป็นเวลา 7 วัน
(Famvir)

Valacyclovir: 1,000 มิลลิกรัม รับประทาน วันละ 3 เวลา เป็นเวลา 7 วัน

Prednisolone: 30 มิลลิกรัม รับประทาน เช้า-เย็น วันที่ 1 ถึง 7, ต่อไป 15 มิลลิกรัม
เช้า-เย็น จากวันที่ 8 ถึงวันที่ 14 และ 7.5 มิลลิกรัม เช้าเย็น จากวันที่ 15 ถึง วันที่ 21

หมายเหตุ: Acyclovir จะใช้ทาง IV ในกรณีที่คนไข้ไม่สามารถรบประทานยาได้
หรือในรายที่มี ความบกพร่องทางระบบภูมิคุ้มกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น