วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Should You Have a PSA Screening Test?


ในการตรวจหาค่า  prostatic specific antigen (PSA) 
ใครก็สามารถสั่งให้มีการตรวจเช็คค่าดังกล่าวได้ 

แต่ถ้าแพทย์ท่านนั้น ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากโดยเฉพาะ 
เช่นแพทย์ทั่วไป  อาจทำให้คนแพทย์เอง  หรือแม้กระทั้งคนไข้ 
เกิดความสับสน ไม่เข้าใจว่าตรวจทำไม? 
ประโยชน์ที่พึงได้จากการตรวจนั้น  มีแค่ใหน ?...

เพื่อความเข้าใจในเรื่องนี้  ลองศึกษาข้อมูล  ต่อไปนี้ดูว่า
ด้วยเหตุผลใด USPSTF ไม่แนะนำให้มีการตรวจ PSA อย่างพร่ำเพรื่อ

ทำไมเขาจึงให้คำแนะนำอย่างนั้น ?
ลองพิจารณาคำถาม-คำตอบ ต่อไปนี้ดู   อาจทำให้เราเข้าใจอะไรบางอย่าง...
What is the USPSTF?
USPSTF  เป็นกลุ่มของผู้ชึ่ยวชาญจำนวน 16 นาย  จากสหรัฐฯ
ได้ให้คำแนะนำในการตรวจเลือด  เพื่อหาของ PSA  เอาไว้ว่า 
ในมนุษย์ที่เป็นเพศขาย  ที่มีอายุตำกว่า 70 ถ้าสุขภาพแข็งแรง 
ไม่มีอาการของต่อมลูกหมากเป็นโรค  ไม่ควรสั่งตรวจ PSA


เขามีเหตุผลอะไร  จึงต้องให้คำแนะนำเช่นนั้น ?


ผลจากการศึกษา กล่าวว่า  การตรวจหาค่า PSA อาจมีผลเสียที่เป็นอันตรายต่อคนไข้ 
ได้มากกว่าผลดีต่อคนไข้?
ผลเสีย  ที่เป็นอันตรายต่อคนไข้นั้น  คืออะไร ?
เขากล่าวต่อไปว่า  จากการตรวจ PSA ที่พบว่าค่าสูงผิดปกติ  จะนำไปสู่
การตัดเอาชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมาก  เพื่อทำการตรวจหาชิ้นเนื้อร้ายจากต่อมลูกหมาก
ถ้าหากตรวจพบว่ามีเซลล์มะเร็งจริง..
แล้วท่านจะทำอย่างไร  ในเมื่อ มีประมาณ 30 - 40 % ของคนที่ตรวจพบมะเร็ง
แม้ว่า  พวกเขาไม่ได้รับการรักษาอย่างใดเลย  ก็ไม่มัอันตรายใดๆ เกิดขึ้น
โดยปกติ  เมื่อมีการตัดเอาชิ้นเนื้อไปตรวจ  แล้วพบเซลล์มะเร็ง
เมื่ออยู่ในมือของแพทย์  แพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ทำการรักษาอย่างอย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่น ผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออกให้หมด (radical prostatectomy)
หรือฉายรังสี (external beam radiation)  หรือ ทำ Brachytherapy
หลังการรักษา...ผลที่คนไข้จะได้รับ ?
หลังการรักษาคนไข้ ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก  ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม
แต่ละอย่าง  ต่างมีความเป็นไปได้ ที่จะก่อให้เกิดปัญหาให้แก่คนไข้ได้ทั้งนั้น  และ... 
ที่คนไข้กลัวกว่าการเป็นมะเร็งซะอีก  ซึ่งผู้ให้การรักษาไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาด 

ท่านทราบไหมว่า  ภาวะอะไรที่ทำให้หนุ่มอายุเหลือน้อยไม่อยากมีชีวิตอยู่ ?
โดยเขาจะพูดด้วยประโยคที่คุ้นหูว่า...
"ถ้ามีอาการอย่างนี้...ขอตายดีกว่า !"  ไม่ต้อบอกก็ได้ว่ามันเป็นเรื่องอะไร ?
อวัยวะเพศไม่แข็งตัว (erectile dysfunction)
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (urinary oncontinence)  และ
ลำไส้ใหญ่ถูกทำลาย (bowel damage)
ซึ่งเป็นภาวะที่คนไข้จะต้องทรมานตลอดชีวิต... 


ในรายที่เป็นมะเร็ง...ไม่มีอาการอะไร   ให้ใช้วิธีเฝ้าระวังโรคอย่างเดียวก็เพียงพอแก่การ
หากมีการเปลี่ยนแปลงที่เลวร้ายเกิดขึ้นเมื่อแล้ว  เราค่อยพิจารณาว่า 
ควรให้การรักษาอย่างไร 

Why does the Task Force believe PSA screening
does not save lives?


กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจาก USPSTF เชื่อว่า การตรวจหาคา PSA  แม้ว่าจะทำให้แพทย์
สามารถตรวจพบมะเร็งได้แต่เนิ่นๆ ก็จริง  
แต่ผลจากการศึกษาใน clinical trial  ในคน 77,000 ราย ...
ชี้ให้เห็นว่า  การตรวจ PSA ไม่ได้วยให้คนไข้ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมีอายุยืนยาวขึ้นเลย

Do these recommendations apply to all men? 


จากข้อมูลที่ได้รับจาก clinical trial ดังกล่าว  USPSTF  จึงเสนอแนะว่า
ในชายไม่ว่าจะหนุ่ม หรือแก่,  เชื้อชาติใดก็ตาม  หรือมีประวัติว่ามีคนเป็นมะเร็งในครอบ
ครัว  ถ้าไม่มีอาการ...ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจ PSA

โดยสรุป  เราจะเห็นว่า  แพทย์ชั้นนำทั้งหลายต่างมีความเห็นพ้องต้องกันว่า
การตรวจหาค่า PSA จะนำไปสู่อันตรายจากการรักษา ซึ่งมักจะเกิดภายหลังการวินิจฉัย 
แต่ถ้าการตรวจคัดกรอง (PSA) นั้น  ให้พุ่งเป้าไปทีบุกคล  ทีมีความเสี่ยง
ต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากสูงเท่านั้น  และ
เน้นการเฝ้าติดตามคนที่ไม่จำเป็นต้องได้รักษาทันที 
ย่อมสามารถทำให้เกิดความสมดุลระหว่าง  ประโยชน์ และ โทษ  ได้ 
เป็นการปรับเปลี่ยนให้คนไข้ได้รับ “ประโยชน์” มากกว่า ที่จะได้รับอันตราย 

การตรวจ PSA เป็นการตรวจทีดี   เป็นการตรวจที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน 
ซึ่งเรานำไปใช้ในการตรวจหาเซลล์ของมะเร็งในต่อมลูกหมาก 
ไม่ควรเลิกใช้...  เราควรใช้การตรวจชนิดนี้ต่อไป  เพื่อวินิจฉัยโรคให้ได้เร็ว 
และ ให้การรักษามะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
ซึ่ง  การรักษาที่คนไข้พึงได้รับนั้น ควรต้องมุ่งตรงไปที่ประโยชน์ 
ไม่ให้เกิดอันตรายต่อคนไข้  โดยเฉพาะ  ผลข้างเคียงอันไมพึงประสงค์ 
เช่น  การสูญเสียสมรรถ ภาพทางเพศ  และ กลั้นปัสสาวะไม่ได้ เป็นต้น

ดังนั้น  ทุกคนที่เกี่ยวข้อง  ควรปรึกษาหารือ  ถึงอันตรายที่จะเกิดจากการตรวจ PSA
Screening  ถ้าท่านตัดสินใจเลือกที่จะทำการตรวจ  และ ผลออกมาเป็นบวก
ตัวท่าน  และ แพทย์จะต้องถกปัญหาร่วมกันว่า  จะทำอย่างไรต่อไปว่า
จะรักษาด้วยวิธีไหน,  อย่างไร, และ จำเป็นหรือไม่ ?


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น