วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Common GERD Drug Increases Risk of Osteoporosis


เวลาออกรอบเล่นกอล์ฟ  เราจะต้องเตรียมพร้อม  มีอาวุธครบมือ
เพื่อจัดการกับลูกกอล์ฟ  ให้พุ่งไปในทิศทางตามที่ต้องการ  โดยไม่กังวลว่า 
ลูกกอล์ฟจะตกอยู่ ณ จุดใดของสนาม  นั่นเป็นเรื่องธรรมดาของคนเล่นกอล์ฟ...
แต่พอหันกลับมาดูตนเอง  ซึ่ง มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการดูแลผู้ป่วยทั้งหลาย 
ให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ

เราก็คงไม่แตกต่างจากคนเล่นกอล์ฟ...นั้นคือ  ต้องรู้  ต้องเข้าใจในอาวุธ (ยา)
ทุกชนิดที่ตนเองต้องให้แก่คนไข้

สำหรับข้อเขียนต่อไปนี้  มีจุดประสงค์เพื่อให้ท่านที่สนใจ  ในการเรียนรู้เรื่อง “การป้องกัน” ,  “.การวินิจฉัย" และ “การรักษาภาวะกระดูกพรุน”  ได้พิจารณากัน

มียาตัวหนึ่ง  ที่เราใช้กันเป็นประจำ  ซ่ง  เราสามารถหาซื้อจากร้านขายยาทั่วไปได้
ยาตัวนั้น  คือ   Proton pump inhibitors (PPIs)
เป็นยาที่พวกเรานำมาใช้รักษาโรคกรดไหลย้อนกลับ (GERD) และโรคกระเพาะเป็นแผล
โดยยากลุ่มดังกล่าว  จะทำหน้าที่ลดกรดในกระเพาะลง

 

อย่างไรก็ตาม  สิ่งที่เราท่านทั้งหลายต่างทราบ...อะไรที่เป็นประโยชน์...
สิ่งนั้นย่อมมีโทษด้วยเสมอ  หรือ ทุกอย่าง รวมทั้งสรรพชีวิตทั้งหลาย 
ต่างมีด้านดี และเลวอยู่ในตัวด้วยเช่นกัน

ในการใช้อายวุธคู่มือของเรา  เช่น   PPEs 
เพื่อทำการรักษาโรคกรดไหลย้อนกลับ  & แผลในกระเพาะ...
ปรากฏว่า  มีปัญหาอย่างหนึ่งที่เราควรรู้  นั้นคือ:

กรดในกระเพาะอาหาร  มีหน้าที่สำคัญต่อการย่อยอาหารนั้น จะถูกสกัดกั้นด้วยยา  PPIs
จะทำให้คนเราร้สึกสบายท้องขึ้น   นั้นคือ ผลดีที่คนไข้ได้รับจากการใช้ยาตัวดังกล่าว 
แต่ในขณะเดียวกัน  PPIs  จะกระทบกับดูดซึมของสารแคลเซียม 
ซึ่ง เป็นธาตุที่สำคัญต่อการทำให้กระดูกในร่างกายของคนเราแข็งแรง

ดังนั้น  ผลจากการใช้ยา PPIs นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อคนไข้แล้ว 
มันยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดุกพรุน  ได้อีกด้วย
ถ้าท่านมีโรคกระดุกพรุนอยู่แล้ว...ท่านไม่ต้องแปลกใจ  เพราะการรับทานยาในกลุ่ม PPIsเช่น  Omeprazole   สามารถทำให้ท่านเกิดกระดูกแตกหักได้ง่ายขึ้น

ข้อมูลต่อไปนี้...เป็นสิ่งที่เราควรรู้... 
ผลจากการศึกษา  เมื่อไม่นานมานี้  ซึ่งมีการตีพิมพ์ในวารสาร The Canadian Medical Association  Journal  โดยมีการเปรียบเทียบคนเป็นโรคกระดูกพรุน  จำนวน 15,972 ราย  ผู้ซึ่งมีกระดูกแตกหักเกิดขึ้นที่กระดุกสะโพก, ข้อมือ,
กระดูกสันหลัง  กับ คนจำนวน  47,287 ราย  ซึ่งไม่มีโรคกระดูกพรุน 
หรือ กระดูกแตกหักเลย
ผลจากการศึกษาวิจัย  พบว่า  การที่คนรับทานยา PPIs อย่างน้อยๆ วันเว้นวัน 
มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุน  และมีโอกาสเกิดกระดูกแตกหัก  โดยเฉพาะคนไข้ที่รั
ประทานยา PPIs  เป็นเวลานาน 7  ปี หรือนานกว่า 
มีโอกาสเกิดกระดูกแตกหักอย่างเดียวถึง 4 เท่าตัว

เขายังรายงานต่อไปว่า  ถ้ารับทานยา PPIs ต่ำกว่า 5 ปี
จะปลอดภัยจากกระดูกแตกหักแต่หลังจากนั้น 
มีโอกาสเพิ่มความเสียงต่อภาวะดังกล่าว
สำหรับ  สตรีสูงอายุ  หรือ  สตรีหลังหมดประจำเดือน  โอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนได้สูง 
หากคนกลุ่มนี้รับทานยา PPIs เพื่อ  รักษาโรคกระเพาะอาหารของเขา 
สมควรให้เสริมด้วยcalcium และ vitamin D 

ยาในกลุ่ม Proton Pump Inhibitors ได้แก่:

·         Omeprazole (Losec, Prilosec, Zegerid, Ocid)
·         Lansaprazole (Prevacid, Zoton, Inhibitol)
·         Esomeprazole (Nexium)
·         Pantoprazole (Protonix, Somac, Pantoloc, Pantozol, Zurcal, PAN)
·         Rabeprazole (Rabecid, Aciphex, Pariet, Rabeloc)
·         Prilosec OTC (available without a prescription)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น