วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

How Old Is Too Old For an Annual PSA Test?


เมื่อชายสูงอายุ  ไปโรงพยาบาลด้วยปัญหาทางการขับถ่ายปัสสาวะ
แพทย์บางท่าน  จะแนะนำให้ทำการตรวจเลือดหาค่าของ PSA
เพื่อเป็นการตรวจคัดกรองหาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

เกิดมีคำถามขึ้นว่า...จำเป็นด้วยหรือ  ที่จะต้องตรวจเลือดหาค่า PSA...
และ  ถ้าจะตรวจหาค่าดังกล่าว  ต้องมีข้อบ่งชี้อย่างไร ?

เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีหน่วยงานหนึ่ง  ชื่อ The U.S Preventive Service Task Force
ได้ให้คำแนะนำแก่พวกหมอทั้งหลายว่า 
“...ไม่ต้องให้ตรวจหาค่า PSA ในคนอายุมากกว่า 75
โดยกลุ่มแพทย์ในหน่วยดังกล่าว  ได้ชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ที่พึงได้รับจากการตรวจหา
ค่า PSA  กับโทษที่พึงจะเกิดขึ้นกับคนในกลุ่มดังกล่าว   ซึ่ง ได้สรุปว่า
การตรวจคัดกรองหาค่า PSA น่าจะมี “ผลลบ”  มากกว่า “ผลบวก” ต่อคนในกลุ่มดังกล่าว

โดยมีเหตุผลที่น่าเชื่อถือ คือ มะเร็งของต่อมลูกหมากนั้น 
เป็นมะเร็งที่จะเจริญเติบโตได้ช้ามาก  
ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว  มันจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10 ปี จึงจะก่อให้เกิดอาการขึ้น

คนสูงอายุ  มีอายุ 75s   ถ้ามีการตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมาก 
กว่าจะมีโอกาสเกิดมีอาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก.  อายุก็ปาเข้า  85  
ซึ่ง  บางท่านกล่าวว่า  เป็นเวลาสำหรับ “ลาโลกด้วยความยินดีแล้ว”
แต่คนสูงอายุส่วนใหญ่  มักจะตายเนื่องจากโรคอย่างอื่นเสียมากกว่า...
โดยไม่รอให้มะเร็งต่อมลูกหมากให้โอกาส  ได้ทำลายชีวิตคนสูงอายุเลย

ด้วยเหตุผลดังกล่าว  พวกเขาจึงไม่แนะนำให้ทำการตรวจหาค่า PSA Screening
สำหรับรายที่ต้องการ  ให้มีการตรวจคัดกรอง PSA screening 
หากผลของ PSA มีค่าสูง  ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ให้สงสัยว่า 
คนไข้รายนั้นอาจมีเซลล์ของมะเร็งต่อมลูกหมาก

ต่อไป...อะไรจะเกิดขึ้น ?
แน่นอน  แพทย์ผู้สงสัยนั้นแหละ  จะส่งคนไข้สูงวัย  ให้ทำการตัดชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมาก 
ให้พยาธิแพทย์ทำการตรวจชิ้นเนื้อ  เพื่อยืนยันว่า  ต่อมลูกหมาก  มีเซลล์มะเร็งหรือไม่
ผลที่จะได้  มีได้สองประการ  ประการแรก  ผลเป็นลบ  ไม่มีเซลล์มะเร็งในต่อมลูกหมาก
คนไข้พอใจ จากผลการตรวจ แม้ว่าจะมีความเจ็บปวดจากการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากก็ตาม

แต่ถ้าผลออกมาว่า... ต่อมลูกหมากมีเซลล์มะเร็งจริงตามที่สงสัย
และ  จากที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ว่า  มะเร็งต่อมลูกหมาส่วนใหญ่จะเจริญเติบโตได้ช้ามากๆ 
กว่าจะมีอาการแสดงของมะเร็งต่อมลูกหมาก   ก็ต้องใช้เวลาอย่างต่ำ 10  ปี ขึ้นไป
ซึ่ง  แพทย์ทีทำการรักษา  ถ้าอยู่กลุ่มอนุรักษ์  จะแนะให้คนไข้เฝ้าระวังอย่างไกล้ชิด
โดย  คนไข้ไม่ต้องอะไรทั้งสิ้น  ไม่ต้องให้รับทานยาอะไร

แต่ถ้าแพทย์ที่ทำการรักษา  อยู่ในกลุ่มหัวรุนแรง  ชอบเฉือนทุกอย่างที่ขวางหน้า 
เขาจะแนะนำให้คนไข้  ได้ทำการรักษา  ไม่อย่างใด  ก็อย่างหนึ่ง 
เช่น  ผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากที่เป็นมะเร็งออกหมด (radical prostatectomy) 
หรือ ฉายแสงรังสี  (radiation therapy)   หรือ ทั้งสองอย่าง  
ซึ่ง หลังจากการรักษา  ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยวิธีใด  จะมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นสองอย่าง 
ประการแรก  สมรรถภาพทางเพศเสียไป  
และประการที่สอง  คนไข้  ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ตามปกติ 
ซึ่งทั้งสองประการ   ทำให้ชายสูงวัย  เสียความเป็นชายชาติอาชาไนยไป 
พร้อมๆ  กับ  มีความอับอาย  ไม่กล้าอยู่ใกล้ผู้คน  ต้องแยกตัวจากสังคม 
เพราะจากการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่...  เป็นเหตุให้คุณภาพชีวิตชายสูงอายุท่านนั้นหมดสิ้น

นี้คือคำพูดของชายที่ได้รับผลจากการรักษา...

ถ้าหากรู้ว่าผลมันเป็นเช่นนี้...ขอตายเสียยังจะดีกว่า”

เป็นคำพุดที่อธิบายถึงความรู้สึกของคนไข้ที่เป็นโรคได้อย่างดี
หากแพทย์ท่านใดจะให้การรักษาคนไข้เป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก...
ให้คำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่คนไข้ให้มาก...

โดยสรุป  ถ้าหากท่านแนะนำ  ให้คนสูงวัย มีอายุ 75s ทำการตรวจคัดกรอง PSA
เพื่อค้นหามะเร็งต่อมลูกหมาก  ผลที่ได้จะมีเสียมากกว่าดี   
เช่น  ทำให้คนสูงอายุไดรับความเจ็บปวดจากการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ
พร้อมๆ กับท่านได้มอบความเครียด  ความกังวลใจให้แก่คนไข้ด้วย
และหากมีการรักษาจะด้วยวีใดก็ตาม  ท่านได้มอบสิ่งไม่พึงปรารถนาให้แก่คนสูงวัย
ท่านนั้นด้วยความโหดเหี้ยมพอสมควร (พูดตามความรู้สึกของคนไข้บางราย)

อย่างไรก็ตาม  ความคิดเห็นของมนุษย์เรามีแตกต่างกัน  มีทั้งเห็นด้วย  กับคัดค้าน
ในวงการแพทย์ก็เช่นกัน  มีแพทย์กลุ่มอื่น แนะนำให้ทำการตรวจคัดกรองหามะเร็งต่อมลูกหมาก
ในคน  ที่คาดว่า  สามารถมีอายุได้ยืนยาวได้อย่างน้อย 10 ปี

นี้คือคำแนะนำจากแพทย์ในสถาบัน  Johns Hopkins :
“ถ้าท่านมีอายุ 75 หรือ มากกว่า  ก่อนจะทำการตรวจหาค่า PSA Screening
ท่านควรปรึกษาแพทย์ผู้ทำการตรวจให้ดี  ทำความเข้าใจกับผลดี และผลเสีย  อันพึงเกิด
จากการตรวจเลือดหาค่าดังกล่าว  และถ้าท่านตัดสินใจตรวจ... และผลออกมาว่า 
ท่านเป็นมะเร็งชนิดไม่รุนแรง   สิ่งทีท่านจะต้องจำใสใจก็  คือ 
เฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิดที่สุด  และทำการรักษาก็ต่อเมื่อโรคมะเร็งได้เริ่มรุกคืบแล้ว

www.johnshopkinshealthaleart.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น