วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Corticosteroid Spinal Injections for Back Pain Relief

เป้าหมายของการเสนอบทความต่อไปนี้  มีไว้เพื่อ
การเรียนรู้เพื่อการป้องกัน  การวินิจฉัย  และ การรักษาโรคปวดหลัง

ในการรักษาคนไข้ที่มีอาการปวดหลัง 
การฉีดยาเข้าหลังก็เป็นวิธีการหนึ่ง  ที่แพทย์เขากระทำในคนไข้
ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา หรือ ได้รับการรักษาด้วยกายภาพบำบัด 
อาการยังไม่ดีขึ้น  แต่  พอได้รับการฉีดยาเข้าหลังเท่านั้นแหละ  อาการกลับดี

นอกจากนั้นแล้ว  การฉีดยาเข้ากระดูกสันหลัง  ยังถูกใช้เพื่อการวินิจฉัยโรคได้ด้วย
ในด้านการวินิจฉัยโรค  การฉีดยาชาเข้าบริเวณที่มีคามเจ็บปวด 
จะทำให้บริเวณ  ที่ถูกฉีดยาชาเกิดมีอาการชา  หายจากอาการเจ็บปวด
ซึ่ง  ถ้าหลังการฉีดยาแล้ว  สามารถทำให้คนไข้รู้สึกดีขึ้น  เราสันนิษฐานได้ว่า 
ตำแหน่งที่ฉีดยานั้น  เป็นต้นเหตุ  ทำให้เกิดอาการปวดหลังของคนไข้

เขาฉีดกันอย่างไร ?
โดยทั่วไป  เราจะพบว่า  เวลาหมอบอกคนไข้ว่า  จะฉีดยาเข้าหลัง...
ส่วนใหญ่  คนไข้จะรู้กลัวกัน  เหมือนเด็กกลัวหมอฟัน...
ใคร ๆ ก้กลัวกันทั้งนั้น  แม้คนที่ทำหน้าที่ฉีดยาเอง  ก็เถอะ !
ปากบอกคนไข้ว่า  "ไม่ต้องกลัว"  ก็ตาม  ลองตัวหมอ...เป็นคนไข้ดูซิ...
คงไม่อยากให้ใครฉีดยาเข้าหลังตัวเองแน่ ?

แต่...การที่แพทย์เขาฉีดยาเข้าหลังนั้น 
ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ เขาไมทำกันหรอก...ในการฉีดยาเข้ากระดูกสันหลัง 
ยาที่ใช้ฉีดจะเป็น  corticosteroids   ซึ่งใช้เพื่อลดการอักเสบ   หรือ 
ยาชาเฉพาะที่ (local anesthetics)  เพื่อระงับความเจ็บ หรือ 
ใช้ทั้งสองอย่างผสมกัน (steroids + anesthetics)

ในระยะสั้น  การฉีดยาเข้ากระดูกสันหลัง  จะได้ผลดีกว่าการยารับทานยาเม็ด
ทั้งนี้เพราะตัวยาที่ฉีด  จะรวมตัวอยู่ในบริเวณที่มีอาการเจ็บปวดเท่านั้น  ไม่กระจายไปที่อื่น
แต่เรายังไม่หลักฐานยืนยันว่า  ในระยะยาว  การฉีดยาเข้าหลังจะลดความเจ็บปวดได้นาน
นอกจากนั้น  มันยังไม่สามารถแก้ปัญหา  ที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ 

อย่างไรก็ตาม มันสามารถลดความเจ็บปวดในระยะเวลาอันสั้น 
ซึ่งทำให้คนไข้สามารถเข้าร่วมการรักษาทางกายภาพบำบัด 
หรือ บริหารร่างกายเพื่อทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง  ตลอดรวมไปถึงการบริหารกล้ามเนื้อ
ของหลังให้มีการยืดตัว (stetching)   เพื่อให้หลังการเคลื่อนไหวดีขึ้น

ในการฉีดยาเข้าหลัง  ภายหลังจากมีการฉีดมาครั้งหนึ่งแล้ว  การฉีดครั้งที่สอง
ส่วนมากมักจะไม่ค่อยได้ผลดีเท่าที่ควร  อย่างไรก็ตาม  ถ้าเข็มแรกได้ผลดี 
อาจแนะนำให้ฉีดเข็มที่สองในเวลา 2 อาทิตย์ ให้หลังได้
และ ไม่ควรฉีดยา corticosteroids เข้าหลังเกิน  3 ครั้ง ต่อปี 

ปกติการฉีดยาเข้าหลังจะเป็นการรักษาแบบคนไข้ไปกลับ  และค่อนข้างจะปลอดภัย
แต่ผลเสียที่เกิดก็มีเช่นกัน  เช่น เกิดอักเสบ หรือ มีเลือดออก ตรงรอยฉีดยา
ผลข้างเคียงจากสาร  corticosteroids มีน้อยมากมื่อเปรียบกับยารับทานทุกวัน
เช่น  ทำให้เกิดภูมิต้านต่ำได้ในระยะสั้น, ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง,
เป็นแผลในกระเพาะอาหาร, เป็นต้อกระจก,  และ ทำให้อยากรับประทานอาการเพิ่มขึ้น
บางคนอาจแพ้น้ำยาที่เป็นผสมของสาร steroids ได้

ข้อควรระวัง:  ไม่ควรฉีดยาเข้าหลังในคนไข้ที่การอักเสบของผิวหนัง 
หรือ ในคนไข้ที่ปวดหลังจากเนื้องอก  หรือ  มีการอักเสบติดเชื้อ
สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว  หรือ เป็นเบาหวาน, หรือ รับทานแอสไพริน
หรือ ยาต้านการจัดตัวของเกล็ดเลือด...ควรระมัดระวังให้มาก 

ชนิดของการฉีดยาเข้าหลัง  เพื่อลดคามเจ็บปวด มีแตกต่างกัน  ขึ้นกับยาที่ใช้
และบริเวณของหลังที่ต้องฉีดยk:

Epidural Corticosteroid Injections for Back Pain
การฉีดยาเข้าหลังเช้าสู่ช่องว่างเหนือเยื้อดูร่า  ด้วยการใช้สาร corticosteroids  
อาจลดการอักเสบที่เกิดขึ้นในบริเวณรอบ ๆ หมอนกระดูกที่แตก และยื่นออกมา
ซึ่ง  เป็นต้นเหตุทำให้เกิดอาการปวดหลัง  และ ปวดขา
ยาที่ฉีดเข้าสู่บริเวณที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลัง  และเยื้ออหุ้มไขประสาท (ดูร่า)
จะลดการสร้างสารต่างๆ  ที่ทำให้เกิดการอักเสบลง 

ในการฉีดสาร  corticosteroids เข้าสู่ชองระหว่างกระดูกสันหลัง
และเยื้อหุ้มไขประสาทสันหลัง  (dura)  จะพบว่า  มีคนไข้ประมาณครึ่งหนึ่ง 
จะบรรเทาจากอาการ ปวดหลัง  และ อาการปวดที่ลดลงไปนั้น 
บางรายอาจหายปวด  นานประมาณหนึ่งอาทิตย์   หรือ อาจนานเป็นปี  

การรักษาด้วยวิธีการฉีดยาเข้าหลังดังกล่าว  อาจได้ผลดีในคนที่ปวดขา
หรือ ปวดหลังอย่างแรง   ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีการอย่างอื่นมาก่อน
แต่...มันจะไม่มีประโยชน์ในรายที่ปวดหลังอย่างเรื้อรังเลย

Selective Nerve Root Blocks for back pain
การเลือกฉีดเข้ารากประสาทในบริเวณของหลังระดับเอว 
เพื่อเป็นการตรวจดูว่า  เส้นประสาทเส้นใด  เป็นตัวก่อให้เกิดอาการปวดขา - ปวดหลัง
การฉีดยาเขาหลังนั้น  อาจเป็นยาชาเพียงอย่างเดียว  หรือ  เป็นยาผสมของยาชา และ
corticosteroids  โดยการฉีดเข้าตรงตำแหน่งที่เส้นประสาทที่โพล่พ้นออก
จากกระดูกสันหลังพอดี   ซึ่ง  ยาทั้งสองจะทำหน้าที่ต่างกัน-  ยาชาจะลดความเจ็บปวด  
ส่วนสาร corticosteroids จะทำหน้าที่ลดการอักสบลง

ผลที่ได้จากการฉีดยาดังกล่าว  มีแตกต่างกัน
จากการศึกษาขนาดเล็ก  (มีผู้ถูกทดลองจำนวนไม่มาก)  พบว่า 
คนไข้ที่ได้รับการฉีดด้วยยาชาเพียงอย่างเดียว   จะมีผลไม่แตกต่างจากคนที่ไมได้รับการฉีดยาเลย 

Facet Joint Injections for Back Pain

ข้อกระดูก “ฟาเซต” จะเป็นข้อที่เกิดจากส่วนที่ยื่นของกระดูกสองอันทางด้าน  มาบรรจบกัน 
ทำหน้าที่เป็นข้อให้กระดูกสันหลังเคลื่อนไหวได้  เมื่อ มันเกิดการอักเสบ  มีการละคายเคือง
หรือมีอาการบวมเกิดขึ้น   อาจก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดที่บริเวณหลังได้

การฉีดยาชาเข้าเฉพาะที่  หรือ  ฉีด corticosteroids  หรือ ผสมกัน เข้าบริเวณข้อ “ฟาเซท”  
เพื่อการวินิจฉัยโรค  ยังถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการปวดหลัง  โดยมีต้นเหตุมาจากข้อฟาเซตเอง
ผลจากการรักษาด้วยการฉีดยาเข้าสู่ข้อฟาเซต  จะได้ผลดีมากน้อยแค่ใด  ยังเป็นเรื่องที่ยังถกเถียงกัน 

จากการศึกษาในปี 2002 ในคนไข้จำนวน  230 ราย  ที่มีอาการปวดหลังระดับเอว 
พบว่า  หลังการฉีดยาด้วยวีดังกล่าว  สามารถทำให้คนไข้หายจากอาการปวดหลังได้นานเกิน  10 เดือน
มีเพียง  50% เท่านั้น   ที่สำคัญ  การฉีดยาเข้าข้อฟาเซต  ในคนไข้ที่เป็นโรคเรื้อรัง  จะไม่ได้ประโยชน์เลย 

AnotherOptions: Muscle Injections for Back Pain
การฉีดยาเข้าจุดที่อาการปวดหลัง (Trigger points) ที่เกิดจากการหดเกร็งของ
กล้ามเนื้อ (muscle spasms)  ถือว่า  เป็นทางเลือกสำหรบการรักษาอาการปวดหลัง
นอกจากนั้น  ได้มีการนำเอายา botulinum  toxin (Botox)  มาใช้ในการรักษาอาการปวด
จากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ...ซึ่งได้ผลดีเช่นกัน

Trigger Point Injections คือบริเวณของกล้ามเนื้อที่มีการหดเกร็ง ไม่ผ่อนคลาย 
ในบริเวณที่มีการหดเกร็ง (muscle spasms) จะหนีบเอาเส้นประสาทที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวเอาไว้ 
สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย
เช่น  บริเวณต้นคอ  และ บริเวณหลังระดับต่างๆ

กล้ามเนื้อฉีกขาด, หมอนกระดูกแตก และเคลื่อนหลุดออกไป, เส้นประสารทถูกหนีบ
และ กระดูกแตกหัก  อาจเป็นต้นเหตุทำให้เกิด trigger points ได้ทั้งนั้น
และการฉีดยาเข้าบริเวณทีมีอาการเจ็บปวด   สามารถลดการหดเร็งของกล้ามเนื้อได้
สำหรับเรื่องการฉีดยาเข้าสู่  trigger points ปรากฏว่า  มีการศึกษาไม่มากนัก

มีการศึกษาจำนวนน้อย  ทีมีการแนะนำให้ฉีดสาร botox 
เพื่อรักษาอาการปวดหลังกัน  โดยมีประวัติว่า  เริ่มแรกมีการนำสารดังกล่าวไปฉีด
ให้เด็กที่เป็นโรคทางสมอง Cerebral palsy
และในปัจจุบันได้มีการนำสารดังกล่าว  ไปใช้รักษาภาวะใบหน้าเป็นรอยย่นได้ชั่วคราว
และเชื่อว่า  อาจช่วยลดอาการปวดหลังได้

มีการศึกษา  ด้วยวิธีการซุ่มตัวอย่างในคนไข้ปวดหลัง  ชนิดเรื้อรัง จำนวน  31  ราย 
ด้วยการฉีด Botox   ปรากฏว่า  อาการปวดหลังลดลงนานเกิน  8 อาทิตย์  
และในกลุ่มคนดังกล่าว  ไม่ปรากฏว่า  มีฤทธิ์ข้างเคียงใด ๆ

ข้อสังเกต  สาร Botox จะมีประโยชน์เฉพาะคนไข้ที่มี  trigger points
ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อหดเกรง (muscle spasm) เท่านั้น
ทำให้เราเชื่อว่า  การทีอาการหายปวดนั้น  เป็นเพราะกล้ามเนื้อเกิดการอ่อนแรงชั่วคราว 
นั่นเป็นผลจากการศึกษาในกลุ่มเล็ก ๆ เท่านั้น  ส่วนในอนาคต  ต้องรอดูกันต่อไปว่า
การรักษาด้วยการฉีด  Botox  จะได้ผลดีกว่าการฉีดยาแก้ปวดตามปกติหรือไม่


www. Johnshopkinshealthaler.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น