วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

High Cholesterol vs Aspirin

ถ้าไม่บอกเราอาจไม่รู้...
ในการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ด้วยการใช้ยาเป็นอาวุธ 
หากไม่มีการสำรวจตรวจสอบดูผลของการรักษา  ที่เราได้พยายามลงแรง 
ด้วยการใช้ยาเป็นอาวุธนั้น  เราอาจไม่ได้รับผลตามที่เราต้องการก็อาจเป็นไปได้
ตามความเป็นจริง  การให้คนไข้รับทานยา แอสไพริน  วันละครั้ง 
สามารถลดความเสี่ยงจากการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย (heart attack)
ได้ถึง 75 % ของคนที่เป็นโรคหัวใจ  แต่มีประมาณ  25 % ที่ใช้ยาแล้วปรากฏว่า
ยาไม่ได้ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าวเลย
คำถามมีว่า...ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเล่า ?
ผลจากการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์...รายงานว่า
ที่แอสไพริน  ไมได้ปกป้องหัวใจจากการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายนั้น 
เป็นเพราะว่ามีระดับของ “คลอเลสเตอรอล” ในกระแสเลือดสูงนั่นเอง  ที่เป็นต้นเหตุ
ทำให้ประสิทธิภาพของ “แอสไพริน” ลดลง  ไม่สามารถยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือดได้เป็นปกติ

แอสไพริน  ซึ่งทำหน้าที่ลดกับจับตัวของเกล็ดเลือด  ได้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า
มันสามารถลดอันตรายจากการเกิด heart attack ได้ถึง  20 – 30 %
อย่างไรก็ตาม  ผลการศึกษาจาก Maryland University  รายงานว่า 

ในรายที่มี“คลอเลสเตอรอล” ในกระแสดเลือดสูงมากกว่า 220 mg/dl  จะพบว่า
การจับตัวของเกล็ดเลือดยังคงเหมือนเดิม
หรือจะพูดว่า  อาวุธที่เราใช้ (แอสไพริน) ไม่สามารถทำอะไรกับเกล็ดเลือดได้นั่นเอง
จึงเป็นเหตุให้คนไข้ตกอยู่ในสภาพที่จะเกิดภาวะ heart attack เหมือนเดิม
จากประสบการณ์ที่ผ่านมา  เราสั่งจ่ายยาให้คนไข้รับทานแอสไพริน  เพื่อหวังผลใน
การป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจขึ้นนั้น  เราอาจไม่เคยตรวจดูประสิทธิผล
ของการใช้ยาแอสไพรินเลย...
จากการเสนอบทความนี้  เพื่อชี้ให้เห็นว่า  การให้คนไข้ทานแอสไพริน  มันอาจไม่
ได้ผล  ถ้าหากระดับ “คลอเลสเตอรอล” ในกระแสเลือดสูง
คนไข้ยังตกอยู่ในสภาวะของความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจอยู่ดี

ผลจากการศึกษาในคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจจำนวน -63 ราย  รับทาน “แอสไพริน”
ขนาด   325 mg ต่อวัน  เป็นเวลาอย่างน้อย  30 วัน
ได้ถูกทำการตรวจว่า  มีการจับตัวของเกล็ดเลือดหรือไม่ ?
ผลปรากฏว่า  แอสไพริน  สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการจับตัวของเม็ดเลือด 41 คน
และไม่ตอบสนอง 20 คน

สำหรับคนไข้ที่มีระดับ cholesterol >220 mg mb/dL  
ปรากฏว่ามีคนไข้ไม่ตอบสนองต่อการใช้ แอสไพรินเลย  60 %
เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับคนที่มีระดับไขมัน “คลอเลสเตอรอล” < 180 mg/dL 
ปรากฏว่า มีคนไข้เพียง  20 % เท่านั้น  ที่ไม่ตอบสนองต่อยา “แอสไพริน”

เคยมีการศึกษามาก่อนหน้านี้ว่า  การมีระดับ “คลอเลสเตอรอล”  ในกระแสเลือดสูง 
ปรากฏว่า  มันมีความสัมพันธ์กับการทำให้เกล็ดเลือดจับตัวกันเป็นก้อนเลือดขึ้น
และจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า  การมีกระดับไขมั “คลอเลสเตอรอล”  สูง 
จะมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของยา แอสไพริน

กล่าวโดยสรุป  ในการใช้ยาแอสไพรินเพื่อป้องกันไม่เกิดมีก้อนเลือดในกระแสเลือด 
มันก็เปรียบเสมือนเตะบอลล์ให้เข้าประตูของฝ่ายตรงข้ามนั่นเอง..
.ถ้าการเตะนั้น   มีคนของฝ่ายตรงข้ามขวางประตูเอาไว้  
ย่อมป้องกันไม่ให้ลูกบอลล์ถูกเตะเข้าไประตูได้ 
เช่นเดียวกัน  การให้ “แอสไพริน”  เพื่อป้องกันไม่ให้มีการจับตัวของเกล็ดเลือด   
หากมีไขมัน “คลอเลสเตอรอล”  ในกระแสเลือดสูง
มันย่อมทำให้ประสิทธิภาพของของแอสไพรินลดลง...
มันก็เป็นเช่นนั้นเอง

http://www.umm.edu/news/releases/aspirin.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น