วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

ปฏิกิริยาระหว่างยาในคนเป็นเบาหวาน P. 10: Common Inducers, Inhibitors, and Substrates of Select CYP450 Isozymes

Jan. 21, 2014

Short-acting secretagogues. Nateglinide เป็นยาลดน้ำตาล
ซึ่งถูกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีโดยเอ็นไซม์ CYP2C9 (70%)
และเอ็นไซม์ CYP3A4 (30%) แต่ยังไม่มีรายงานว่า  มีปฏิกิริยาระหว่างยา
กับยาที่น่ากลัวแต่อย่างใด

Repaglinide เป็นยาเม็ดลดระดับน้ำตาล ออกฤทธิ์เร็ว โดยการกระตุ้นตับอ่อน
ให้สร้างฮอร์โมนอินซูลิน ถูกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
โดยเอ็นไซม์ CYP3A4 และ CYP2C8 จากนั้น ยาที่ถูกเปลี่ยนแปลงจะผ่าน
กระบวนการ glucuronidation (phase II drug metabolism )

ปฏิกิริยาระหว่างยา กับยาที่มีความรุนแรงอาจเกิดขึ้นกับการใช้ยา gemifibrfozil
ซึ่งเป็นยาที่ใช้ลดไขมัน triglyceride ในกระแสเลือด
และจากการใช้ยา gemfirozil ในคนไข้ที่เป็นเบาหวาน เมื่อได้รับยาลดน้ำตาล
ชื่อ repaglinide จะทำให้ระดับของยาในกระแลเลือดสูงขึ้นเป็น 8 เท่า
ทั้งนี้่เพราะยา gemfibrozil เป็นยาที่ทำหน้าทียับยั้ง (inhibitor) CYP2C8

ผลจากการใช้ยาสองชนิดร่วมกัน (gemfibrozil & repaglinide) จะทำให้เกิด
ภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดลดต่ำเป็นเวลานาน ( prolong hypoglycemia) ได้

นอกจากนั้น การให้ยายับยั้ง (inhibitors) เอ็นไซม์ CYP3A4 เช่น azole antifungal agents,
และ erythromycin derivatvies อาจทำให้เพิ่มฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลของยา Replaginide
เป็นเหตุทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดลดต่ำได้

ส่วนยาที่ชักนำ (inducers) ทำงานของเอ็นไซม์ CYP2C8/3A4 อาจลดประสิทธิภาพ
การทำงานของยา repaglinide ลง เป็นเหตุให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น 
และอาจจำเป็นต้องเพิ่มขนาดยา (dose) repaglinde ขึ้น

ปฏิกิริยาระหว่าง ยา และโรค (drug-disease) อาจเกิดขึ้นในกรณีที่มีการทำงาน
ของตับเสื่อมลงได้ โดยมีความเสี่ยงต่อการทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือด
ลดต่ำลง (hypoglycemia)

สำหรับในกรณีของคนเป็นโรคไต...
ปรากฏว่า ไม่จำเป็นต้องมีกาปรับขนาดของยาลดน้ำตาล จนกว่าโรคไตจะเป็น
ระยะสุดท้าย (end-stage renal disease)

ข้อสังเกตุ...
เมื่อเราใช้ยาลดระดับน้ำตาล sulfonylureas ในระดับต่ำแล้ว ทำให้เกิดภาวะ
น้ำตาลลดต่ำ (hypoglycemia) ในคนเป็นเบาหวานประเภทสอง...
 ยาที่เหมาะกับคนไข้ คือยา repaglinide หรือ nateglinide
เพราะยาทั้งสองชนิดไม่ค่อยจะมีผลกระทบทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่าง อาหาร และยา....
โดยที่ยาทั้งสองควรให้รับทานก่อนอาหาร ซึ่งสามารถควบคุมการหลั่งอินซูลินได้ดี


PREV SECTION : P. 9: Pharmacokinetic Interactions- Diabetes Drug Interactions.

NEXT SECTION: P. 11: Metformin

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น