วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

ปฏิกิริยาระหว่างยาในคนเป็นเบาหวาน P. 4 : Pharmacokinetic Interactions- Absorption interactions.

Jan. 20, 2014

การดูดซึมของยา (drug absorption) หมายถึงการเคลื่อนไหวของยา
จากตำแหน่งที่ให้ยา เพื่อให้เข้าสู่กระแสโลหิต

ปฏิกิริยาที่เกิดจากการดูดซึม (Absorption interactions) คือการเปลี่ยน
แปลงที่เกิดขึ้นกับผลของยา โดยมีสาเหตุมาจากอาหาร, เครื่องดื่ม
หรือยาต่าง ๆ ที่ให้คนไข้ร่วมกัน

ตามหลักเป็นจริง...
พวกเราคิดว่า การให้ยาด้วยการกินยา (oral administration)
และการดูดซึมของยาผ่านระบบกระเพาะ และลำไส้...แต่เราหมายถึงการ
ให้ยาทุกรูปแบบ เช่น ทางฉีด (injection), ทางพ่นยาเข้าทางปาก
และจมูก(inhalation), ทางประคบบนผิวหนัง (topical),
อมใต้ลิ้น (sublingual), และอื่น ๆ

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างยา และอาหาร (drug-food interactions)
สามารถกระทบกับปริมาณทั้งหมดที่กิดจากการดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต
 (bioavailability)   แต่ส่วนมากมักจะเป็นการดูดซึมเขาสู่ร่างกายอย่างช้า ๆ
(slow absorption)

ยกตัวอย่าง...
ผลจากการให้ยาลดน้ำตาล- glipizide อาจดูดซึมได้ช้าลง เมื่อให้ร่วม
กับอาหาร ซึ่งตรงกันข้ามกับการให้ยาก่อนอาหาร 30 – 60 นาที

การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวของกระเพาะ และลำไส้ หรือการ
เปลี่ยนแปลงในระดับ pH อาจกระทบกับการดูดซึมของยาได้
นอกเหนือจากนั้น ยังพบอีกว่า ส่วนประกอบของอาหารอาจทำปฏิกิริยา
ของยา ยกตัวอย่างให้ห็นภาพ... การรับทาน vitmin K ที่ได้จากผัก
(leaf vegetables) สามารถทำปฏิกิริยากับยา warfarin

เช่นเดียวกัน...
มียาหลายขนาน เมื่อให้ร่วมกันจะทำให้การดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อย

ยกตัวอย่าง...
ยาที่ใช้รักษาโรคไทรอยด์ (levothyroxine) หากใช้ร่วมกับ ferrous sulfate
หรือยาลดกรด (antacids) สามารถลดการดูดซึมยา levothroxine ลงได้
ดังนั้น จึงไม่ควรให้ยาพร้อมกัน แต่ควรให้ยา ferrous sulfate , Antacids
โดยให้ประมาณ 1 ชมก่อนให้ยา หรือ 2 ชม.หลังการให้ยา levothyroxine

ที่ควรระวัง !
อย่ากินยาลดกรด (antacids) ร่วมกับยาตัวอื่น ๆ เพราะการทำเช่นนั้น
สามารถลดการดูดซึมของยาได้หลายตัว

Previous Section: P. 3 : Pharmacodynamic Interactions

Next Section: P. 5: Pharmacokinetic Interactions- Distribution interactions

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น