Jan. 17, 2014
มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งที่ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้...
นั้นคือ เรามีโอกาสต้องกินยาเพื่อรักษาโรคที่เราเป็นกันทุกคน ประเด็นมีว่า
ยาเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ก็จริง แต่หากใช้ไม่ถูกต้อง ย่อมก่อให้เกิดขึ้นผลเสีย
ได้เป็นธรรมดา โดยเฉพาะการกินยาสองขนานควบคู่กันเมื่อใด
โอกาสที่ยาจะทำปฏิกิริยาต่อกันย่อมมีได้สูง
ผลจากการวิจัย โดยเฉพาะการศึกษาเกี่ยวกับกลไกการทำงานของ
Cytochrome P450 enzymes พบว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยารระหว่างยา
ซึ่งควรได้รับการพิจารณาจากพวกเราทีต้องกินยารักษาโรคของตัวเอง
โดยให้สนใจเฉพาะยาที่เราต้องใช้ (กิน) เท่านั้นเป็นพอ...
ยาที่เราใช้ และถูกกระทบโดยการกระทำปฏิริยาของยาตัวอื่น เราเรียก
ว่า “object drug” และยาตัวที่ทำให้เกิดปฏิกริยาเรียก "precipitant Drug”
กลไกที่ทำให้เกิดปฏิกริยาระหว่างยา มีหลายกลไกพอสมควร
ส่วนใหญ่เราสามารถแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้:
Pharmacokinetic interactions
Pharmacodynamic interactions
Pharmacokinectic drug interactions. ยาที่รับทานเข้าไปจะกระทบ
กับการดูดซึม (absorptionX, การกระจายตัว (distribution), และกระบวน
ทางเคมีเกิดภายในร่างกาย (metabolism), และการกำจัดออกจาก
ร่างกาย (excrection)
สำหรับ pharmacodynamic drug interactions จะเกิดขึ้นเมื่อยาสอง
ขนานซึ่งมีผลส่งเสริม (additive) หรือทำหน้าที่เป็นปฏิปักษ์กัน
ไม่ว่าจะออกฤทธิ์ในรูปแบบใดย่อมสามารถก่อให้เกิดผลอันไม่พึงประ
สงค์ได้ในคนบางคนได
NEXT:>> Pharmacokinectic Drug Interaction :Inhibiton of Absorption
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น