วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

สำหรับท่านที่เป็นโรคพารกินสัน P. 4 : DOPAMINE AGONISTS

Dec. 29, 2013

Dopamine agonists (DAs) เป็นอาวุธชิ้นที่สาม หรือยาตัวที่สาม 
ที่แพทย์เรานำไปใช้ในการรักษาคนไข้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน
โดยยาในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์โดยตรงด้วยการกระตุ้น dopamine receptors
ที่อยู่ภายในสมอง ซึ่งยาในกลุ่มนี้มียาหลายขนานด้วยกัน เช่น


o Bromocriptine (Parlodel®)
o Pramipexole (Mirapex®)
o Ronpinirole (Requip®)
o Transdermal rotigotie (Neupro®)
o Apomorphine (Apolyn®) เป็นยาที่ใช้ฉีด

ผลจากการศึกษาในคนพบว่า...
Dopamine agonists จะใช้ได้ผลดีในการควบคุมอาการของคนที่เป็น
โรคพาร์กินสัน แต่ผลที่ได้สู้ผลที่เกิดจาก levodopa ไม่ได้ แถมยังมี
ผลข้างเคียงมากกว่าเสียอีก เช่น ทำให้ง่วง, ขาบวม, และก่อให้เกิด
ภาพหลอน

เราอาจใช้ dopamine agonists เพียงอย่างเดียวตั้งแต่เริ่มแรกเพื่อการ
รักษาคนเป็นโรคพาร์กินสัน โดยเฉพาะโรคที่เกิดก่อนอายุ 65 โดยการ
ใช้ยาตัวนี้ สามารถชะรอการใช้ยา levodopa ออกไปสักระยะหนึ่ง
ทำให้เราสามารถหลีกเลี่ยงจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา
Levodopa ได้ (motor compliction and dyskinesias)

ยากลุ่มนี้ (DAs) อาจนำมาใช้ควบคุมอาการในช่วงแรกๆ ของคนเป็นโรค
พาร์กินสัน...และมีบางรายอาการของโรคเลวลง จำเป็นต้องเปลี่ยนเป็น
ใช้ยา levodopa ภายในระยะไม่กี่ปี นอกจากนั้น เรายังพบว่า
ผลจากการใช้ยากลุ่ม DAs จะสู้ยาใน levodopa ได้

ดังนั้น เมื่อจะตัดสินใจเลือกใช้ยาตัวใด ต้องพิจารณาถึงผลประโยชน์ที่
จะได้จาก dopamine agonists (ซึ่งมีภาวะแทรกซ้อนน้อยหากชะลอการ
ใช้ยา levodompa) รวมถึงอันตรายที่จะเกิดจากใช้ยา (ซึ่งผลดีน้อยกว่า
ผลข้างเคียง)

ขนาดของยาที่ใช้แต่ละครั้ง (Dosing)
เป็นยาเม็ดใช้รับปทานอย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง
Apomorphine เป็นยาเพียงตัวเดียวที่ใช้สำหรับฉีดเข้าเสิ้นเลือดดำ
ส่วนยา Rotigotine (Neupro®) เป็นยากลุ่ม Das ซึ่งใช้วางแปะไว้ที่ผิว
หนัง (skin patch)

ผลข้างเคียง (Side effects)

ผลข้างเคียงของยากลุ่ม DAs ได้แก่ ง่วงนอน, คลื่นไส้, อาเจียน,
ความดันลดต่ำเมื่อลุกยืน, สับสน, ประสาทหลอน และมีอาการบวม
ที่ขา และเท้า ในบางรายผลข้างเคียงจะก่อกวนให้คนไข้ไม่สามารถ
ใช้ยาได้จนถึงขั้นเลิกใช้ยา

เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลข้างเคียง กระทำได้ด้วยการใshยาในขนาดต่ำ
แล้วค่อยๆ เพิ่มขนาดของยาขึ้นยาช้า ๆ .ในภถายหลัง
สามารถลดผลข้างเคียงได้

<< PREV    NEXT >>: P. COMT INHIBITORS

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น